คอลัมน์ เหล็กใน
สำหรับคณะกรรมการดังกล่าวเป็นแนวคิดของนายอภิสิทธิ์เอง ที่เสนอให้รัฐสภาจัดตั้งขึ้นมา หลังรัฐบาลปราบม็อบเสื้อแดงเป็นผลสำเร็จ
นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี ประธานคณะกรรมการ ใช้เวลานานถึง 45 วันในการนัดประชุม ถกเถียงหาข้อสรุป
ในวันที่รับรายงานดังกล่าวมา นายอภิสิทธิ์ก็พูดจาเพราะพริ้งว่าจะเสนอให้ประธานรัฐสภานำไปหารือกับสมาชิกรัฐสภา
ในส่วนของรัฐบาลก็จะดำเนินการคู่ขนานกันไป โดยจะนำไปหารือในครม. และจะเดินหน้าต่อไปเพื่อให้การเมืองกลับสู่ระบบ
สุดท้ายก็งึกๆ งักๆ ดึงเรื่องแล้วโยนกลับไปดื้อๆ ซึ่งก็สะท้อนภาวะผู้นำและจุดยืน
อาจเป็นไปได้ ที่นายอภิสิทธิ์เกรงอกเกรงใจกลุ่ม 40 ส.ว. ที่ส่วนใหญ่เป็นสายพันธมิตรและส.ว.สรรหา เพราะทันทีได้รับผลสรุปมา ส.ว.กลุ่มเดียวกันก็ยื่นหนังสือคัดค้านทันที
แถมทวงบุญคุณอีกต่างหากว่าถ้าไม่ได้กลุ่ม 40 ส.ว.เข้าร่วมประชุมฟังการแถลงนอกสภา รัฐบาลก็ไม่สามารถบริหารได้
บางคนทำเท่ สวมหน้ากากอนามัย เขียนข้อความประชดประชัน รังเกียจเดียดฉันท์นักการเมือง ทั้งๆที่ตัวเองก็เล่นการเมืองเหมือนกัน
ข้อเสนอของคณะกรรมการ เสนอให้แก้รัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น ได้แก่
ระบบการเลือกตั้งส.ส.-ส.ว.ให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
ยกเลิกมาตรา 190 การทำสัญญากับนานาประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ ที่ต้องให้รัฐสภาเห็นชอบก่อน
มาตรา 237 การยุบพรรคการเมืองและตัดสิทธิ์คณะกรรมการบริหารพรรค ให้ตัดสิทธิเฉพาะผู้กระ ทำความผิดเท่านั้น
แก้มาตรา 265 และมาตรา 266 การกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ของส.ส.และส.ว.
ส่วนเหตุผลของกลุ่ม 40 ส.ว.ที่ยื่นคัดค้าน อ้างว่าข้อเสนอดังกล่าวไม่สมานฉันท์ แต่จะเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งครั้งใหม่
ถ้าจะแก้มาตรา 237 ก็เป็นการนิรโทษกรรมซ่อนรูป
ส่วนการแบ่งเขตเลือกตั้งไม่ตอบโจทย์ความขัดแย้งของสังคมไทย
เขตเลือกตั้งยิ่งเล็กยิ่งทำให้ 2 สีทะเลาะกันง่ายขึ้น
ความเห็นของส.ว.กลุ่มนี้ หลายฝ่ายมองว่าทำเหมือนเป็นองครักษ์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ หรือไม่ก็เจ้าของรัฐธรรมนูญเสียเอง
ทั้งๆ ที่รู้อยู่เต็มอกว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มาแบบไหน