คอลัมน์ บทบรรณาธิการ
ในที่สุดรัฐบาลและ ศอฉ. ก็ตัดสินใจปล่อยตัวนายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ถูกควบคุมเอาไว้ออกมา
หลังจากที่ทนายความประจำตัวนายสุธาชัยระบุว่า การควบคุมตัวไว้นั้นปราศจากการแจ้งข้อหา ไม่มีการสอบสวน และยังตัดขาดการติดต่อกับโลกภายนอก
หลังจากที่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษากว่า 300 คนร่วมกันลงชื่อคัดค้านการควบคุมตัว ที่ข้อกล่าวหาไม่ชัดเจน ไม่ดำเนินการภายใต้กฎหมายปกติ เป็นกฎหมายฉุกเฉินที่ขาดความชอบธรรม
และยังถูกปฏิบัติราวกับเป็นผู้ต้องหาอุกฉกรรจ์ขั้นร้ายแรง ไม่อนุญาตให้เข้าเยี่ยมและอ่านหรือรับรู้ข่าวสารข้อมูลตามปกติ
คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา ทั้งจากจุฬาลง กรณ์มหาวิทยาลัยและสถาบันวิชาการอื่นๆ ระบุว่า การกระทำของรัฐบาลสะท้อนการคุกคามเสรีภาพทางวิชาการและเสรีภาพในการแสดงความเห็น อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของ พลเมือง
และประณามการกระทำของรัฐบาลที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพ รวมทั้งให้ปล่อยตัวนายสุธาชัยโดยไม่มีเงื่อนไข และชี้แจงเหตุผลในการกระทำครั้งนี้ให้ชัดเจน
รวมทั้งระบุด้วยว่า รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้นทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นกรณีนายสุธาชัย โดยเฉพาะการใช้กำลังปราบปรามประชาชนอย่างรุนแรง ด้วยการประกาศยุบสภา
คืนอำนาจให้ประชาชนตัดสินใจผ่านการเลือกตั้งใหม่
การใช้อำนาจอย่างเกินขอบเขตโดยปราศจากเหตุผล อันเนื่องมาจากการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ให้อำนาจกับรัฐบาลอย่างครอบจักรวาล มิได้มีแต่กรณีเฉพาะนายสุธาชัยเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายตัวอย่างด้วยกัน
หากไม่ต้องการให้เกิดการละเมิดสิทธิของประชาชนเกิดขึ้นซ้ำ ก็จะต้องยกเลิกการใช้พ.ร.ก. ฉุกเฉินอันเป็นต้นตอของปัญหานี้โดยเร็ว
เพราะถึงปราศจากกฎหมายเผด็จการดังกล่าว รัฐบาลก็ยังมีอำนาจตามกฎหมายปกติอีกเป็นจำนวนมากในการปกป้องอำนาจของตนเอง
อำนาจและความรับผิดชอบนั้นเป็นสองด้านของเหรียญเดียวกัน
หากปราศจากสำนึกเช่นนี้แล้ว ย่อมเป็นอันตรายยิ่ง
ในที่สุดรัฐบาลและ ศอฉ. ก็ตัดสินใจปล่อยตัวนายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ถูกควบคุมเอาไว้ออกมา
หลังจากที่ทนายความประจำตัวนายสุธาชัยระบุว่า การควบคุมตัวไว้นั้นปราศจากการแจ้งข้อหา ไม่มีการสอบสวน และยังตัดขาดการติดต่อกับโลกภายนอก
หลังจากที่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษากว่า 300 คนร่วมกันลงชื่อคัดค้านการควบคุมตัว ที่ข้อกล่าวหาไม่ชัดเจน ไม่ดำเนินการภายใต้กฎหมายปกติ เป็นกฎหมายฉุกเฉินที่ขาดความชอบธรรม
และยังถูกปฏิบัติราวกับเป็นผู้ต้องหาอุกฉกรรจ์ขั้นร้ายแรง ไม่อนุญาตให้เข้าเยี่ยมและอ่านหรือรับรู้ข่าวสารข้อมูลตามปกติ
คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา ทั้งจากจุฬาลง กรณ์มหาวิทยาลัยและสถาบันวิชาการอื่นๆ ระบุว่า การกระทำของรัฐบาลสะท้อนการคุกคามเสรีภาพทางวิชาการและเสรีภาพในการแสดงความเห็น อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของ พลเมือง
และประณามการกระทำของรัฐบาลที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพ รวมทั้งให้ปล่อยตัวนายสุธาชัยโดยไม่มีเงื่อนไข และชี้แจงเหตุผลในการกระทำครั้งนี้ให้ชัดเจน
รวมทั้งระบุด้วยว่า รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้นทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นกรณีนายสุธาชัย โดยเฉพาะการใช้กำลังปราบปรามประชาชนอย่างรุนแรง ด้วยการประกาศยุบสภา
คืนอำนาจให้ประชาชนตัดสินใจผ่านการเลือกตั้งใหม่
การใช้อำนาจอย่างเกินขอบเขตโดยปราศจากเหตุผล อันเนื่องมาจากการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ให้อำนาจกับรัฐบาลอย่างครอบจักรวาล มิได้มีแต่กรณีเฉพาะนายสุธาชัยเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายตัวอย่างด้วยกัน
หากไม่ต้องการให้เกิดการละเมิดสิทธิของประชาชนเกิดขึ้นซ้ำ ก็จะต้องยกเลิกการใช้พ.ร.ก. ฉุกเฉินอันเป็นต้นตอของปัญหานี้โดยเร็ว
เพราะถึงปราศจากกฎหมายเผด็จการดังกล่าว รัฐบาลก็ยังมีอำนาจตามกฎหมายปกติอีกเป็นจำนวนมากในการปกป้องอำนาจของตนเอง
อำนาจและความรับผิดชอบนั้นเป็นสองด้านของเหรียญเดียวกัน
หากปราศจากสำนึกเช่นนี้แล้ว ย่อมเป็นอันตรายยิ่ง