คอลัมน์ เหล็กใน
รัฐบาลเริ่มหน้ามืด หยิบฉวยแทบทุกอย่าง เพื่อผลประโยชน์ และความอยู่รอดของตัวเอง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทาบทามบุคคลที่มีชื่อเสียงที่สังคมบางกลุ่มเงี่ยหูรับฟัง มาเป็นพวกพ้อง เป็นไม้เป็นมือให้ได้
ทั้งนายคณิต ณ นคร นายอานันท์ ปันยารชุน และน.พ.ประเวศ วะสี
แอ่นอกยอมรับเป็นประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง เพื่อความปรองดองแห่งชาติ ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปประเทศ และประธานคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ
แต่ดูเหมือนว่าเสียงตอบรับไม่ค่อยดังนัก เพราะชาวบ้านอีกกลุ่มหนึ่งยังมีความรู้สึกว่าทั้ง 3 คน แค่เป็นเครื่องมือ ยอมรับงาน เพื่อช่วยยืดอายุรัฐบาลมากกว่า
ล่าสุด นายคณิต กลับประสบปัญหา ยังไม่สามารถสรรหาคณะกรรมการมาร่วมได้ทัน ต้องขอขยายเวลาออกไปอีก 15 วัน
ขณะที่นายอานันท์ระบุว่าขอเวลาอีก 3 วัน พร้อมกับอ้างว่ามีรายชื่อบุคคลอยู่ในใจแล้ว ประมาณ 15-20 คน แต่จะต้องหารือกับน.พ.ประเวศก่อน
อย่างไรก็ตาม กรณีนายอภิสิทธิ์สั่งการให้ทหารใช้ความรุนแรงกับประชาชน จนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมากนั้น
ต่างประเทศและองค์กรทางด้านสิทธิมนุษยชนของโลก รับไม่ได้
บ้างก็ออกมาประณาม บ้างก็ขอมีส่วนร่วมในการสอบสวนค้นหาความจริง
แต่นายอภิสิทธิ์ปฏิเสธ อ้างว่าเป็นเรื่องภายในประเทศ
ขณะเดียวกัน ก็เรียกประชุมทูตานุทูตต่างประเทศ เพื่อชี้แจงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
แต่ดูเหมือนว่ายิ่งชี้แจง ก็ยิ่งเข้าตัว จนต้องโยนให้ศอฉ.อธิบายแทน
ในสายตาของต่างชาติ มองว่ารัฐบาลนี้ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง
กรณีนายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ได้รับเลือกจากที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ(เอชอาร์ซี) สมัยที่ 14 ให้เป็นประธาน
เป็นอีกกรณีที่นายอภิสิทธิ์รีบโดดรับลูกทันทีว่า
"นี่เป็นการยืนยันว่าต่างประเทศเข้าใจสถานการณ์ของไทย ผมค่อนข้างมั่นใจว่าประเทศกว่า 40 ประเทศที่ให้การสนับสนุน เขาได้แสดงความเข้าใจในสถานการณ์ของไทยมาโดยตลอด ถ้าได้อ่านคำแถลงของรัฐบาลประเทศสหรัฐ ผู้แทนสหภาพยุโรป และกลุ่มประเทศอาเซียน ไม่มีตรงไหนที่เขามองว่าเราไปดำเนินการสิ่งที่ไม่ถูกต้อง"
เป็นข้ออ้างแบบเดียวกันเด๊ะ กับกรณีนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ระบุว่าที่พรรคประชาธิปัตย์ ชนะการเลือกตั้งส.ข. เพราะชาวกรุงเทพฯ เห็นว่ารัฐบาลทำในสิ่งที่เหมาะสม
เรื่องพูดเอาดีใส่ตัว ไม่มีใครเท่า
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทาบทามบุคคลที่มีชื่อเสียงที่สังคมบางกลุ่มเงี่ยหูรับฟัง มาเป็นพวกพ้อง เป็นไม้เป็นมือให้ได้
ทั้งนายคณิต ณ นคร นายอานันท์ ปันยารชุน และน.พ.ประเวศ วะสี
แอ่นอกยอมรับเป็นประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง เพื่อความปรองดองแห่งชาติ ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปประเทศ และประธานคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ
แต่ดูเหมือนว่าเสียงตอบรับไม่ค่อยดังนัก เพราะชาวบ้านอีกกลุ่มหนึ่งยังมีความรู้สึกว่าทั้ง 3 คน แค่เป็นเครื่องมือ ยอมรับงาน เพื่อช่วยยืดอายุรัฐบาลมากกว่า
ล่าสุด นายคณิต กลับประสบปัญหา ยังไม่สามารถสรรหาคณะกรรมการมาร่วมได้ทัน ต้องขอขยายเวลาออกไปอีก 15 วัน
ขณะที่นายอานันท์ระบุว่าขอเวลาอีก 3 วัน พร้อมกับอ้างว่ามีรายชื่อบุคคลอยู่ในใจแล้ว ประมาณ 15-20 คน แต่จะต้องหารือกับน.พ.ประเวศก่อน
อย่างไรก็ตาม กรณีนายอภิสิทธิ์สั่งการให้ทหารใช้ความรุนแรงกับประชาชน จนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมากนั้น
ต่างประเทศและองค์กรทางด้านสิทธิมนุษยชนของโลก รับไม่ได้
บ้างก็ออกมาประณาม บ้างก็ขอมีส่วนร่วมในการสอบสวนค้นหาความจริง
แต่นายอภิสิทธิ์ปฏิเสธ อ้างว่าเป็นเรื่องภายในประเทศ
ขณะเดียวกัน ก็เรียกประชุมทูตานุทูตต่างประเทศ เพื่อชี้แจงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
แต่ดูเหมือนว่ายิ่งชี้แจง ก็ยิ่งเข้าตัว จนต้องโยนให้ศอฉ.อธิบายแทน
ในสายตาของต่างชาติ มองว่ารัฐบาลนี้ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง
กรณีนายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ได้รับเลือกจากที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ(เอชอาร์ซี) สมัยที่ 14 ให้เป็นประธาน
เป็นอีกกรณีที่นายอภิสิทธิ์รีบโดดรับลูกทันทีว่า
"นี่เป็นการยืนยันว่าต่างประเทศเข้าใจสถานการณ์ของไทย ผมค่อนข้างมั่นใจว่าประเทศกว่า 40 ประเทศที่ให้การสนับสนุน เขาได้แสดงความเข้าใจในสถานการณ์ของไทยมาโดยตลอด ถ้าได้อ่านคำแถลงของรัฐบาลประเทศสหรัฐ ผู้แทนสหภาพยุโรป และกลุ่มประเทศอาเซียน ไม่มีตรงไหนที่เขามองว่าเราไปดำเนินการสิ่งที่ไม่ถูกต้อง"
เป็นข้ออ้างแบบเดียวกันเด๊ะ กับกรณีนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ระบุว่าที่พรรคประชาธิปัตย์ ชนะการเลือกตั้งส.ข. เพราะชาวกรุงเทพฯ เห็นว่ารัฐบาลทำในสิ่งที่เหมาะสม
เรื่องพูดเอาดีใส่ตัว ไม่มีใครเท่า