หาได้มีแต่ “พรรคพลังประชาชน” แต่อย่างใดไม่ ที่เคยออกมาเคลื่อนไหวในท่าที “ไม่เห็นด้วย” กับร่างรัฐธรรมนูญ 2550
และแม้ไม่มีทีท่าประกาศจุดยืนชัดเจนจากพรรคอื่นๆ แต่เมื่อย้อนไปค้นหาคำพูดของนักการเมืองรายท่าน รายบุคคล
ก็จะพบว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ สร้างความไม่สบายใจให้บรรดานักการเมืองจากพรรคต่างๆ อยู่ไม่ใช่น้อย
เช่น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เคยกล่าวไว้อย่างน่าฟัง เมื่อครั้งมีการเสวนาทางวิชาการ "นานาทรรศนะ วิพากษ์รัฐธรรมนูญ 2550" เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2550 ณ ห้องประชุมสถาบันปรีดี พนมยงค์ ว่า
“...รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ดีกว่าฉบับเดิมยาก เนื่องจากร่างรัฐธรรมนูญบนบรรยากาศของความระแวง และรังเกียจนักการเมือง
กีดกันตั้งแต่การเข้ามาเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อร่างเสร็จก็ไม่สอบถามความเห็นของพรรคการเมือง จึงทำให้ถูกมองว่าเป็นอำมาตยาธิปไตย”
"เมื่อมีพื้นฐานว่านักการเมืองไม่ดี จึงเขียนเอาไว้ว่าไม่ให้อำนาจ แต่ลืมไปว่า นักการเมืองทำหน้าที่แทนประชาชน
ถ้านักการเมืองไม่มีอำนาจ ก็หมายความว่าประชาชนไม่มีอำนาจ และการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ไปกลัวในสิ่งที่ไม่ควรกลัว เช่น กลัวว่ารัฐบาลจะมีเสียงข้างมาก แต่ไม่กลัวว่ารัฐบาลจะใช้อำนาจเกินขอบเขต
ประเด็นกลัวรัฐบาลเข้มแข็งเป็นคนละประเด็นกับการใช้อำนาจเกินขอบเขต..."
สิ่งที่นายอภิสิทธิ์พูดไว้ มีความชัดเจนอย่างมากที่สุด
“ถ้านักการเมือง ไม่มีอำนาจ ก็หมายความว่าประชาชนไม่มีอำนาจ”
การที่นักการเมือง พรรคการเมือง ออกมาแก้ไขรัฐธรรมนูญ แม้ส่วนหนึ่งคือเพื่อผลประโยชน์ของสถาบันพรรคการเมืองเอง
แต่อีกส่วนหนึ่ง ก็ปฏิเสธผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับไปไม่ได้
คนที่ไม่ต้องการให้แก้ไข ...
คนที่ปกป้องรัฐธรรมนูญอำมาตยาธิปไตยจนสุดชีวิต ...
จึงต้องตอบหรือกล้ายอมรับให้ได้ว่า ไม่ต้องการให้ประชาชนในประเทศนี้ได้ประโยชน์ใช่หรือไม่
ไม่ต้องการให้ประชาชนเป็นใหญ่ใช่หรือไม่
กลุ่มคนที่ปกป้องรัฐธรรมนูญ 2550 อย่างขาดใจชนิดแตะต้องสักนิดก็ไม่ได้ เช่น อดีต สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญบางท่าน หรือกลุ่มพันธมิตรฯนั้น ไม่ได้แบกภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ หรือมีพันธะสัญญากับประชาชนโดยตรง เพราะประชาชนไม่ได้เลือก
แต่กับพรรคการเมืองที่ประชาชนเป็นผู้เลือก ไม่ว่าจะพรรคใดก็ตาม ล้วนปฏิเสธภาระผูกพันที่มีกับประชาชนไม่ได้ทั้งสิ้น
ยิ่งเมื่อมองเห็นและเคยพูดไว้ว่า รัฐธรรมนูญ 2550 (ในหลายๆ มาตรา) มันกระทบกระเทือนฐานรากอันมั่นคงของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย ก็ยิ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงการเป็นตัวแทนที่จะต้องลุกมาปกป้องแก้ไข
อย่าติดว่านี่เป็นเพียงเรื่องการเมือง
อย่าติดว่าเมื่อแก้ไขไปแล้ว พรรคใดพรรคหนึ่งจะได้ประโยชน์กว่าอีกพรรคใดพรรคหนึ่ง
เพราะเมื่อจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองแล้ว ล้วนแต่ต้องได้รับผลกระทบโดยตรงเหมือนกัน ไม่ว่าจะวันนี้หรือวันไหน
และที่สำคัญ อย่างที่นายอภิสิทธิ์กล่าวไว้นั่นแหละถูกต้องที่สุด
“ถ้านักการเมืองไม่มีอำนาจ ประชาชนก็ไม่มีอำนาจ”
“เพราะนักการเมือง ทำหน้าที่แทน ประชาชน”
และแม้ไม่มีทีท่าประกาศจุดยืนชัดเจนจากพรรคอื่นๆ แต่เมื่อย้อนไปค้นหาคำพูดของนักการเมืองรายท่าน รายบุคคล
ก็จะพบว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ สร้างความไม่สบายใจให้บรรดานักการเมืองจากพรรคต่างๆ อยู่ไม่ใช่น้อย
เช่น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เคยกล่าวไว้อย่างน่าฟัง เมื่อครั้งมีการเสวนาทางวิชาการ "นานาทรรศนะ วิพากษ์รัฐธรรมนูญ 2550" เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2550 ณ ห้องประชุมสถาบันปรีดี พนมยงค์ ว่า
“...รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ดีกว่าฉบับเดิมยาก เนื่องจากร่างรัฐธรรมนูญบนบรรยากาศของความระแวง และรังเกียจนักการเมือง
กีดกันตั้งแต่การเข้ามาเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อร่างเสร็จก็ไม่สอบถามความเห็นของพรรคการเมือง จึงทำให้ถูกมองว่าเป็นอำมาตยาธิปไตย”
"เมื่อมีพื้นฐานว่านักการเมืองไม่ดี จึงเขียนเอาไว้ว่าไม่ให้อำนาจ แต่ลืมไปว่า นักการเมืองทำหน้าที่แทนประชาชน
ถ้านักการเมืองไม่มีอำนาจ ก็หมายความว่าประชาชนไม่มีอำนาจ และการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ไปกลัวในสิ่งที่ไม่ควรกลัว เช่น กลัวว่ารัฐบาลจะมีเสียงข้างมาก แต่ไม่กลัวว่ารัฐบาลจะใช้อำนาจเกินขอบเขต
ประเด็นกลัวรัฐบาลเข้มแข็งเป็นคนละประเด็นกับการใช้อำนาจเกินขอบเขต..."
สิ่งที่นายอภิสิทธิ์พูดไว้ มีความชัดเจนอย่างมากที่สุด
“ถ้านักการเมือง ไม่มีอำนาจ ก็หมายความว่าประชาชนไม่มีอำนาจ”
การที่นักการเมือง พรรคการเมือง ออกมาแก้ไขรัฐธรรมนูญ แม้ส่วนหนึ่งคือเพื่อผลประโยชน์ของสถาบันพรรคการเมืองเอง
แต่อีกส่วนหนึ่ง ก็ปฏิเสธผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับไปไม่ได้
คนที่ไม่ต้องการให้แก้ไข ...
คนที่ปกป้องรัฐธรรมนูญอำมาตยาธิปไตยจนสุดชีวิต ...
จึงต้องตอบหรือกล้ายอมรับให้ได้ว่า ไม่ต้องการให้ประชาชนในประเทศนี้ได้ประโยชน์ใช่หรือไม่
ไม่ต้องการให้ประชาชนเป็นใหญ่ใช่หรือไม่
กลุ่มคนที่ปกป้องรัฐธรรมนูญ 2550 อย่างขาดใจชนิดแตะต้องสักนิดก็ไม่ได้ เช่น อดีต สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญบางท่าน หรือกลุ่มพันธมิตรฯนั้น ไม่ได้แบกภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ หรือมีพันธะสัญญากับประชาชนโดยตรง เพราะประชาชนไม่ได้เลือก
แต่กับพรรคการเมืองที่ประชาชนเป็นผู้เลือก ไม่ว่าจะพรรคใดก็ตาม ล้วนปฏิเสธภาระผูกพันที่มีกับประชาชนไม่ได้ทั้งสิ้น
ยิ่งเมื่อมองเห็นและเคยพูดไว้ว่า รัฐธรรมนูญ 2550 (ในหลายๆ มาตรา) มันกระทบกระเทือนฐานรากอันมั่นคงของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย ก็ยิ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงการเป็นตัวแทนที่จะต้องลุกมาปกป้องแก้ไข
อย่าติดว่านี่เป็นเพียงเรื่องการเมือง
อย่าติดว่าเมื่อแก้ไขไปแล้ว พรรคใดพรรคหนึ่งจะได้ประโยชน์กว่าอีกพรรคใดพรรคหนึ่ง
เพราะเมื่อจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองแล้ว ล้วนแต่ต้องได้รับผลกระทบโดยตรงเหมือนกัน ไม่ว่าจะวันนี้หรือวันไหน
และที่สำคัญ อย่างที่นายอภิสิทธิ์กล่าวไว้นั่นแหละถูกต้องที่สุด
“ถ้านักการเมืองไม่มีอำนาจ ประชาชนก็ไม่มีอำนาจ”
“เพราะนักการเมือง ทำหน้าที่แทน ประชาชน”
รายงานพิเศษ 28 มีนาคม 2551