โดย : Albatross
หยั่งรู้ฟ้าดิน
โดย : Albatross วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2552
ยุทธศาสตร์
ครั้งหนึ่งซุนซูได้กำหนดกลยุทธ์เพื่อกำชัยชนะเสมือนหนึ่งว่าสามารถหยั่งรู้ฟ้าดินได้ ซุนซูรู้ว่าฝนจะตกที่ไหน หมอกจะหนาอย่างไร น้ำจะขึ้นแค่ไหนได้อย่างน่าอัศจรรย์ แต่แท้ที่จริงแล้วการหยั่งรู้เช่นนั้นเป็นเพียงความรอบรู้ทางสถิติเท่านั้นไม่ได้น่าอัศจรรย์แต่อย่างใด สิ่งที่น่าทึ่งกว่าการหยั่งรู้ดังกล่าวนี้คือความชาญฉลาดของซุนซูที่สามารถช่วงชิงเอาสภาวะแวดล้อมของสงครามที่คาดเดาได้ยากมาประยุกต์ใช้ให้ฝ่ายตนได้เปรียบจนได้ชัยชนะ ชัยชนะของซุนซูไม่ได้เกิดขึ้นจากกลยุทธ์เดี่ยวๆเพียงหนึ่งกลยุทธ์ หากแต่มันได้เกิดขึ้นจากกลยุทธ์พร้อมพรึบทุกครั้ง
ในสนามรบเต็มไปด้วยหมอกควันและความเสียดทานมากมาย การผลีผลามเดินหมากลงไปในสมรภูมิจึงมักเป็นการเปิดโอกาสให้ข้าศึกได้เปรียบทุกครั้งไป เหมือนเมื่อครั้งพระนเรศวรผลีผลามไสช้างเข้าสู่วงล้อมของกษัตริย์พม่าเพราะคิดว่ากำลังได้เปรียบอย่างยิ่งในฝุ่นดินที่กำลังฟุ้งกระจาย เมื่อฝุ่นดินจางลงจึงได้รู้ว่าเสียจังหวะสงครามไปเสียแล้ว การเสียจังหวะสงครามในครั้งนั้นของพระนเรศวรเป็นเพียงสิ่งที่กษัตริย์พม่าอยากให้เกิดขึ้นแต่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น ตัวการแท้จริงที่ทำให้พระนเรศวรเสียจังหวะสงครามนั้นคือตัวพระนเรศวรเอง โดยมีสภาวะแวดล้อมของสงครามเป็นตัวกระตุ้น แต่เหตุการณ์ก็พลิกผันด้วยชัยชนะของพระนเรศวรเพราะเหตุแห่งความเสียดทานของสงครามที่แฝงอยู่(ปมด้อยกษัตริย์พม่า) ความเสียดทานของสงครามบางครั้งจึงเป็นจุดเปลี่ยนของสงครามได้ต้องรู้จังหวะและมีไหวพริบช่วงชิงโอกาสเป็น จึงจะสามารถใช้ความเสียดทานของสงครามให้กลายเป็นประโยชน์ได้เพราะปกติแล้วความเสียดทานของสงครามคือศัตรูของชัยชนะ
ฝ่ายอำมาตย์กำลังเล่นบทพระนเรศวรก่อนถึงช่วงชนช้าง โดยมีความลับที่กำลังถูกเปิดโปงเป็นตัวกระตุ้น ในขณะที่ฝ่ายประชาธิปไตยได้เปรียบโดยไม่ได้ทำอะไรเพราะการกระทำของฝ่ายตรงข้ามเอง ชัยชนะของฝ่ายประชาธิปไตยอยู่เพียงแค่เหยียดยื่นมือออกไปรับจากมืออำมาตย์ที่สำคัญผิดยื่นให้เท่านั้น แต่คนรับต้องเป็นเพียงทหารเลวปลายแถวไม่ใช่แม้เพียงยศหัวหมู่ ยุทธวิธีในตอนนี้ของฝ่ายประชาธิปไตยที่เหมาะสมเพียงส่งพลนำสารเดินออกไปหยิบโอกาสที่อำมาตย์ยื่นให้ใส่กระเป๋าเก็บไว้แล้วรอเวลาเหมาะสมประกาศชัยชนะ(ตอนนี้ยังไม่ใช่เวลาประกาศ) เหล่าบรรดาแม่ทัพ ขุนศึก ให้นิ่งไว้ห้ามเล่นบทชนช้างโดยเด็ดขาดเพราะจะทำให้เกิดจุดเปลี่ยนของสงครามขึ้น ผลของจุดเปลี่ยนคือความพ่ายแพ้ของฝ่ายประชาธิปไตยอย่างเบ็ดเสร็จ การกลับมาเริ่มสู้ใหม่ของฝ่ายประชาธิปไตยต้องรอออกไปอีกถึง 10 ปี
ยุทธการ
ชัยชนะในสงครามสามก๊ก, สงคราม 6 วันของอิสราเอล หรือแม้แต่สงครามพายุทะเลทรายล้วนได้มาจากผลสำเร็จโดยรวมของหลายๆสมรภูมิที่เดินหมากพร้อมพรึบในเวลาเดียวกัน จุดแข็งของฝ่ายประชาธิปไตยคือจำนวนที่มากกว่ามหาศาล การรวมพลเพื่อส่งลงสมรภูมิย่อยอย่างพร้อมพรึบจึงเป็นยุทธการที่เหมาะสม ส่วนยุทธวิธีรวมพลมีมากมายก็แล้วแต่จะทำได้ อาวุธของฝ่ายประชาธิปไตยคือเครือข่ายการสื่อสารไม่ใช่อาวุธสงคราม จุดเปลี่ยนของสงครามคือข่ายการสื่อสารถูกทำลาย
สงครามใหญ่หัวใจอยู่ที่การส่งบำรุง(Support) ในที่นี้หมายถึงข้อมูลข่าวสาร (Information) การอ่อนด้อยการส่งกำลังจะทำให้ทุกยุทธบริเวณต้องหยุดชะงักและเกิดผลเสียหายมากมายที่เกินกว่าจะคาดหมายได้หมดว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างเพราะในแต่ละยุทธบริเวณล้วนมีหมอกควันไม่เหมือนกัน ฉะนั้นอย่าให้การส่งบำรุงขาดตอนโดยเด็ดขาด การส่งบำรุงกับกลยุทธ์เป็นของคู่กันไม่อาจแยกออกจากกันได้ เมื่อใดการส่งบำรุงเดินตามกลยุทธ์เมื่อนั้นคือสิ่งบอกเหตุถึงเค้าลางความพ่ายแพ้
ยุทธวิธี
ตามแต่จะทำกัน