บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

นักข่าวพลเมือง: 1 นักเรียน 1 แท็บเล็ตสร้างปัญญาหรือสร้างปัญหา?

ที่มา ประชาไท

รายงานพิเศษจาก "ศูนย์ประสานงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชนภาคอีสาน" นานาทัศนะต่อนโยบายแจกแท็บเล็ตให้นักเรียนประถม 1

เมื่อประเทศไทยมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งหรือ ไม่ก็ตาม หนึ่งในนโยบายที่ผู้นำประเทศต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆก็คือเรื่องการ ศึกษา เพราะเป็นสิ่งที่ผู้คนตั้งความหวังเอาไว้ ว่าสิ่งนี้จะทำให้ประเทศชาติหลุดพ้นจากความล้าหลังทุกข์ยากไปได้ หากคนรุ่นใหม่เติบโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพ ฉะนั้นในแต่ละปีรัฐบาลไทยจึงตั้งงบประมาณเพื่อระบบการศึกษาราว1 ใน 5 ของงบประมาณทั้งหมด เช่นเดียวกับผู้นำใหม่อย่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่จำเป็นต้องดำเนินโครงการแจกแท็บเล็ตให้กับนักเรียนระดับชั้น ป.1ทุกคนในประเทศตามที่เคยลั่นวาจาไว้เมื่อครั้งหาเสียง ถึงแม้บางคนจะมองว่าเป็นการดำเนินนโยบายแก้บนก็ตาม แต่เป็นที่แน่นอนว่ารัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณไว้เบื้องต้นแล้วจำนวน3 พันล้านบาทเพื่อซื้อเครื่องแท็บเล็ตไม่รวมโปรแกรมเพื่อแจกนำร่องในต้นปีหน้า แน่นอนว่าจะต้องมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เปเห็นด้วย

แท็บเล็ตคืออะไร

เชื่อว่าคนค่อนประเทศ โดยเฉพาะผู้มีอายุเป็นเลขหลายหลัก น้อยนักที่จะรู้ว่าแท็บเล็ตคืออะไร เอาไว้ใช้ทำอะไรหรือกระทั่งหน้าตามันเป็นอย่างไร ซึ่งผู้เขียนจะอธิบายอย่างรวบรัดว่า แท็บเล็ต ก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง มันสามารถถ่ายรูป ถ่ายวิดีโอ ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์บันทึกงานต่างๆได้ จะต่างกันตรงที่มันไม่มีแป้นพิมพ์ ไม่มีเม้าส์ให้คลิก อยากทำอะไรให้กดๆลูบๆถูๆที่จอเอา และที่สำคัญยังสามารถมันใช้มันท่องโลกอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วย ซึ่งจากความสามารถที่มีมากมายมหาศาลของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สมัยนี้ ทำให้คนกลุ่มหนึ่งเป็นกังวลว่าจะไม่รู้จักและเท่าทันทันมากพอนั่นก็คือครู ที่จะต้องสอนใช้เครื่องนี้ให้กับเด็กๆ หากเป็นครูรุ่นใหม่วัยมันส์คงไม่เป็นปัญหามากนัก

แต่สำหรับครูอย่าง ระพีพร ชูเสน ครูวิทยาศาสตร์วัยใกล้เกษียณของโรงเรียนบ้านท่าบ่อ ต.แจระแม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ยอมรับว่า ใจหนึ่งก็ดีใจที่นักเรียนจะได้รับสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆแต่ใจหนึ่งก็ไม่ แน่ใจว่าสิ่งนี้จะให้ประโยชน์ต่อเด็กได้แค่ไหน โดยเฉพาะตัวครูเองที่ใช้เครื่องนี้ไม่เป็น และไม่รู้จะเก็บรักษายังไงจึงอยากให้ผู้ออกนโยบายได้มาศึกษาบริบทของ โรงเรียนในแต่ละพื้นที่ด้วยว่าพวกเขาจะมีความสามารถมากน้อยเพียงใด เพื่อที่จะใช้สื่อรูปแบบใหม่นี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ใช้แท็บเล็ตให้ได้ประโยชน์ต้องรักการอ่าน

อีกประเด็นเกี่ยวกับการใช้งานแท็บเล็ตนี้หากอยากได้ประโยชน์ต้องอาศัยการ อ่าน ซึ่งข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติปี2554 พบว่าเด็กไทยมีสถิติการอ่านหนังสือลดลงเฉลี่ยอยู่ที่ 2 เล่มต่อปี ถ้าเทียบกับเด็กสิงคโปร์ที่ว่ากันว่าหัวดีกว่าเราเพราะเขามีสถิติการอ่าน หนังสือสูงถึง50-60 เล่มต่อปี เช่นเดียวกับเด็กเวียดนามที่มีสถิติการอ่านหนังสือสูงถึง 60เล่มต่อปี และที่สำคัญเด็กระดับ ป.1อ่านหนังสือได้เป็นตุเป็นตะแล้วหรือ

นางนิตยา เกลียวทอง ครูระดับชั้น ป.1 โรงเรียนบ้านท่าบ่อ อำเภอเมืองอุบลราชธานี บอกว่า ทุกวันนี้เวลาสอนเด็กๆระดับชั้น ป.1 ต้องคอยประกบเป็นคนๆไป เพื่อสอนให้เขาอ่านตัวหนังสือไปทีละคำ หากจะให้ไปอ่านแบบเอาเรื่องนั้น ไม่มีทาง เช่นเดียวกับ นางสุธาพร ศรีเมือง ครูโรงเรียนเดียวกันบอกว่า ถ้าหากจะแจกให้กับเด็กชั้น ป.1 นั้นไม่เหมาะเพราะเขายังอ่านหนังสือไม่ออก รักษาของไม่เป็น ซึ่งระดับที่เหมาะน่าจะเป็นชั้น ม.1 มากกว่า

คุณเห็นด้วยหรือไม่กับแนวนโยบายนี้

อ.ทรงพล อินทเศียร อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี “มันเป็นนโยบายที่น่าสนใจมาก มันเป็นนวัตกรรมใหม่ๆที่มักจะเกิดขึ้นเวลาที่เรามีรัฐบาลใหม่ แต่ก็ต้องดูอีกทีว่าการออกนโยบายกับการนำไปปฏิบัติใช้นั้น มันจะสอดคล้องกันหรือไม่ เพราะปัจจุบันนี้แม้กระทั่งหนังสือเรียนในบางแห่งก็ยังขาดแคลนอยู่”

เฉลิมพงษ์ อูปแก้ว เจ้าหน้าที่ห้องแล็บคอมพิวเตอร์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม “ไม่เห็นด้วย คิดว่าเด็กในระดับนี้น่าจะใช้กระดาษแบบเดิมมากกว่า เพื่อที่จะได้ฝึกทักษะบางอย่าง เช่น การอ่าน การเขียนถ้าหากเปลี่ยนมาใช้สื่อการสอนแบบใหม่ทักษะพวกนี้ก็จะถูกลืมไป”

ผศ.ดร.จิรัฐญา ภูบุญอบ รองคณบดีฝ่ายบริหาร สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม “ยุค นี้เป็นยุคไอที คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เด็กจะต้องเจอกับสิ่งเหล่านี้อยู่แล้ว ฉะนั้นหากเราส่งเสริมอย่างสร้างสรรค์เติมเนื้อหาที่เหมาะสมลงไป มันก็จะเป็นประโยชน์สำหรับเด็กซึ่งสำคัญที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องคอยดูแลอย่าง ใกล้ชิดด้วย”

