บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

เปิด 4 สัญญากทม. ติดตั้งกล้อง"ซีซีทีวี-ดัมมี่"

ที่มา มติชน

ที่มา - ส่วน หนึ่งเอกสารสัญญาที่กรุงเทพมหานครลงนามว่าจ้าง 3 บริษัท คือบริษัท จีเนียส ทราฟฟิค ซีสเต็ม จำกัด, บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด และกิจการค้าร่วม ทีเอ็นบี จำนวน 4 สัญญาเพื่อให้ติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (ซีซีทีวี) 2,046 ตัว และกล้องดัมมี่ 1,325 ตัว ในเขตต่างๆ ทั่ว กทม.

รายการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด หรือซีซีทีวี พร้อมอุปกรณ์กล้องดัมมี่ จากสัญญาจ้างเหมา 4 โครงการ

1.โครงการ จ้างเหมาติดตั้งกล้องวงจรปิด หรือซีซีทีวี พร้อมอุปกรณ์ประกอบและการเชื่อมโยงสัญญาณไปยังสำนักงานเขตพระนคร และสำนักงานดุสิต จำนวนกล้องติดจริง 347 ตัว และจำนวนกล้องดัมมี่ 242 ตัว มีนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ เป็นผู้อนุมัติจ้าง โดยเงินงบกลาง รายการเงินสำรองทั่วไปกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในลักษณะหมวดรายจ่ายอื่น ลงนามสัญญาวันที่ 25 ธันวาคม 2550 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 23 เมษายน 2551 โดยมีนายรัฐพล มีธนาถาวร เป็นผู้ลงนามสัญญา และบริษัท จีเนียส ทราฟฟิค ซีสเต็ม จำกัด เป็นผู้รับจ้าง มูลค่าสัญญา 106,900,000 บาท

2.โครงการ จ้างเหมาติดตั้งกล้องวงจรปิด หรือซีซีทีวี รวมอุปกรณ์การทำงาน ในพื้นที่ 1 ได้แก่ ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ จตุจักร บางซื่อ ปทุมวัน ราชเทวี พญาไท ดินแดง ห้วยขวาง และคลองเตย จำนวนกล้องติดจริง 533 ตัว และจำนวนกล้องดัมมี่ 373 ตัว มีนายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ เป็นผู้อนุมัติจ้าง จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาลปี 2549 ลงนามสัญญาวันที่ 2 กันยายน 2552 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 1 ธันวาคม 2552 โดยมีนายจุมพล สำเภาพล เป็นผู้ลงนามสัญญา และบริษัท จีเนียส ทราฟฟิค ซีสเต็ม จำกัด เป็นผู้รับจ้าง มูลค่าสัญญา 67,800,000 บาท




3.โครงการ จ้างเหมาติดตั้งกล้องวงจรปิด หรือซีซีทีวี รวมอุปกรณ์การทำงาน ในพื้นที่ 2 ได้แก่ สาทร บางรัก วัฒนา ยานนาวา บางคอแหลม บางนา คลองสาน ธนบุรี บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย บางพลัด จอมทอง ภาษีเจริญ หลักสี่ ลาดพร้าว สายไหม ดอนเมือง บางกะปิ วังทองหลาง สะพานสูง บึงกุ่ม สวนหลวง ประเวศ มีนบุรี ตลิ่งชัน บางบอน ทุ่งครุ และทวีวัฒนา คลองเตย จำนวนกล้องติดจริง 490 ตัว และจำนวนกล้องดัมมี่ 343 ตัว มีนายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ เป็นผู้อนุมัติจ้าง จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาลปี 2549 ลงนามสัญญาวันที่ 7 กันยายน 2552 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 6 ธันวาคม 2552 โดยมีนายจุมพล สำเภาพล เป็นผู้ลงนามสัญญา และบริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด เป็นผู้รับจ้าง มูลค่าสัญญา 66,240,000 บาท

4.โครงการจ้างเหมาติดตั้งกล้องโทรทัศน์ วงจรปิด หรือซีซีทีวี พร้อมอุปกรณ์การทำงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นจำนวนกล้องจริง 676 ตัว จำนวนกล้องดัมมี่ 367 ตัว มีนายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ เป็นผู้อนุมัติจ้าง จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาลปี 2550 ลงนามสัญญาวันที่ 16 พฤศจิกายน 2552 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 15 เมษายน 2553 โดยมีนายวินัย ลิ่มสกุล เป็นผู้ลงนามสัญญา และกิจการค้าร่วม ทีเอ็นบี เป็นผู้รับจ้าง มูลค่าสัญญา 86,664,069.85 บาท



หมายเหตุ รวมจำนวนกล้องจริง 2,046 ตัว และกล้องดัมมี่ 1,325 ตัว โดยโครงการที่ 1 และ 3 ได้มีการรื้อย้ายอุปกรณ์หุ้มกล้องดัมมี่ออกแล้วทั้งหมด เพื่อป้องกันการสับสนของประชาชน ส่วนโครงการที่ 2 และ 4 ได้มีการรื้อย้ายอุปกรณ์หุ้มกล้องดัมมี่ออกบางส่วน และมีคงเหลืออยู่ในพื้นที่โครงการประมาณ 500 ชุด เพื่อใช้ในการป้องปรามอาชญากรรมในพื้นที่ดังกล่าวจนกว่าจะมีการติดตั้งกล้อง จริง



นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน

ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตผู้ว่าฯกทม.

"การ ติดตั้งกล้องดัมมี่นั้นยอมรับว่าดำเนินการจริง เพราะในช่วงต้นปี 2550 มีเหตุการณ์ลอบวางระเบิดในพื้นที่กรุงเทพฯ ขณะนั้นมีกล้องวงจรปิดเพียงไม่กี่หลักร้อยเครื่องเท่านั้น ส่วนใหญ่จะเป็นเพียงกล้องจราจร ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงเสนอแนวทางติดตั้งกล้องวงจรปิดเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มมาตรการด้านความมั่นคง แต่มีข้อจำกัดด้านงบประมาณ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการติดตั้งกล้องวงจรปิดให้ครบถ้วนทุกจุดได้ จึงต้องออกสำรวจและติดตั้งกล่องเปล่า เพื่อกำหนดจุดติดตั้ง ก่อนดำเนินการติดตั้งกล้องจริงให้ครบถ้วนเมื่อมีงบประมาณ ซึ่งในส่วนของรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับงบประมาณหรือการจัดซื้อ เป็นเรื่องที่สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ต้องชี้แจง"

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร

ผู้ว่าฯกทม.

กทม.ได้ จัดซื้อและติดตั้งกล้องวงจรปิดแล้ว 2 รุ่น คือรุ่นแรก มีการจัดซื้อและดำเนินการติดตั้งหลังเหตุการณ์ระเบิดที่สี่แยกราชประสงค์ ปลายปี 2550 ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล 330 ล้านบาท สำหรับนโยบายในการจัดซื้อเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม 2550 และได้มีการจัดซื้อในเดือนพฤศจิกายน 2552 และได้มีการยกร่างประกวดราคา 4 ครั้ง ในปี 2550-2551 ซึ่งในร่างการประกวดราคาในการจัดซื้อกล้องรุ่นแรกนั้น ได้มีการกำหนดให้ซื้อกล้องดัมมี่ไว้ด้วย ส่วนการจัดซื้อครั้งที่ 2 จำนวน 10,000 ตัว มาจากการที่ได้ให้คำมั่นสัญญาสมัยหาเสียงเลือกตั้ง

"กล้อง รุ่นแรกมาจากเหตุฉุกเฉินที่รัฐบาลให้ กทม.ติดตั้งกล้องวงจรปิด ด้วยเงินงบประมาณที่จำกัดเพียง 330 ล้านบาท จึงได้มีการจัดซื้อและติดตั้งกล้องวงจรปิด 2,046 ตัว และมีกล้องดัมมี่ 1,325 ตัว เกินกว่าครึ่งของกล้องจริง เพราะขณะนั้นกล้องของจริงมีราคา 34,000-130,000 บาท ส่วนกล้องดัมมี่ราคา 2,500-2,700 บาท ในขณะนั้นกล้องดัมมี่ถือว่ามีประโยชน์ต่ออาชญากร เพราะทำให้เกรงกลัวการทำความผิด ประชาชนมีสิทธิที่จะคิดและวิพากษ์วิจารณ์ว่าการติดตั้งดัมมี่มีความสมควร หรือไม่ แต่ไม่อยากให้สรุปว่าเป็นการคอร์รัปชั่น เพราะกล้องดัมมี่อยู่ในแผนการจัดซื้ออยู่แล้วตั้งแต่แรก เรื่องกล้องดัมมี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะในต่างประเทศก็นิยมใช้กล้องดัมมี่ในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมเช่นกัน"

(มติชนรายวัน วันเสาร์ที่ 24 กันยายน 2554 หน้า2)


ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker