โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา สำนักข่าวต่างประเทศ
27 พฤษภาคม 2552
ขณะที่วิกฤตการเงินยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความสามารถของประเทศและธนาคารกลางของประเทศ ในการให้การสนับสนุนธนาคารในประเทศดำเนินการสอดคล้องกับความสามารถในการดูแลหนี้สินของรัฐบาลนั้นถือเป็นเรื่องที่ถูกกดดันมากขึ้นเรื่อยๆ การทบทวนอันดับความน่าเชื่อถือ จะมีการพิจารณาที่บริบทของความสามารถของไทย ในการให้การสนับสนุนระบบการธนาคารของประเทศให้สอดคล้องกับความสามารถในการดูแลหนี้สินของรัฐบาล อันเนื่องมาจากผลพวงของวิกฤตเศรษฐกิจและสินเชื่อทั่วโลก
วันนี้มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ได้ประกาศทบทวนอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารพาณิชย์ทั้ง 11 แห่งของไทย โดยมีแนวโน้ม ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือรายชื่อธนาคาร ทั้ง 11 แห่ง ดังนี้ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ธนาคารกรุงศรีอยุธยาจำกัด (มหาชน) หรือ BAY ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) หรือ SCBT ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCIB ธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ แบงก์ จำกัด (มหาชน) หรือ UOBT ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIMT) และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (GHB)
ทั้งนี้ ผู้บริหารของมูดีส์ ระบุว่า การทบทวนอันดับความน่าเชื่อถือของหนี้สินและเงินฝากนั้นจะมีการพิจารณาที่บริบทของความสามารถของไทย ในการให้การสนับสนุนระบบการธนาคารของประเทศให้สอดคล้องกับความสามารถในการดูแลหนี้สินของรัฐบาล อันเนื่องมาจากผลพวงของวิกฤตเศรษฐกิจและสินเชื่อทั่วโลก
"มูดีส์ เชื่อว่า รัฐบาล มีแนวโน้มที่จะให้การสนับสนุนระบบการธนาคารของประเทศอยู่แล้ว ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ต้องดูแลเรื่องหนี้สินของตนเอง ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าว อาจทำให้อันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารได้รับประโยชน์จากการยกระดับ อันเนื่องมาจากการให้การสนับสนุนอย่างเป็นระบบ"
อย่างไรก็ดี ขณะที่วิกฤตการเงินยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความสามารถของประเทศและธนาคารกลางของประเทศ ในการให้การสนับสนุนธนาคารในประเทศดำเนินการสอดคล้องกับความสามารถในการดูแลหนี้สินของรัฐบาลนั้นถือเป็นเรื่องที่ถูกกดดันมากขึ้นเรื่อยๆ