นก นิรมล เมธีสุวกุล พิธีกรรายการทุ่งแสงตะวัน “คิดว่าไม่อยากไปให้ความสำคัญกับนโยบายนี้ เพราะเชื่อว่านโยบายแจกแท็บเล็ตไม่น่าใช่เรื่องหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ยังมีเรื่องอื่นๆอีกมากที่จะต้องทำ พี่นกเสนออยากให้ไปดูเรื่องการศึกษาทางเลือกและโรงเรียนขนาดเล็กที่กำลังจะ ถูกยุบ จะแจกหรือไม่แจกไม่ใช่เรื่องสำคัญ”

ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ โฮงเฮียนสืบสานล้านนา,การศึกษาทางเลือก “ปรัชญาของการศึกษาคือการพัฒนาความเป็นมนุษย์ทั้งกายใจและจิตวิญญาณ แท็บเล็ทเป็นเพียงแค่ส่วนเสริม แต่จะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้สิ่งนี้เป็นตัวสร้างปัญหาเพิ่ม เช่น เด็กติดเกม ติดเทคโนโลยีซึ่งถ้าพวกเขาติดสิ่งเหล่านี้จะทำให้ความคิดสร้างสรรค์ลดลง”

อาจารย์ อังคณา พรมรักษา สาขาการสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม “ส่วนตัวไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะการพัฒนาหรือสร้างเด็กเล็กๆนี่ยังไม่ควรแจกเครื่องมือ ซึ่งมันยังไม่จำเป็นเลยและประเทศเราก็ไม่ใช้ประเทศร่ำรวย ออกจะยากจนด้วยซ้ำ น่าจะเอาเงินไปทำอย่างอื่นดีกว่า”

เงิน 5 พันล้านถ้าไม่เอาไปซื้อของเล่นให้เด็กแล้วยังมีอะไรที่จำเป็นมากกว่า

ในปีงบประมาณ 2555 กระทรวงศึกษาธิการได้รับงบก้อนใหม่จำนวน 4.1แสนล้านบาทที่ส่วนใหญ่เป็นงบสำหรับเรียนฟรี เป็นเงินกู้เพื่อการศึกษาและใช้สำหรับเคลียร์หนี้ให้ข้าราชการครู มีเพียง 3% เท่านั้นที่เป็นงบสำหรับนำมาพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้การศึกษามีมาตรฐาน และส่วนใหญ่งบที่ว่าก็ลงไปยังโรงเรียนขนาดใหญ่ และมีศักยภาพแล้วตามสัดส่วนโครงสร้างการบริหาร แต่สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กตามชายขอบชนบทที่ห่างไกลยังขาดแคลนเหมือนเดิม บางแห่งยังมีระบบนักเรียนสองคนต่อหนังสือ 1เล่มอยู่ อาคารเรียนหลังคาผุ โต๊ะเก้าอี้ชำรุด และโรงเรียนด้อยโอกาสเหล่านี้ ส่วนหนึ่งกำลังจะถูกยุบ

ซึ่งจากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ทุกคนที่ถูกถามประเด็นนี้จะตอบเกือบตรงกันว่า ยังมีสิ่งจำเป็นอย่างอื่นมากกว่าแท็บเล็ต เช่น การช่วยเหลือโรงเรียนห่างไกลให้ได้มีอุปกรณ์การศึกษาที่ทั่วถึงและทัดเทียม กับเด็กในเมือง โรงเรียนบางแห่งกำลังจะถูกยุบเพราะมีจำนวนนักเรียนน้อย เพราะอะไร เพราะมันขาดแคลนส่วนใหญ่จึงต้องย้ายไปในที่ที่มันครบและพร้อมกว่า

ข้อมูลจากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้ประชุมการศึกษาวิจัยรูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้โดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ พก พา หรือ One Laptop per Child จากผลวิจัยการนำร่องเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาในโรงเรียน4 ภูมิภาค ระดับ ป.3-6 พบว่าพฤติกรรมผู้เรียนต่อคอมพิวเตอร์พกพานั้น เด็ก มีความตื่นตัวจากคอมพิวเตอร์พกพาไม่ยืนยาว ซึ่งต้องอาศัยโรงเรียนและครูทำงานกับคอมพิวเตอร์พกพาให้มากขึ้น สำหรับเนื้อหาหลักสูตรและการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนจากการใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา พบว่า ต้องมีการสร้างกิจกรรมเสริมศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคนแบบองค์รวม ไม่เน้นด้านวิชาการ แต่มุ่งให้ผู้เรียนคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น

โครงการแจกแท็บเล็ตเริ่มเป็นรูปเป็นร่างซึ่งคาดว่าต้นปีหน้าจะเริ่มนำ ร่องแจกเด็กระดับชั้นป.1 ก่อนและเมื่อครอบคลุมทั้งโครงการเด็กนักเรียนในระบบการศึกษาทุกคนจะได้รับ แจก แต่ยังไม่รู้ว่าถึงชั้นไหนแต่ที่แน่ๆต้องเตรียมควักกระเป๋าอีกไม่ต่ำกว่า2 หมื่นล้านแน่ และอีกคำถามที่คนสนใจว่าแท็บเล็ตที่เอามาแจกเป็นของระดับเดียวกับ ไอแพ็ด หรือแท็บเล็ตยี่ห้อดังๆหรือเปล่า แน่นอนว่ามันไม่ใช่เพราะน่าจะเป็นของราคาถูกจากเมืองจีนที่ผู้เชี่ยวชาญฟัน ธงว่าอยู่ได้ไม่เกิน3 เดือนแน่นอน แสดงว่าต้องเสียเงินเปล่าเช่นนั้นหรือ ไปไปมามาล่าสุดรัฐบาลบอกไม่แจกให้ตัวเด็กแล้ว แต่จะแจกให้โรงเรียนแทนและแท็บเล็ตก็ยังไม่รู้ว่าจะเอามาจากไหนเพราะอาจให้ คณะวิศวกรรมของมหาวิทยาลัยในไทยประกอบหรือไม่ก็มอบหมายให้ทางฝั่งสายอาชีวะ ศึกษาทำให้ก็ได้ เราคงต้องรอชมว่าเขาจะทำอย่างไรต่อไป และหวังว่าคงไม่ใช่นโยบายแก้บนอย่างที่เขาว่านะท่านนายกฯ

สรุปแล้วก็คือพวกคุณไม่อยากให้แจก.....แต่อยากให้ไปช่วยโรงงเรียนที่ ขาดแคลนอุปกรณ์การสอนก่อน การบริหารงานเนี่ยมันทำได้แค่ชั้นเดียวเชิงเดียวเองเหรอครับ....ทำควบคู่กัน ไม่ได้เลยใช่มั๊ยครับ ไม่อย่างงั้นมันก็จะเข้าตำรา...อย่าพึ่งลดภาษีสรรพสามิตรถคันแรกเลยต้องรอ ให้คนไทยมีฐานะดีทุกคนเสียก่อน......อย่างนี้อีกร้อยชาติก็ไม่ได้ทำแหงๆ....

คนเรา...โรงเรียนของเรา...สังคมของเรา มันมีโอกาสไม่เท่ากันทั้งประเทศหรอกครับ(ทั่วโลกก็เป็นแบบนี้) นโยบายนี้ก็คงทำให้โรงเรียนที่เขามีโอกาสมากกว่าได้ประโยชน์ล่วงหน้าไปก่อน เพื่อพัฒนาเด็กที่มีโอกาสดีกว่าได้เพิ่มขีดความสามารถเพื่อจะได้สามารถแข่ง ขันกับต่างชาติได้....ส่วนโรงเรียนที่มีโอกาสน้อยกว่าก็ค่อยๆก้าวตามไปตาม อัตภาพอย่างน้อยก็เป็นการพัฒนาคนรุ่นใหม่ของสังคมในชนบทครับ....

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker