ดูเหมือนว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์ และพรรคประชาธิปัตย์จะมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ในการที่จะผลักดันให้มีการเก็บภาษีทรัพย์สินมรดกและภาษีที่ดินโดยไม่ยี่หระกับเสียงสะท้อนจากคนหลายๆ กลุ่มในสังคมที่ว่าเหมาะสมแล้วหรือที่จะมาเรียกเก็บภาษีมรดก ภาษีที่ดินในจังหวะที่เศรษฐกิจกำลังฟุบ และคนไทยกำลังหน้าแห้งหน้าเหี่ยวไปตามๆ กันแบบนี้และเป็นธรรมจริงๆ แล้วหรือกับแนวคิดดังกล่าว???เพราะอย่าลืมว่า มรดกหรือที่ดินของคนทั่วไปนั้น กว่าจะได้มาก็เลือดตาแทบกระเด็น ยังจะมาทำให้เมื่อตายแล้วยังกลายเป็นกดดันลูกหลานเข้าให้อีกประชาชนทั่วไป ไม่ใช่อย่างนักการเมืองบางประเภทที่โกงกิน คอร์รัปชั่น แล้วก็เอาไปสะสมเป็นทรัพย์สินเป็นที่ดิน... ในขณะที่คนทั่วไปต้องทำงานชั่วชีวิต เพื่อที่จะซื้อบ้านสักหลัง ซื้อที่ดินสักผืนในเรื่องนี้ ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ให้ข้อมูลไว้อย่างน่าสนใจยิ่งการที่รัฐบาลมีนโยบายเกี่ยวกับ ภาษีทรัพย์สิน ซึ่งจะเรียกเก็บเป็นรายปีจากมูลค่าของทรัพย์สิน โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ที่ถือครอง เพื่อใช้ในการบริหารราชการส่วนภูมิภาครวมทั้งที่เคยประกาศแนวคิดเกี่ยวกับ ภาษีมรดก ได้สร้างความหวาดวิตกให้กับเจ้าของทรัพย์สินที่มีรายได้สูงเป็นอย่างมากซึ่งภาษีมรดกนั้นเป็นเรื่องของการเมือง ที่มักมีการ“โยนหินถามทาง” เป็นระยะๆ และขึ้นอยู่กับการต่อสู้ทางความคิดทางการเมืองมาโดยตลอดระบบภาษีมรดก นั้นมีอยู่ใน ประเทศอังกฤษ ถือเป็นสงครามความคิด ระหว่างฝ่ายพรรคอนุรักษ์นิยมซึ่งเป็นของคนชั้นสูง กับฝ่ายพรรคแรงงานซึ่งเป็นของคนระดับล่างในห้วงหนึ่งฝ่ายพรรคแรงงานสามารถกุมอำนาจ และมีภาษีมรดกขึ้นมารีดภาษีกับผู้มีรายได้สูงที่มีมรดก และยังขยายแนวคิดนี้ไปยังประเทศในเครือจักรภพอังกฤษอีกด้วยดังนั้น สามารถที่จะพูดได้ว่า ภาษีนี้อาจจัดเป็นภาษีเชิงการเมืองได้
ฝ่ายเจ้าของที่ดินรายใหญ่ จะใช้ข้ออ้างว่าตนเองไม่ได้ทำธุรกิจและเป็นทรัพย์สินที่ถือครองมาโดยสุจริต จึงไม่ควรต้องเสียภาษีในยามที่โอนให้ทายาทแต่อีกฝ่ายหนึ่งก็มองว่า ทรัพย์สินเหล่านี้ได้ประโยชน์มหาศาลจากระบบสาธารณูปโภคที่ลงทุนโดยรัฐ ดังนั้น มูลค่าที่เพิ่มขึ้นจึงถือว่าเป็นการได้จากการลงทุนของรัฐ ฉะนั้น จึงควรเสีย!!ซึ่ง ศ.วิลเลียม แมคคลัสกี แห่งมหาวิทยาลัยอัสเตอร์ให้ข้อมูลว่า อังกฤษ ในฐานะเจ้าตำรา ยังมีการใช้กฎหมายมรดกอยู่ซึ่งมุ่งจะเก็บภาษีจากการที่เจ้าของที่ดินไม่ได้ทำประโยชน์กับทรัพย์สินของตนเท่าที่ควรเช่นเดียวกับใน สหรัฐอเมริกา “นายเดวิด เลน” ที่ปรึกษาด้านการเวนคืนทรัพย์สิน ให้ความเห็นว่า การจัดเก็บภาษีมรดกนั้นคำนวณจากมูลค่าตลาดล่าสุด ลบด้วยหนี้สินใดๆ ของผู้ให้มรดกและหากทรัพย์สินดังกล่าวมีราคาเกินกว่าประมาณ 100 ล้านบาทก็ต้องนำไปเสียภาษีซึ่งกระบวนการคำนวณภาษีนั้นกินเวลายาวนาน จนบางครั้งอาจเป็นปี แต่เขามีระบบการจัดเก็บภาษีที่เข้มงวด โอกาสโกงจึงมีจำกัดส่วนในแอฟริกาใต้ ศ.วัลมอน กะยูท อดีตคณบดีคณะอสังหาริมทรัพย์ มหาวิทยาลัยแอฟริกาใต้ ระบุว่า ยังมีการเก็บภาษีมรดก แต่มีการกำหนดให้ชัดเจนว่า ทายาทต้องได้รับมรดก จะเกิดกรณียึดไปเพื่อเสียภาษีแทบทั้งหมดไม่ได้!!ในขณะที่ ออสเตรเลีย แม้เป็นหนึ่งในประเทศเครือจักรภพอังกฤษ แต่ก็เลิกเก็บภาษีทรัพย์สินมาตั้งแต่ปี 2524 โน่นแล้วเช่นเดียวกับใน แคนาดา ที่ก็ไม่มีระบบภาษีทรัพย์สินแล้วเช่นกันประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย ก็เลิกเก็บภาษีนี้แล้วเช่นกัน ตั้งแต่ปี 2544โดยตอนที่เก็บนั้นใช้อัตราประมาณ 40% ของส่วนต่างระหว่างมูลค่าตลาดล่าสุด กับมูลค่าตลาดตอนได้มาซึ่งสร้างความสับสนมาก เพราะบางคนได้ทรัพย์มานับร้อยปีแล้วแน่นอนว่าสมัยนั้นคงไม่มีหลักฐานราคาให้เปรียบเทียบอีกตัวอย่างที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ควรฟังไว้เป็นแง่คิด ก็คือประเทศสวีเดน ซึ่ง อ.บุญส่ง ชเลธร ผู้ประสานงาน
มหาวิทยาลัยรามคำแหงประจำสวีเดน บอกว่า สวีเดนมีระบบภาษีทรัพย์สินจนกระทั่งหลังเกิดสึนามิ เมื่อปี 2547พลเมืองสวีเดนเสียชีวิตจากเหตุพิบัติภัยสึนามิเป็นจำนวนมากเรียกว่าเศร้าโศกกันทั้งประเทศ แต่เพราะระบบภาษีทรัพย์สินนี่แหละที่ดันทะลึ่ง ทำให้ทายาทยังต้องมาเสียภาษีมรดกอีกโดนด่าจมกระเบื้อง หูชาไปหมด จนรัฐบาลสวีเดนต้อง“เยียวยา” จิตใจประชาชน ด้วยการ ยกเลิกภาษีมรดก โดยให้ยกเลิกย้อนหลังไปถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิเลยฉะนั้น ภาษีมรดกต้องบอกเลยว่า ทั่วโลกไม่เป็นที่นิยมแล้ว…แต่รัฐบาลไทยซึ่งมีนายกรัฐมนตรีที่ร่ำเรียนมาจากอังกฤษจากมหาวิทยาลัยดังระดับโลกอย่างออกซ์ฟอร์ด กลับคิดจะเก็บภาษีตัวนี้โดยไม่สนใจว่า ผลกรรมจะตกแก่บุพการีของครอบครัวที่ไม่รวย แต่อาจจะเป็นเพราะมีเพียง อสังหาริมทรัพย์ที่จะยกให้แก่ลูกๆ เท่านั้นซึ่งนี่คือสามัญสำนึกพื้นฐานของคนที่เป็นพ่อคนแม่คนที่จะพึงมี พึงห่วงลูกหลาน ...ดังนั้น หากจะผลักดันในเรื่องนี้จริงๆ ภาษีที่กระทรวงการคลังของไทยควรเก็บนั้น น่าจะเป็นการเก็บ ภาษีที่ดินว่างเปล่าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในเมือง เพราะรัฐบาลได้ลงทุนสาธารณูปโภคไปมากมายแต่เจ้าของที่ดินกลับเพียงแต่นั่งรอให้ราคาขึ้น โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามควร ทำให้เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาส ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่จะพัฒนาที่ดิน ก็ต้องเสียเงินไปซื้อที่ห่างไกลเมืองออกไปเรื่อยๆคนจนๆ ก็ต้องตามออกไปซื้อ ต้องกระเสือกกระสนเดินทางไปกลับนอกเมืองเข้าตัวเมือง เพื่อทำงานหาเลี้ยงปากท้อง และหาเงินมาผ่อนบ้านผ่อนที่ดินซึ่งอยู่ไกลลิบๆเพราะไม่มีปัญญาจะซื้อบ้านราคาแพงในเมืองในขณะที่รัฐบาลก็ต้องลงทุนในสาธารณูปโภค ต้องขยายตามออกไปโดยไม่สิ้นสุดกลายเป็นความสูญเสียของคนส่วนใหญ่ไปคำถามจึงมีว่า ทำไม นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงดิ้นรนผลักดันในเรื่องนี้นัก??ขณะเดียวกัน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีก็ชูจั๊กแร้เชียร์เต็มที่ในเรื่องนี้ เหมือนกับรู้ดีว่า การที่จะมีรายได้เข้ารัฐเพิ่ม แม้จะสักนิดหน่อย ก็ยังดีกว่าไม่มีเลย
ใช่เป็นเพราะ 9 เดือนแรกปีงบฯ 52 รัฐบาลขาดดุลเงินสดกว่า 376,000 ล้านบาทหรือไม่???ใช่เป็นเพราะรัฐบาลถังแตกหรือไม่???ใช่เป็นเพราะกู้เงินจนเป็นหนี้มากมายมหาศาลแล้วใช่หรือไม่???เพราะถ้าดูฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือนมิถุนายน 2552 จะพบว่า รัฐบาลมีรายได้ 252,450ล้านบาท จากการนำส่งรายได้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม จากผลกำไรสุทธิรอบสิ้นระยะเวลาบัญชีปี 2551 ที่เหลื่อมมาจากเดือนพฤษภาคมค่อนข้างมากรวมทั้งมีการนำส่งรายได้จากภาษีน้ำมันที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการปรับเพิ่มอัตราภาษีน้ำมันตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาด้วยขณะที่รัฐบาลมีรายจ่ายประจำ 110,789 ล้านบาท เพิ่มขึ้น3.3% รายจ่ายลงทุน 20,236 ล้านบาท ลดลง 32.1% และการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อนอีกจำนวน 8,473 ล้านบาทที่สำคัญๆ คือ การเบิกรายจ่ายให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา จำนวน 9,478 ล้านบาท และเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 8,948 ล้านบาทขณะที่ช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลอภิสิทธิ์มีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 1,027,344 ล้านบาทต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีงบประมาณ 2551 จำนวน 104,516ล้านบาท หรือคิดเป็น 9.2%เนื่องจากการจัดเก็บภาษีของ 3 กรมหลักที่ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีงบประมาณ 2551 โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล และอากรขาเข้าและแม้กระทั่งการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจก็ลดลงเช่นเดียวกันดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด จึงขาดดุล376,747 ล้านบาทเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 386,623 ล้านบาทส่วนดุลเงินนอกงบประมาณเกินดุลจำนวน 9,876 ล้านบาทซึ่งรัฐบาลได้บริหารเงินสด โดยชดเชยการขาดดุลดังกล่าวด้วยการออกพันธบัตร ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วเงินคลัง
รวม 363,030 ล้านบาท และใช้เงินคงคลัง 13,717 ล้านบาทส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2552 มีจำนวน215,343 ล้านบาทฐานะการคลังเช่นนี้ใช่หรือไม่ เมื่อรวมกับความจำเป็นในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ทำให้ต้องกู้เงินสูงถึง 800,000 ล้านบาททำให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ต้องดิ้นพล่าน เพื่อหารายได้เพิ่มในทุกๆ ทางจะมากจะน้อยก็เอาทั้งนั้นจึงทำให้เกิดการเร่งผลักดัน ที่จะให้มีภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาใช้ให้ได้เล่นเอาขวัญเสีย ผวากันทั้งประเทศเพราะแว่วๆ กันว่า อัตราภาษีทรัพย์สินทั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ คือ 1.193% นั่นคือ ถ้าใครมีบ้านราคา1 ล้านบาท ก็ต้องเสียภาษี 11,930 บาทแต่การเก็บภาษีท้องถิ่นในรูปแบบภาษีทรัพย์สินเช่นนี้สะท้อนให้เห็นว่า ท้องถิ่นไทยขึ้นกับรัฐบาลส่วนกลางในการจัดสรรงบประมาณเป็นอย่างมากและนี่อาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ประชาธิปไตยซึ่งทุกฝ่ายควรมีส่วนร่วม ไม่มีโอกาสหยั่งรากในผืนแผ่นดินไทยส่วนการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพราะเราจำกัดเฉพาะอสังหาริมทรัพย์นั้น สามารถเป็นจริงได้ และสามารถดำเนินการให้เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายได้หากภาษีทั้งหลายของประเทศ ที่รีดมาจากประชาชนคนไทยทุกคนนั้น ไม่ถูกใครฉ้อราษฎร์บังหลวงเสียก่อน!!!ดังนั้น ก็คงต้องดูว่า “พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกับการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์แบบ CAMA” ที่จะนำมาใช้แทน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและภาษีที่ดิน และ พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ ซึ่งบังคับใช้มานานแล้วนั้นสุดท้ายแล้วจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะกับสังคมไทยที่ช่องว่างระหว่างชนชั้นยังถ่างกว้าง ซ้ำคนรวยๆ เองโดยเฉพาะที่เข้ามาในแวดวงการเมืองทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น ส.ส. หรือ ส.ว. ก็ใช่ว่าเห็นด้วยไปหมดงานนี้ไม่ใช่แค่ป่วนเฉพาะประชาชนทั่วประเทศ แม้แต่นักการเมือง หรือบรรดากองเชียร์รัฐบาลชุดนี้ ก็ไม่รอดเหมือนกันเพราะดูแล้วเอามาใช้แน่นอน!! ■