ก่อนหน้านี้ บางกอกทูเดย์ได้นำเสนอการจัดสรรงบประมาณมหาศาล! ไปให้พรรคร่วมรัฐบาลเพื่อนำไปสานต่อตามนโยบาย“ไทยเข้มแข็ง”เมื่อจัดสรรงบประมาณไปแล้ว...การ “จับตา!! ความคืบหน้าของโครงการ” ก็เป็นเรื่องสำคัญไม่น้อย!!นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ประธานคณะกรรมการอนุกรรมาธิการส่งเสริมการมีส่วนร่วม เคยบอกว่า แม้สุดท้ายแล้วที่ประชุมจะผ่าน พ.ร.ก. 400,000 ล้านบาท ให้รัฐบาลไปดำเนินโครงการไทยเข้มแข็ง แต่ก็ยังเชื่อว่าจะมีการทุจริตกับโครงการต่างๆเกิดขึ้น เพื่อนำเงินไปใช้สำหรับการเลือกตั้งในครั้งต่อไปฉะนั้น ต่อไปนี้จึงจะมีการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลและพรรคร่วมอย่างใกล้ชิดนายไพบูลย์ ชี้แจงไว้ว่ากระทรวงคมนาคม มีโครงการที่จะต้องจับตาดูเป็นพิเศษคือ งบบำรุงรักษาทางหลวงกระทรวงคมนาคมได้งบในส่วนนี้ไปถึง 44,865 ล้านบาท หรืองานพัฒนาทางหลวง 9,100 ล้านบาท หรืองานอำนวยความปลอดภัย12,870 ล้านบาท เพราะเป็นงบในลักษณะเดียวกันโครงการเหล่านี้รายละเอียดยิบย่อยจำนวนมาก ตรวจสอบยากขณะที่รัฐบาลได้ตั้งงบในกลุ่มนี้เป็นก้อนใหญ่มากโครงการถนนไร้ฝุ่น อีก 1 โครงการที่ต้องจับตา เพราะรายละเอียดเนื้อหาของโครงการมีช่องว่าง สามารถทุจริตได้ง่ายตั้งแต่รูปแบบการประมูล หากมีการทุจริตจริงผลประโยชน์จะตกไปอยู่กับ ส.ส. ที่เป็นนายทุนพรรคและผู้รับเหมาขนาดกลางตรวจสอบได้ยากต่างกับโครงการเมกะโปรเจกต์ที่ผลประโยชน์มักไปตกอยู่กับผู้รับเหมาขนาดใหญ่น้อยราย ส่วนใหญ่เป็นนายทุนให้กับพรรคการเมืองซึ่งโครงการเมกะโปรเจกต์นี้จะตรวจสอบการทุจริตได้ง่ายกว่าเพราะส่วนใหญ่ผู้รับเหมามักเป็นบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ และหากนำกฎเกณฑ์ตามแบบการกู้เงินไจก้าของญี่ปุ่นมาใช้ในการตรวจสอบมาเปรียบเทียบแล้ว ก็เชื่อว่าจะทุจริตได้ยาก
สำหรับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำทั่วประเทศ ผู้ได้ประโยชน์มากคือ ผู้รับเหมาในเครือข่ายของคนระดับเจ้าของพรรค ตรวจสอบยากเพราะเป็นโครงการขนาดเล็กและกระจายไปทุกพื้นที่ทั่วประเทศด้านพลังงานต้องจับตาดู ปตท. เพราะได้ข่าวว่าจะมีการตั้งบริษัทลูกที่ ปตท. ถือหุ้นใหญ่เข้ามารับงาน ผลประโยชน์จะตกอยู่กับเอกชนที่เป็นบริษัทลูกเหล่านี้ เพราะจะได้ผลประโยชน์จากสัญญากับรัฐ เช่น เป็นผู้จัดหาน้ำมันปาล์ม,ผู้รับวางท่อ, ผู้จัดซื้อต่างๆ ฯลฯด้านไอที งบที่น่าสงสัยที่สุด คือ งบด้านการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่ตอนนี้หลายๆ กระทรวงได้ตั้งงบตัวนี้มา ซึ่งเป็นงบที่ตรวจสอบได้ยากมากถ้าเทียบกับสมัยก่อนแล้ว การทุจริตจัดซื้อคอมพิวเตอร์จะดูแลตรวจสอบได้ง่าย แต่วันนี้การทุจริตมีแนวโน้มซับซ้อนมากขึ้นส่วนกระทรวงไอซีที (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) ให้ดูที่การให้บริการต่างๆ ซึ่งจะเป็นช่องโหว่รั่วไหลได้ง่ายเช่นกัน โดยเฉพาะในส่วนของรัฐวิสาหกิจอย่างทีโอทีและ กสท“งบพวกนี้มันซับซ้อน ดูไม่ได้ง่ายๆ การทุจริตจึงมักรอดหูรอดตาฝ่ายตรวจสอบ ไม่เหมือนโครงการเช่ารถเมล์ 4,000 คันที่ส่อเจตนาทุจริตชัดเจน และสังคมเข้าตรวจสอบง่ายกว่า”นอกจากนี้ ยังมีงบที่น่าจับตาเป็นพิเศษในทุกกระทรวง คืองบที่นำไปจ้างบริษัทที่ปรึกษาและบริษัทที่ดำเนินการด้านประชาสัมพันธ์ทั้งนี้ พรรคการเมืองต่างๆ มักใช้วิธีนี้ในการทุจริตโดยเฉพาะการจ้างบริษัทที่ปรึกษาต่างๆ ที่นอกจากจะใช้งบประมาณจำนวนมากแล้ว เงินยังรั่วไหลได้ง่าย แถมส่งผลให้เกิดการล็อกสเปกและทุจริตในงานหลักต่อไปได้อีกด้วยอย่างไรก็ตาม โครงการในยุทธศาสตร์ไทยเข้มแข็งโดยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังคงอยู่ระหว่างการดำเนินการพวกเราประชาชนในระบอบประชาธิปไตย! สามารถ “ตรวจสอบ”เฝ้าระวัง ความคืบหน้าของโครงการได้ตามกฎหมายอย่างไรก็ดี เอาใจช่วย! รัฐบาลให้เดินหน้าโครงการได้ตามวัตถุประสงค์ โดยปราศจากกลิ่นคาว ฉาวโฉ่ อย่างที่ผ่านมา ■