คอลัมน์ เหล็กใน
ประโยค "ปลุกผีแก่งเสือเต้น" เราจะผ่านตาตามหน้าหนังสือพิมพ์มานับสิบๆ ปี
ถ้าเป็นผีจริงละก็ ผีตัวนี้ลงหลุมไป แล้วก็ถูกปลุกขึ้นมาใหม่ ไม่รู้กี่รอบแล้ว
เฉพาะ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เอง อย่างต่ำก็ "ปลุกผี" มา 2 รอบแล้ว
ล่าสุดก็ตอนที่เป็นรองนายกรัฐมนตรี ของรัฐบาลอภิสิทธิ์
หลักการและเหตุผลของเขื่อนแก่งเสือเต้นรอบนี้ คือแก้ปัญหาภัยแล้ง
โดยอ้างความชอบธรรมเสริมขึ้นมาว่า ชาวบ้านตัดป่า โดยเฉพาะไม้สักทองไปหมดแล้ว
แต่ตามประวัติความเป็นมาของโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น
แทบจะเป็น "ยาสามัญประจำบ้าน"
เวลาเดือดร้อนภัยแล้ง น้ำยมแห้งขอด สิ่งที่จะช่วยได้ก็คือ เขื่อนแก่งเสือเต้น
เวลามีอุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก สิ่งที่จะช่วยได้ก็เช่นกัน เขื่อนแก่งเสือเต้น
แม้จะเกิดเหตุน้ำท่วมดินถล่ม ในแถบจังหวัดอีสาน
ก็ยังมีนักการเมืองบ่นว่า นี่ถ้ามีเขื่อนแก่งเสือเต้น คงจะไม่เกิดเหตุเช่นนั้น
อะไรมันจะสารพัดประโยชน์แสนดี มากมายปานนั้น!
แต่แม้นักการเมืองหลายยุคหลายสมัย พยายามผลักดันเขื่อนแก่งเสือเต้น
ก็น่าสังเกตว่าแรงต่อต้าน หรือพลังการพิทักษ์พื้นที่ป่าแก่งเสือเต้น ก็แข็งแรงสม่ำเสมอมาทุกยุคเหมือนกัน
โดยเฉพาะความเด็ดเดี่ยวชัดเจนของชาวบ้านในพื้นที่ป่า
พวกเขาประเมินความเสียหายไว้หมดแล้ว ทันทีที่น้ำถูกกักเก็บ
จะท่วมผืนป่าสักทองที่สมบูรณ์ที่สุดของประเทศ และป่าอื่นๆ จมหายไปถึง 4 หมื่นไร่!
ไม้สักทองล้ำค่าเหล่านั้น ชาวบ้านก็ตั้งข้อสงสัยว่า น่าจะเป็นหนึ่งในเหตุผลที่นักการเมืองอยากสร้างเขื่อนนี้
เพราะต้องมีการโค่นไม้สักพวกนี้ออกไปทำประโยชน์ก่อน
ไม่นับว่าโครงการระดับหมื่นล้านอย่างการสร้างเขื่อน จะเป็นวงจรการทำมาหากินของคนมีอำนาจได้อีกมากมาย
สิ่งที่น่าชื่นชมกว่านั้น ผู้นำชาวบ้านอย่างนายกอบต. ก็กล้าชนกับผู้มีอำนาจ
ทั้งที่ตำแหน่ง "นายกอบต." ในหลายๆ ที่ จะเป็นนักการเมืองที่กำลังไต่เต้าทางบารมีและฐานะ หรือไม่ก็เป็นเจ้าพ่อน้อยในท้องถิ่น
ซึ่งคนประเภทนี้ มุมมองก็มักจะมุ่งในเรื่องผลประโยชน์ของตัวเอง เหมือนนักการเมืองระดับบิ๊กนั่นเอง
แต่นายกอบต.สะเอียบ เจ้าของพื้นที่แก่งเสือเต้น อย่าง นายชุม สะเอียบคง ดูแล้วหวังพึ่งได้ จากคำสัมภาษณ์
"การสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ไม่ใช่ทางออกแก้ปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม รัฐบาลควรใช้วิธีบริหารจัดการลุ่มน้ำสาขาของแม่น้ำยมให้ดีและเป็นระบบ ซึ่งจะแก้ปัญหาทั้งหมดได้ ชาวบ้านเห็นว่าการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นจะเป็นการทำลายทรัพยากรป่าไม้ที่มีค่า
และในที่สุดแล้ว หากรัฐบาลยืนยันจะดำเนินการต่อไป
"กลุ่มชาวบ้านก็จะมีมาตรการในการคัดค้านที่หนักหน่วงขึ้น"
ถ้าเป็นผีจริงละก็ ผีตัวนี้ลงหลุมไป แล้วก็ถูกปลุกขึ้นมาใหม่ ไม่รู้กี่รอบแล้ว
เฉพาะ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เอง อย่างต่ำก็ "ปลุกผี" มา 2 รอบแล้ว
ล่าสุดก็ตอนที่เป็นรองนายกรัฐมนตรี ของรัฐบาลอภิสิทธิ์
หลักการและเหตุผลของเขื่อนแก่งเสือเต้นรอบนี้ คือแก้ปัญหาภัยแล้ง
โดยอ้างความชอบธรรมเสริมขึ้นมาว่า ชาวบ้านตัดป่า โดยเฉพาะไม้สักทองไปหมดแล้ว
แต่ตามประวัติความเป็นมาของโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น
แทบจะเป็น "ยาสามัญประจำบ้าน"
เวลาเดือดร้อนภัยแล้ง น้ำยมแห้งขอด สิ่งที่จะช่วยได้ก็คือ เขื่อนแก่งเสือเต้น
เวลามีอุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก สิ่งที่จะช่วยได้ก็เช่นกัน เขื่อนแก่งเสือเต้น
แม้จะเกิดเหตุน้ำท่วมดินถล่ม ในแถบจังหวัดอีสาน
ก็ยังมีนักการเมืองบ่นว่า นี่ถ้ามีเขื่อนแก่งเสือเต้น คงจะไม่เกิดเหตุเช่นนั้น
อะไรมันจะสารพัดประโยชน์แสนดี มากมายปานนั้น!
แต่แม้นักการเมืองหลายยุคหลายสมัย พยายามผลักดันเขื่อนแก่งเสือเต้น
ก็น่าสังเกตว่าแรงต่อต้าน หรือพลังการพิทักษ์พื้นที่ป่าแก่งเสือเต้น ก็แข็งแรงสม่ำเสมอมาทุกยุคเหมือนกัน
โดยเฉพาะความเด็ดเดี่ยวชัดเจนของชาวบ้านในพื้นที่ป่า
พวกเขาประเมินความเสียหายไว้หมดแล้ว ทันทีที่น้ำถูกกักเก็บ
จะท่วมผืนป่าสักทองที่สมบูรณ์ที่สุดของประเทศ และป่าอื่นๆ จมหายไปถึง 4 หมื่นไร่!
ไม้สักทองล้ำค่าเหล่านั้น ชาวบ้านก็ตั้งข้อสงสัยว่า น่าจะเป็นหนึ่งในเหตุผลที่นักการเมืองอยากสร้างเขื่อนนี้
เพราะต้องมีการโค่นไม้สักพวกนี้ออกไปทำประโยชน์ก่อน
ไม่นับว่าโครงการระดับหมื่นล้านอย่างการสร้างเขื่อน จะเป็นวงจรการทำมาหากินของคนมีอำนาจได้อีกมากมาย
สิ่งที่น่าชื่นชมกว่านั้น ผู้นำชาวบ้านอย่างนายกอบต. ก็กล้าชนกับผู้มีอำนาจ
ทั้งที่ตำแหน่ง "นายกอบต." ในหลายๆ ที่ จะเป็นนักการเมืองที่กำลังไต่เต้าทางบารมีและฐานะ หรือไม่ก็เป็นเจ้าพ่อน้อยในท้องถิ่น
ซึ่งคนประเภทนี้ มุมมองก็มักจะมุ่งในเรื่องผลประโยชน์ของตัวเอง เหมือนนักการเมืองระดับบิ๊กนั่นเอง
แต่นายกอบต.สะเอียบ เจ้าของพื้นที่แก่งเสือเต้น อย่าง นายชุม สะเอียบคง ดูแล้วหวังพึ่งได้ จากคำสัมภาษณ์
"การสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ไม่ใช่ทางออกแก้ปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม รัฐบาลควรใช้วิธีบริหารจัดการลุ่มน้ำสาขาของแม่น้ำยมให้ดีและเป็นระบบ ซึ่งจะแก้ปัญหาทั้งหมดได้ ชาวบ้านเห็นว่าการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นจะเป็นการทำลายทรัพยากรป่าไม้ที่มีค่า
และในที่สุดแล้ว หากรัฐบาลยืนยันจะดำเนินการต่อไป
"กลุ่มชาวบ้านก็จะมีมาตรการในการคัดค้านที่หนักหน่วงขึ้น"