มองกันว่าหากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญตามแนวทางของนายกฯสมัคร นั่นคือการทำ ประชามติ ฟังความเห็นของชาวบ้านว่าต้องการให้มีการแก้ไขหรือไม่ หากไม่เห็น ด้วยก็จบ หากเห็นด้วยก็เดินหน้าต่อไป
น่าจะทำให้สถานการณ์การเมืองคลี่คลายไปในทางที่ดีได้
แม้ยังมีความเห็นว่าเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำมากกว่า เพราะไม่มีประโยชน์อันใด เนื่องจาก ผลออกมาอย่างไร รัฐบาลก็ต้องแก้อยู่แล้ว เสียเงินเปล่าๆ ยิ่งภาวะข้าวยากหมากแพง ค่าครองชีพ สูง ปัญหาปากท้องสำคัญกว่า ยิ่งเม็ดเงิน 2,000 ล้านนั้นไม่ใช่น้อย
หรือบางความเห็นก็บอกว่ายังไม่ควรจะแก้ เพราะเพิ่งใช้มาไม่ทันไร รอใช้ไปสัก 1 ปี แล้วค่อยมา ว่ากัน หรือเสนอว่าหากจะทำประชามติสู้ทำประชาพิจารณ์ดีกว่า
แม้กระทั่งในพรรคพลังประชาชนเองก็ยังหาจุดลงตัวไม่ได้ แม้จะมีลีลาทำนองว่าเป็นเรื่อง ของสภาไม่เกี่ยวกับรัฐบาล
และที่บอกว่าเป็นเรื่องของสภา ไม่เกี่ยวกับรัฐบาล มันกำลังหันกลับมาย้อนศรเข้าแล้ว หลังจาก มีการยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญไปเรียบร้อย กลับปรากฏนายกฯได้เสนอไอเดียใหม่และบรรเจิด หลังจากที่เคยปฏิเสธหัวชนฝามาก่อน
แต่วันนี้กลืนน้ำลายแล้วด้วยการเสนอว่าจะให้ ครม.มีมติให้จัดทำประชามติก่อนแก้ไข รัฐธรรมนูญ ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จ
ใน 45 วัน ทั้งนี้ ได้ขอให้ประธานรัฐสภาอย่าเพิ่งบรรจุญัตติเข้าวาระรอให้การทำประชามต ิเรียบร้อยรู้ผลเสียก่อน
ขอเงิน ครม. 2,000 ล้านเพื่อการนี้
และกฎหมายว่าด้วยเรื่องประชามตินั้น ก็จะให้ กกต.ดำเนินการหรือหากล่าช้าก็ออก พ.ร.ก.ไม่มี ปัญหาแน่ ซึ่งแนวคิดได้ยอมรับว่าเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขัดแย้ง เมื่อประชาชนว่ายังไงก็เอา อย่างนั้น
ที่ว่าย้อนเกล็ดก็เพราะว่า แม้นายกฯจะขอให้นายชัยอย่าเพิ่งบรรจุญัตติ แต่ปรากฏเสียง ตอบกลับว่าเป็นเรื่องของสภา ไม่เกี่ยวกับรัฐบาล อยากทำประชามติก็ทำไป
อย่างไรก็ดี หากทำคู่ขนานกันไปเชื่อว่ามีเสียงคัดค้านแน่ เนื่องจากจะทำให้เสียเงินเปล่าๆ และไม่มีประโยชน์อันใด เพราะแม้จะเป็นเรื่องของสภา แต่มันก็เป็นเรื่องของรัฐบาลด้วย เพราะรัฐบาลกับสภาเสียงส่วนใหญ่ก็คือพวกเดียวกัน
ต้องการที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเป้าหมายเดียวกัน
เมื่อภาพที่ออกมาไม่ชัด ไม่ตรงไปตรงมา ซึ่งก็คือความไม่ชัดเจนของพลังประชาชนต่อเรื่องนี้ว่า จะเอายังไงแน่ ขนาดหัวหน้าพรรคให้เดินไปทางนี้ แต่ลูกพรรคกลับเดินไปอีกทาง มันย่อมเกิด ความสับสนและข้อสำคัญ
ความไม่เชื่อใจว่า รัฐบาลและพลังประชาชนจะมาไม้ไหน จะเล่นอะไรกันแน่ และนั่นยิ่งทำให้เกิด ความรู้สึกไม่ไว้วางใจ ต่างๆเหล่านี้ย่อมไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาล และพลังประชาชนอย่างไม่ต้อง สงสัย
ซึ่งนั่นยิ่งจะทำให้สถานภาพของนายกฯในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชาชนดำดิ่งลงไปอีก เพราะฐานะทุกวันนี้ก็รู้กันดีว่าแค่นายกฯนอมินี ไม่มีอำนาจสิทธิ์ขาดในพรรค ไม่ได้รับการยอม รับอย่างที่ควรจะเป็น ที่สำคัญก็คือไม่มีอำนาจการตัดสินใจ
เชื่อว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้นนั้น แรกๆนายกฯคงคิดว่าไม่น่ามีปัญหา ปล่อยให้เดิน หน้าท้าทาย เพราะเชื่อมั่นในอำนาจที่เต็มมือ
แต่พอเจอกระแสคัดค้าน เจอกระบวนท่าเหิมเกริมของทีมแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือแม้แต่การ หักเหลี่ยมในเรื่องประธานสภาผู้แทนฯหรืออะไรอีกหลายเรื่องที่นายกฯและ หัวหน้าพรรค รู้ทีหลังลูกพรรค ต่างๆเหล่านี้คงทำให้คนชื่อ “สมัคร” ชักรับไม่ไหว
หากไม่ยอมให้ทำประชามติ...ก็ต้องคิดถึงเรื่อง “ยุบสภา” ได้เหมือนกัน.
"สายล่อฟ้า"