บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552

24 มิถุนา วันชาติ และตราสัญลักษณ์โทรทัศน์ไทย(2)

ที่มา Thai E-News

โดย อรรคพล สาตุ้ม
27 มิถุนายน 2552

บทความตอนที่ 2 สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 9 นั้น ในอดีต คือ ช่อง 4 บางขุนพรหม มีตราสัญลักษณ์เป็นรูป "วิชชุประภาเทวี"แล้วการจนถึงการเปลี่ยนสัญลักษณ์ของสถานีเป็นรูปดวงตาสีม่วง คือ โมเดิร์นไนน์ทีวี และกรณีตราสัญลักษณ์ ITV ทีวีเสรี-TITV และTPBS และในตอนที่2ของบทความกรณีตราสัญลักษณ์ NBT ถูกเปลี่ยนเป็นสทท.11 สัญลักษณ์มือถือหอยสังข์โดยบทความนี้เป็นตอนสุดท้าย


การเมืองเชิงตราสัญลักษณ์ช่องทีวีไทย-ช่อง 11-NBT : ความเป็นไทยของสทท.11

สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ (ชื่อย่อ: สทท.11, ช่อง 11; อังกฤษ: Television of Thailand Channel 11 ชื่อย่อ: TVT.11) ซึ่งมีสถานะความเป็นมาของช่อง 11 และวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดอาคารที่ทำการ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย อย่างเป็นทางการ จากนั้นเป็นต้นมา จึงกำหนดให้ วันที่ 11 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนา สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์

สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ในฐานะที่เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ ได้ดำเนินการเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางราชการ และนำเสนอรายการที่เป็นสาระความรู้โดยเฉพาะด้านการศึกษา, ศิลปวัฒนธรรม และประเพณี มาโดยตลอด ซึ่งรูปแบบการดำเนินงานนั้น สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ส่วนกลางที่กรุงเทพมหานคร จะดำเนินการถ่ายทอดรายการส่วนใหญ่ และบางช่วงเวลา จะให้สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ในส่วนภูมิภาคดำเนินการถ่ายทอดรายการของตนเฉพาะท้องถิ่นไป แล้วแต่ช่วงเวลานั้นๆ โดยปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงระยะเวลาแรกๆ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 มักถูกมองข้ามจากผู้ชมส่วนใหญ่

เนื่องด้วยความเป็นสถานีโทรทัศน์ของทางรัฐบาล ซึ่งไม่มีรายการที่สามารถดึงดูดผู้ชมได้ โดยเฉพาะรายการประเภทบันเทิง เช่น ละครโทรทัศน์ หรือรายการเกมโชว์ และประกอบกับเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ไม่อาจมีโฆษณาได้ จึงทำให้ประเภทของรายการที่ออกอากาศทางสทท. 11 นั้น มีอยู่อย่างจำกัด ส่งผลให้ผู้ชมนั้นมีไม่จำนวนไม่มากนัก อย่างไรก็ดี ในปีพ.ศ. 2539 สทท.11 ได้เสนอให้หน่วยงานภาคต่างๆ สามารถแพร่ภาพโฆษณาให้กับทางสถานีได้ และในบางครั้ง สทท.11 ก็ได้ผลิตโฆษณาออกอากาศภายในสถานีเอง แม้จะเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ จนกระทั่งในช่วงนับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 เป็นต้นมา

สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 เริ่มมีชื่อเสียงทางด้านการถ่ายทอดสดรายการกีฬา ซึ่งแต่เดิม สทท. 11 เป็นที่รู้จักกันดีจากการเริ่มนำเอากีฬามวยปล้ำอาชีพมาออกอากาศทางสถานี แต่ทว่า นับตั้งแต่ที่สทท.11 เป็นหนึ่งในผู้ร่วมถ่ายทอดสด การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ปี 2002 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวีและไอทีวี ภายใต้การดำเนินการของบริษัท ทศภาค จำกัด ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ฮือฮามากในขณะนั้น ที่การถ่ายทอดสดกีฬาต่างๆ ไม่ได้เกิดขึ้นโดยโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทีวีพูล ตามที่เป็นปกติในวงการโทรทัศน์ก่อนหน้านั้น ซึ่งถ่ายทอดสดรายการกีฬาต่างๆ ร่วมกันทางทีวีพูล โดยมีโฆษณาคั่น แต่เมื่อสทท. 11 ได้ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายปี 2002 ร่วมกับโมเดิร์นไนน์ทีวี และไอทีวี โดยไม่มีโฆษณาคั่น แต่นั้น สทท. 11 ก็ได้ถ่ายทอดสดรายการกีฬาอีกหลายรายการจนเป็นที่ติดตามของผู้ชมกีฬาในประเทศเป็นอย่างมาก

การเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ช่อง11

เมื่อรัฐบาลภายใต้การนำของ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น คือ พรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้ง หลังจากการมีรัฐธรรมนูญ 2550 เปลี่ยนผ่านรัฐบาลพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ และพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีตราสัญลักษณ์ประจำพรรคพระแม่ธรณี พ่ายแพ้การเลือกตั้ง ทำให้พรรคพลังประชาชน หรืออดีตพรรคไทยรักไทย รวมทั้งกลุ่ม PTV เข้ามาบริหารงานทีวีช่อง11 โดยนายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ในฐานะที่กำกับดูแลกรมประชาสัมพันธ์ ได้มีแนวความคิดที่จะเปลี่ยนแปลง สทท.11 เดิม เพื่อเป็นการปรับปรุงระบบการบริหารงาน และตอบสนองเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถานี ดังนั้น ในวันอังคารที่ 1เมษายน พ.ศ. 2551 ตั้งแต่เวลา 06.00 น. และสทท.11 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (National Broadcasting Services of Thailand - NBT) ซึ่งเป็นการใช้ชื่อที่จดทะเบียนสมาชิกกับสหภาพวิทยุ-โทรทัศน์แห่งเอเชีย-แปซิฟิก(Asia-Pacific Broadcasting Union) และเปลี่ยนสีประจำสถานีเป็นสีแดงและได้ออกอากาศรายการในรูปแบบใหม่ เพื่อให้สมประโยชน์ตามเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถานี และเพื่อประโยชน์สาธารณะ สำหรับการเสนอข่าวสารของเอ็นบีที จะมีความแตกต่างจาก สทท.11 คือ เอ็นบีที จะทำการเสนอข่าวในนามของทีมข่าวของสถานีเอง ซึ่งแยกออกจากสำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ (ปัจจุบัน คือ สำนักข่าวแห่งชาติ) แต่ในการเสนอข่าวในยุค สทท.11 นั้น จะดำเนินการเสนอข่าวขึ้นตรงกับสำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ โดยส่วนใหญ่

ทั้งนี้ สถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ได้นำอดีตผู้ประกาศข่าวของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีหลายคน ที่ไม่ได้เข้าร่วมงานกับสถานีโทรทัศน์ทีวีไทยมาร่วมงาน ไม่ว่าจะเป็น ตวงพร อัศววิไล, จอม เพชรประดับ, จิรายุ ห่วงทรัพย์ , ปนัดดา วงศ์ผู้ดี, สร้อยฟ้า โอสุคนธ์ทิพย์ เป็นต้น ซึ่งทางเอ็นบีทีได้นำเสนอภาพลักษณ์ความเป็นสถานีข่าว ผ่านทางการให้เวลานำเสนอข่าวมากกว่า 13 ชั่วโมง และปรับรูปลักษณ์ของสถานีเพื่อให้มีความทันสมัยมากกว่าเดิม ซึ่งในช่วงแรก เอ็นบีทีถูกจับตาอย่างยิ่งจากหลายฝ่าย จากการที่ประกาศตัวเป็นคู่แข่งกับสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย หรือไทยพีบีเอส ในลักษณะของ “สงครามสื่อโทรทัศน์ภาครัฐ” เนื่องจากเอ็นบีทีพยายามนำเสนอความเป็นทีวีสาธารณะของภาครัฐบาล ขึ้นรับมือกับไทยพีบีเอส ที่ประกาศตัวเป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะแห่งแรกของประเทศไทยไปก่อนหน้า และนอกจากนี้ เอ็นบีทียังถูกจับตามองอย่างยิ่ง ในแง่มุมของการเสนอข่าว ซึ่งมีบางฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ว่า เอ็นบีทีนำเสนอข่าวในลักษณะเข้าข้างรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์เป็นพิเศษ

เมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาล จากนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 จากพรรคประชาธิปัตย์ ได้มีนโยบายปฏิรูปสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT โดยจัดประกวดตราสัญลักษณ์ใหม่ ซึ่งกำหนดแนวคิดตราสัญลักษณ์ให้สื่อถึงความเป็นโทรทัศน์แห่งชาติ มีความทันสมัย ผสมผสานกับความเป็นไทย และตราสัญลักษณ์ใหม่จะเริ่มใช้ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 1 ปี การใช้ชื่อเอ็นบีที โดยนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้เปิดตราสัญลักษณ์ใหม่ และเปิดตัวสถานีในฐานะสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ

ความเป็นมาของตราสัญลักษณ์ของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย

ได้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ถึง 5 ครั้ง นอกจากนี้ ยังใช้ตราราชการของกรมประชาสัมพันธ์ในบางโอกาสด้วย เช่น บนป้ายด้านหน้าที่ทำการสถานีฯ ที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ปรากฏบนหน้าจอในการเปิดสถานีฯ ช่วงเวลาระหว่างประมาณ 03.40 น. รวมถึงเป็นสัญลักษณ์คั่นระหว่างข่าวแต่ละชิ้น บนแถบตัววิ่งข่าว (นิวส์บาร์) บริเวณด้านล่างของจอ ซึ่งทั้งหมดได้ใช้งานมาจนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2551 (ในยุคของ สทท. 11 กรมประชาสัมพันธ์ )

ตราสัญลักษณ์นับตั้งแต่ พ.ศ. 2528-2530 ( สทท.11 กรมประชาสัมพันธ์ ) เมื่อเริ่มทดลองออกอากาศ ในปี พ.ศ. 2528 นั้น ยังใช้เพียงตัวอักษรย่อ “สทท.11” พิมพ์ไว้บนหน้าจอเท่านั้น

อย่างไรก็ดี ปรากฏหลักฐานว่า มีการออกแบบตราสัญลักษณ์ สำหรับใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์สถานีฯ เป็นเส้นทแยงมุมจากขวาบน ลงซ้ายล่าง แบ่งเป็นสามช่อง แต่ละช่องมีสามแม่สีแสง คือ แดง เขียว และน้ำเงิน เป็นพื้นหลัง มีตัวเลข 1 สีดำสองตัว ซ้อนเหลื่อมกัน ทับอยู่ด้านบน ซึ่งมีความหมายถึง ช่องสัญญาณที่ทำการแพร่ภาพออกอากาศ จากสถานีแม่ข่ายที่กรุงเทพมหานคร ในระบบวีเอชเอฟ (VHF) ความถี่สูง ช่องสัญญาณที่ 11 (BAND3 VHF-HIGH CH11) มีตัวอักษรย่อ “สทท.” ตัวเล็ก อยู่ถัดจากตัวเลขไปทางซ้าย ทั้งหมดอยู่ในกรอบโค้งมน ในรูปแบบของจอโทรทัศน์ โดยตราสัญลักษณ์ดังกล่าว ใช้อยู่สองปี

โดยมีการเปลี่ยนแปลงในพ.ศ. 2530-2544 ( สทท.11 กรมประชาสัมพันธ์ ) ซึ่งต่อมา ในปี พ.ศ. 2530 สทท.11 ออกแบบตราสัญลักษณ์ใหม่ โดยใช้กรอบลักษณะจอโทรทัศน์เช่นเดิม แต่เปลี่ยนแปลงลักษณะภายใน กล่าวคือ พื้นหลังสุดเป็นเส้นตรงสีน้ำเงิน ขนานตามแนวนอน บริเวณใจกลางของตราสัญลักษณ์ มีเลข 1 สองตัว ตัวทางซ้ายเป็นสีเขียว ตัวทางขวาเป็นสีแดง โดยพื้นที่ทางซ้ายของตัวเลขทางซ้าย เป็นเส้นตรงขนานสีเขียว และพื้นที่ทางขวาของตัวเลขทางขวา เป็นเส้นตรงขนานสีแดง ตามขนาดของตัวเลข ด้านล่างของตัวเลขทั้งสอง มีอักษรย่อ “สทท.” กำกับไว้ด้วย ซึ่งตราสัญลักษณ์ดังกล่าว ใช้มาถึง 14 ปี จึงมีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบตราสัญลักษณ์อีกครั้ง

จากนั้น ในปี พ.ศ. 2544 สทท.11 เปลี่ยนรูปแบบตราสัญลักษณ์ในรายละเอียดใหม่ โดยปรับปรุงจากการใช้เส้นขนานตามแนวนอน เป็นแถบสีสดใส โดยใช้สีตามสัญลักษณ์เดิม พร้อมนี้ ได้เปลี่ยนตัวเลข 1 ทั้งสองตัว เป็นสีขาว เดินเส้นขอบสีดำ และตัวอักษรย่อ “สทท.” เป็นสีขาวด้วย ซึ่งใช้อยู่เป็นระยะเวลา 7 ปี ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็นสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที และในปี พ.ศ. 2551 สทท.เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที จึงออกแบบตราสัญลักษณ์ขึ้นใหม่ โดยเน้นภาพลักษณ์ที่ทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของสังคม โดยความหมายของตราสัญลักษณ์ดังกล่าว อธิบายว่า “วงกลมสีน้ำเงิน” หมายถึง ศูนย์กลางแห่งข้อมูลข่าวสาร ส่วน “สีน้ำเงิน” หมายถึงความหนักแน่นเป็นกลาง ส่วน “สามเหลี่ยมใต้วงกลม” หมายถึง ความเที่ยงตรง เป็นกลาง ในการนำเสนอข่าว อย่างไม่หยุดนิ่ง “วงรีสามวง” สื่อถึงแผนที่โลกที่แผ่ออกเป็นสองมิติ หมายถึง การนำเสนอเหตุการณ์สำคัญจากทั่วทุกมุมโลก ตัวอักษรภาษาอังกฤษ “NBT” ใช้สีขาว หรือโปร่งใส หรือเป็นวาวแสงคล้ายแก้ว หมายถึง ความโปร่งใสในการนำเสนอข่าวสาร ที่สามารถตรวจสอบได้

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551 เวลาประมาณ 15.15 น. เป็นต้นมา การแสดงตราสัญลักษณ์ของเอ็นบีทีบนจอโทรทัศน์ จะมีอักษรย่อ “สทท.” กำกับอยู่ด้านล่างของตราสัญลักษณ์ฯ ด้วย ซึ่งในเวลาดังกล่าว เป็นรายการ “หน้าต่างสังคม” เป็นต้น เมื่อเปลี่ยนพรรคการเมืองเป็นพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลในพ.ศ. 2552 ( สถานีโทรทัศน์แห่งชาติ ) สทท.มีโครงการให้ประชาชนส่งประกวดตราสัญลักษณ์ใหม่ของสถานี โดยกำหนดแนวคิดตราสัญลักษณ์ให้สื่อถึงความเป็นโทรทัศน์แห่งชาติ มีความทันสมัย แต่คงความเป็นไทย และมุ่งสู่สากล ซึ่งผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ ผลงานของนาย เนติพิกัติ ตังคไพศาล กราฟิกดีไซเนอร์ จากทีวีไทย ซึ่งได้แนวความคิดจากสัญลักษณ์ของกรมประชาสัมพันธ์ ที่เป็นรูปพระอินทร์เป่าสังข์ปาญจนันท์ โดยดัดแปลงเฉพาะส่วนที่เป็นมือถือสังข์ให้ทันสมัยมากขึ้น ตราสัญลักษณ์ใหม่ได้เริ่มใช้ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 1 ปี การใช้ชื่อเอ็นบีที[i]จึงถือว่าปิดฉากกลุ่มบริษัทตราสัญลักษณ์เดิมด้วย

การเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ คือ การลบภาพลักษณ์ทางการเมืองของพรรคพลังประชาชน เกี่ยวโยงลึกซึ้งถึงกลุ่มทางการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ ในกลุ่มเอเอสทีวี(ASTV) ซึ่งปะทะกับกลุ่มPTV ในอดีตมาเป็นรายการความจริงวันนี้ ซึ่งวิกฤติการณ์จากข้อกล่าวหากระบอกเสียงรัฐบาลของกลุ่มPTV-ช่อง 11 และพันธมิตรฯ สืบเนื่องหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยา ก็เกิดกลุ่มทีวี เช่น PTV ซึ่งต่อต้านรัฐบาลเผด็จการ โดยมีการประสานงานกับกลุ่มแนวร่วมต่างๆ ตรงกันข้ามกับกลุ่มสื่อผู้จัดการ-ASTV และพันธมิตรฯ ในปี พ.ศ. 2551 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ได้ถูก วิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่ายว่าเป็นกระบอกเสียงให้กับรัฐบาล(คณะรัฐมนตรีคณะที่ 57 ของไทย) เช่น ให้มีการจัดรายการ “ความจริงวันนี้”กับทางสถานี NBT เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ตราสัญลักษณ์ของ NBT ที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น ย่อมถูกเหมารวม เพราะมาจากเรื่องรายการความจริงวันนี้ ที่มีถูกกล่าวถึงว่า กระบอกเสียงของรัฐบาล โดยมีผู้เสียหายจากข้อเท็จจริงจนต้องออกมาฟ้องหมิ่นประมาทอยู่บ่อยครั้ง เช่น ตุลาการรัฐธรรมนูญ หรือ ปปช. รวมไปถึงนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และนำไปสู่การบุกยึดสถานี วิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยของกลุ่มพันธมิตรฯ ในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ถือเป็นการเข้ายึดสถานีโทรทัศน์โดยประชาชนครั้งแรกในประเทศไทยนั้น ทำให้รู้ว่าตราสัญลักษณ์ช่อง 11 หรือ NBT จำเป็นต้องเปลี่ยนไป

กระนั้น ความเป็นไทย ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ และแบรนด์เนมของการเป็นธุรกิจการค้า ซึ่งการสร้างตราสัญลักษณ์ไม่ใช่เรื่องเรียบง่าย จะไม่มีปัญหาปรากฏว่า เสื้อโบว์ลิ่งโวยช่อง 11 ละเมิดโลโก้ ที่มาข่าวหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ และนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่บริษัท โกลเด้นโบล์ จำกัด ทำหนังสือเตือนถึงตน ในฐานะกำกับดูแลกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อขอให้ยุติการใช้โลโก้ใหม่ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ภายในเวลา 30 วัน (9 พฤษภาคม) เนื่องจากมีรูปร่างและลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบริษัท โกลเด้นโบล์ฯว่า ตนได้มอบหมายให้นายเผชิญ ขำโพธิ์ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เป็นผู้ไปเจรจากับตัวแทนบริษัทดังกล่าวแล้วว่า ช่อง 11 ไม่มีเจตนาละเมิดเครื่องหมายการค้า หรือลิขสิทธิ์ใดๆ เนื่องจากโลโก้ช่อง 11 เป็นเพียงโลโก้ที่ใช้ออกอากาศเท่านั้น ไม่ได้ใช้ในการผลิตสินค้าใดๆ จึงไม่น่าจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์บริษัทดังกล่าวที่ทราบว่า เป็นผู้ผลิตเสื้อผ้า

นายสาทิตย์ กล่าวว่า ขั้นตอนการได้มาของโลโก้ใหม่ของช่อง 11 นั้น มาจากการเปิดโอกาสให้ประชาชนส่งเข้ามาประกวด เพื่อเปลี่ยนสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีซึ่งเข้าไปมีส่วนร่วมในความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมาให้กลายเป็นสถานีโทรทัศน์ของประชาชนอย่างแท้จริง โดยมีผู้ส่งเข้ามาประกวดกว่า 2,000 ชิ้น และมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งจากวงการสถาปนิก วงการโฆษณา และผู้เกี่ยวข้องอื่นเป็นผู้ตัดสิน จึงจำเป็นต้องไปทำความเข้าใจว่าไม่มีเจตนาลอกเลียนแบบแต่อย่างใด[ii]

โดยทางด้านบริษัท โกลเด้นโบล์ จำกัด ได้ส่งสำเนาทะเบียนเครื่องหมายการค้า ทะเบียนเลขที่ ค198773 และสำเนาเอกสารความแพร่หลายของเครื่องหมายการค้าของบริษัทไปพร้อมกับโนติ๊ส พร้อมอธิบายโลโก้ของบริษัท ประกอบด้วย 2 ภาคส่วน คือภาคส่วนแรกเป็นลวดลายเส้นในลักษณะประดิษฐ์เป็นลายเส้นมุมฉากลบมุมสองเส้น วางประกบกันด้านบนและล่าง และมีช่องว่างระหว่างเส้นทั้งสอง โดยเส้นที่อยู่ด้านซ้ายมือมีการลากเส้นยาวขึ้นด้านบนมีลักษณะคล้ายตัวอักษรโรมัน b ประดิษฐ์ และภาคส่วนที่สองเป็นคำอักษรโรมันคำว่า bowling รวมเรียกขานได้ว่า บี หรือ บี โบลิ่ง และสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้รับการจดทะเบียนโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2546 และเป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่สาธารณชนผู้บริโภคทั่วไปแล้ว

ดังนั้น ตราสัญลักษณ์สำหรับผู้ชนะการประกวดออกแบบโลโก้สถานีโทรทัศน์แห่งชาติ ซึ่งได้แนวความคิดจากสัญลักษณ์ของกรมประชาสัมพันธ์ที่เป็นรูปพระอินทร์เป่าสังข์ เหตุผลที่คณะกรรมการเลือกเพราะเห็นว่ามีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือสามารถสื่อความหมายว่าเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ มีเอกลักษณ์ที่แฝงความเป็นไทย จดจำง่ายและเด่นชัด รวมทั้งสามารถนำไปปรับใช้กับงานในหลายลักษณะ เช่น งานกราฟิกบนหน้าจอโทรทัศน์ นามบัตร ซองจดหมาย เป็นต้น แต่ว่าวิกฤติการณ์ทางการเมืองไทย ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ จึงทำให้เกิดอาการอ้างการว่าลอกแบบโลโก้โบวลิ่งดังกล่าว และความทันสมัยของตราสัญลักษณ์ คือ เครื่องหมายช่วยสื่อกับคนไทย-นานาชาติ ที่มีการช่วงชิงตราสัญลักษณ์มารับใช้พรรคการเมือง ทั้งการสร้างแบรนด์ของช่อง11 และสร้างภาพลักษณ์ทางการเมืองของพรรคการเมืองไปในตัวเอง ในภาวะทีวีไทยอยู่ในวิกฤติการณ์ความขัดแย้งจากสื่อมวลชน-กลุ่มการเมือง และประชาชนทั่วไป

วิเคราะห์ตราสัญลักษณ์กับความเป็นไทยในโลกาภิวัตน์

จากสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน ล่าสุดการเปลี่ยนแปลงของสื่อกลุ่มPTV-ความจริงวันนี้ และ D-Station หรือปัญหาเสื้อเหลือง-เสื้อแดง มาถึงกรณีตราสัญลักษณ์ช่อง 11 หรือ NBT ที่มีปัญหาต่อโลโก้โบวลิ่ง แสดงออกความแตกต่างจากกรณีตัวอย่างของตราสัญลักษณ์ช่องอื่นๆ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าตราสัญลักษณ์ของทีวีไทย เป็นศิลปะและการออกแบบที่เป็นเรื่องใกล้ตัว เชื่อมโยงกับวัฒนธรรม ก็คือ การมีสำนึกอยู่ตลอดเวลาว่าสำนึกนั้นอาจไม่ใช่ของเราเอง แต่เป็นสิ่งที่สร้างหรือกระตุ้นกันขึ้นมาได้ ในเมื่อสิ่งเหล่านี้มีความหมายแทนตัวตน ผู้คนจึงไม่อาจแน่ใจว่า อัตลักษณ์ของเขาเองนั้นเป็นผลของการชักใย[iii]โดยอำนาจที่มองไม่เห็นชัดเจน คล้ายกับที่รัฐบาลสมัยนายกรัฐมนตรีสมัคร เสนอเรื่องมือที่มองไม่เห็นทำร้ายรัฐบาล ซึ่งการออกแบบตราสัญลักษณ์ช่อง11 ก็คือ มือถือหอยสังข์ และการออกแบบตราสัญลักษณ์ ก็เหมือนกับแผนที่ ซึ่งเสนอความเป็นตราสัญลักษณ์(Logo) สร้างจินตนาการความเป็นไทยของแผนที่[iv]ซึ่งตราสัญลักษณ์ของทีวีช่อง 3-7-5 และตราสัญลักษณ์ช่อง 9,ไทยพีบีเอส,ช่อง 11 ก็เป็นการสร้างจินตกรรมเชื่อมโยงคน ที่มีการดูช่องทีวี คือ องค์ประกอบของวัฒนธรรมทางสายตาอยู่รอบตัวเราในชีวิตประจำวัน

ทัศนะของผู้ชมทีวี ต่อกรณี ITV เปลี่ยนเป็น TPBS ด้วย จากการเปลี่ยนรูป ITV เป็น TITV ก่อนเป็น TPBS ที่เป็นรูปพิราบสะท้อนแนวทางเสรีนิยมแบบวิชาชีพสื่อสารมวลชน แต่เสียงอินเทอร์ลูดเข้ารายการเป็นเสียงเอื้อนแบบไทยๆ แถมนกเป็นลายกนก และช่อง 9 อสมท. เปลี่ยนจากแท่งสามสี กลายเป็น สีม่วงแกมขาว สะท้อนแนวคิดเปลี่ยนจากอำมาตยาธิปไตย เป็นเสรีนิยมใหม่แบบทักษิโนมิกส์(ระบอบทักษิณ)ในยุคที่มีการปฏิรูปช่อง 9 เป็น Modern 9 ส่วน ASTV สะท้อนความเป็นไทยแบบอนุรักษ์นิยมใหม่ แต่มีภาษาอังกฤษเพื่อหาที่ยืนในโลก กรณีทางด้านส่วน PTV เปลี่ยนมาเป็น D-Station เป็นแบบ เสรีนิยมใหม่ และแนวพวกฝ่ายซ้าย( Radical)[v]

โดยเรื่องตราสัญลักษณ์ สะท้อนทัศนคติของคณะกรรมการคัดเลือกตราสัญลักษณ์ มาจากโจทย์ที่กำหนดขึ้นเกี่ยวข้องความเป็นไทย ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองไทย
[vi]
และเหตุการณ์ตอนที่พระอินทร์เป่าสังข์นั้น ซึ่งรูปพระอินทร์เป่าสังข์เหาะลอยอยู่เหนือเมฆ มีวงกลมล้อมรอบ โดยอิงตามคติในวรรณคดีโบราณว่า พระอินทร์มีหน้าที่เป่าสังข์ชื่อ “ปาญจนันท์” ปลุกพระนารายณ์ให้ตื่นจากบรรทมสินธุ์ในสะดือทะเล เพื่อขึ้นมา

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker