บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

รัฐซ้อนรัฐ

ที่มา Thai E-News





ประเทศไทยต้องออกจากแนวความคิดด้านนิติธรรมที่เป็นเป็นทางการ (หรือ “เปราะบาง”) ในขณะที่กฎหมายถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการเป้องกันสถาบันอำนาจให้พ้นจาก การรับผิดชอบ, ระงับการอภิปรายอย่างเปิดเผยและอิสระ, ละเมิดสิทธิมนุษยชน, ดำเนินคดีต่อผู้คัดค้าน หรือทำลายกระบวนการเลือกตั้ง ไปสู่แนวความคิดที่เป็นอิสระ (หรือ “เข้มแข็ง”) ซึ่งมีอำนาจสั่งให้ผู้ปกครองใช้อำนาจโดยผ่านทางกฎหมาย


นี่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนหรือทุกสถาบันหลักๆ ปฎิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายระบุเอาไว้ โดยปราศจากการใช้อำนาจพิเศษที่ไม่ได้อยู่ในบริบทของกฎหมายเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนการอภิปรายสาธารณะอย่างอิสระด้วย



โดย โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม

ภายในไม่กี่วันหลังจากการเข้าปฎิบัติหน้าที่ รัฐบาลชุดใหม่ของพรรคเพื่อไทยก็พบว่า พวกเขาเป็นเป้าความขัดแย้งใหม่และรุนแรง

ข้อพิพาษหรือความขัดแย้งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในรัฐสภา หรือเป็นหัวข้อในเรื่องความโปร่งใสของการเลือกตั้งหรือการปกป้องฝ่ายตุลาการ ที่เป็นอิสระ เหมือนกับเหตุการณ์ภายหลังการเลือกตั้งในปี 2549 และ 2550 ซึ่งบรรดาผู้ที่ดำรงตำแหน่งในพรรคเพื่อไทยได้รับคะแนนอย่างท่วมท้นจาก ประชาชน

กลุ่มอำนาจภายนอกกระบวนการประชาธิปไตยได้คุกคามให้เกิดปัญหาอุปสรรคในการทำ งานของรัฐบาล จนกระทั่งมาชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มถลายในปี 2554

ตัวละครที่อยู่นอกรัฐสภา และเหนือกฎหมายของปมขัดแย้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของประเทศไทยว่าเป็น เสมือน ‘สหพันธรัฐ’ หรือรัฐบาลที่มีสองระดับ ซึ่งเป็นหัวข้อที่ผมเคยเขียนเอาไว้อย่างละเอียดในงานเขียนที่เกี่ยวข้องกับ ประเทศรัสเซีย

ผู้ก่อการร้ายทางการเมืองชาวเยอรมัน Ernst Fraenkel ให้คำจำกัดความของคำว่า รัฐซ้อน ว่าเป็นระบบการทำงานที่พึ่งพิงกันทั้งสองระดับ

รัฐอุดมการณ์หมายถึงรัฐที่ปกครองตามระบอบกฎหมายที่ให้ไว้อย่างชัดเจน มีความรับผิดชอบตรวจสอบได้และกระบวนการที่ผูกติดกับกฎหมาย

รัฐอำนาจพิเศษ หมายถึง รัฐที่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ กฎหมายไม่สามารถตรวจสอบได้ มีการใช้อำนาจปิดบังซ่อนเร้นไม่มากก็น้อย

ในขณะที่การปฎิบัติหน้าที่ทางการเมืองนั้นโดยทั่วไปแล้ว หากไม่เป็นระบบการปกครองแบบ “รัฐอุดมการณ์” (เช่น ประเทศนอร์เวย์) หรือเป็นแบบ “รัฐอำนาจพิเศษ” (เช่น ประเทศลิเบีย ภายใต้การปกครองของกัดดาฟี่) ก็ยังมีอีกหลายประเทศที่มีลักษณะการปกครองแบบ “เผด็จการ” หรือ อำนาจแบบ “ลูกผสม” ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ที่มีลักษณะการปกครองของทั้งสองแบบนี้อยู่ด้วยกัน

ในขณะที่ Ernst Fraenkel ได้แย้งว่าการทำงานของระบบสหพันธรัฐนั้น เอื้อประโยชน์ให้ระบอบการปกครองหรือการบริหารแบบไม่เสรีนั้นยั้บยั้งสภาพการ ใช้กฏหมายอย่างเป็นธรรมเอาไว้

แต่ทว่าการใช้กฏหมายอย่างเป็นธรรมไม่ได้แค่ช่วยให้ระบอบการปกครองหรือการ บริหารมีความเป็นธรรมเท่านั้นแต่ยังเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมทางเศรษฐกิจใน ระบบทุนนิยมอีกด้วย

กฎหมายที่เป็นทางการถูกบังคับใช้โดยศาลที่กึ่งปกครองตนเองยั้บยั้งอิสระภาพ ในการลงทุนทางธุรกิจ ความเป็นธรรมของสัญญาว่าจ้าง กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคล และการแข่งขัน ทำให้เป็นไปไม่ได้ที่ระบบเศรษฐกิจจะดำเนินไปอย่างราบรื่นและคาดเดาได้

รัฐอุดมการณ์ของประเทศไทยนั้น ปกครองโดยรัฐบาลที่มีประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศสนับสนุนรัฐสภาที่เลือก กฎและขั้นตอนต่างๆ ที่ปรากฎรายละเอียดชัดเจนควบคุมการทำงานของรัฐ กั้นเขตการแบ่งแยกอำนาจระหว่างขั้วต่างๆ ของรัฐบาล และกำหนดขอบเขตอำนาจทางการบริหารของรัฐบาล

เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างอย่างเป็นทางการของรัฐอุดมการณ์แล้ว ประเทศไทยมักถูกมองว่าเป็นประชาธิปไตยแบบรัฐสภาที่บริหารงานภายใต้กรอบของ การปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ

เมื่อระบบรัฐอุดมการณ์ในประเทศไทยนั้นอยู่รวมกับระบบรัฐอำนาจพิเศษ (หรืออย่างที่แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงที่ถูกขับออกมาอย่าง นายจักรภพ เพ็ญแข เรียกว่า “รัฐซ้อน” ) ถูกให้คำนิยามนี้โดยพิจารณาจากการประพฤติตัวของผู้ปฏิบัติการทางการเมือง, เครือข่ายนอกระบบ และสถาบันต่างๆ (รวมถึง กลุ่มอำมาตย์, กองทัพ, คณะองคมนตรี และ กลุ่มธุรกิจที่เป็นพวกพ้องกันเอง)


ประเทศไทยมีคำนิยามให้กับระบบรัฐอำนาจพิเศษนี้เอง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะรู้จักระบบอำนาจพิเศษนี้ว่าเป็น “มือที่มองไม่เห็น”


ในความเป็นจริงแล้ว มือนี้ก็ไม่เชิงว่าจะ “มองไม่เห็น” เพราะมันแค่คลุมเครือแค่นั้นเอง


กฎหมายมาตราที่ 112 ที่ถูกนำมาใช้อย่างไม่ชอบธรรมเป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้ปิดบังความสลับซับ ซ้อนของการกระทำของพวกเขา ซึ่งอ้างความชอบธรรมโดยการแสร้งว่าเป็น “การปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์”

เมื่อ Ernst Fraenkel สังเกตการณ์ด้านมืดที่มีเงื่อนงำในระบบสหพันธรัฐที่ “’เติบโตได้จากการปิดบังซ่อนเร้นหน้าตาที่แท้จริง” และ “สิ่งบดบัง” นี้เองที่ถูกเก็บซ่อนไว้ โดยการสั่งห้ามไม่ให้มีการอภิปราย หรือพูดพาดพิงถึงการทำงานของรัฐอำนาจพิเศษ ไปจนถึงไม่ยอมให้มีการรับฟังหรือแลกเปลี่ยนความเห็นสาธารณะ

ระบบรัฐอำนาจพิเศษเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยส่วนหนึ่ง ต้องขอบคุณการสนับสนุน และการช่วยเหลือทางการเงินของรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเห็นได้จากกองทัพที่เข้มแข็งและมากมายนับไม่ถ้วน และยังสังเกตได้จากความยุติธรรมแบบอันธพาลที่ให้กับฝ่ายตรงข้าม พันธมิตรที่พึ่งพาช่วยเหลือกันได้ในการสู้รบกับคอมมิวนิสต์

อย่างไรก็ตาม รัฐอำนาจพิเศษก็ไม่ได้ล้มหายตายจากไปพร้อมๆ กับการสิ้นสุดของการคุกคามของลักธิคอมมิวนิสต์ นับตั้งแต่การพังกำแพงเบอร์ลินและการล่มสลายของสหภาพโซเวียตเมื่อยี่สิบกว่า ปีที่แล้ว รัฐบาลอเมริกันก็ยินดีที่ได้ทำธุรกิจร่วมกันกับประเทศสมาชิกต่างๆ ของรัฐอำนาจพิเศษ

ก่อนที่จะเกิดการวิพากษณ์วิจารณ์โจมตีการก่อรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 ในวงกว้างอย่างรุนแรงและการสนับสนุนให้ทั้งสองฝ่าย “หลีกเลี่ยงความรุนแรง” โดยตลอดเวลาที่เกิดวิกฤตการณ์ในประเทศไทย รัฐบาลอเมริกันพอใจที่ได้นั่งอยู่เฉยๆ เพื่อดูสถาบันการปกครองแบบระบอบประชาธิปไตยของประเทศกลุ่มพันธมิตรที่คบหา กันมายาวนานถูกทำลาย ดูพลเมืองถูกฆ่าตายหรือถูกปล่อยให้เน่าอยู่ในเรือนจำ เนื่องจากแสดงความคิดเห็น


ที่จริงแล้วความผูกพันเกี่ยวข้องด้านรัฐอำนาจพิเศษในประเทศไทยนั้น เหนียวแน่นมากจนประเทศสหรัฐอเมริกาแทบจะไม่กระดิกนิ้วทำอะไรแม้ว่า พลเมืองสัญชาติอเมริกัน ก็เพิ่งถูกจำกุมตัวในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ


ที่ว่ารัฐอุดมการณ์และรัฐอำนาจพิเศษเกิดอยู่ร่วมกันในประเทศไทยนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วขึ้นอยู่กับการจัดวางองค์ประกอบของรัฐบาล เมื่อใดก็ตามที่รัฐอุดมการณ์ถูกปกครองโดยทักษิณ ชินวัตร หรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับทักษิณ องค์ประกอบทั้งสองของสหพันธรัฐในประเทศไทยก็ได้เกิดการขัดแย้งกัน

ดังตัวอย่างที่เห็นเมื่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ได้พยายามที่จะทำให้ขอบเขตการทำงานของระบบรัฐอำนาจพิเศษลดน้อยลงในขณะที่ผู้ สนับสนุนรัฐอำนาจพิเศษได้ต่อต้านกลับโดยใช้การก่อความไม่สงบ, กระบวนการดำเนินคดีในศาลที่ไม่เป็นธรรม และอำนาจทหารที่เปลี่ยนแปลงหรือทำให้รัฐบาลอ่อนแอ

เมื่อผู้สนับสนุนรัฐอำนาจพิเศษสามารถโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากกระบวนการที่ชอบ ด้วยกฎหมายของรัฐอุดมการณ์ อย่างเช่นเหตุการณ์รัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 และ “รัฐประหารโดยตุลาการ” ในปี พ.ศ. 2551 องค์ประกอบทั้งสองของสหพันธรัฐได้ประสานความร่วมมือกันอย่างแนบเนียนมากขึ้น


ในสถานการณ์นั้น กลุ่มบุคคลที่ปกครองในรัฐอุดมการณ์ตกลงที่จะนำเอาระบบกฎหมายมาบังหน้าให้กับ รัฐอำนาจพิเศษที่มีลักษณะอำนาจนิยมและไร้ซึ่งความรับผิด


ต้องขอบคุณกลุ่มคนที่อยู่ในอำนาจเหล่านี้ที่ได้เอื้อเฟื้อให้รัฐอำนาจพิเศษโกงกิน หรือละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างไรก็ได้

ในขณะนี้ พรรคเพื่อไทยได้ชนะการเลือกตั้งอีกครั้ง ความไม่ลงรอยของรัฐซ้อนทั้งสองสร้างความตึงเครียดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากอำนาจที่ทำงานอยู่ในเงาของรัฐอำนาจพิเศษได้เริ่มเคลื่อนไหวเพื่อ ถอดถอนรัฐบาลใหม่ หรืออย่างน้อยที่สุดก็ทำการคุกคามรัฐบาลไม่ให้แตะต้องสถานภาพนั้น

อย่างน้อยสถาบันสองสถาบันที่ทำงานให้รัฐอุดมการณ์ในประเทศไทยปฏิบัติการ เหมือนท่อเชื่อมให้กับการครอบงำที่คืบคลานเข้ามาของรัฐอำนาจพิเศษ: กลุ่มตุลาการและพรรคประชาธิปัตย์

กลุ่มตุลาการยังคงเป็นสถาบันที่ได้รับความเคารพสูงสุดจนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าจะมีการโกงกินและใช้อิทธิพลเพื่ออำนาจผลประโยชน์

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่การเลือกตั้งในปี 2549 กลุ่มตุลาการได้เข้ามามีบทบาททางการเมืองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยกระทำตัวเหมือนเป็นเดือยบังคับล้อของความพยายามของรัฐอำนาจพิเศษที่จะนำ พาความต้องการของกลุ่มตนผ่านกระบวนการของรัฐอุดมการณ์

หลังจากการทำรัฐประหารในเดือนกันยายนปี 2549 อำนาจของศาลในการถอดถอนรัฐบาลและยุบพรรคการเมืองที่ได้รับความนิยมตามคำสั่ง ของรัฐอำนาจนิยมเพิ่มสูงขึ้นและกลายเป็นแบบแผนในการปฏิบัติภายในสถาบัน จุดมุ่งหมายแรกของรัฐธรรมนูญใหม่ที่ร่างโดยรัฐบาลทหารในปี 2550 คือเพื่อต้องการลิดรอนความสามารถของสถาบันภายในรัฐอุดมการณ์ในการตรวจสอบการ กระทำของบุคคลในรัฐอำนาจนิยม ฝ่ายค้านที่เข้มแข็งได้เสนอนำเอาร่างรัฐธรรมนูญปี 2540 กลับมาใช้ สะท้อนให้เห็นถึงความหวาดกลัวว่ากลุ่มรัฐบาลเก่าต้องการขัดขวางไม่ให้รัฐ อำนาจนิยมบังคับใช้เจตจำนงของตนผ่านทางการใช้กฎหมายที่ซับซ้อน

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 หนึ่งในผู้ที่ได้รับผลประโยชน์หลักของตุลาการภิวัตน์และการใช้การเมืองในการ พิจารณาคดีทางกฎหมายก็คือพรรคประชาธิปัตย์ จากคำตัดสินคดีอย่างน่าสงสัยหลายต่อหลายคดี ตุลาการแก้ข้อหาที่เป็นหนทางเดียวที่อาจสามารถทำให้พรรคประชาธิปัติย์ พรรคที่ไม่เคยชนะการเลือกตั้งมาอย่างยาวนาน นั้นเข้ารับตำแหน่งบริหารประเทศในปี พ.ศ. 2551

มีกลุ่มผู้ช่วยเหลือภายในระบบรัฐอำนาจพิเศษที่พยายามทำให้ผู้สนับสนุนทักษิณ ชินวัตร หมดอำนาจ ด้วยความช่วยเหลือของกองทัพและตุลาการ ทำให้พรระประชาธิปัตย์อยู่ในตำแหน่งได้มากกว่าสองปี

แต่เป็นที่ทราบกันดีว่าพรรคไม่ได้มาจากการเอาชนะการเลือกตั้งในครั้งที่แล้ว พรรคประชาธิปัตย์เลยมีข้อจำกัดในการทำตามเป้าหมายที่วางไว้ เช่น การป้องกันไม่ให้พรรคเพื่อไทยเอาชนะใจประชาชน และปฎิบัติหน้าที่ได้ดีจนไม่สามารถทำให้ “มือที่มองไม่เห็น” ยื่นเข้ามาช่วยให้อภิสิทธิ์กลับเข้ามารับตำแหน่งอีกครั้งหนึ่ง


คณะตุลาการที่ก่อนหน้านี้ได้สั่งยุบพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชน หากพรรคประชาธิปัตย์มีโอกาสชนะมากกว่านี้ การยุยพรรคเพื่อไทยคงเป็นเรื่องที่อาจจะเกิดขี้นเหมือนเมื่อครั้งที่ทำให้ อภิสิทธิ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรีในเดือนธันวาคม 2551 ก็เป็นได้


พรรคประชาธิปัตย์ไม่สามารถทำตามข้อตกลงที่ให้เอาไว้ได้ พรรคเพื่อไทยเอาชนะเสียงของประชาชนส่วนใหญ่และพรรคประชาปัติย์ถูกทิ้งคะแนน ห่างมาเป็นที่สอง ซึ่งได้รับที่นั่งน้อยกว่าทางพรรคเพื่อไทยมากกว่าร้อยที่นั่ง

สำหรับพรรคประชาธิปัตย์และความทะเยอทะยานของระบบรัฐอำนาจพิเศษแล้ว ผลการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่ทำลายความหวังของพวกเขาอย่างสิ้นเชิง

ที่ร้ายไปกว่านั้น ความพ่ายแพ้อย่างใหญ่หลวงนี้ทำให้ “รัฐประหารโดยตุลาการ” นั้นยากขี้นไปอีก จำกัดความสามารถของระบบรัฐอำนาจพิเศษในการกำจัดรัฐบาลของฝ่ายตรงข้ามที่ปฎิ บัติงานภายใต้กระบวนการของระบบรัฐอุดมการณ์


แม้ว่าศาลจะสั่งยุบพรรคเพื่อไทย ก็ยังคงเป็นเรื่องยากที่พรรคประชาธิปัตย์จะรวบรวมที่นั่งจากพรรคอื่นๆ เพื่อจัดตั้งรัฐบาลของตนเอง


โชคไม่ดีที่นั่นไม่ได้ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ หรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีการทบทวนความคิดหรือความรู้สึกของตนเอง เนื่องจากทำหน้าที่เป็นแนวหน้าในรัฐสภา

ในส่วนนี้ พรรคประชาธิปัตย์ได้ตัดสินใจที่จะทำหน้าที่ที่ถนัดและทำมาอย่างยาวนานในช่วง สิบปีที่ผ่านมานี้ ในทางตรงกันข้าม พรรคประชาธิปัตย์ก็ยังไม่มีทีท่าที่จะถอนตัวออกจากวงจรการพึ่งพาอาศัย นับตั้งแต่การเลือกตั้ง สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ได้พยายามหาหนทางในการยื่นขอยุบพรรคเพื่อไทย การตัดสิทธิ์ ส.ส. บัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทยที่มีสิทธิ์เหมาะสมในการเข้ารับตำแหน่งในรัฐสภา และแม้กระทั่ง การฟ้องร้อง เพื่อ ขับนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ออกจากตำแหน่ง ภายหลังจากที่ประเทศญี่ปุ่นได้ตัดสินใจให้วีซ่าเข้าประเทศแก่ทักษิณ

อีกนัยหนึ่งก็คือ แทนที่จะมุ่งประเด็นไปที่การสร้างพรรคใหม่หรือฟื้นฟูภาพลักษณ์ที่เสียไป พรรคประชาธิปัตย์กลับพยายามกระทำการที่ส่อให้เห็นว่าพวกเขาอาจจะยอมปราชัยใน การเอาชนะการเลือกตั้ง ในขณะที่การลาออกของอภิสิทธ์หลังจากแพ้การเลือกตั้ง ซึ่งน่าจะเป็นการเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์ของพรรค แต่เขากลับถูกเลือกให้มาเป็นหัวหน้าพรรคอีกครั้ง


อย่างกับว่าเขาไม่ได้แสดงให้เห็นว่าเขานั้นไม่น่าที่จะถูกเลือกที่สุด พรรคประชาธิปัตย์ได้ฝากโชคชะตาเอาไว้กับกลุ่มอำนาจในระบบรัฐอำนาจพิเศษ ต่อต้านกับการพยายามในการปรับปรุงความดึงดูดที่นับวันมีแต่จะน้อยลงไปทุกๆ ในสายตาของคนไทยผู้ที่มีสิทธิ์ในการเลือกตั้ง


สำหรับระบบรัฐอำนาจพิเศษแล้ว แม้ว่าการพ่ายแห้การเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์จะทำให้การเลือกรัฐบาลที่ ชื่นชอบมาปฎิบัติหน้าที่แทนพรรคเพื่อไทยยากขึ้น แต่ก็ไม่ได้ทำให้ความพยายามใน การทำให้รัฐบาลชุดใหม่อ่อนแอ, จำกัดความสามารถในการก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปได้ และชิงลงมือในการพยายามตรวจสอบและดำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต่อ เหตุการณ์การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ ในปี 2553 น้อยลงไปเลย

ความพยายามต่างๆ เหล่านี้เป็นเสมือนการดำเนินการเพื่อฟื้นฟูกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย รวมทั้งกลุ่มคนที่แอบอ้างว่าเป็นกลุ่มคนเสื้อ “หลากสี” ด้วย

กระบอกเสียงของกลุ่มอำมาตรย์ในแวดวงสื่อมวลชน นั้นรวมหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษรายวันสองสำนักหลักๆ ซึ่งก็ได้เริ่มโจมตีรัฐบาลใหม่ชุดนี้ว่าเป็นรัฐบาล “หุ่นเชิด” ว่าถูกทักษิณ ชินวัตรครอบงำให้ทำตามทุกๆ เรื่อง ในขณะที่ปลุกระดมความกลัวว่าจะมีการวางแผนอย่างลับๆ ในการทำให้ประเทศไทย “ตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงต่อการเป็นเหยื่อของชาวต่างชาติที่เจ้าเลห์”

ส่วน “ทางออก” ที่การปลุกระดมทางสื่อนี้เสนอก็เหมือนกับทุกๆ ครั้งที่ผ่านมา: สนับสนุนรัฐอำนาจพิเศษเพื่อให้ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการรักษาประเทศจากผู้มี สิทธิ์ออกเสียงของประเทศเอง หากพิจารณาว่ารัฐอำนาจพิเศษกำลังประสบกับวิกฤตการณ์ร้ายแรงที่คุกคามความ หายนะของตัวระบบเอง

ก็เหลือเพียงแต่รอดูว่าการปลุกระดมนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่ และจะประสบความสำเร็จเมื่อไร ซึ่งนำไปสู่การเคลื่อนไหวของศาล หรือการเคลื่อนกำลังพลของกองทัพตามถนนหนทางในเมืองหลวง

ในขณะที่ การเพิ่มการขอความช่วยเหลือของการกดขี่เป็นสัญลักษณ์ของความอ่อนแออย่างเห็น ได้ชัด การปลดปล่อยความอดกลั้นเป็นผลลัพธ์ที่เป็นภัยน้อยกว่า ประเทศไทยก็ผ่านสถานการณ์เช่นนี้มาก่อนแล้ว

ณ เวลานี้ รัฐบาลชุดใหม่ต้องได้รับการปกป้องจากการคุกคามที่มาจากกฎหมายนอกระบบ และการะบวนการทางประชาธิปไตย

ในระยะยาวถึงแม้ว่าการโจมตีรูปแบบใหม่ของรัฐอำนาจพิเศษจะพิสูจน์ให้เห็นว่า ระบบการเมืองไทยต้องการให้มีการสิ้นสุดของรัฐซ้อน ซึ่งทำให้สำเร็จโดยการบีบบังคับสถาบันต่างๆ ที่ทำงานอยู่นอกเหนืออำนาจของกฎหมายที่ทำได้โดยอาศัยกฎของรัฐอุดมการณ์


อีกนัยหนึ่งคือ ประเทศไทยต้องออกจากแนวความคิดด้านนิติธรรมที่เป็นเป็นทางการ (หรือ “เปราะบาง”) ในขณะที่กฎหมายถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการเป้องกันสถาบันอำนาจให้พ้นจาก การรับผิดชอบ, ระงับการอภิปรายอย่างเปิดเผยและอิสระ, ละเมิดสิทธิมนุษยชน, ดำเนินคดีต่อผู้คัดค้าน หรือทำลายกระบวนการเลือกตั้ง ไปสู่แนวความคิดที่เป็นอิสระ (หรือ “เข้มแข็ง”)
ซึ่งมีอำนาจสั่งให้ผู้ปกครองใช้อำนาจโดยผ่านทางกฎหมาย


นี่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนหรือทุกสถาบันหลักๆ ปฎิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายระบุเอาไว้ โดยปราศจากการใช้อำนาจพิเศษที่ไม่ได้อยู่ในบริบทของกฎหมายเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนการอภิปรายสาธารณะอย่างอิสระด้วย

และสิ่งที่คณะตุลาการอิสระได้ทำในการสนับสนุนหลักกฎหมายโดยการตรวจสอบการกา ระทำของเจ้าหน้าที่รัฐโดยปราศจากความเกรงกลัวหรือผลประโยชน์

อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญคือ ประเทศไทยต้องการฝ่ายค้าน ที่ถ้าจะมีโอกาสในการเข้ามาสู่อำนาจ จะต้องแป็นฝ่ายค้านที่ไม่อ้างหลักฐานทั้งหมด

โดยการใช้กฎหมายมาเป็นเครื่องมือในการทำลายระบอบประชาธิปไตย

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker