บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2552

ความจงรักภักดี ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ของข้าพเจ้า...

ที่มา Thai E-News

โดย red-grassroot

7 เมษายน 2552

3 ปีมานี้...กลุ่มการเมืองเครือข่ายเหลืองของ “ระบอบอมาตยาธิปไตยอันมีองคมนตรีและแก๊ง 7 คน เป็นผู้ ชักใย กำกับ ชี้นำ” ได้ใช้ประโยชน์จากความจงรักภักดีของประชาชนชาวไทยทำลายคู่แข่งทางการเมือง โดยยัดเยียดข้อหา “ความไม่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์” เพื่อให้ประชาชนเกลียดชังและเป็นศัตรูกับคู่แข่งทางการเมืองของพวกเขา ครั้งแล้ว ครั้งเล่า จนทำให้เกิดคำถามขึ้นในใจ...”ถ้าทักษิณ ไม่เป็นนายกรัฐมนตรีที่เป็นที่รักของประชาชน...และมีโอกาสรับเลือกตั้ง..เขาจะใช้ข้อหานี้โจมตีนายกทักษิณหรือไม่...?” “ทำไมอยู่ดีๆ...จึงเกิดการตั้งข้อกล่าวหาว่า คนนั้น คนนี้ ไม่จงรักภักดีกันถี่ เหลือเกิน?..”

ทำให้ข้าพเจ้า ต้องกลับมาตรวจสอบความจงรักภัคดีของตนเอง

ผ่านการตรวจสอบไตร่ตรองแล้ว ข้าพเจ้าพบว่า....

ความจงรักภักดีของข้าพเจ้า มีได้เกิดจากข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดว่า “พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้” และมิได้เกิดจากความเกรงกลัวต่อ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ความจงรักภักดีของข้าพเจ้า มิได้เกิดจากการยืนตรงร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี, มิได้มุ่งหวังเครื่องราชอิสราภรณ์, มิได้เกิดจากการดูข่าวพระราชสำนัก, มิได้เกิดจากความปิติยินดี ที่ได้รับพระราชทานปริญญาบัตร, พระราชทานเพลิงศพญาติผู้ใหญ่, สมรสพระราชทานแก่ญาติมิตร, พระราชทานนามสกุลให้แก่เพื่อนบางคน

ความจงรักภักดีของข้าพเจ้า มิได้เกิดจากกระแส แซ่ซ้อง สรรเสริญ จากแบบอย่างขององคมนตรี หรือนักการเมือง ที่ประจบสอพลอ

แท้ที่จริงแล้ว...ข้าพเจ้าจงรักภักดีเพราะ รับรู้ รับทราบ ว่าพระมหากษัตริย์ไทยทรงปฏิบัติธรรม ที่เรียกว่า “ทศพิธราชธรรม” ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้...

  1. ทาน (ทานํ) การให้ หมายถึงการให้ การเสียสละ นอกจากเสียสละทรัพย์สิ่งของแล้ว ยังหมายถึงการให้น้ำใจแก่ผู้อื่นด้วย
  2. ศีล (ศีลํ) คือความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา และใจ ให้ปราศจากโทษ ทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา
  3. บริจาค (ปริจาคํ) คือ การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม
  4. ความซื่อตรง (อาชชวํ) คือ ความซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต
  5. ความอ่อนโยน (มัททวํ) คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผลที่ควร มีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลที่ เสมอกันและต่ำกว่า
  6. ความเพียร (ตปํ) หรือความเพียร มีความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากความเกียจคร้าน
  7. ความไม่โกรธ (อกฺโกธ) หรือความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ไม่มุ่งร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล
  8. ความไม่เบียดเบียน (อวีหึสา) การไม่เบียดเบียน หรือบีบคั้น ไม่ก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น
  9. ความอดทน (ขันติ) การมีความอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาอาการ กาย วาจา ใจให้เรียบร้อย
  10. ความยุติธรรม (อวิโรธนํ) ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก ไม่เอนเอียงหวั่นไหวด้วยคำพูด อารมณ์ หรือลาภสักการะใดๆ

และข้าพเจ้าขอยืนยันว่า....แม้ไม่มีกฎหมายหมิ่น ไม่มีข้อกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ไม่มีพิธีกรรมใดๆ ข้าพเจ้าก็ยังจงรักภักดี ตราบเท่าที่ข้าพเจ้า รับรู้ รับทราบและเชื่อว่า...พระองค์ทรงปฏิบัติธรรมที่เรียกว่า....ทศพิธราชธรรม..

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker