Thailand Acts Against Suspected Red Shirt Backers
June 21, 2010
By SETH MYDANS
ที่มา – The New York Times
แปลและเรียบเรียง – แชพเตอร์ ๑๑
กรุงเทพ – รัฐบาลไทยดำเนินขั้นตอนต่อไปในการรณรงค์ต่อต้านกลุ่มเคลื่อนไหวที่แข็งข้อ ซึ่งรู้จักในนามเสื้อแดง โดยการอายัดทรัพย์สินของบุคคลจำนวนมากที่รัฐบาลอ้างว่า ให้ความช่วยเหลือการประท้วงเมื่อไม่นานมานี้ และวางแผนที่จะออกหมายศาลเรียกตัวบุคคลเหล่านี้มาสอบสวน
สองเดือนแห่งการชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลสิ้นสุดลงในวันที่ ๑๙ พฤษภาคม เมื่อกองทัพขับไล่การตั้งค่ายของเสื้อแดงในใจกลางย่านศูนย์การค้าของกรุงเทพ
ในช่วงที่เกิดการประท้วงมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย ๘๘ คน และได้รับบาดเจ็บอีกอย่างน้อย ๑,๘๐๐ คน
นับตั้งแต่นั้นมา รัฐบาลจัดการกับฝ่ายตรงข้ามโดยใช้แนวทางคู่ขนาน นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเน้นนโยบายสมานฉันท์แห่งชาติ ในขณะที่สมาชิกฝ่ายตรงข้ามจำนวนหลายร้อยคนถูกจับกุมตัว และถูกกักขังโดยปราศจากการถูกไต่สวน
โรดแมพเพื่อการสมานฉันท์ของนายกฯในเวลานี้ เพิ่มบรรยากาศแห่งความรุนแรงให้มากขึ้น กลายเป็นเป้าใหม่ที่ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลนำมาโจมตี
ในวันจันทร์ รองนายกฯ สุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้สั่งการด้านความมั่นคงของรัฐบาล กล่าวว่า พ.ร.บ.ฉุกเฉินฯที่ประกาศใช้ในระหว่างการประท้วงจะยังคงมีผลบังคับใช้ เนื่องจากยังคงมีการคุกคามที่จะก่อความไม่สงบ
การประท้วงที่ยาวนานและถูกจัดตั้งอย่างดีนั้น แน่นอน ย่อมต้องมีค่าใช้จ่ายสูง รวมไปถึงค่าเดินทาง ทั้งค่าดูแลผู้ประท้วงจำนวนหลายหมื่นคนที่มาจากชนบท รวมไปถึงสื่อที่มีความเชี่ยวชาญ และการรณรงค์เพื่อโฆษณาชวนเชื่อ
กรมสอบสวนคดีพิเศษกล่าวว่า มีบุคคลจำนวน ๘๓ คน และบริษัทต่างๆซึ่งคิดว่าให้การสนับสนุนผู้ประท้วง ในช่วงเก้าเดือนที่ผ่านมา บุคคลเหล่านี้ได้มีการเคลื่อนไหวทางการเงินในลักษณะน่าสงสัยเป็นจำนวนมาก และบ่อยครั้ง และกล่าวต่อว่า วันจันทร์หน้านี้จะเริ่มต้นทำการสอบสวน
ธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษกล่าวว่า “บุคคลเหล่านี้แต่ละคนถูกสงสัยเป็นธรรมดาว่ามีการเคลื่อนไหวในทางการเงินที่ผิดปกติ และเราขอความร่วมมือจากพวกเขาให้มารายงานตัว และให้คำอธิบายเนื่องจากเรากำลังสอบสวนความวุ่นวายทางการเมืองอยู่ในขณะนี้”
ผู้ต้องสงสัย ซึ่งได้ลดจำนวนลงจากยอดเดิม ๑๗๐ คน รวมไปถึงสมาชิกในครอบครัวของอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตรที่กำลังลี้ภัย ซึ่งเชื่อว่าเป็นผู้สนับสนุนให้เกิดการประท้วง เขาถูกปล้นอำนาจจากการทำรัฐประหารในปี ๒๕๔๙ และต้องอาศัยอยู่ในต่างประเทศเพื่อเลี่ยงโทษจำคุกในข้อหาทุจริต
รัฐบาลไทยกล่าวหาเขาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย ร่วมกับผู้ต้องสงสัยซึ่งถูกกักขังอีกอย่างน้อย ๓๙ คนด้วยข้อหาเดียวกัน แกนนำประท้วงคนอื่นๆกำลังหลบหนี หรือไม่ก็อาศัยในต่างประเทศ
จากบัญชีรายชื่อของรัฐบาล ประชาชนที่ถูกจับทั้งหมด ๔๒๒ คนเพราะมีส่วนเกี่ยวข้องในการประท้วงรัฐบาลกล่าวว่า กำลังตามล่าตัวพวกนี้ที่กำลังหลบหนีอีกหลายร้อยคน
ในบรรดาผู้ที่โดนจับขังมีชาวอังกฤษหนึ่งคน และชาวออสเตรเลียหนึ่งคนซึ่งได้ขึ้นเวทีกับแกนนำการประท้วง และได้ถูกกล่าวหาว่า ละเมิด พ.ร.บ.ฉุกเฉินฯ
รายงานข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ที่นี่ ตั้งแต่เดือนกันยายน ได้มีการถอนเงินก้อนโตจากบัญชีธนาคารของสมาชิกในครอบครัวทักษิณ และจากบัญชีของผู้สนับสนุน และได้มีการโอนถ่ายไปยังบัญชีของแกนนำการประท้วง และนักการเมืองที่อยู่ฝ่ายเดียวกัน
ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ญาติของทักษิณ หนึ่งในผู้ที่ถูกหมายศาลเรียกตัว กล่าวกับหนังสือพิมพ์เนชั่นว่า เขาพร้อมที่จะอธิบายการทำธุรกรรมทางการเงินจำนวน ๓,๗๐๐ ล้านบาทนี้ ซึ่งเขาเรียกว่าเป็นการดำเนินธุรกิจอย่างปกติ และการุณ โหสกุล ส.ส.ฝ่ายตรงข้ามเป็นอีกคนหนึ่งที่มีชื่อในบัญชีนี้ เรียกการสอบสวนทางการเงินนี้ว่า “ไม่มีอะไรมากไปกว่าการกลั่นแกล้งทางการเมือง”
อภิสิทธิ์ตอบโต้การกล่าวหาเช่นนี้ว่า “ผมยืนยันว่า รัฐบาลไม่เคยปรารถนาที่จะกลั่นแกล้งใคร” เขากล่าวว่าจำเป็นต้องมีการควบคุมธุรกรรมทางการเงินที่ต้องสงสัยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความวุ่นวายต่อไป และผู้ซึ่งถูกอายัดบัญชีนั้นจะยังคงสามารถมีกิจกรรมต่างๆได้ เช่น จ่ายค่าน้ำค่าไฟ ค่าแรงคนงาน และหนี้ต่างๆได้
จตุพร พรหมพันธ์ หนึ่งในแกนนำเสื้อแดงที่โด่งดัง และ ส.ส.ฝ่ายค้าน ร้องทุกข์ต่อเรื่องการปฏิบัติสองมาตรฐาน ซึ่งใช้เป็นประเด็นหลักตลอดการประท้วง
เขากล่าวว่า ผู้สนับสนุนการประท้วงของ “เสื้อเหลือง” ซึ่งต่อต้านรัฐบาลชุดที่แล้ว และสนับสนุนรัฐบาลชุดนี้ ไม่เคยถูกสอบสวนในด้านการเงินหรือถูกลงโทษใดๆ
เนชั่นรายงานว่า รัฐบาลพยายามอุดช่องว่างทั้งหมด โดยการเปลี่ยนฮวงจุ้ยในทำเนียบรัฐบาล เปลี่ยนตำแหน่งการวางเครื่องตบแต่งบางอย่างเพื่อกันความอัปมงคล และเพื่อประกันความเจริญมั่นคง
June 21, 2010
By SETH MYDANS
ที่มา – The New York Times
แปลและเรียบเรียง – แชพเตอร์ ๑๑
กรุงเทพ – รัฐบาลไทยดำเนินขั้นตอนต่อไปในการรณรงค์ต่อต้านกลุ่มเคลื่อนไหวที่แข็งข้อ ซึ่งรู้จักในนามเสื้อแดง โดยการอายัดทรัพย์สินของบุคคลจำนวนมากที่รัฐบาลอ้างว่า ให้ความช่วยเหลือการประท้วงเมื่อไม่นานมานี้ และวางแผนที่จะออกหมายศาลเรียกตัวบุคคลเหล่านี้มาสอบสวน
สองเดือนแห่งการชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลสิ้นสุดลงในวันที่ ๑๙ พฤษภาคม เมื่อกองทัพขับไล่การตั้งค่ายของเสื้อแดงในใจกลางย่านศูนย์การค้าของกรุงเทพ
ในช่วงที่เกิดการประท้วงมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย ๘๘ คน และได้รับบาดเจ็บอีกอย่างน้อย ๑,๘๐๐ คน
นับตั้งแต่นั้นมา รัฐบาลจัดการกับฝ่ายตรงข้ามโดยใช้แนวทางคู่ขนาน นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเน้นนโยบายสมานฉันท์แห่งชาติ ในขณะที่สมาชิกฝ่ายตรงข้ามจำนวนหลายร้อยคนถูกจับกุมตัว และถูกกักขังโดยปราศจากการถูกไต่สวน
โรดแมพเพื่อการสมานฉันท์ของนายกฯในเวลานี้ เพิ่มบรรยากาศแห่งความรุนแรงให้มากขึ้น กลายเป็นเป้าใหม่ที่ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลนำมาโจมตี
ในวันจันทร์ รองนายกฯ สุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้สั่งการด้านความมั่นคงของรัฐบาล กล่าวว่า พ.ร.บ.ฉุกเฉินฯที่ประกาศใช้ในระหว่างการประท้วงจะยังคงมีผลบังคับใช้ เนื่องจากยังคงมีการคุกคามที่จะก่อความไม่สงบ
การประท้วงที่ยาวนานและถูกจัดตั้งอย่างดีนั้น แน่นอน ย่อมต้องมีค่าใช้จ่ายสูง รวมไปถึงค่าเดินทาง ทั้งค่าดูแลผู้ประท้วงจำนวนหลายหมื่นคนที่มาจากชนบท รวมไปถึงสื่อที่มีความเชี่ยวชาญ และการรณรงค์เพื่อโฆษณาชวนเชื่อ
กรมสอบสวนคดีพิเศษกล่าวว่า มีบุคคลจำนวน ๘๓ คน และบริษัทต่างๆซึ่งคิดว่าให้การสนับสนุนผู้ประท้วง ในช่วงเก้าเดือนที่ผ่านมา บุคคลเหล่านี้ได้มีการเคลื่อนไหวทางการเงินในลักษณะน่าสงสัยเป็นจำนวนมาก และบ่อยครั้ง และกล่าวต่อว่า วันจันทร์หน้านี้จะเริ่มต้นทำการสอบสวน
ธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษกล่าวว่า “บุคคลเหล่านี้แต่ละคนถูกสงสัยเป็นธรรมดาว่ามีการเคลื่อนไหวในทางการเงินที่ผิดปกติ และเราขอความร่วมมือจากพวกเขาให้มารายงานตัว และให้คำอธิบายเนื่องจากเรากำลังสอบสวนความวุ่นวายทางการเมืองอยู่ในขณะนี้”
ผู้ต้องสงสัย ซึ่งได้ลดจำนวนลงจากยอดเดิม ๑๗๐ คน รวมไปถึงสมาชิกในครอบครัวของอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตรที่กำลังลี้ภัย ซึ่งเชื่อว่าเป็นผู้สนับสนุนให้เกิดการประท้วง เขาถูกปล้นอำนาจจากการทำรัฐประหารในปี ๒๕๔๙ และต้องอาศัยอยู่ในต่างประเทศเพื่อเลี่ยงโทษจำคุกในข้อหาทุจริต
รัฐบาลไทยกล่าวหาเขาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย ร่วมกับผู้ต้องสงสัยซึ่งถูกกักขังอีกอย่างน้อย ๓๙ คนด้วยข้อหาเดียวกัน แกนนำประท้วงคนอื่นๆกำลังหลบหนี หรือไม่ก็อาศัยในต่างประเทศ
จากบัญชีรายชื่อของรัฐบาล ประชาชนที่ถูกจับทั้งหมด ๔๒๒ คนเพราะมีส่วนเกี่ยวข้องในการประท้วงรัฐบาลกล่าวว่า กำลังตามล่าตัวพวกนี้ที่กำลังหลบหนีอีกหลายร้อยคน
ในบรรดาผู้ที่โดนจับขังมีชาวอังกฤษหนึ่งคน และชาวออสเตรเลียหนึ่งคนซึ่งได้ขึ้นเวทีกับแกนนำการประท้วง และได้ถูกกล่าวหาว่า ละเมิด พ.ร.บ.ฉุกเฉินฯ
รายงานข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ที่นี่ ตั้งแต่เดือนกันยายน ได้มีการถอนเงินก้อนโตจากบัญชีธนาคารของสมาชิกในครอบครัวทักษิณ และจากบัญชีของผู้สนับสนุน และได้มีการโอนถ่ายไปยังบัญชีของแกนนำการประท้วง และนักการเมืองที่อยู่ฝ่ายเดียวกัน
ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ญาติของทักษิณ หนึ่งในผู้ที่ถูกหมายศาลเรียกตัว กล่าวกับหนังสือพิมพ์เนชั่นว่า เขาพร้อมที่จะอธิบายการทำธุรกรรมทางการเงินจำนวน ๓,๗๐๐ ล้านบาทนี้ ซึ่งเขาเรียกว่าเป็นการดำเนินธุรกิจอย่างปกติ และการุณ โหสกุล ส.ส.ฝ่ายตรงข้ามเป็นอีกคนหนึ่งที่มีชื่อในบัญชีนี้ เรียกการสอบสวนทางการเงินนี้ว่า “ไม่มีอะไรมากไปกว่าการกลั่นแกล้งทางการเมือง”
อภิสิทธิ์ตอบโต้การกล่าวหาเช่นนี้ว่า “ผมยืนยันว่า รัฐบาลไม่เคยปรารถนาที่จะกลั่นแกล้งใคร” เขากล่าวว่าจำเป็นต้องมีการควบคุมธุรกรรมทางการเงินที่ต้องสงสัยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความวุ่นวายต่อไป และผู้ซึ่งถูกอายัดบัญชีนั้นจะยังคงสามารถมีกิจกรรมต่างๆได้ เช่น จ่ายค่าน้ำค่าไฟ ค่าแรงคนงาน และหนี้ต่างๆได้
จตุพร พรหมพันธ์ หนึ่งในแกนนำเสื้อแดงที่โด่งดัง และ ส.ส.ฝ่ายค้าน ร้องทุกข์ต่อเรื่องการปฏิบัติสองมาตรฐาน ซึ่งใช้เป็นประเด็นหลักตลอดการประท้วง
เขากล่าวว่า ผู้สนับสนุนการประท้วงของ “เสื้อเหลือง” ซึ่งต่อต้านรัฐบาลชุดที่แล้ว และสนับสนุนรัฐบาลชุดนี้ ไม่เคยถูกสอบสวนในด้านการเงินหรือถูกลงโทษใดๆ
เนชั่นรายงานว่า รัฐบาลพยายามอุดช่องว่างทั้งหมด โดยการเปลี่ยนฮวงจุ้ยในทำเนียบรัฐบาล เปลี่ยนตำแหน่งการวางเครื่องตบแต่งบางอย่างเพื่อกันความอัปมงคล และเพื่อประกันความเจริญมั่นคง