กิจกรรมนี้เกิดขึ้นจากทีมนักแปลอาสาสมัครที่อยากให้สาธารณชนได้บริโภคข่าวสารอย่างรอบด้าน เนื่องเพราะเห็นว่าสื่อสารมวลชนของไทยมีปัญหาเรื่องการทำงานในสถานการณ์วิกฤตินี้ เราจึงเลือกแปลข่าวของสื่อต่างชาติที่ยังสามารถทำงานตามหลักการวิชาชีพได้ โดยไม่มีอคติต่อฝ่ายใด และไม่มีอำนาจรัฐมาครอบงำ |
ที่มา: No winners in Thailand's crisis, By Jonathan Head BBC News, Bangkok, 14 April 2009
http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/7998243.stm
โดย โจนาธาน เฮด
ข่าวบีบีซี, กรุงเทพฯ
14 เมษายน 2552
ไม่มีใครชนะ นั่นคือบทสรุปเดียวที่ได้จากเหตุการณ์สับสนวุ่นวายในประเทศไทยเมื่อสองสามวันที่ผ่านมา
อย่างแน่นอน ไม่ใช่ฝ่ายเสื้อแดง-แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.)ที่พยายามลุกฮือขึ้นสู้ซึ่งทำให้สถานการณ์แย่ลง นำไปสู่การปะทะอย่างต่อเนื่องกับทหาร ที่ทิ้งความเสียหายไว้บนท้องถนนในกรุงเทพมหานคร
ไม่ใช่นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เช่นกัน แม้ว่าเขาจะสามารถเรียกคืนอำนาจบริหารของเขากลับมาได้มาก ผ่านความสำเร็จของปฏิบัติการทหารในการสลายผู้ประท้วงฝ่าย นปช. แต่ตอนนี้ คำมั่นสัญญาที่เขากล่าวไว้ตอนเข้ารับตำแหน่งเมื่อสี่เดือนก่อนหน้านี้ว่าจะส่งเสริมการปรองดองในประเทศนั้นดูกลวงโบ๋
ไม่ใช่กองทัพที่ปฏิบัติภารกิจอันไม่ราบรื่นในการกวาดล้าง [ผู้ประท้วงออกจาก] ถนนต่างๆ ด้วยความมั่นใจที่เพิ่มขึ้นและความเสียหายที่น้อยอย่างน่าประหลาดใจ
การตัดสินใจของกองทัพในปราบปรามผู้ประท้วงเหล่านี้ ขณะที่ไม่ทำอะไรเลยกับการกระทำที่สร้างความเสียหายเท่าๆ กันของกลุ่มเสื้อเหลือง-พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เมื่อปีที่แล้ว ทำให้เกิดเสียงเย้ยหยันต่อการการกล่าวอ้างเรื่องความเป็นกลางของกองทัพ
ปฏิบัติการครั้งนี้และรัฐประหารเมื่อปี 2549 ที่กำจัดทักษิณ ได้สร้างความมัวหมองต่อภาพพจน์ของกองทัพอย่างเรียกคืนมาไม่ได้ในสายตาประชาชนไทยส่วนหนึ่งที่มีจำนวนมากพอสมควร
ไม่ใช่ฝ่ายตำรวจที่ปัจจุบันเป็นกองกำลังที่ถูกดูหมิ่นและถูกทำลายกำลังใจว่า เกือบจะไม่มีใครในประเทศไทยคาดหวังให้พวกเขาแสดงบทบาทในเหตุการณ์วุ่นวายที่เพิ่งเกิดขึ้น
เมื่อเกิดการเผชิญหน้ากับผู้ประท้วงที่ไม่มีอาวุธจำนวนไม่กี่พันคนที่การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่พัทยา พวกเขาได้แต่แสดงการต่อต้านพอเป็นพิธีเท่านั้น ในกรุงเทพมหานคร พวกเขาแทบไม่ปรากฏกายให้เห็น เมื่อปราศจากกองกำลังของฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ หลักนิติรัฐที่นายอภิสิทธิ์พูดถึงบ่อยครั้งนั้นก็อยู่ในภาวะไม่มั่นคงอย่างมาก
และท้ายที่สุด ไม่ใช่ทักษิณ ชินวัตร ผู้ปลุกเร้าการปฏิวัติของประชาชนได้หมดพลังลง และเขายังคงถูกขับไล่ให้อยู่นอกประเทศโดยไม่ที่ลี้ภัยที่ปลอดภัย
การแบ่งขั้ว
สามปีของความขัดแย้งทางการเมืองที่ควบคุมยาก สร้างความเสียหายทรุดโทรมให้ประเทศไทย ปัจจุบัน การแสดงออกต่างๆ นั้นเป็นอารมณ์ดิบมาก
บางเหตุการณ์ที่น่าเกลียดที่สุดเมื่อไม่กี่วันนี้ไม่เกี่ยวกับกองทัพ: มันเกิดขึ้นเมื่อประชาชนในพื้นที่ออกมาเผชิญหน้ากับฝ่ายเสื้อแดงที่กำลังโกรธ เกิดการยิงกัน มีคนตายสองคนและบางคนถูกทุบตีอย่างโหดร้าย
เป็นการยากที่จะอธิบายว่า ทำไมประเทศไทยที่ครั้งหนึ่งถูกมองว่าเป็นประเทศที่เป็นตัวอย่างดีเลิศของความมั่นคงและความปรองดองในสังคม ถึงได้กลายเป็นสังคมที่ถูกแบ่งเป็นขั้วเช่นนี้
การแบ่งแยกระหว่างฝ่ายสีแดงและสีเหลืองขัดแย้งอยู่ในหลายแวดวง; มันไม่ได้เป็นเพียงการต่อสู้ของคนชนบทกับคนในเมือง หรือคนจนกับคนรวยเท่านั้น การใช้เวลาให้นานพอกับแต่ละกลุ่ม และคุณจะพบว่าประชาชนมาจากภูมิหลังที่หลากหลาย
แต่มีเพียงประเด็นเดียวที่แบ่งแยกคนสองฝ่ายอย่างชัดเจน
ประเด็นนั้นคือทักษิณ ชินวัตร บุรุษผู้ทำให้รูปแบบดั้งเดิมของการเมืองไทยแตกละเอียดผ่านการรณรงค์หาเสียงที่เยี่ยมยอดของเขา ทำให้เขาได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งในปี พ.ศ.2544 และ 2548
ไม่ใช่ฝ่ายสีแดงทุกคนที่รักบุคคลที่หุนหันพลันแล่นและก่อให้เกิดการโต้แย้งผู้นี้
แต่พวกเขาเกือบจะทั้งหมดเห็นว่า ทักษิณถูกทำให้พ้นจากตำแหน่งอย่างไม่ยุติธรรมโดยการรัฐประหารปี 2549 และการใช้การฟ้องร้องทางกฎหมายหลากหลายคดีเพื่อจัดการกับเขาเป็นเรื่องไม่ชอบธรรม – เขาถูกพิพากษาลงโทษจำคุกสองปีโดยที่เขาไม่ได้มาปรากฎตัวในศาลเมื่อปีที่แล้วในความผิดฐานใช้อำนาจในทางที่ผิด
พวกเขายังเชื่อในพลังของวาระประชานิยม กุญแจที่ทำให้พรรคของทักษิณได้รับความนิยมจากประชาชนจำนวนมาก
ไม่เพียงเพราะว่ามันทำให้ชีวิตของคนชนบทจำนวนมากดีขึ้น – นักเศรษฐศาสตร์ตั้งคำถามกับประสิทธิภาพและประโยชน์ในระยะยาวของนโยบายหลายอย่างของทักษิณ – แต่เพราะมันทำให้คนจนรู้สึกได้ว่า การลงคะแนนของพวกเขามีความหมาย การลงคะแนนให้กับนโยบายของพรรคการเมืองเป็นการเฉพาะเจาะจงนั้นสามารถทำให้ท่านได้รับผลประโยชน์ที่จับต้องได้
วิธีการนี้ทำให้ประชาชนในประเทศไทยที่ก่อนหน้านี้เป็นชนชั้นที่ถูกทอดทิ้งกลายเป็นกลุ่มใหม่ที่มีพลัง
ประชาชนเหล่านี้คือเหตุผลที่ทำให้ทักษิณชนะในการเลือกตั้ง และเป็นเหตุผลที่ทำให้พันธมิตรทา
การเมืองของเขาได้กลับเข้ามาบริหารประเทศในปี พ.ศ.2550 ในการเลือกตั้งครั้งแรกหลังการรัฐประหาร แม้ว่าทักษิณและอดีตผู้บริหารพรรคจำนวน 111 คนถูกตัดสิทธิ์ในการลงสมัครรับเลือกตั้ง
ตอนนี้พวกเขาเป็นฐานมวลชนที่กว้างมากของขบวนการเสื้อแดง และพวกเขามีความเชื่ออย่างรุนแรงว่า ฝ่ายของพวกเขาได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
ความคับแค้นที่กลัดหนอง
หลายคำวิพากษ์วิจารณ์ที่มีเหตุผลระบุว่า รูปแบบบริหารงานของรัฐบาลทักษิณไม่กระทบกับมุมมองที่ว่า : เขาเป็นเผด็จการ, ทำให้สถาบันประชาธิปไตยต่างๆ ของประเทศที่เปราะบางอยู่แล้วอ่อนแอ; เขาทำให้การละเมิดสิทธิมนุษยชนขยายตัวขึ้นอย่างรุนแรง; การทุจริตยังคงเฟื่องฟูภายใต้การบริหารงานของเขา; เขาพูดถึงการส่งเสริมสนับสนุนบนฐานของความซื่อสัตย์อย่างไร้ความอาย, ไร้ความสามารถ
เหล่านี้เป็นประเด็นที่ฝ่าย พธม. พูดถึงอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยระหว่างการประท้วงต่อต้านทักษิณเมื่อปีที่แล้ว และเป็นข้อกล่าวหาที่ยากจะปฏิเสธ
แต่เพราะคนจนจำนวนมากเห็นนักการเมืองที่มีจุดบกพร่องผู้นี้เป็นพระเอกของพวกเขา พวกเขาขุ่นเคืองอย่างขมขื่นเมื่อฝ่ายต่างๆ เห็นพ้องกับชนชั้นนำที่มั่งคั่ง ในการตัดสินใจที่จะบิดงอกฎหมายต่างๆ เพื่อกำจัดทักษิณให้พ้นจากตำแหน่ง
นั่นคือพวกนายพลฝ่ายนิยมกษัตริย์ที่เป็นผู้นำการทำรัฐประหาร แต่พวกเขาได้รับเสียงเชียร์จากผู้พิพากษาและข้าราชการฝ่ายอนุรักษ์นิยม, พวกนักธุรกิจที่ร่ำรวยและมีอิทธิพล ประชาชนที่อยู่ในเมืองและชนชั้นกลางไทยจำนวนมาก ประชาชนที่นิยมทักษิณมีความรู้สึกว่า พวกเขาถูกปล้น
ความรู้สึกที่พวกเขาถูกปล้นนั้นสืบเนื่องต่อมาถึงปีที่แล้ว เมื่อพวกเขาเห็นรัฐบาลที่เขาเลือกถูกทำลายโดยกลุ่ม พธม. และจากนั้นถูกตัดสิทธิ์โดยคำพิพากษาที่แปลกประหลาดของศาล
และพวกเขารู้สึกถูกอุปถัมภ์เมื่อนักกิจกรรมฝ่าย พธม. ตอกย้ำอยู่เสมอว่า เหตุผลเดียวที่คนจนลงคะแนนให้ทักษิณเพราะได้รับสินบน
ความคับแค้นใจเหล่านี้ยังคงกลัดหนอง และฝังลึกลงในรอยแยกของสังคมไทย
เมื่อไปที่การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง คุณจะได้ยินเป็นเสียงเดียวกันว่า : “พวกเราเป็นประชาชนรากหญ้า, กำลังต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย, ต่อต้านชนชั้นปกครอง”
เมื่อไปที่การชุมนุมของคนเสื้อเหลือง คุณจะได้ยินเสียงที่แตกต่างว่า; “พวกเราเป็นคนมีการศึกษา, กำลังต่อสู้ขับไล่พวกนักการเมืองทุจริตที่ทำลายประชาธิปไตย”
การขาดสิ่งที่สำคัญที่สุด, โอบามา - เหมือนกับบุคคลหลายคนในประเทศไทยที่สามารถได้รับความนับถือจากทั้งสองฝ่าย แต่แน่นอน ไม่ใช่นายอภิสิทธิ์ที่เห็นกันอยู่บ่อยครั้งว่าอึดอัดกับการอยู่ในชนบทที่เป็นพื้นที่ของคนเสื้อแดงทั้งในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วิธีที่เขารับมือกับแกนนำของ “กลุ่มเสื้อแดงที่ลุกขึ้นสู้”- เปรียบเทียบกับการปฏิบัติอย่างไรต่อ “กลุ่มเสื้อเหลืองที่ลุกขึ้นสู้” เมื่อปีที่แล้วนั้น - จะเป็นบททดสอบที่สำคัญของคำมั่นสัญญาของเขาที่บอกว่าจะยึดถือหลักนิติรัฐอย่างยุติธรรม
ความขัดแย้งที่ปะทุขึ้นอย่างน่าสังเกตในกรุงเทพมหานครและพัทยาตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาจะส่งเสียงกร่อนเซาะความมั่นใจของนักลงทุน นักท่องเที่ยว และประชาชนไทยในอนาคตความมั่นคงของประเทศของพวกเขา