โดย สันติ ธรรมประชา
29 มิถุนายน 2552
รัฐไทยภายใต้ รัฐบาลประชาธิปัตย์ ได้บริหารประเทศท่ามกลางวิฤตการจ้างงานปัจจุบัน และมีนโยบายด้านแรงงานอย่างไร้วิสัยทัศน์ กลับแก้ปัญหาเฉพะหน้าหรือเพื่อเพียงให้ผ่านไปวันๆ โดยงบประมาณประชาสัมพันธ์โฆษณษสร้างภาพที่ให้ดูดีให้ชอบธรรม และอาจไม่ถึงผู้ใช้แรงงานที่เดือดร้อนมากๆด้วย เช่น นโยบายให้เงิน 2000 บาทแก่ผู้ประกันตน โครงการฝึกอาชีพต่างๆ ฯลฯ
นับตั้งแต่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในสถานการณ์ปัจจุบัน ทำให้นายทุน บริษัท นายจ้างต่างๆได้ฉวยโอกาสที่จะลดต้นทุนการผลิตในหลายๆด้าน ที่สำคัญยังได้ฉวยโอกาสใช้กลยุทธ์การทำลายล้างสหภาพแรงงาน ด้วยเช่นกัน
สหภาพแรงงานนั้น ถือเป็นสิทธิการรวมกลุ่มของผู้ใช้แรงงาน ในระบอบประชาธิปไตย เป็นไปตามหลักการสิทธิมนุษยชนสากล สหภาพแรงงาน เป็นการรวมกลุ่มของผู้ใช้แรงงานในการปกป้องสิทธิพื้นฐานและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
แต่นายทุนกลับมองว่า สหภาพแรงงานเป็นเสมือนปีศาจที่คอยหลอกหลอนนายทุน
เป็นอุปสรรคสำคัญในการหากำไรตามอำเภอใจของนายทุน ที่จะแบ่งปันกำไรอย่างใดก็ได้ โดยไม่มีสหภาพใช้อำนาจต่อรองเพื่อผู้ใช้แรงงาน
บริษัทนายทุนจำนวนไม่น้อย มักจะใช้วิธีการประกาศเลิกจ้างพนักงานบางส่วนหรือทั้งหมด ลดสวัสดิการต่างๆ อ้างว่าบริษัทจะอยู่ไม่ได้ พนักงานที่ถูกเลิกจ้างก่อนอื่นใครก็มักเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน สมาชิกสหภาพแรงงาน หรือพนักงานที่ตระหนักถึงสิทธิคนงาน
ขณะที่บริษัทต่างๆ ก็มักไม่เคยเปิดเผยข้อมูลผลต่างๆให้พนักงานในฐานะผู้ใช้แรงงานสร้างผลิตภัณต่างๆให้บริษัท คนงานไม่สามารถเข้าถึงข้อมูล ไม่มีความโปร่งใส แต่บริษัทมักอ้างว่าขาดทุน จะมีการตกแต่งตัวเลขหรือไม่ ก็เป็นไปได้ทั้งนั้น
ไม่ว่าจะขาดทุนจริงหรือไม่ น้อยมากที่บริษัทจะคิดถึงการลดเงินเดือนของผู้บริหารระดับสูง ระดับกลาง แต่กลับโยนภาระให้กับพนักงงานระดับฐานการผลิตอยู่เสมอ ทั้งๆที่หลายบริษัทพนักงานระดับสูงมีเงินเดือนมากกว่าพนักงานฐานการผลิตนับสิบเท่าหรือมากกว่านั้น
กล่าวได้ว่า มีนายทุนจำนวนมาก ใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จรวมศุนย์ ไม่ต่างกับวิธีคิดของพวกของอำมาตยาธิปไตยแต่อย่างใด ไม่ว่าจะผิดหรือถูกกฎหมายก็ตาม นายทุนไม่น้อยหาได้มีสำนึกเสรีอย่างที่ควรจะเป็น
ผู้ใช้แรงงานไม่มีส่วนร่วม ไม่มีตัวแทน ไม่มีอำนาจเข้าไปประชุมกับผู้บริหารบริษัทแต่อย่างใด เพื่อหาทางออกที่เหมาะสม
ขณะที่ ด้านรัฐไทยก็เหมือนรัฐต่างๆส่วนใหญ่ทั่วโลก มักไม่มีมาตราจัดการกับบริษัทนายทุนอย่างชัดเจน แต่กลับเอื้อประโยยชน์ให้กับบริษัท นายทุน ในหลายวิธีการ ทั้งทางกฎหมายและนอกกฎหมาย รัฐไทยกลับทำหน้าที่รับใช้นายทุนมากกว่าผู้ใช้แรงงาน
รัฐไทยภายใต้ รัฐบาลประชาธิปัตย์ ได้บริหารประเทศท่ามกลางวิฤตการจ้างงานปัจจุบัน และมีนโยบายด้านแรงงานอย่างไร้วิสัยทัศน์ กลับแก้ปัญหาเฉพะหน้าหรือเพื่อเพียงให้ผ่านไปวันๆ โดยงบประมาณประชาสัมพันธ์โฆษณษสร้างภาพที่ให้ดูดีให้ชอบธรรม และอาจไม่ถึงผู้ใช้แรงงานที่เดือดร้อนมากๆด้วย เช่น นโยบายให้เงิน 2000 บาทแก่ผู้ประกันตน โครงการฝึกอาชีพต่างๆ ฯลฯ
รัฐไทย มักใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จรวมศูนย์ เป็นวิธีคิดของพวกของอำมาตยาธิปไตย จากบนสู่ล่าง ดูถูกผู้ใช้แรงงานว่าไม่มีความรู้พอที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของพวกเขา
ผู้ใช้แรงานไม่มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายกับภาครัฐแต่อย่างใด
สองสามวันที่ผ่านมา สหภาพแรงงานไทรอัมพ์และสมาชิกได้ชุมนุมเนื่องจาก บริษัทเลิกจ้าง1,930คน เพราะขาดทุน
ขอให้เปิดเผยข้อมูลและปฎิบัติตามcode of conduct เปิดทางให้มีส่วนร่วมดูแลคนงาน
นางสาววันเพ็ญ วงษ์สมบัติ ประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ กล่าวว่า บริษัทฯมีแผนการเลิกจ้างคนงานทั้งหมด 1,930 คน ครึ่งหนึ่งของพนักงานที่มีร่วม 4,000 คน ที่เป็นคนงานที่บางพลี ทั้งนี้คนงานกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นคนงานที่เข้าร่วมต่อสู้กรณีน.ส.จิตรา คชเดช อดีตประธานสหภาพแรงงานฯที่ถูกเลิกจ้างครั้งที่แล้ว
การเลิกจ้างครั้งนี้บริษัทฯได้อ้างว่าขาดทุน ไม่มีออร์เดอร์ แต่เราเชื่อว่าไม่ได้เกิดจากกการขาดทุน เนื่องจากที่ผ่านมาพนักงานมีการทำงานล่วงเวลา อีกทั้งบริษัทไม่เคยชี้แจงถึงสถานการณ์ที่บริษัทได้รับผลกระทบ และไม่มีมาตรการใดๆในเรื่องของการประหยัด และ การขจัดการคอรัปชั่น
ดังนั้นสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ จึงขอให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลของบริษัทอย่างโปร่งใส และเคารพสิทธิแรงงาน ในการมีส่วนร่วมที่มีผลกระทบต่อพนักงาน โดยขณะนี้สหภาพแรงงานไทร์อัมพ์ฯไม่สามารถยอมรับการอ้างภาวะขาดทุน ไม่มีออเดอร์ จึงควรเปิดเผยข้อมูล และเปิดโอกาสให้สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯเพื่อลดความตึงเครียด และขจัดข้อขัดแย้ง
ทั้งนี้ การเลิกจ้างคนงานจำนวนมาก ควรที่จะมีมาตรการต่างๆ เพื่อลดผลกระทบต่อคนงานที่จะต้องอยู่ต่อไป ทั้งนี้เรียกร้องให้บริษัทยอมรับสหภาพแรงงานฯและสามารถมีบทบาทในการดูแลเพื่อนพนักงานได้ต่อไป
น.ส.วันเพ็ญ กล่าวอีกว่าพนักงานต้องการรับฟังเหตุผลในการบอกเลิกจ้างพนักงาน ข้อมูล ผลประกอบการที่เป็นจริงอย่างโปร่งใส ที่หากมีความจำเป็นในการเลิกจ้าง ทุกฝ่ายควรที่จะลดผลกระทบต่อพนักงาน โดยให้เป็นการสมัครใจออก หรือให้ค่าชดเชยสูงกว่ากฎหมายกำหนด และเงินช่วยเหลือที่จะเป็นเงินก้อนสุดท้ายที่จะนำไปใช้ประกอบอาชีพอื่น ทั้งนี้คนงานส่วนใหญ่มีอายุมาก โอกาสหางานใหม่ได้ยาก
ดังนั้น กรณีการเลิกจ้างพนักงงานไทรอัมพ์ ย่อมสะท้อนให้เห็นถึงการฉวยโอกาสของนายทุนหรือไม่? นโยบายของรัฐบาลแก้ไขปัญหาของผู้ใช้แรงงานไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงและไร้วิสัยทัศน์
ที่สำคัญทั้งนายทุนและรัฐบาลยังใช้วิธีคิดแบบอำมาตยาธิปไตย ไม่ฟังเสียงผู้ใช้แรงงานและไม่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้แรงงานมีส่วนร่วมแต่อย่างใด
ผู้ใช้แรงงานจึงต้องลุกขึ้นสู้ เพื่อสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของพวกเขา