บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

จำคุก 18 ปี ดา ตอร์ปิโด คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ที่มา ประชาไท

เวลา 9.00 น. ห้องพิจารณาคดี 904 ศาลอาญารัชดา นายพรหมาศ ภู่แส และองค์คณะขึ้นนั่งอ่านคำตัดสินคดีที่ น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ดา ตอร์ปิโด ถูกอัยการฟ้องเป็นจำเลยในความผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี) จากการปราศรัยที่สนามหลวง 3 ครั้ง คือวันที 7 และ 13 มิถุนายน 2551 และ วันที่ 18-19 กรกฎาคม 2551

ศาลตัดสินว่า จากพยานหลักฐาน จำเลยกระทำผิดจริงตามข้อกล่าวหา โดยจำเลยได้กระทำผิด 3 กรรม จากการปราศรัยที่สนามหลวง 3 ครั้ง ตัดสินจำคุกกรรมละ 6 ปี รวม 18 ปี
"นี่คือยุคของการต่อสู้ทางความคิด" ดารณีกล่าวหลังรับฟังคำพิพากษา
นายประเวศ ประภานุกูล ทนายจำเลยระบุว่าจะเตรียมการยื่นอุทธรณ์ต่อไปหลังได้สำเนาคำพิพากษา สำหรับบรรยากาศการฟังคำตัดสินวันนี้ มีประชาชนผู้สนใจและผู้ที่ต้องการมาให้กำลังใจ น.ส.ดารณี ประมาณ 30 คน
ถัดจากการพิจารณาคดี 112 นางสารดารณี ได้เข้ารับฟังการพิจารณาคดีที่ห้องพิจารณา 908 ต่อทันทีในคดีที่ถูก พล.อ. สพรั่ง กัลยาณมิตร ฟ้องหมิ่นประมาท โดยวันนี้มีการสืบพยานจำเลย และศาลนัดพิพากษาคดีในวันที่ 16 ก.ย.นี้
ทั้งนี้ ทนายจำเลยได้แจกเอกสารแก่ประชาชนและผู้สื่อข่าวเป็นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาว่า การสั่งพิจารณาคดีดังกล่าวเป็นการปิดลับซึ่งศาลอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 117 มีคำสั่งตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย. ซึ่งเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก เป็นการละเมิดสิทธิของจำเลย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
ฝ่ายจำเลยระบุว่าการที่ศาลสั่งพิจารณาคดีลับดังกล่าว ห้ามมิให้ประชาชนทั่วไปเข้าฟังการพิจารณานั้นเป็นการใช้บทบัญัติกฎหมายขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตราที่ 40 (2) ซึ่งระบุว่าสิทธิขั้นพื้นฐานในกระบวนการพิจารณา ซึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักประกันพื้นฐานเรื่องการได้รับการพิจารณาโดยเปิดเผย การได้รับทราบข้อเท็จจริง และการตรวจเอกสารอย่างเพียงพอ การเสนอข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้งและพยานหลักฐานของตน การคัดค้านผู้พิพากษาหรือตุลาการ การได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษาหรือตุลาการที่นั่งพิจารณาคดีครบองค์คณะ และการได้รับทราบเหตุผลประกอบคำวินิจฉัย คำพิพากษาหรือคำสั่ง
และรัฐธรรมนูญมาตรา 29 บัญญัติว่า การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทำมิดได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้และเท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้
ฝ่ายจำเลยเห็นว่าบทบัญญัติมาตรา 117 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่ศาลอาศัยอำนาจสั่งให้การพิจารณาคดีลับนั้นขัดและแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญและศาลรัฐธรรมนูญยังไม่เคยมีการวินิจฉัยเรื่องนี้ จึงขอให้ศาลส่งความเห็นของจำเลยไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญํติแห่งรัฐธรรมนูญมาตรา 211 โดยขอให้ศาลอาญารอการพิพากษาคดีนี้ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ ฝ่ายจำเลยได้ยื่นคำร้องดังกล่าวให้ศาลอาญาพิจารณาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. โดยร้องให้ศาลรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวและส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา อย่างไรก็ตาม ศาลยกคำร้องดังกล่าว โดยระบุว่าการพิจารณาไม่ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 211 เนื่องจากจำเลยมีทนายแก้ต่าง และสามารถนำพยานหลักฐานมายังศาลได้อย่างครบถ้วน
ทนายจำเลย จึงได้ทำการยื่นคำร้องด้วยตัวเองอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 27 ส.ค. โดยศาลรัฐธรรมนูญลงประทับรับคำร้องดังกล่าว

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker