สุ รเกียรติ์ได้เข้ามามีบทบาทในคอป.เรียบร้อยแล้วตาม"ข่าวข้อตกลงลับ3ฝ่าย"ก่อน การเลือกตั้ง 3 กรกฎา ส่วนข้อตกลับอื่นๆเช่น ข้อเสนอแนะในเรื่องการปรองดอง ให้นิรโทษกรรมแก่ทักษิณ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในช่วงเหตุการณ์ปราบปรามผู้ชุมนุมเมื่อปีที่แล้ว และกองทัพ โดยข้อเสนอแนะดังกล่าวจะถูกเสนอให้มีการลงประชามติ รวมไปถึงการรอมชอมเพื่อแบ่งสรรอำนาจของฝ่ายทัีกษิณกับชนชั้นนำจะกลายเป็น จริงหรือไม่? สาธารณชนพึงจับตามองต่อไป
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
24 กันยายน 2554
เมื่อวานนี้( 23 กันยายน) ที่โรงแรมสยามซิตี นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) พร้อมด้วยนายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม และคณะกรรมการ คอป. แถลงข่าวเปิดตัวทีมที่ปรึกษา คอป. ซึ่งมีทั้งผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศและในประเทศจำนวน 6 คน
ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในประเทศมีนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และนายชัยวัฒน์ สถาอานันท์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ มีนางพริสซิลล่า เฮย์เนอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการค้นหาความจริงและความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน นายฮันซัน วิราจูดา อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย นายเดวิด เคเนดี้ ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และนายเดนิส เดวิด อดีตผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ แอฟริกาใต้
นายสุรเกียรติ์กล่าวว่า ทีมที่ปรึกษาจะเข้ามาทำหน้าที่ให้คำแนะนำต่างๆ ตามโอกาสที่เหมาะสม แต่จะไม่เข้าไปมีส่วนในการตัดสินใจ เพราะเป็นหน้าที่หลักของ คอป. โดยมีแผนที่จะเชิญบุคคลสำคัญระดับประเทศ ที่มีประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งจากประเทศต่างๆ เช่น นายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ นายริคาร์โด ลากอส อดีตประธานาธิบดีชิลี และนายมาร์ทติ อาห์ติซารี อดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์
ด้านนายคณิตกล่าวว่า การมีที่ปรึกษาชาวต่างชาติเข้ามาช่วยเป็นที่ปรึกษาจะช่วยให้การทำงานของ คอป. ดำเนินไปในทิศทางที่ดี
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2554 ก่อนการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคมเพียง 3 วัน ไทยอีนิวส์ได้นำเสนอรายงานข่าวเรื่อง ปูดข้อตกลงลับ3ฝ่าย พลังพิเศษยอมเพื่อไทยตั้งรัฐบาล แลกนิรโทษกรรมมาร์ค+ฆาตกร91ศพ-หยุดหมิ่น โดยนำเสนอรายงานข่าวสรุปว่า
3 ฝ่ายได้หารือกันถึงเรื่องการจัดตั้งคณะกรรมการอิสระชุดใหม่ ซึ่งจะให้ข้อเสนอแนะในเรื่องการปรองดอง รวมถึงการนิรโทษกรรมแก่ทักษิณ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงเหตุการณ์ปราบปรามผู้ชุมนุมเมื่อปีที่แล้ว และกองทัพ โดยข้อเสนอแนะดังกล่าวจะถูกเสนอให้มีการลงประชามติ ทั้งนี้ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีต่างประเทศในรัฐบาลทักษิณ ได้ตอบรับที่จะเป็นประธานคณะกรรมการชุดนี้แล้ว แต่นายสุรเกียรติ์ปฏิเสธข่าวนี้
ในช่วงที่เรานำเสนอรายงานข่าวนี้ครั้งแรกก่อนเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม มีความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
ยิ่งลักษณ์อ้างเป็นเพียงข่าวลือ สุรเกียรติ์ปฏิเสธข่าว
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กล่าวให้สัมภาษณ์ในวันที่ 30 มิถุนายนว่า เป็นเพียงข่าวลือ เพราะพ.ต.ท.ทักษิณไม่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมืองแล้ว
ส่วนนายสุรเกียรติ์ กล่าวปฏิเสธข่าวเรื่องที่ว่าเขารับตำแหน่งเป็นประธานการปรองดองชุดใหม่ เพราะคอป.ชุดศ.คณิต ณ นคร ก็ดำเนินการได้ดีอยู่แล้ว ควรให้เดินหน้าต่อไป
ข่าวข้อตกลงลับ 3 ฝ่ายนี้มีจุดเริ่มต้ืนจากการที่นาย Shawn W Crispin เขียนรายงานข่าวเรื่อง"เบื้องหลังข้อตกลงการเลือกตั้งในไทย"ลงใน เวบไซต์Asiatimesเมื่อ วันที่ 30 มิถุนายน อ้างแหล่งข่าวว่า มีการเปิดเจรจากันระหว่างนายวัฒนา เมืองสุข คนของทักษิณ กับท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ และพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณรัฐมนตรีกลาโหมที่บรูไนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ที่ผ่านมา
และได้หารือกันอีกหลายครั้ง รวมทั้งที่นครดูไบ ซึ่งทักษิณลี้ภัยอยู่ โดยกองทัพตกลงที่จะเปิดทางให้พรรคเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้ง แลกกับคำมั่นสัญญาของทักษิณที่จะไม่แก้แค้นทางการเมือง หรือ ดำเนินคดีกับบรรดาผู้นำทหารที่อยู่เบื้องหลังการยึดอำนาจเมื่อปี 2549 และเหตุการณ์ปราบปรามผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อปีที่แล้ว และจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับกิจการของกองทัพ เช่น การแต่งตั้งโยกย้ายประจำปี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ซึ่งเป็นคนสนิทของราชสำนักจะอยู่ในตำแหน่งต่อไปอีก 3 ปี รวมทั้งฝ่ายทักษิณจะต้องห้ามปรามพวกที่ต่อต้านสถาบันกษัตริย์ด้วย โดยเฉพาะบรรดาคนเสื้อแดงที่เคลื่อนไหวอยู่นอกประเทศไทย
นอกจากนี้ทั้ง 3 ฝ่ายได้หารือกันถึงเรื่องการจัดตั้งคณะกรรมการอิสระชุดใหม่ ซึ่งจะให้ข้อเสนอแนะในเรื่องการปรองดอง รวมถึงการนิรโทษกรรมแก่ทักษิณ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงเหตุการณ์ปราบปรามผู้ชุมนุมเมื่อปีที่แล้ว และกองทัพ โดยข้อเสนอแนะดังกล่าวจะถูกเสนอให้มีการลงประชามติ ทั้งนี้ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีต่างประเทศในรัฐบาลทักษิณ ได้ตอบรับที่จะเป็นประธานคณะกรรมการชุดนี้แล้ว
ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ ซึ่งถูกอ้างในรายงสานข่าวว่าเป็น key personของการเจรจาต่อรองครั้งนี้(แฟ้มภาพ:ไทยอีนิวส์)
ต่อมาหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ฉบับ วันที่ 29 มิถุนายน นำเสนอรายงานข่าวอ้างอิงจากข่าวดังกล่าวในหัวข้อเรื่อง ปูดปฏิญญาบรูไน ‘ทักษิณ-กองทัพ’ตกลงซูเอี๋ยพท.ตั้งรัฐบาล-เลิกโจมตีเจ้า
ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊คของเขาให้ความเห็นต่อข่าวดังกล่าว ดังต่อไปนี้
บทความล่าสุดของ Shawn Crispin เรื่อง "การตกลงลับ" ระหว่าง ทักษิณ-กองทัพ และ yyyyy ผมขอแนะนำ ให้หาฉบับจริงอ่านดีกว่า เพราะละเอียดกว่า ตั้งแต่ว่า ใครบ้างที่เข้าเจรจา (ไทยโพสต์ เสนอในลักษณะ "เจรจา 2 ฝ่าย" จริงๆ Crispin เขียนว่า 3 ฝ่าย แต่ ไทยโพสต์ เซ็นเซอร์ตัวเอง)******
Crispin บอกว่าการประชุม เจรจาลับที่ว่านี้ เกิดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาฯ ปีนี้ ที่บรูไน หลังกุมภาฯ มีกรณ๊สำคัญคือ การชุมนุมครบรอบ 10 เมษา (ที่จตุพร และ นปช.ถูกตั้งข้อหา "หมิ่น") และเกิดการ "ตบเท้า" ของทหารติดกันถึง 3 สัปดาห์
Crispin เองเขียนไว้ยาวเหมือนกันในบทความวันนี้ว่า การเจรจาตกลงในลักษณะนี้ ไม่มีหลักประกันว่าจะไม่ล้มเหลวภายหลัง จากการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึง หรือทั้งสองไม่ทำตามข้อตกลง และที่ผ่านมาในอดีตการเจรจาลักษณะนี้ก็ "ล้มเหลว" ภายหลังบ่อย (Crispin ใช้คำว่า meltdown)
โดยส่วนตัว ผมสงสัยว่า ถ้ามีการเจรจาที่ว่าจริงๆ เหตุการณ์ช่วงเมษา ที่ผ่านมา น่าจะทำให้ meltdown ไปแล้ว แต่ Crispin ก็อ้างว่า การที่ นปช. ไม่รณรงค์ประเด็นจตุพรติดคุกอยู่นี้ หรือที่ ธิดา ออกมายืนยันเรื่อง constitutional monarchy (ผมไม่แน่ใจเขาหมายถึงครั้งไหน ที่ว่า อ.ธิดา พูดเรื่องนี้) เป็นการ "ส่งซิก" ว่า ฝ่ายทักษิณ ยังคงยึดมั่นกับข้อตกลงของการเจรจาอยู่
........
เมื่อไม่กี่เดือนก่อน Crispin เขียนบทความเรื่องหนึ่งทำนอง "ปูด" เรื่องการเจรจาลับ ระหว่างฝ่ายทักษิณกับฝ่าย "establishment" เหมือนกัน มีข้อมูลรูปธรรมบางอันคลาดเคลื่อน เช่น การพูดถึง บ.ก.ลายจุด ... แต่เรื่องเนื้อหาของการเจรจา (แลกเปลี่ยนระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราว แกนนำ นปช.ในคุก กับ การไม่ยกระดับการเคลื่อนไหว ของ นปช. เพื่อเข้าสู่ "โหมดเลือกตั้ง") ก็มีส่วน "เข้าเค้า" อยู่ และผมก็ได้ยินมาทำนองเดียวกัน (แต่บางเรื่องสำคัญ อย่างการอนุญาติให้ทักษิณเคลื่อนย้ายเงินจำนวนหนึงที่ถูกอายัดไว้ในบัญชี ธนาคารออกไป ผมไม่สามารถทราบได้)
ที่ผมอยากเสนอคือ บทความ "ปูด" ในลักษณะนี้ ก็มีส่วนคล้ายพวก "ข่าวกรอง" ที่มีอยู่ใน โทรเลขวิกิลีกส์ คือ มักจะมีด้านที่ตรงความจริงบางส่วน แต่ไม่ทั้งหมด
เฉพาะเรื่องล่าสุดนี้ อย่างที่ผมเขียนข้างต้นว่า ผมออกจะรู้สึกว่า ถ้ามีการเจรจาอะไรกันจริง เหตุการณ์ช่วง เมษายน ก็น่าจะทำให้ deal off ไปแล้วมากกว่า (แต่ในส่วนของประเด็นที่ ทำไม นปช.ไม่เคลื่อนไหวกรณีจตุพร จะถือเป็นการ "ส่งซิ้ก" ว่า ยังคงยึดข้อตกลงของฝ่ายทักษิณ ตามที่ Crispin อ้างหรือไม่ ผมก็ไม่ทราบ)
จบ.
ข่าวไทยโพสต์เสนอ ในหัวข้อข่าวเรื่อง ปูดปฏิญญาบรูไน ‘ทักษิณ-กองทัพ’ตกลงซูเอี๋ยพท.ตั้งรัฐบาล-เลิกโจมตีเจ้า
"ฌอน คริสพิน" ปูดแผนเกี้ยเซี้ย อ้าง "วัฒนา" ตัวแทน "ทักษิณ" ดอดเจรจาลับกับ "ปิ๊กป้อม" ที่บรูไนเปิดทางเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาล แลกไม่ดำเนินคดีผู้นำกองทัพ ให้ทักษิณปรามพวกต่อต้านสถาบัน ระบุ "สุรเกียรติ์" รับนั่งประธานปรองดอง
เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ออนไลน์ เอเชียไทมส์ ได้เผยแพร่รายงานข่าวเจาะ โดยฌอน คริสพิน ผู้สื่อข่าวชาวต่างชาติที่คร่ำหวอดกับสถานการณ์ของประเทศไทยมานานนับทศวรรษ ภายใต้ชื่อเรื่อง "ข้อตกลงเบื้องหลังการเลือกตั้งของไทย" ระบุว่า กองทัพ และอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ได้เปิดการเจรจาลับกันมาแล้วหลายครั้ง ซึ่งทำให้เกิดการคาดการณ์ว่าทหารจะไม่เข้ายึดอำนาจ แต่จะเปิดทางให้พรรคเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาล โดยแลกเปลี่ยนกับผลประโยชน์ของแต่ละฝ่าย
รายงานได้อ้างแหล่งข่าววงในระบุว่า นายวัฒนา เมืองสุข ในฐานะตัวแทนของทักษิณ และรัฐมนตรีกลาโหม พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้เจรจาต่อรองกันที่ประเทศบรูไนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ และได้หารือกันอีกหลายครั้ง รวมทั้งที่นครดูไบ โดยกองทัพตกลงที่จะเปิดทางให้พรรคเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้ง แลกกับคำมั่นสัญญาของทักษิณที่จะไม่แก้แค้นทางการเมือง หรือ ดำเนินคดีกับบรรดาผู้นำทหารที่อยู่เบื้องหลังการยึดอำนาจเมื่อปี 2549 และเหตุการณ์ปราบปรามผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อปีที่แล้ว
และจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับกิจการของกองทัพ เช่น การแต่งตั้งโยกย้ายประจำปี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ซึ่งเป็นคนสนิทของราชสำนักจะอยู่ในตำแหน่งต่อไปอีก 3 ปี รวมทั้งฝ่ายทักษิณจะต้องห้ามปรามพวกที่ต่อต้านสถาบันกษัตริย์ด้วย โดยเฉพาะบรรดาคนเสื้อแดงที่เคลื่อนไหวอยู่นอกประเทศไทย
นอกจากนี้ทั้ง 3 ฝ่ายได้หารือกันถึงเรื่องการจัดตั้งคณะกรรมการอิสระชุดใหม่ ซึ่งจะให้ข้อเสนอแนะในเรื่องการปรองดอง รวมถึงการนิรโทษกรรมแก่ทักษิณ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงเหตุการณ์ปราบปรามผู้ชุมนุมเมื่อปีที่แล้ว และกองทัพ โดยข้อเสนอแนะดังกล่าวจะถูกเสนอให้มีการลงประชามติ ทั้งนี้ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีต่างประเทศในรัฐบาลทักษิณ ได้ตอบรับที่จะเป็นประธานคณะกรรมการชุดนี้แล้ว
อย่างไรก็ดี รายงานข่าวชิ้นนี้ระบุว่า ยังไม่แน่ชัดว่าฝ่ายตรงข้ามทักษิณมีความเป็นเอกภาพหรือไม่ในการทำข้อตกลงกับ ทักษิณเสนอให้นิรโทษกรรมแก่ทักษิณในคดีคอรัปชั่น และเปิดทางให้เขาเดินทางกลับประเทศ
มีรายงานว่า รายงานข่าวชิ้นดังกล่าวสะพัดมา 2 สัปดาห์แล้ว เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือว่าเพื่อไทยสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้
******