บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551

จากตำนาน แดง-ไม่รับ ถึง แดง-แก้ไขรธน.50

การต่อสู้กับเผด็จการหลังการยึดอำนาจของคณะผู้นำทหารเมื่อ 19 กันยายน 2549 ปรากฏการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น จนต้องกล่าวได้ว่า มันจะเป็นตำนานของการต่อสู้กับเผด็จการที่ถูกกล่าวขานไปได้อย่างไม่สิ้นสุด นั่นก็คือ สัญลักษณ์ สีแดง ที่ถูกนำมาใช้ จนเป็นที่มาของ สโลแกนว่า “แดง-ไม่รับ”

กระแสการใช้สีแดง เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้กับเผด็จการ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช.ที่ใช้กองกำลังทหารเข้ายึดอำนาจการปกครองในระบอบประชาธิปไตย พร้อมฉีกรัฐธรรมนูญ 2540 ของประชาชนทิ้ง ต้องยอมรับว่า ก่กำเนิดขึ้นจากกลุ่มประชาชนที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยกลุ่มหนึ่งในนามของ “กลุ่มพลเมืองภิวัฒน์” ที่ขณะนี้มีสตรีวัย 30 กว่าๆ เป็นเลขาธิการอยู่ในปัจจุบัน

โดย สิริวารี ที่รู้จักันดีสำหรับในกลุ่มคนที่ออกมายืนเรียกร้องประชาธิปไตยที่ท้องสนามหลวง ในชื่อเล่นว่า “นก” เปิดเผยถึงตำนาน “แดง-ไม่รับ” ให้ฟังว่า เรื่องนี้ต้องยกเครดิตให้กับสุภาพบุรุษในนามของ บก.ลายจุด หรือ สมบัติ บุญงามอนงค์ อดีตแกนนำผู้ก่อตั้ง กลุ่มพลเมืองภิวัฒน์ เขาคือเจ้าของไอเดีย เจ้าของความคิด

สิริวารี ย้อนความหลังให้ฟังว่า เดิม สมบัติ หรือ บก.ลายจุด เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม 19 กันยาต่อต้านรัฐประหาร ร่วมกับผู้รักประชาธิปไตยในวัยหนุ่มวัยสาวอีกหลายคน และนับเป็นกลุ่มแรกที่จัดให้มีการเดินขบวนประท้วงการยึดอำนาจของกลุ่มเผด็จการทหาร แต่ภายหลัง สมบัติ ได้แยกตัว ออกมาตั้งกลุ่มใหม่ขึ้นอีกกลุ่ม ในนามของกลุ่มพลเมืองภิวัฒน์

แต่การต่อสู้ขณะนั้นดูจะสะเปะสะปะพอควร เนื่องจากประชาชนที่มายืนรวมตัวกันต่อต้านเผด็จการและทวงคืนประชาธิปไตยขณะนั้นล้วนมาจากทั่วสารทิศ ที่ไม่มีการจัดตั้งหรือเป็นมือก่อม็อบเชียวชาญเช่นเดียวกับกลุ่มพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย จึงค่อนข้างขาดยุทธวิธี

แต่สำหรับ สมบัติ ผู้นี้แล้ว เบื้องหลังเขาคือ ประธานมูลนิธิกระจกเงา หนึ่งในองค์กร เอ็นจีโอ ที่ทำงานด้านการช่วยเหลือสังคม ช่วยเหลือผู้คน ทั้งเด็กทั้งชาวบ้าน มาพอสมควร กอปรกับเจ้าตัวก็เป็นนักคิด นักต่อสู้มาตลอด จึงทำให้ต้องขบคิดถึงการต่อสู้ที่ต้องสร้างสัญลักษณ์ขึ้นมา โดยเป้ามหายก็เพื่อหวังให้คนไทยในสังคมขณะนั้น เห็นว่า ต่อสถานการณ์ที่เผด็จการครองเมือง ใช้อำนาจบาตรใหญ่กดขี่ข่มเหงสิทธิและเสรีภาพจนผู้คนต้องสยบยอมก้มหัวให้ แต่ไม่ว่าจะขนาดไหน ต้องให้รู้ว่าในสังคมไทยยังมีคนอีกจำนวนมากที่พร้อมออกมาต่อสู้กับอำนาจที่ไม่ชอบธรรมที่เกิดขึ้น และไม่เกรงกลัวต่อ

“นก เริ่มร่วมต่อสู้กับเพื่อนๆ ที่ท้องสนามหลวงนับแต่วันแรกรุ่งขึ้นที่ทราบข่าวการยึดอำนาจแล้ว ขณะนั้นสื่อทั้งโทรทัศน์ วิทยุ บิดเบือนและกลับไปยืนข้างเผด็จการจนหมดสิ้น พวกเราส่วนใหญ่เริ่มรวมตัวและส่งข่าวสาร กระจายข่าว แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันบนเน็ต และเว็บไซต์ของกลุ่มผลเมืองภิวัฒน์ ก็เป็นหนึ่งในไม่กี่เว็บในขณะนั้นที่เปิดขึ้นเพื่อการต่อสู้ ซึ่งเราได้เริ่มรับรู้ซึ่งกันและกัน แล้วก็นัดพบเพื่อหารือและหาแนวทางในการรณรงค์ให้คนไทยที่ยังไม่รู้เบื้องหน้าเบื้องหลัง หรือแม้แต่ที่ออกมาชื่นชมทหารที่ใช้กำลังเข้ายึดอำนาจ ได้เข้าใจว่า นั่นคือหลักการที่ผิดอย่างมหันต์ และจะสร้างความเสียหายทั้งต่อเศรษฐกิจ และสังคมให้กับประเทศไทยอย่างมาก” สิริวารี กล่าว

สิริวารี ยอ้นอดีตให้ฟังต่อไปว่า หลังจากนั้น เธอจึงเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มพลเมืองภิวัฒน์มาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการสร้างสัญลักษณ์สีแดงให้สังคมรับรู้ว่า สีแดงนี่แหละคือสัญลักษณ์แห่งการต่อต้านเผด็จการ ดังนั้น การสวมใส่เสื้อสีแดงจึงถูกนำมาเป็นเครื่องหมายของกลุ่มพลเมืองภิวัฒน์ในทันที

“เสื้อสีแดงชุดแรก ออกมาเพื่อการต่อต้านเผด็จการ พร้อมกับทีมงานสัปดาห์ละกว่า 10 คน บ้าง อยู่ในราวๆ นี้ คือในทุกวันเสาร์กลุ่มพลเมืองภิวัฒน์จะมีกิจกรรมออกรณรงค์ปราศรัยย่อยไปตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สวนจตุจักร อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รังสิต หรือแม้แต่ทางด้านฝั่งธนฯ พวกเราไปหมด สวมเสื้อแดงปราศรัย แจกใบปลิว เราทำมาอย่างต่อเนื่อง และในบางครั้งเมื่อมีกลุ่มผู้รักประชาธิปไตยกลุ่มอื่น เช่น กลุ่มฅนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ กลุ่มพิราบขาว 2006 จนมาถึง พีทีวี นปก.เปิดเวทีปราศรัยที่ท้องสนามหลวง พลเมืองภิวัฒน์ ก็จะเข้าร่วม ด้วยสัญลักษณ์สีแดง ทั้งเสื้อ บอร์ด ป้ายประจำเต็นท์”

สตรีวัย 30 กว่าๆ ผู้นี้ ยังกล่าวต่อไปว่า ช่วงแรกของการต่อสู้ยังไม่เหนื่อยหรือสาหัสมานัก แต่เมื่อรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2549 ของ คมช. กำหนดให้มีการลงประชามติหลังจากเหล่าสมุนเผด็จการที่อยู่ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้ร่างรัฐธรรมนูญโจร เสร็จเรียบร้อยแล้ว พร้อมกำหนดให้วันที่ 19 สิงหาคม 2550 เป็นวันลงประชามติ ช่วงรณรงค์ตอนนี้เอง ที่กลายเป็นจุดร่วมของทุกกลุ่มที่เข้าต่อสู้ต่อต้านเผด็จการ คมช.ร่วมกัน

“จำได้ว่า พีทีวี กลุ่มคุณวีระ มุสิกพงศ์ คุณจักรภพ เพ็ญแข คุณจตุพร พรหมพันธุ์ หลังต้องออกมาเปิดเวทีปราศรัยที่ท้องสนามหลวง การรวมตัวของผู้รักประชาธิปไตยหลายกลุ่มก็เริ่มรวมเป็นหนึ่งเดียวกันในชื่อของ นปก.หรือแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ มีการปราศรัยทุกวันในช่วงเย็น กลุ่มพลเมืองภิวัฒน์ก็เป็นหนึ่งในแนวร่วม ของ นปก. ขณะที่การใช้เสื้อแดง ก็ยังคงเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม ที่รู้กันหรือหากไปท้องสนามหลวงเวลานั้น จะชินปากกันว่า เต้นท์เสื้อแดง ก็จะทราบกันทันที ช่วงนี้ เราปรับเปลี่ยนสโลแกนมาเป็น คมช. กบฏยุคสุท้าย”

สิริวารี เปิดเผยด้วยว่า หลายกลุ่มขณะนั้น พุ่งเป้าการต่อสู้ไปที่ ล้ม คมช. ดังนั้น จึงมีการเดินขบวนไปเยี่ยมเยี่ยนที่ตั้งของสัญลักษณ์ของประชาธิปไตย หรือสำนักของเหล่าเผด็จการอยู่เป็นระยะๆ เช่น อนุสาวรีย์บ้าง กองทพบกบ้าง จนมาที่บ้านสี่เสาเทเวศร์ 2-3 ครั้ง จนท้ายสุดเกิดการปะทะกันขึ้นเมื่อวันที่ 22 กรกฏาคม 2550 อย่างไรก็ตาม กลุ่มพลเมืองภิวัฒน์ เริ่มเปิดประเด็นของไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ขึ้นเป็นกลุ่มแรกในช่วงนั้น ด้วยคำ “Thai Say No” พร้อมกับ “ไม่เอา ไม่รับ ไม่ปลื้ม รัฐธรรมนูญ คมช.” ซึ่งก็หมายถึง ประชาชนคนไทยจะไม่รับ หรือรับไม่ได้อย่างเด็ดขาดกับรัฐธรรมนูญที่กำลังจะต้องลงประชามติในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าในขณะนั้น

“19 สิงหาคม 2550 คือวันที่ต้องลงประชามติกัน เมื่อการต่อสู้มาถึงระยะหนึ่ง แต่ คมช.และเผด็จการยังคงแข็งกร้าว กลุ่มประชาชนในนามของ นปก.เองก็ไม่ต้องการต่อสู้ด้วยวิธีการรุนแรง โดยให้เป็นไปตามสันติวิธี เวลาจึงใกล้การลงประชามติเข้ามาแล้ว เมื่อพลเมืองภิวัฒน์เป็นหนึ่งใน นปก. และตอนนั้น คุณ สมบัติ ก็นับเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงมากคนหนึ่งในแกนนำ นปก. ขณะที่พลเมืองภิวัฒน์ ตั้ง ธง ไว้แล้ว คือการรรงค์ Thai Say No ดังนั้น ธง การรรรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ จึงเริ่มขึ้นเป็นในนามของ นปก.”

สิริวารี เล่าต่อไปว่า กลุ่มผู้ชุมนุมที่ท้องสนามหลวงขณะนั้นมีไม่ต่ำกว่า 2-3 หมื่นคน ต่อคืน บ้างก้เดินทางมาจากต่างจังหวัดทั้งจากภาคเหนือ กลาง อีสาน หรือแม้กระทั่งภาคใต้ เมื่อเป้าของ นปก. พุ่งไปสู่การณรงค์ให้ประชาชนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญของโจรกบฏ ทุกคนจึงร่วมมือร่วมใจกันอย่างแข็งขัน เอกสารที่ได้รับการบริจาคมาจากทั่วสารทิศเกี่ยวกับเหตุผลการไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 50 ถูกกระจายไปทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ท้องสนามหลวง

“แดง-ไม่รับ ถูกจุดให้ดังกระหึ่มขึ้นในช่วงนี้ หลายกลุ่มเริ่มใช้สัญลักษณ์เสื้อแดงกันทั่ว ใส่กันทุกวัน ต่างจังหวัดก็ติดต่อขอนำไปสวมใส่ขยายสัญลักษณ์การต่อสู้ให้มากขึ้น แต่ช่วงนั้นการสกัดกั้นมีมากทั้งทหาร ทั้งตำรวจ แม้กระทั่งข้าราชการพลเรือนที่ยืนอยู่ข้างเผด็จการก็ร่วมด้วย เรียกว่าบางครั้งถึงกับจับข้อหาใส่เสื้อแดงก็มี”

สิริวารี ย้อนอดีตให้ฟังอีกช่วงว่า ก่อนหน้ารณรงค์ “แดง-ไม่รับ” สโลแกนเสื้อแดงของกลุ่มพลเมืองภิวัฒน์เปลี่ยนจาก “คมช.กบฏยุคสุดท้าย” มาเป็น “วันอาทิตย์สีแดง” ลดความรุนแรงจากถ้อยคำลงเล็กน้อยเพื่อให้คนที่ยังหวาดกลัว อำนาจมืดของ คมช. กล้าสวมใส่ และขอให้พร้อมใจกันใส่ในทุกวันอาทิตย์

“เราทำกิจกรรมหลายรูปแบบ ทั้งแรลลี่ สวมใส่เสื้อแดงร้องเพลงของคุณจิ้น กรรมาชนกันที่หน้า พารากอน สยามสแควร์ เหล่านี้ก็ทำมาอย่างต่อเนื่อง ยิ่งช่วงใกล้ลงประชามติ ดีกรียิ่งเพิ่มขึ้น เรามีการจัดกระบวนรถแดงวิ่งประชาสัมพันธ์แจกเอกสารไม่รับร่างรัฐธรรมนูญทุกวัน แดงหมดทั้งรถสามล้อนำ และรถสีล้อแดง วิ่งทั่วกรุงเทพฯทุกวัน ทั้งแจกเอกสาร ทั้งปราศรัยให้ผู้คนได้รับรู้ถึงความไม่ชอบมาพากล ประเด็นซ่อนเงื่อนงำต่างๆ ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญของโจรปล้นประชาธิปไตยฉบับนี้ เสียงตอบรับมีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด” สิริวารี กล่าวพร้อมความงุนงง

“ที่เราแพ้ประชามติครั้งนั้น เราเสียใจกันมาก แต่ก็เผื่อใจกันไว้แล้ว เพราะการใช้อำนาจรัฐสกัดกั้นมากมายเหลือเกิน หากยังจำกันได้ มีข่าวถึงขั้น คมช.ใช้กำลัง กอ.รมน. (กองอำนวยการรักษาควมมั่นงคภายใน) ทั้งที่เป็นเจ้าหน้าที่และอาสาของพวกเขาเป็นหมื่นๆ ลงพื้นที่ทุกหมู่บ้านในต่างจังหวัด คือทั้งสกัดข่าวสารของฝ่ายประชาธิปไตย ทั้งกล่อมให้รับร่างรัฐธรรมนูญไปก่อน เดี๋ยวจะไม่มีเลือกตั้ง เดี๋ยวจะไม่ได้ประชาธิปไตยกลับมา ถึงขั้นบอกให้รับร่างเพื่อไล่ คมช.พ้นไปก็มี”

สิริวารี กล่าวด้วยความเชื่อมั่นว่า ตัวเลขรับกับไม่รับรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ห่างกันไม่กี่ล้านเสียง หากสังคมอยู่บรรยากาศประชาธิปไตยที่ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพแล้ว เผด็จการไม่มีวันชนะอย่างแน่นอน ดังนั้น แม้แพ้ในการรณรงค์ครั้งนั้น ไม่ใช่สังคมไทยเมินต่อประชาธิปไตย แต่เป็นเพราะอำนาจมืดของเผด็จการ ใช้ยุทธวิธีทุกรูปแบบบิดเบือนให้ผลที่ออกมาเป็นไปตามที่ต้องการ

และเมื่อมาถึงวันนี้ วันที่เธอต้องมารับหน้าที่เป็นเลขาธิการกลุ่มพลเมืองภิวัฒน์ หลังจาก สมบัติ บุญงามอนงค์ ลดบทบาทลงเพื่อกลับเข้าสู่ความรับผิดชอบต่อองค์กร มูลนิธิกระจกเงา ที่เขามีหน้าที่เป็นประธานมูลนิธิฯไปแล้ว สิริวารี ยังคงถือ ธง กลุ่มพลเมืองภิวัฒน์ แทน ด้วยการ จุดพลุ สัญลักษณ์ แดงขึ้นใหม่อีกครั้ง กับรัฐธรรมนูญโจร ที่เคยต่อสู้กันมาแล้วฉบับนี้

แต่ครั้งนี้ คือ การต่อสู้รณรงค์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แก้ไขเงื่อนงำที่ถูกซ่อนเร้น อำพราง เพื่อทำลายระบอบประชาธิปไตยที่เป็นอำนาจของประชาชนไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 และทันทีที่เธอหยิบยก “แดง แก้ไขรัฐธรรมนูญ 50” บอกกล่าวถึงกิจกรรมของกลุ่มที่จะดำเนินการในเดือนเมษายนนี้ขึ้นในที่ประชุม นปช.ล่าสุด แนวร่วมของ นปช.ที่ตั้ง ธง ไว้แล้ว จะร่วมกันรณรงค์แก้ไขเช่นเดียวกัน จึงไม่ต้องใช้เวลาขบคิดแต่อย่างใด เมื่อทุกคนเคยร่วมต่อสู้มาอย่างเข้มข้นแล้วใน “แดง-ไม่รับ”

ดังนั้น กระแส “แดง แก้ไขรัฐธรรมนูญ” หรือแม้แต่จะออกมาเป็น “แดง คว่ำรัฐธรรมนูญ” จึงได้รับการตอบรับและเห็นด้วยต่อมวลสมาชิก นปช.ถ้วนหน้า

แดง วันนี้ จึงกลายเป็น ธง ผืนใหม่ ที่ยังคงคุณค่าจาก ธง ผืนเดิม ไว้ครบถ้วน เสริมด้วยกำลังใจอย่างเหลือล้น เพื่อต่อสู้กับเผด็จการอีกรอบ ......


ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker