บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

จับตาคดีนักศึกษายะลาถูกซ้อม หลังยื่นรายงานแพทย์ผลจากการทรมาน

ที่มา ประชาไท

คดี นักศึกษายะลาถูกซ้อมทรมาน ศาลปกครองกำหนดวันสิ้นสุดการแสวงหาข้อเท็จจริง ทนายความจัดส่งรายงานนิติ จิตเวชศาสตร์ประกอบคำฟ้อง ยืนยันเหยื่อได้รับผลกระทบทั้งร่างกายและจิตใจ

ในวันที่ 20 มิถุนายน 2554 ศาลปกครองสงขลากำหนดเป็นวันสิ้นสุดการแสวงหาข้อเท็จจริงในคดีหมายเลขดำที่ 187 , 188 / 2552 ที่นายอิสมาแอ เตะ ผู้ฟ้องคดีที่ 1 และนายอามีซี มานาก ผู้ฟ้องคดีที่ 2 ยื่นฟ้องกองทัพบกและกระทรวงกลาโหม เป็นผู้ถูกฟ้องคดี ทนายความได้นำส่งรายงานการแพทย์ ซึ่งเป็นรายงานผลการตรวจสภาพร่างกายและจิตใจของนายอิสมาแอ เต๊ะ ผู้ร้องที่ 1 เพื่อยืนยันความเสียหายต่อร่างกายและจิตใจของเหยื่อที่ถูกซ้อมทำร้ายร่างกาย และทรมานเพื่อให้รับสารภาพในเหตุการณ์ก่อความไม่สงบ ผู้ฟ้องคดีที่ 1 และผู้ฟ้องคดีที่ 2 เป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดยะลา ทำกิจกรรมนักศึกษาในช่วงปี 2550-2551 แต่ตกเป็นผู้ต้องสงสัยแลถูกตรวจค้นบ้านพัก ถูกควบคุมตัวตามกฎอัยการศึก ต่อมาได้รับการปล่อยตัวและไม่เคยถูกตั้งข้อหาในคดีอาญาแต่อย่างใด

คดี นี้เป็นคดีแรกที่เหยื่อผู้ถูกควบคุมตัวและซ้อมทรมานตามอำนาจของกฎ อัยการศึกในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ใช้สิทธิทางศาลในการฟ้องคดีเพื่อให้ หน่วยงานรัฐ (กองทัพบกและกระทรวงกลาโหม) รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ซึ่งอยู่ ในสังกัดของตนที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 โดยยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2552 และต่อมาศาลแพ่งได้โอนคดีไปศาลปกครองสงขลา เนื่องจากการใช้อำนาจตามกฎอัยการศึกอยู่ในอำนาจศาลปกครอง ศาลได้แสวงหาข้อ เท็จจริงทั้งจากผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีเป็นเวลากว่า 2 ปี

การ ทรมานถือเป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรงในทางสากล เนื่องจากเป็นการกระทำโดยผู้มีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ รูปแบบการทรมานในปัจจุบันมักไม่ปรากฏร่องรอยทางร่าง กาย ทำให้เป็นปัญหาในทางคดีที่ไม่สามารถพิสูจน์ความเสียหายจนไม่สามารถเรียก ร้องค่าเสียหายจากการละเมิดได้ อย่างไรก็ตาม เหยื่อการทรมานที่ผ่านสภาพเลว ร้ายจากการทรมาน แม้จะไม่ปรากฏร่องรอบทางร่างกาย แต่มีปรากฏร่องรอยผลกระทบทางจิตใจคงอยู่ยาวนาน

ดังนั้น ปัญหาผลกระทบจากการทรมานในลักษณะดังกล่าวจึงถูกคลี่คลายลงด้วย การตรวจสอบผลกระทบทางจิตใจจากการผ่านเหตุการณ์เลวร้ายโดยแพทย์ผู้เชี่ยว ชาญ ในคดีนี้ นายอิสมาแอได้รับการตรวจร่างกายและผลกระทบทางจิตใจหลังผ่าน เหตุการณ์เลวร้าย (Post-traumatic stress disorder) หรือPTSD และจัดทำเป็นรายงานทางการแพทย์โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีความเป็นอิสระ 2 ท่านที่เป็นสมาชิกของสภาเพื่อฟื้นฟูผู้ถูกทรมานระหว่างประเทศ (International Rehabilitation Council for torture victims) หรือ IRCT ซึ่งเป็นองค์กรที่ตั้งอยู่ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก และมีวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติงานเพื่อส่งเสริมความเข้าใจและพัฒนาการทำงาน ด้านนิติวิทยาศาสตร์และนิติจิตเวชศาสตร์ต่อเหยื่อที่ถูกซ้อมทรมานทั่วโลกภาย ใต้พิธีสารอิสตันบูล ซึ่งเป็นคู่มือสืบสวนสอบสวนและบันทึกข้อมูลหลักฐานอย่างมีประสิทธิภาพ กรณีการทรมานหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี (Istanbul Protocol: Manual on the Effective Investigation and Documentation of Torture and other cruel, Inhuman or Degrading Treatment of Punishment) หรือที่เรียกว่าพิธีสารอิสตันบูล เป็นหลักการมาตรฐานสากลในการบันทึกรวบรวม พยานหลักฐานกรณีการทรมานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางให้ความ ช่วยเหลือคุ้มครองและเยียวยาเหยื่อผู้เสียหายจากการถูกซ้อมทรมานอย่างมี ประสิทธิภาพ

กลไกการคุ้มครองและป้องกันการซ้อมทรมานในระดับสากลจะ ช่วยลดช่องว่างและ ข้อบกพร่องในการสืบสวนสอบสวนกรณีการซ้อมทรมานในประเทศไทย และในขณะที่ PTSD ยังไม่ได้ถูกนำมาพัฒนาใช้ในการพิจารณาให้การช่วยเหลือเยียวยาเหยื่อการทรมาน แต่เป็นพยานหลักฐานสำคัญในคดีที่จะสามารถยืนยันความร้ายแรงของการทรมานที่ ส่งผลกระทบทางจิตใจของเหยื่ออย่างยาวนานมากกว่าอาการบาดเจ็บทางร่างกาย ส่ง ผลให้เหยื่อการทรมานไม่สามารถได้รับการเยียวยาหรือชดใช้ค่าเสียหายอย่างเป็น ธรรม และยังส่งผลให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ตามอำเภอใจเนื่องจากไม่ถูกลง โทษจากความผิดที่ตนกระทำ และหน่วยงานผู้บังคับบัญชาอาจละเลยไม่กำกับดูแลจน หลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบยิ่งลดน้อยและ ถูกทำลายลง

คดีนี้จึงเป็นคดีแรกที่มีการยื่นรายงานทางการแพทย์จากการ ทรมานเพื่อ ประกอบการพิจารณาของศาล และเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการเยียวยาความเสียหายตามรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทยมาตรา 32 ซึ่งบัญญัติถึงสิทธิของบุคคลที่จะไม่ถูกทรมานและสิทธิที่จะได้รับการเยียวยา อย่างเหมาะสม [1] ต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อไป


[1] มาตรา 32 บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย

การท รมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะกระทำมิได้แต่การลงโทษตามคำพิพากษาของศาลหรือตามที่กฎหมายบัญญัติไม่ถือ ว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้

การจับและการคุมขังบุคคล จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

การค้นตัวบุคคลหรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ

ใน กรณีที่มีการกระทำซึ่งกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหาย พนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้เสียหาย มีสิทธิร้องต่อศาลเพื่อให้สั่งระงับหรือเพิกถอนการกระทำเช่นว่านั้น รวมทั้งจะกำหนดวิธีการตามสมควรหรือการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยก็ ได้

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker