สิ้นสุดการรอคอย-หลังจากไทยอีนิวส์ขึ้นป้ายนับเวลา"กรณีผู้ก่อการร้ายพันธมิตรยึดสนามบิน โดยยังไม่มีการดำเนินคดีผ่านไปแล้วเป็นเวลา 221 วัน 21 ชั่วโมง 32 นาที 57 วินาที" ล่าสุดได้ปลดป้ายดังกล่าวลงแล้ว
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
4 กรกฎาคม 2552
เป็นเวลา221วันหรือ7เดือนกับอีก9วันตำรวจเพิ่งได้ฤกษ์ดำเนินคดี ออกหมายเรียกโจรก่อการร้ายพันธมิตรยึดสนามบิน แบ่งออกเป็น2กระทงคดีสนามบินสุวรรณภูมิซึ่งเป็นสนามบินสากลโดนคดีก่อการร้ายและทำให้การบริการท่าอากาศยานชะงักลง โทษหนักถึงประหารชีวิต เพราะไทยทำสนธิสัญญากับนานาชาติไว้ แต่คดียึดดอนเมืองโดนแค่บุกรุก หัวโจกโจรโดนเรียบรวมรมต.อาหารดีดนตรีก็เพราะไม่รอด แต่"เส้นใหญ่หนุนหลัง"ที่กฎหมายระบุโทษถึงประหารไร้ชื่อตกเป็นผู้ต้องหา คมนาคมสรุปผลเสียหายต่อครม.เฉียด2หมื่นล้าน เฉพาะการบินไทยเสียหายหนัก13,000ล้าน สายการบินต่างชาติ5,100ล้าน ขอครม.ให้ชดเชยเยียวยา
ดองคดีนาน221วันตำรวจเพิ่งได้ฤกษ์ดำเนินคดีหัวโจกโจรยึดสนามบินหนักถึงประหาร
วันนี้ (4 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พนักงานสอบสวน สภ.ราชาเทวะ ออกหมายเรียกวันที่ 1 ก.ค.52 ลงนามโดย พล.ต.ท.วุฒิ พัวเวส ในคดีระหว่าง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กับพวก ผู้กล่าวหา และ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง กับพวก ผู้ต้องหา โดยให้ผู้ต้องหาทั้งหมดเข้ารายงานตัวต่อพนักงานสอบสวน ในข้อหา “ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญฯ มั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้า ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองฯ , เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกการมั่วสุมแล้วไม่เลิก, ก่อการร้าย, บุกรุก, ทำให้เสียทรัพย์ ฯลฯ” ทำให้การให้บริการของท่าอากาศยานหยุดชะงักลง ซึ่งโทษในคดีนี้เป็นความผิดฐานก่อการร้ายสากล และมีบทระวางโทษหนักถึงประหารชีวิต
ฝ่าฝืนข้อกำหนดออกตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2551 และฉบับที่ 2 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2551 เหตุเกิดระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน 2551 ถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2551 ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ
หัวโจกโจรโดนยกแผง รัฐมนตรีอาหารดีดนตรีเพราะโดนด้วย
ผู้ที่ถูกออกหมายเรียกในข้อหาบุกรุกสนามบินสุวรรณภูมิรวมทั้งสิ้น 25 คน ประกอบไปด้วย 1. พล.ต.จำลอง ศรีเมือง
2. นายสนธิ ลิ้มทองกุล
3. นายสุริยะใส กตะศิลา
4. นายสำราญ รอดเพชร
5. นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์
6. นายอมร อมรรัตนานนท์
7. นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์
8. นายศิริชัย ไม้งาม
9. นางมาลีรัตน์ แก้วก่า
10.นายเทิดภูมิ ใจดี
11.นายพิภพ ธงไชย
12.พล.อ.ปฐมพงษ์ เกสรศุกร์
13.น.ส.อัญชะลี ไพรีรัก
14.นายพิชิต ไชยมงคล
15.นายประพันธ์ คูณมี
16.นายบรรจง นะแส
17.นายกษิต ภิรมย์
18.นายศรัณยู วงศ์กระจ่าง
19.นายวีระ สมความคิด
20.นายสมศักดิ์ โกศัยสุข
21.น.ส.สโรชา พรอุดมศักดิ์
22.ร.ต.แซมดิน เลิศบุศย์
23.นายชนะ ผาสุกสกุล
24.พ.ต.ท.สันธนะ ประยูรรัตน์
25.นายสุรวิชช์ วีรวรรณ
อีกกระทงคดียึดสนามบินดอนเมือง แต่ไม่มีคดีก่อการร้ายเพราะไม่ใช่สนามบินสากล
นอกจากนั้น พนักงานสอบสวน สน.ดอนเมือง ออกหมายเรียกวันที่ 1 ก.ค.52 ลงนามโดย พล.ต.ท.วุฒิ พัวเวส ในคดีระหว่างสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยนายพงษ์ศักดิ์ ศิริวงษ์ ผู้รับมอบอำนาจกับพวก ผู้กล่าวหา และนายสมศักดิ์ โกศัยสุข กับพวก ผู้ต้องหา โดยให้ผู้ต้องหาทั้งหมดเข้ารายงานตัวต่อพนักงานสอบสวน ในข้อหา “กระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีการอื่นใด อันมิใช่เป็นการ กระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็น หรือติชมโดยสุจริตเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่ จะก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักรหรือเพื่อให้ประชาชน ล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน มั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้าย หรือ ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลัง ประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง
มั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง โดยเป็นหัวหน้า หรือผู้สั่งการ และเป็นผู้ใช้ ยุยงส่งเสริม โฆษณา หรือประกาศ, ร่วมกันบุกรุกสำนักงาน หรืออสังหาริมทรัพย์ ในความครอบครองของผู้อื่น, ร่วมกันบุกรุกสำนักงาน หรืออสังหาริมทรัพย์ ในความครอบครองของผู้อื่น โดยเป็นผู้ใช้ ยุยงส่งเสริม โฆษณา หรือประกาศ” เหตุเกิด ท่าอากาศยานดอนเมือง ระหว่าง วันที่ 25 พฤศจิกายน ถึง 3 ธันวาคม 2551
ผู้ที่ถูกออกหมายเรียกในข้อหาบุกรุกสนามบินดอนเมือง รวมทั้งสิ้น 27 คน ประกอบไปด้วย
1. พล.ต. จำลอง ศรีเมือง
2. นายสนธิ ลิ้มทองกุล
3. นายพิภพ ธงไชย
4. นายสุริยะใส กตะศิลา
5. นายสมศักดิ์ โกศัยสุข
6. นางมาลีรัตน์ แก้วก่า
7. นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์
8. นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์
9. นายอมร อมรรัตนานนท์
10.นายสำราญ รอดเพชร
11.นายศิริชัย ไม้งาม
12.นายเทิดภูมิ ใจดี
13.นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
14.นายสาวิทย์ แก้วหวาน
15.นายพิชิต ไชยมงคล
16.นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด
17.น.ส.อัญชะลี ไพรีรัก
18.นายประพันธ์ คูณมี
19.พล.อ.ปฐมพงษ์ เกสรศุกร์
20.นางแจ่มศรี สุกโชติรัตน์
21.นายสมบูรณ์ สุวรรณฝ่าย
22.น.ส.จินดารัตน์ เจริญชัยชนะ
23.นายเติมศักดิ์ จารุปราณ
24.นายบัณฑิต ปิ่นมงคลกุล
25.น.ส.วรรษมน ช่างปรีชา
26.นายยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที
27.นายสุมิตร นวลมณี
ทนายโจรหัวหมอนัดมอบตัว16ก.ค.ปากแข็งปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
ด้านนายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรฯ กล่าวว่า แกนนำพันธมิตรฯ พร้อมแนวร่วมพันธมิตรฯ ที่ถูกออกหมายเรียก จะเดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนที่สโมสรตำรวจ ถนนวิภาวดีรังสิต ในวันที่ 16 ก.ค. นี้ ตามหมายเรียก โดยเบื้องต้นจะได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา พร้อมยืนยันว่าการชุมนุมของพันธมิตรฯ เป็นไปตามกรอบแห่งรัฐธรรมนูญกำหนด ซึ่งประชาชนสามารถกระทำได้
ทั้งนี้ให้ผู้ต้องหาเข้าพบพนักงานสอบสวน ที่สโมสรตำรวจ วันที่ 16 ก.ค.นี้ โดยให้ผู้ต้องหาคดีบุกรุกสนามบินดอนเมืองเข้ารายงานตัวในเวลา 9.30 น. ส่วนคดีบุกรุกสนามบินสุวรรณภูมิ ในเวลา 13.00 น.
รอจนเซ็ง-ไม่เพียงแต่นักท่องเที่ยวกว่า3แสนคนที่ตกค้างช่วงอันธพาลการเมืองพันธมิตรยึดสนามบินที่ต้องทนรอด้วยความเซ็งสุดขีด โลกก็รอการดำเนินคดีนี้ผ่านมา 7 เดือนเศษ หรือกว่า221วันนับแต่ก่อคดีก่อการร้ายยึดสนามบินสากล เพิ่งจะมีการดำเนินคดี
กฎหมายระบุคนยึดสนามบินสากล และคนหนุนหลังมีโทษหนักประหารชีวิต
ทั้งนี้จากการแจ้งข้อกล่าวหาจะพบว่ามีความแตกต่างระหว่างคดียึดสนามบินสุวรรณภูมิกับคดียึดสนามบินดอนเมือง โดยคดียึดสนามบินสุวรรณภูมิมีข้อหาก่อการร้ายและทำให้การบริการท่าอากาศยานชะงักลง ส่วนคดียึดสนามบินดอนเมืองไม่มีแจ้งข้อหานี้
จากการตรวจสอบพบว่า ไทยได้ลงนามในพิธีสารเพื่อการปราบปรามการกระทำรุนแรงอันมิชอบด้วยกฎหมาย ณ ท่าอากาศยานสากล ซึ่งให้บริการการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ( อ่านรายละเอียด คลิ้กที่นี่ )และมีผลใช้บังคับสำหรับประเทศไทยเมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นต้นมา โดยมีข้อตกลงในพิธีสารนี้ที่สำคัญว่า
พิจารณาเห็นว่า การกระทำรุนแรงอันมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นอันตรายหรือน่าจะเป็นอันตรายต่อความปลอดภัย ของบุคคล ณ ท่าอากาศยานซึ่งให้บริการการบินพลเรือนระหว่างประเทศ
๑ ทวิ บุคคลหนึ่งบุคคลใดกระทำความผิด หากได้กระทำดังต่อไปนี้อย่างมิชอบด้วยกฎหมายและโดยเจตนา โดยใช้เครื่องมือ วัสดุ หรืออาวุธใด ๆ
(ก) กระทำการอันรุนแรงต่อบุคคล ณ ท่าอากาศยานซึ่งให้บริการการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเหตุให้หรือน่าจะเป็นเหตุให้เกิดการบาดเจ็บสาหัสหรือความตาย หรือ
(ข) ทำลาย หรือทำความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยาน ซึ่งให้บริการการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือต่ออากาศยานที่ไม่ได้ให้บริการ ซึ่งจอดอยู่ ณ ท่าอากาศยานนั้น หรือทำให้การบริการของท่าอากาศยานหยุดชะงักลง หากการกระทำนั้นเป็นอันตรายหรือน่าจะเป็นอันตราย ต่อความปลอดภัย ณ ท่าอากาศยานนั้น"
เมื่อรัฐบาลไทยได้ลงนามในพิธีสารดังกล่าวแล้ว ก็ได้มีการออกกฎหมายรองรับคือ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. 2521 แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ.2538 (รายละเอียดคลิ้กที่ ลิ้งค์ )ระบุว่า
มาตรา 6 ทวิ(1) ผู้ใด
(1) กระทำการประทุษร้ายผู้อื่นในท่าอากาศยานที่ให้บริการการบินพลเรือนจนเป็นเหตุให้หรือน่าจะเป็นเหตุให้ผู้อื่นนั้นรับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตายหรือ
(2) ทำลาย หรือทำให้เสียหายอย่างร้ายแรงต่อสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยานที่ให้บริการการบินพลเรือน หรือต่ออากาศยานที่ไม่อยู่ในระหว่างบริการและอยู่ในท่าอากาศยานนั้น หรือทำให้การให้บริการของท่าอากาศยานหยุดชะงักลง
ทั้งนี้ โดยใช้กลอุปกรณ์ วัตถุ หรืออาวุธใด ๆ และการกระทำนั้นเป็นอันตรายหรือน่าจะเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของท่าอากาศยานนั้น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี
มาตรา 11(2) ผู้ใดเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดตามมาตรา 5 มาตรา 6 หรือมาตรา 6 ทวิ ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการ
อย่างไรก็ตามในการออกหมายเรียกแจ้งความดำเนินคดีของตำรวจครั้งนี้พบว่า ไม่ได้มีการแจ้งความดำเนินคดีต่อ"ผู้สนับสนุน"ให้กระทำความผิดตามที่สังคมสงสัยว่ามี"เส้นใหญ่"ให้การหนุนหลังแต่อย่างใด
คมนาคมสรุปพันธมิตรฯยึดสนามบินสร้างความเสียหาย 1.9 หมื่นล้านบาท เตรียมเสนอ ครม.ของบชดใช้
ไทยรัฐออนไลน์ รายงานว่า ในการประชุมคณะรัฐนตรี (ครม.) วันที่ 9 ก.ค. กระทรวงคมนาคม เตรียมเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณสำหรับการชดใช้ค่าใช้จ่ายจริง ที่หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ได้ใช้ไปในการช่วยเหลือผู้โดยสารที่ตกค้างในช่วงที่มีการปิดท่าอากาศยานสุวรณณภูมิ และท่าอากาศยานดอนเมือง ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) จำนวนรวมทั้งสิ้น 19,612,319,206.75 บาท
แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายจริง ที่หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ได้ใช้ไปในการช่วยเหลือผู้โดยสารที่ตกค้างในช่วงที่มีการปิดท่าอากาศยานสุวรณณภูมิ และท่าอากาศยานดอนเมือง ของกลุ่มพันธมิตร 679,724,935.75 บาท พร้อมทั้งเสนอให้ ครม. รับทราบ ค่าเสียเสียจากการสูญเสียรายได้ของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมการบิน จำนวน 18,932,594,271บาท โดยคณะรัฐมนตรี อาจพิจารณา มาตรการในการช่วยเหลือเยียวยาความเสียหายดังกล่าว
ส่วนความเสียหายรายละเอียดมีดังนี้ หน่วยงานภาครัฐ สังกัดกระทรวงคมนาคม คือ
-องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) มีค่าใช้จ่าย 2,292,500 บาท
-บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) มีค่าใช้จ่าย 1,100,000 บาท
-บริษัท วิทยุการบิน แห่งประเทศไทย จำกัด มีค่าใช้จ่าย 796,899 สูญเสียรายได้ 103,592,900บาท รวม 104,389,799บาท
-บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีค่าใช้จ่าย 570,427,790.68 บาท ค่าสูญเสียรายได้ ถึง 13,236,001,371 บาท รวมเป็นเงิน 13,806,429,161.68 บาท
-ส่วนบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (ทอท.) มีคาใช้จ่าย 16,987,159.07 บาท สูญเสียรายได้ 574,000,000 บาท รวม 590,987,159.07 บาท
-ท่าอากาศยานอู่ตะเภา กองทัพเรือ มีค่าใช้จ่าย 542,426 บาท
สำหรับค่าใช้จ่ายและความเสียหายที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานภาคเอกชน ได้แก่
-ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจริง 2,544,200 บาท
-และ สายการบินต่าง ๆ ประจำประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง 85,033,961 บาท ค่าเสียหายจากการสูญเสียรายได้ จำนวน 5,019,000,000 บาท รวม 5,104,033,961 บาท
ลำดับเหตุการณ์221วันดองคดีโจรก่อการร้ายยึดสนามบิน ก่อนได้ฤกษ์ดำเนินคดี
-
ค่ำวันที่ 25 พฤศจิกายน 2551พันธมิตรยึดสนามบินสุวรรณภูมิ
-13 มกราคม 2552 พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รองผบ.ตร.เผยคดีคืบหน้า 70 %จะออกหมายจับพันธมิตรภายใน1เดือน
-13 กุมภาพันธ์ 2552 ครบ1เดือนที่จงรักพูด ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
-18 กุมภาพันธ์ 2552 รัฐบาลย้ายตำรวจคุมคดียึดสนามบินเข้ากรุ พล.ต.อ.จงรักพ้นหน้าที่ในการคุมคดี สุเทพ เทือกฯเข้าคุมเอง
-20 กุมภาพันธ์ 2552 พล.ต.ท.ฉลอง สนใจผบช.ภาค1เผยคดีคืบหน้า80%
-21 เมษายน 2552 พล.ต.ท.ฉลองเผยคืบหน้า95%แล้ว เหตุที่ช้าเพราะเป็นคดีก่อการร้ายโทษถึงประหารชีวิต ส่วนคดีเสื้อแดงจับรวดเร็วเพื่อยับยั้งไม่ให้เกิดผลร้ายขึ้น
-23 เมษายน 2552 อภิสิทธิ์กล่าวต่อที่ประชุมสภาว่า รัฐบาลไม่ได้มี2มาตรฐานระหว่างสีแดงจับเร็ว สีเหลืองจับช้าอย่างที่วิจารณ์กัน ขณะที่จตุพร พรมพันธุ์โต้ตอนนี้มี3มาตรฐานแล้ว คือเสื้อแดงจับไว เสื้อเหลืองออกหมายเรียกก่อนแต่ช้า ส่วนเสื้อสีน้ำเงินของเนวินไม่ทำอะไรเลย แถมรัฐบาลอ้างว่าเป็นอาสาสมัครช่วยรัฐบาลอีก...
27 เมษายน 2552พล.ต.ท.วุฒิ พัวเวส ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งได้รับมอบหมายให้คุมคดีพันธมิตรยึดสนามบิน และคดีพันธมิตรบุกสภาเมื่อ7ตุลาคม2551 เผยว่า คาดว่าไม่เกินเดือนพฤษภาคมจะสรุปสำนวนได้
9 พฤษภาคม 2552พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ปฏิเสธว่าไม่ได้2มาตรฐานกรณีสลายม็อบเสื้อแดงกับเพิกเฉยกรณีเสื้อเหลืองยึดสนามบิน โดยอ้างว่าตอนยึดสนามบิน รัฐบาลมีคำสั่งให้ตำรวจเป็นหลัก ทหารบกเป็นผู้ช่วยอยู่อันดับ3 แต่กรณีเสื้อแดงตอนสงกรานต์นั้น ทหารอยู่เฉยไม่ได้ คนตีกันสองฝ่าย ที่ตีกันระหว่าง “เหลือง-แดง” ผมอยู่นิ่งเฉยไม่ได้ เราไม่ได้สลายการชุมนุม แต่ทำให้สถานการณ์สงบเรียบร้อย
-25 พฤษภาคม 2552 6เดือนผ่านไป พล.ต.ท.วุฒิเผยว่า เบื้องต้นได้มีการเตรียมแจ้งข้อกล่าวหาตั้งแต่บุกรุกจนถึงข้อหาก่อการร้ายสากล ซึ่งคาดว่าประมาณปลายเดือน พ.ค.จะมีความคืบหน้าในการแจ้งข้อกล่าวหาผู้ที่เกี่ยวข้อง
-27 พฤษภาคม 2552 พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ รอง ผบ.ตร. กล่าวว่า ได้ดูรายงานการประชุมที่ พล.ต.ท.วุฒิมาประชุม ไม่พบว่ามีการตั้งข้อหาก่อการร้ายแต่อย่างใด
3 มิถุนายน 2552พล.ต.ท.วุฒิ อ้างว่าตำรวจทำคดีเต็มที่แล้ว แต่เหตุที่ล่าช้าเนื่องจาก กรมขนส่งทางอากาศ กระทรวงคมนาคมยังไม่ได้สรุปความเสียหายว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ มายังพนักงานสอบสวน เพื่อใช้ประกอบสำนวนการสอบสวน แจ้งข้อกล่าวหากับบุคคลที่เกี่ยวข้อง
12 มิถุนายน 2552 ผบ.ตร.ส่งรายงานคดีสำคัญ17คดีให้สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯทราบ ซึ่งใน 17 คดีสำคัญนี้ไม่มีคดียึดสนามบินรวมอยู่ด้วยแต่อย่างใด
1 กรกฎาคม 2552 พล.ต.ท.วุฒิเผยว่า ได้รับหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษและพยานหลักฐานเพิ่มจากกรมขนส่งทางอากาศแล้ว จึงคาดว่าจะดำเนินคดีโดยออกหมายเรียกพันธมิตรได้ภายในกลางเดือนกรกฎาคมนี้
4 กรกฎาคม 2552เป็นเวลา221วัน หรือ7เดือนกับ9วัน ตำรวจเพิ่งออกหมายเรียกดำเนินคดียึดสนามบิน ซึ่งมีโทษหนักถึงประหารชีวิต