บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

เปิด"อำนาจ"กสทช. ผู้คุมกฎด้านการสื่อสาร-โทรคมนาคม คุมขุมทรัพย์แสนล้าน

ที่มา มติชน




หมายเหตุ -
รองศาสตราจารย์สุธรรม อยู่ในธรรม หนึ่งในคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ให้ความเห็นถึงบทบาทของ กสทช.และอำนาจหน้าที่รวมทั้งที่มาของการจัดตั้งองค์กรที่มีความสำคัญในฐานะ เป็นผู้คุมกฎด้านการสื่อสาร-โทรคมนาคม ซึ่งมีผลประโยชน์นับแสนล้านบาท


กว่าจะมาเป็น พ.ร.บ.กสทช.

ด้วยเหตุที่รัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย พ.ศ.2550 กำหนดให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม จึงเป็นที่มาของการยกร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ฉบับปัจจุบัน (พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ) หรือที่มักเรียกกันว่า "พ.ร.บ.กสทช."

อย่าง ไรก็ดี กว่าจะมาเป็น พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับปัจจุบัน ได้ผ่านกระบวนการขั้นตอนและการพิจารณาหลายยุคหลายสมักระทั่งในรัฐบาลชุดก่อน ได้หยิบยกร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯขึ้นมาพิจารณาภายใต้คณะกรรมาธิการซึ่งแต่ง ตั้งโดยรัฐบาลประชาธิปัตย์ ซึ่งการพิจารณามีประเด็นถกเถียงและแปรญัตติมากมายในชั้นกรรมาธิการ

แต่ หลายประเด็นก็ไม่ได้ถูกนำมาพิจารณาหรือให้ความเห็นชอบ อาทิ ประเด็นเกี่ยวกับจำนวนและที่มาของกรรมการ กสทช. วิธีการได้มาซึ่งรายชื่อผู้สมควรได้รับการคัดเลือกเป็น กสทช. คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการ กสทช. กลไกการคุ้มครองผู้บริโภคในการรับเรื่องร้องเรียน เกณฑ์การจัดสรรคลื่นความถี่ให้ภาคประชาชน วัตถุประสงค์ของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และองค์ประกอบคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ เป็นต้น

เป็นเหตุให้ตัวแทน ฝ่ายค้านต้องถอนตัวจากการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์ต่อร่างกฎหมายดังกล่าวว่าเป็นการพิจารณาโดย รัฐบาลกับกลุ่มกดดันข้างรัฐบาลแต่เพียงฝ่ายเดียวและการดำเนินกระบวนการร่าง กฎหมายเป็นไปอย่างเร่งรัดขาดการรับฟังและมีส่วนร่วม

กระบวนการสรรหากับเสียงวิจารณ์

เมื่อ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2554 มีผลใช้บังคับ ขั้นตอนต่อไปจึงเป็นการดำเนินการกระบวนการสรรหาและคัดเลือก กสทช. โดยแบ่งเป็นวิธีการคัดเลือกกันเองและวิธีการสรรหาตามที่กฎหมายกำหนด

จน ปัจจุบันได้รายชื่อผู้สมควรได้รับคัดเลือก 44 คน เพื่อเสนอบัญชีรายชื่อให้วุฒิสภาพิจารณาและมีมติคัดเลือก แต่ด้วยเหตุที่กฎหมายกำหนดกรอบระยะเวลาดำเนินการในแต่ละขั้นตอนเพื่อให้ได้ มาซึ่ง กสทช.ไว้อย่างชัดเจน ดังนั้น กระบวนการคัดเลือกและสรรหา กสทช.จึงต้องดำเนินต่อไปท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ นานา รวมถึงการฟ้องร้องดำเนินคดี และการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการดำเนินกระบวนการดังกล่าว

เป็น ที่น่าสังเกตว่ากฎหมายฉบับนี้ เน้นความโปร่งใสในกระบวนการต่างๆ ของ กสทช. และสำนักงาน กสทช.มาก ยกเว้นก็แต่ในเรื่องที่เกี่ยวกับกรรมการสรรหา การสรรหา และผู้เสนอชื่อเข้ารับการสรรหา การจัดการกองทุน ผู้จัดการกองทุน กรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และกรรมการประเมินผล ที่กฎหมายมิได้นำมาตรฐานความโปร่งใสมาใช้จนเป็นที่มาของข้อกังขาว่ากระบวน การและบุคคลหลายฝ่ายกระทำการไม่โปร่งใส เกี่ยวพันกัน หรือเป็นพรรคพวกกัน

อำนาจหน้าที่ กสทช.

เมื่อ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับใหม่มีผลใช้บังคับ ย่อมเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างการกำกับดูแลจากไปจากเดิมที่แยกอำนาจในการกำกับ ดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ออกจากกิจการโทรคมนาคม แต่ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ได้ปรับปรุงกฎกติกาต่างๆ ภายหลัง 10 ปีที่ผ่านมาด้วยการกำหนดให้มี กสทช. เป็นองค์กรอิสระขึ้นมาทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม รวมถึงกิจการกระจายเสียงและกิจการวิทยุโทรทัศน์

บทบาทของ กสทช.จึงแตกต่างไปจาก กทช. โดยเฉพาะด้านการดูแลกติกาการแข่งขันให้มีความเป็นธรรม เสมอภาค และเร่งรัดให้ประเทศเข้าสู่ยุคดิจิตอลอย่างแท้จริง

ตลอดจนกำกับดูแล หน่วยงานรัฐให้ใช้คลื่นความถี่ที่อยู่ในมือให้ปฏิบัติตามกฎหมาย และการใช้ทรัพยากรคลื่นความถี่ให้เกิดความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยได้วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ เช่น

-จัดทำแผนแม่บทการ บริหารคลื่นความถี่ ตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม แผนความถี่วิทยุ และแผนเลขหมายโทรคมนาคม

-การกำหนดการจัดสรรความถี่ระหว่างคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการวิทยุคมนาคม และกิจการโทรคมนาคม

-กำหนดลักษณะและประเภทของกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

-พิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

-กำหนด ให้ประมูลคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ซึ่ง ประกอบกิจการในทางธุรกิจ และคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการโทรคมนาคมทุกประเภท

-กำหนดให้ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เป็นสิทธิเฉพาะตัว ต้องประกอบกิจการด้วยตนเอง โอนแก่กันไม่ได้

-กำหนดให้มีการวางแนวทางในการคืนคลื่นความถี่เพื่อนำไปจัดสรรใหม่หรือการปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ ฯลฯ

จัดตั้งกองทุนวิจัย-พัฒนา

นอก จาก พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ จะกำหนดโครงสร้างโดยให้อำนาจในการกำกับดูแลกิจการอันมีมูลค่ามหาศาลที่ กสทช. ไว้เพียงที่เดียวแล้ว กฎหมายยังกำหนดให้จัดตั้งกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กองทุนฯ) ขึ้นในสำนักงาน กสทช. โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

-ดำเนินการให้ประชาชน ได้รับบริการด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึง ตลอดจนส่งเสริมชุมชนและสนับสนุนผู้ประกอบกิจการบริการชุมชน

-ส่ง เสริมและสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรสื่อสาร การวิจัยและพัฒนาด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อ

-ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ

-สนับสนุน ส่งเสริม และคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

-สนับสนุนการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยจัดสรรเงินให้แก่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

กอง ทุนฯที่จัดตั้งนับเป็นแหล่งทุนมหาศาล ประกอบด้วยทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดให้ เงินจากการประมูลคลื่นความถี่ เงินรายได้จากสำนักงาน กสทช.ที่จัดสรรเข้ากองทุน เป็นต้น

นอกจากนี้ กองทุนฯตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ แตกต่างจากกองทุนฯตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคมซึ่งกำหนดให้ราย ได้จากค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมท้ายที่สุดแล้วต้องนำส่ง เข้ารัฐ ที่แตกต่างคือกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจต้องนำส่งเงินราย ปีเข้ากองทุนฯตามอัตราที่ กสทช. ประกาศซึ่งต้องไม่เกินร้อยละสองของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย ซึ่งนับเป็นการให้อำนาจในการบริหารเงินกองทุนฯ ที่มีมูลค่ามหาศาล ซึ่งกฎหมายฉบับเดิมมิได้ให้อำนาจไว้

อำนาจ กสทช.ที่แฝงอยู่

กสทช.มิ ได้มีเพียงหน้าที่ตามที่ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ กำหนดเท่านั้น เนื่องด้วยมีกฎหมายเกี่ยวข้องที่สำคัญอีกฉบับหนึ่งคือ พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ซึ่งที่ผ่านมานับแต่กฎหมายดังกล่าวมีผลใช้บังคับมาเป็นเวลากว่า 3 ปีแล้วแต่ก็มิได้ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างการประกอบกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ เนื่องจากในเวลาดังกล่าวยังไม่มีหน่วยงานกำกับดูแลอย่างสมบูรณ์

กระทั่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2554 มีผลใช้บังคับและเมื่อมีการแต่งตั้ง กสทช. อำนาจหน้าที่ของ กสทช. มิได้มีเพียงการจัดสรรคลื่นความถี่ การออกใบอนุญาตประกอบกิจการหรือการประมูลคลื่นความถี่ 3G เท่านั้น แต่ กสทช.ต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อโครงสร้างกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ทั้งระบบ โดยเฉพาะหน่วยงานรัฐ ที่เป็นผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์จะต้องคืนคลื่นความถี่ และสัญญาสัมปทานที่มีอยู่เดิม

สาระสำคัญประการหนึ่งคือ การยกเลิกสัมปทานวิทยุ โทรทัศน์ทั้งหมด ปลดล็อกคลื่นความถี่วิทยุ โทรทัศน์จากเจ้าของเดิม นำคลื่นความถี่วิทยุ โทรทัศน์มาออกประมูล และนำเงินเข้ากองทุนฯ โดยไม่ต้องส่งเข้าคลังหลวง กสทช.เป็นผู้มีอำนาจในการจัดสรรเงินจำนวนมหาศาลนี้ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้

มีอำนาจยกเลิกสัญญาสัมปทานทีวี วิทยุ

ด้วย เหตุที่บทเฉพาะกาลแห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 กำหนดให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐที่ประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์อยู่ใน วันที่ พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ใช้บังคับ จะประกอบกิจการได้ต่อไปจนถึงวันที่กำหนดในแผนแม่บทใช้บังคับ

เมื่อ กสทช.จัดทำแผนแม่บทเสร็จและมีผลบังคับ เมื่อยกเลิกสัญญาทีวี วิทยุ ทั้งหมดแล้ว กฎหมายให้ กสทช.นำคลื่นดังกล่าวออกประมูลใหม่ และแบ่งคลื่นออกเป็นสามระดับ คือ ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น

นอก จากจะแสดงให้เห็นถึงอำนาจของหน่วยงานรัฐในการเป็นเจ้าของหรือประกอบกิจการจะ สิ้นสุดลง เท่ากับเป็นการนำอำนาจสื่อออกจากรัฐ และกระจายการครอบงำสื่อ เพราะแต่เดิมใบอนุญาตทำทีวี วิทยุ เป็นใบอนุญาตที่ทำจากส่วนกลาง โดยเฉพาะทีวี ที่มีแต่ใบอนุญาตส่วนกลาง แต่ในอนาคต ใบอนุญาตจะมีหลายระดับ จนรัฐหมดความสามารถในการชี้นำข้อมูลสารสนเทศ

โดยนัยนี้ ประชาชน ภาคประชาชน จะมีสิทธิเป็นเจ้าของสื่อ ทำสื่อ สามารถมีช่องทางการส่งข้อมูลสารสนเทศได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องพึ่งพิงข้อมูลข่าวสารของทางราชการ ท้ายที่สุดแล้วการที่ กสทช.ต้องเข้ามายกเลิกสัมปทานทั้งหมดตามที่กฎหมายบังคับ แล้วนำมาจัดสรรใหม่ให้แก่ผู้ขอรับใบอนุญาตตามกฎหมายใหม่ จะทำให้คนไทยมีสิทธิเสรีภาพ เสียงประชาชนจะดังขึ้น และจะเป็นครั้งแรกที่ประชาชนจะมีโอกาสปฏิเสธไม่รับสื่อหลักของรัฐซึ่งก็คือ สื่อทีวี

บทสรุป

จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับปัจจุบันนอกจากจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในแง่การกำกับดูแล โดยกำหนดอำนาจหน้าที่ กสทช.ไว้ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแล้ว

ยังจะมีผลพวงจากกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ที่เป็นเรื่องสำคัญมากที่สุด แต่คนไม่สนใจมากที่สุดคือเรื่องการล้มระบบการทำสื่อโดยรัฐ การชี้นำประชาชนโดยรัฐ การสร้างเสริมช่องทางที่เอกชน ประชาชน และปัจเจกชนจะมีโอกาสในการติดต่อสื่อสารถึงกัน รวมทั้งเป็นเครื่องมือประกัน สิทธิเสรีภาพในการพูด การแสดงออกและมีช่องทางหลากหลายในการใช้สิทธิเสรีภาพพื้นฐาน และเป็นเครื่องมือประกันอันดีสำหรับระบอบประชาธิปไตยไม่ให้สั่นไหวคลอนแคลน เหมือนที่ผ่านมาในอดีต

(มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 6 กันยายน 2554 หน้า 2)

...............

เปิดปูม11อรหันต์กสทช.



ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่กำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 กำหนดให้มีคณะกรรมการ กสทช. 11 คน แบ่งเป็นสาขาเชี่ยวชาญ 8 สาขา คือกิจการกระจายเสียง 1 คน กิจการโทรทัศน์ 1 คน กิจการโทรคมนาคม 2 คน ด้านกฎหมาย 2 คน ด้านเศรษฐศาสตร์ 2 คน ด้านคุ้มครองผู้บริโภค (กระจายเสียงและโทรทัศน์) 1 คน ด้านคุ้มครองผู้บริโภค (โทรคมนาคม) 1 คน ด้านการศึกษา วัฒนธรรม หรือการพัฒนาสังคม 1 คน ทั้งนี้จะมาจากบัญชี 1 คัดเลือกกันเองจำนวน 22 คน และบัญชี 2 การสรรหา จำนวน 22 คน รวมเป็น 44 คน โดย ส.ว.ลงคะแนนลับคัดเลือกแล้ว 11 คนดังนี้

ด้านกิจการกระจายเสียง

พล.อ.อ.ธเรศ ปุณณศรี จากบัญชี 2 ได้ 73 คะแนน อายุ 64 ปี เป็นนายทหารรุ่น ตท.6 รุ่นเดียวกับ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี และนายทหารที่ก่อรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และเป็นเพื่อนกับ พล.อ.อ.ชาลี จันทร์เรือง ส.ว.สรรหา โดยจบการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอากาศยาน โรงเรียนนายเรืออากาศ เลขาธิการโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ ประเทศอังกฤษ และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เคยเป็นเสธ.ทอ. ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร สังกัดสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน)

ด้านกิจการโทรทัศน์

พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จากบัญชี 1 ได้ 62 คะแนน อายุ 56 ปี จบการศึกษาปริญญาเอก สาขาสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยบีเลเฟลด์ สหพันธรัฐเยอรมนี

ด้านกิจการโทรคมนาคม

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ จากบัญชี 2 ได้ 112 คะแนน อายุ 44 ปี จบการศึกษาปริญญาเอกด้าน Philosophy, Electrical Engineering University of South Florida, USA หลักสูตรเสนาธิการทหารบก อดีตเป็นกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ปัจจุบันเป็นรักษาการ กสทช. อดีตรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ จากบัญชี 1 ได้ 118 คะแนน อายุ 45 ปี จบการศึกษาปริญญาเอกด้านวิศวกรรมโทรคมนาคม Florida Atlantic University เป็นนายทหารประจำกรมข่าวทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย และที่ปรึกษา หจก.รัจนาการ (2530)

ด้านกฎหมาย

นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จากบัญชี 2 ได้ 109 คะแนน อายุ 51 ปี จบการศึกษาปริญญาโทและเอกทางกฎหมาย University of Pennsylvania

พ.ต.อ.ทวีศักดิ์ งามสง่า อดีต ผกก.สภ.สีชมพู จ.ขอนแก่น จากบัญชี 1 ได้ 67 คะแนน อายุ 64 ปี จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง เคยเป็นที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญประจำตัวนายพินิจ จารุสมบัติ เมื่อครั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ด้านเศรษฐศาสตร์

นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กรรมการวิชาการ สถาบันพระปกเกล้า อดีตผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (เศรษฐศาสตร์ ประจำ กทช.) จากบัญชี 1 ได้ 110 คะแนน อายุ 61 ปี จบการศึกษาปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์ Middle Tennessee state University

นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ ผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ และอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากบัญชี 1 ได้ 58 คะแนน อายุ 51 ปี จบการศึกษาปริญญาเอกด้านการเงิน มหาวิทยาลัยแห่งรัฐอลาบามา สหรัฐอเมริกา

ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค (กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์)

น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) จากบัญชี 2 ได้ 95 คะแนน อายุ 38 ปี จบการศึกษาปริญญาโท Communication Policy and Regulation with Merit, the University of Westminster, London เป็นกรรมการบริหารหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)

ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค (โทรคมนาคม)

นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม สำนักงาน กสทช. จากบัญชี 2 ได้ 78 คะแนน อายุ 46 ปี จบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันโรคเขตร้อนประเทศเบลเยียม

ด้านการศึกษา วัฒนธรรม หรือการพัฒนาสังคม

พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร ที่ปรึกษาพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย จากบัญชี 1 ได้ 72 คะแนน อายุ 59 ปี จบการศึกษาโรงเรียนเสนาธิการทหารบก รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker