บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

สุจิตต์ วงษ์เทศ: ชำระประวัติศาสตร์ "ไตรภูมิพระร่วง เป็นของสมัยอยุธยา, ธนบุรี, กรุงเทพฯ"

ที่มา Thai E-News


นัก วิชาการแะประวัติศาสตร์ไทยจำเป็นต้องชำระประวัติศาสตร์ ชำระวัฒนธรรมหลวง ชำระวิถึ "ไทยแท้" ชำระจิตวิญญาณประชาชาติผ่านพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน และสนับสนุนนักวิชาการที่ขุดคุย ค้นคว้า และตั้งคำถามกับอดีต เพื่อเสรีภาพแห่งวิชาการ

ทีมข่าวไทยอีนิวส์


โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ
(ที่มา คอลัมน์สยามประเทศไทย หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 15 กันยายน 2554)


ไตรภูมิอยุธยา - สำเนาหนังสือไตรภูมิคัดลอกมาจากต้นฉบับ "ไตร่ยภูมพระมาไลย" จากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มภาษาและวรรณกรรม กรมศิลปากร นำมาแสดงเมื่อวันที่ 9 กันยายน ชี้เป็นหลักฐานสำคัญที่จะช่วยยืนยันว่าสมัยกรุงศรีอยุธยามีไตรภูมิ ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (ภาพและคำอธิบายจาก มติชน ฉบับวันเสาร์ที่ 10 กันยายน 2554 หน้า 1)

รัฐ สุโขทัยไม่เคยมีหนังสือไตรภูมิ เพราะเล่มที่เรียกไตรภูมิพระร่วงไม่ใช่สำนวนเก่าแก่ แต่เป็นหนังสือแต่งสมัยหลัง เช่น ปลายอยุธยา, หรือไม่ก็ธนบุรี, กรุงเทพฯ

"ไตรภูมิ" เป็นความรู้ชั้นสูงของคนชั้นสูงในสุวรรณภูมิและอุษาคเนย์ ที่รับจากชมพูทวีป(อินเดีย) ตั้งแต่ราว พ.ศ. 1000 หรือก่อนหน้านั้น

ความ รู้ไตรภูมิเป็นเรื่องเกี่ยวกับกำเนิดและความเป็นมาของสิ่งต่างๆ เช่น จักรวาลและโลกแบน มีเขาพระสุเมรุเป็นแกนกลาง, รวมทั้งคำอธิบายว่า พระราชามาจากไหน? มาอย่างไร? เป็นต้น

พราหมณ์ชมพูทวีปเอาความรู้ ไตรภูมิเข้ามาเผยแผ่ก่อนที่อื่นๆ ให้คนชั้นสูงในสุวรรณภูมิ บริเวณบ้านเมืองแถบลุ่มน้ำแม่กลอง-ท่าจีน(เจ้าพระยา) มีหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดียืนยันเป็นรูปปูนปั้นต่างๆ ที่อู่ทอง(สุพรรณบุรี) และนครชัยศรี(นาครปฐม)

หลักฐานนั้นได้แพร่หลายไปลุ่มน้ำอื่นๆ เช่น ลพบุรี-ป่าสัก, ปิง-วัง แล้วเข้าถึงรัฐสุโขทัยบริเวณลุ่มน้ำยม-น่าน ในสมัยหลัง

หาก เชื่อได้ตามที่เล่ามาข้างต้น ความรู้ไตรภูมิต้องมีเป็นลายลักษณ์อักษรอยู่ในราชสำนักอโยธยา-ละโว้ ทางลุ่มน้ำเจ้าพระยา ก่อนลุ่มน้ำอื่นๆ โดยเฉพาะก่อนลุ่มน้ำยม-น่าน ที่ราชสำนักสุโขทัยมีขึ้นหลังรัฐอโยธยา-ละโว้

แต่การเมืองในราชสำนัก กรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่สมัยแรกจนสมัยหลัง กำหนดให้ไตรภูมิฉบับพระมหาช่วย อักษรขอม ภาษาไทย จารบนใบลาน เมื่อ พ.ศ. 2321 ปลายแผ่นดินพระเจ้าตาก(กรุงธนบุรี) ว่าเป็น "ไตรภูมิพระร่วง" ทำขึ้นโดยพญาลิไทย หรือพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย ที่ถูกสร้างใหม่ให้เป็นราชธานีแห่งแรกของไทย

"ไตรภูมิพระร่วง"ที่ผ่านมาก็ถูกอุปโลกน์เป็นไตรภูมิฉบับแรกและฉบับเดียวในไทยแล้วห้ามสงสัย ห้ามถาม ห้ามเถียง

ในทำเนียบประวัติวรรณคดีไทยของทางการ จึงไม่มีหนังสือไตรภูมิยุคอยุธยา จะมีก็แต่สมุดภาพไตรภูมิ

อันที่จริงไตรภูมิไม่จำเป็นต้องมีฉบับเดียว จะมีกี่ฉบับก็ได้ เพราะมีประเพณีคัดลอกต่อๆกันไป

การคัดลอกก็อาจเพิ่มข้อความของตนลงตรงไหน หรือตอนหนึ่งตอนใดก็ได้อีก แล้วมีให้จับพิรุธได้บ่อยๆ

ดังนั้นจะเขียนความเชื่อของตัวเองลงไปก็ได้ ว่าพญาลิไทยแต่งไตรภูมิ เมื่อ พ.ศ. 1888

ที่ทางการแถลงว่าพบไตรภูมิฉบับอยุธยา อยู่ในหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส เท่ากับยืนยันว่ายุคอยุธยามีหนังสือไตรภูมิจริงๆ

แต่ นักค้นคว้านอกกระแสไม่เคยคิดว่าไตรภูมิพระร่วงของทางการเป็นวรรณคดี รัฐสุโขทัย เพราะสำนวนโวหารของไตรภูมิฯ ส่วนมากเป็นยุคอยุธยา และยุคกรุงธนบุรี-กรุงเทพฯ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ เชื่อว่ามีส่วนเป็นพระราชนิพนธ์ ร.4 ด้วยซ้ำไป

รัฐสุโขทัยไม่เคยมีหนังสือไตรภูมิ เพราะหนังสือไตรภูมิที่มีเป็นของรัฐอยุธยา และอาจเป็นของรัฐหลังจากนั้นก็ได้

บอก มาอย่างนี้ นักวิชาการด้านภาษาและวรรณคดีต้องโมโหโกรธาหัวหกก้นขวิดเป็นปกติ เพราะพวกเขาคิดว่าภาษาและวรรณคดีเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเป็นสมบัติของผู้ดี ขุนนางอำมาตย์เท่านั้น คนชั้นอื่นๆไม่เกี่ยว

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker