บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ตามไปดู เงินบริจาคพันธมิตรฯทะลุ100 ล้าน วาน"กรณ์"ช่วยตรวจสอบเสียภาษีหรือยัง ?

ที่มา มติชน


28 มิถุนายน 2553 "เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ " สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)ระบบสรรหา ได้ทำหนังสือถึงนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขอให้ตรวจสอบการเสียภาษี กรณี เงินบริจาค"ASTV-เครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.)

"เรืองไกร" อ้าง จดหมายของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ทำขึ้นในนามแกนนำ พธม. เพื่อโต้ตอบนายวีระ สมความคิด ซึ่งมีเนื้อหาบางส่วนที่แสดงให้เห็นว่า มีเงินได้พึงประเมินเกิดขึ้นในนามบุคคลต่าง ๆ ที่ได้รับมาจากบุคคลอื่นในรูปเงินบริจาค ซึ่งควรถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40(8) ที่จะต้องมีการเสียภาษีปีละสองครั้ง

หากจะเข้าใจ ความเป็นมาของปริศนาเงินบริจาค ต้องย้อนกลับไปดู เหตุการณ์ในปี 2551 กลาง สมรภูมิ สงครามครั้งสุดท้าย พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่มี สนธิ ลิ้มทองกุล เป็นหนึ่งในแกนนำ คนสำคัญ ได้ยึดทำเนียบรัฐบาลเป็นฐานที่มั่น ได้มีการใช้ ASTV ถ่ายทอดสด การชุมนุมขับไล่รัฐบาลนอมินีของพ.ต.ท.ทักษิณ แบบเรียลลิตี้ 24 ชั่วโมง

ด้วยพลานุภาพแห่งพลังทุน มีการเรี่ยไรบริจาคเงินทุกวัน คุยข่มกันว่า หากเพียงแค่เหล่าบรรดาแกนนำเอ่ยปากร้องขอบนเวที ไม่ว่าอะไรก็สามารถเนรมิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว

บนเวที มีการป่าวประกาศ ว่า ยอดเงินบริจาคทะลุ 100 ล้านแล้ว (จ้า) แทบทุกคืน

ก่อนหน้านี้ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ขึ้นเวทีเปิด ตู้ ป.ณ.100 ขอรับบริจาคเพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายและค่าจ้างพนักงานเอเอสทีวี ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2551 -5 กันยายน 2551 ซึ่งได้มาถึง 13 ล้านบาท โดยยืนยันว่าจะไม่มีการเปิดรับอีก เพราะเอเอสทีวีสามารถอยู่ได้แล้วจากเงินของผู้ชุมนุมคนละ 200 บาท

ครั้งนั้น นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรฯ เคยกล่าวไว้ว่า ค่าใช้จ่ายของกลุ่มพันธมิตรฯ อยู่ที่วันละ 1 ล้านบาท ในการจัดงานและกิจกรรมต่างๆ ค่าถ่ายทอดสัญญาณ แสงเสียง ค่าน้ำมันปั่นเครื่องไฟ ค่าสวัสดิการ อาหารของคณะทำงาน ค่าตอบแทนวิทยากรและศิลปิน ฯลฯ พร้อมกับแจกแจงข้อมูลเงินบริจาคที่แบ่งเป็น 2 บัญชี คือ บัญชียามเฝ้าแผ่นดิน และ บัญชีเอเอสทีวี

...น่าจะเป็นการชุมนุมโดยอหิงสาที่มีค่าใช้จ่ายต่อวันสูงกว่าการชุมนุมครั้งใด ๆ (ก่อนปี 2551)

เหตุใด บริษัท เอเอสทีวี จึงต้องเปิดขอรับเงินบริจาคกลางเวทีพันธมิตรฯ ? แล้วเงินบริจาคซึ่งถือว่าเป็นรายรับทั้งในส่วนของมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน และ บริษัท เอเอสทีวี ที่ว่ากันว่าทะลุ 100 ล้านแล้วนั้น มีการเสียภาษีให้แก่แผ่นดินหรือไม่ เป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบ

แหล่งข่าวระดับสูงกรมสรรพากร เปิดเผยว่า เงินบริจาค ถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี ตาม พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ.2481 ถ้าเงินบริจาคเข้าตัวบริษัทก็ต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล

ถ้าเงินบริจาคเข้า กระเป๋าบุคคลธรรมดา ถือเป็นกรณีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 40(8) ตาม พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ.2481 เช่นเดียวกัน

ก่อนหน้านี้ มีการก่อตั้ง "มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน" ที่นายสนธิ มีความคิดต้องการให้เป็นเหมือนองค์กรพัฒนาเอกชน ที่รับเงินเดือนโดยตรงกับประชาชน จนนำไปสู่การจดทะเบียนอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 23 เมษายน 2550 มี นายคำนูณ สิทธิสมาน เป็นประธาน

มูลนิธิแห่งนี้ เปิดรับสมัครเป็นสมาชิกหนังสือยามเฝ้าแผ่นดินแทน ด้วยการส่งใบสมัครไปที่ 49/1 อาคารบ้านเจ้าพระยา ถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร ซึ่งยังเป็นที่ตั้งของบริษัท บุ๊ค ด็อท คอม, บริษัท เวิล์ดไวด์ มีเดีย, บริษัท ภูเก็ตบลูสกาย

ครั้งนั้น แกนนำพันธมิตรฯ ยืนยันว่า ผู้ที่สงสัยในการบริหารค่าใช้จ่ายต่างๆ สามารถตรวจสอบเรื่องดังกล่าวได้ เพราะทางทีมงานจะนำเสนอรายละเอียดค่าใช้จ่ายผ่านบนเว็บไซต์ อีกทั้งการดำเนินงานของพันธมิตรฯ เป็นการดำเนินงานในลักษณะองค์กร

แต่จากวันนั้น จนถึงวันนี้ เงินบริจาค ค่าใช้จ่ายและรายรับต่างๆ ยังไม่เคยถูกตรวจสอบ โดยเฉพาะกรมสรรพากร ก็แสนดี ...นิ่งเงียบเป็นแมวนอนหวด

ผ่านไป 2 ปี เมื่อพันธมิตรฯทะเลาะกันเอง ข้อมูลก็โผล่ออกมาว่า เงินบริจาค ถูกแบ่งออกเป็น 5 กอง ประกอบด้วย 5 รายการ ดังนี้

1.บริจาคให้นายวีระ สมความคิด ผ่านคุณธิดาลักษณ์ วรรณวัฒนากิจเลขานายสนธิ ลิ้มทองกุล 2. บริจาคให้กองทุนสู้คดี (โดยคุณสุวัตร อภัยภักดิ์ เป็นผู้ดูแล) 3. กองทุนรักษาผู้บาดเจ็บ (โดยคุณพิภพ ธงไชย เป็นผู้ดูแล) 4. มูลนิธิจำลอง ศรีเมือง (โดยพลตรี จำลอง ศรีเมือง เป็นผู้ดูแล) 5. ASTV (โดยผู้บริหาร ASTV เป็นผู้ดูแล)

จริง ๆ แล้ว เงินที่อยู่ในชื่อบุคคลต่าง ๆ ย่อมอาจถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามความในมาตรา 61 ของประมวลรัษฎากร ที่กรมสรรพากรมีอำนาจตรวจสอบว่า เงินที่บุคคลดูแลนั้น อยู่ในหนังสือสำคัญใด เช่น สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารต่าง ๆ (บัญชีกระแสเลขที่ 008-1-09707-0 , บัญชีเลขที่ 008-1-09660-0 , บัญชีเลขที่ 008-2-24447-8 หรือบัญชีออมทรัพย์เลขที่ 157-0-06294-3) และเงินเหล่านั้นได้รับมาตั้งแต่ช่วงปีใด แต่ละปีมีเงินได้เท่าไร มีการเสียภาษีจากเงินได้ที่ปรากฏในหนังสือสำคัญแล้วหรือไม่ รวมทั้งตรวจสอบการโอนเงินได้ให้แก่บุคคลอื่นนั้น บุคคลอื่นที่ได้รับเงินไปนั้น มีใครบ้าง ได้รับในฐานะอะไร


หากนำเงินดังกล่าวมาหักออกตามสิทธิที่ระบุไว้ในมาตรา 61 วรรคสอง ก็ควรตรวจสอบต่อไปด้วยว่า บุคคลอื่นที่ได้รับเงินไปอีกทอดหนึ่งนั้น มีการเสียภาษีแล้วหรือไม่ เช่น ค่าทนายความที่จ่ายครั้งละประมาณ 200,000 บาท จำนวนหลายครั้งรวมเป็นเงินหลายล้านบาท ทนายความผู้รับเงินมีการไปเสียภาษีประเภทเงินได้ค่าธรรมเนียมวิชาชีพตามมาตรา 40 (6) อีกทอดหนึ่งหรือไม่


สำหรับเงินบริจาคในนามมูลนิธิ ถ้ามีการจดทะเบียนมูลนิธิดังกล่าวโดยถูกต้องตามกฎหมาย ย่อมถือเป็นนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 10 จากรายได้ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ


ทั้งนี้ มูลนิธิจะได้รับยกเว้นรายได้ตามมาตรา 65 ทวิ (13) คือ เงินค่าลงทะเบียนหรือค่าบำรุงที่ได้รับจากสมาชิก หรือเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการบริจาคหรือจากการให้โดยเสน่หา แล้วแต่กรณี


จากข้อมูลของ"เรืองไกร"พบว่า เงินบริจาคของมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินเพื่อพันธมิตรสู้คดีตั้งแต่ สิงหาคม 2552- กุมภาพันธ์ 2553 ปรากฏว่า มีเงินเหลือในบัญชี 10,737,284.83 บาท


ถ้าให้ดี "กรณ์ จาติกวณิช" น่าจะสั่งให้กรมสรรพากร เข้าไปตรวจสอบ โดยพลัน !!!


แต่ถ้ากลัวก็บอกมาตรงๆ จะได้รู้ว่า ประเทศนี้ 2 มาตรฐาน จริงๆ

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker