โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
25 กุมภาพันธ์ 2553
เพื่อมาตุภูมิ-จดหมายข่าวแดงออสเตรเลีัย แจ้งว่าเมื่อ21กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กลุ่มTHAI RED AUSTRALIAได้ร่วมประชุมหารือกับRED SHIRT INTERNATIONAL ORGANIZATION เป็นครั้งแรก โดยมีตัวแทนเสื้อแดงไทยในหลายประเทศเข้าร่วมประชุม เช่น อังกฤษ อเมริกา ญี่ปุ่น เดนมาร์ค เป็นต้น (คลิ้กดูที่ภาพเพื่อขยายใหญ่)
หมายเหตุไทยอีนิวส์:หลังจากนปช.USAได้ออกแถลงการณ์ฉบับหนึ่งเพื่อจัดตั้งองค์กรเสื้อแดงระหว่างประเทศ โดยเชิญชวนคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศทั่วโลก และคนไทยในประเทศผนึกกำลังเข้าเป็นสมาชิกเพื่อประสานงานเคลื่อนไหวอย่างทรงพลัง โดยเฉพาะบางประเด็นที่เคลื่อนไหวภายในประเทศไทยไม่ได้ เนื่องจากข้อจำกัดทางกฎหมาย ล่าสุดได้เปิดเผยความคืบหน้าว่ามีคนไทยทั่วทุกมุมโลกเข้าร่วมเป็นสมาชิก
แถลงการการจัดตั้งองค์กรเสื้อแดงระหว่างประเทศ
RED SHIRT INTERNATIONAL ORGANIZATION (RSIO)
หลักการและเหตุผล
การเคลื่อนไหวเพื่อ ต่อต้านการทำรัฐประหารของประชาชนผู้รักประชาธิปไตยในประเทศไทย และต่างประเทศ ภายหลังวันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนา และเติบโต เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายหลังเหตุการณ์ การสลายการชุมนุม ในช่วงเดือนเมษายน ที่ผ่านมา มีเว็บไซต์เสื้อแดง วิทยุชุมชน และสื่อต่างๆ ของฝ่ายเสื้อแดง เกิดขึ้นอย่างไม่อาจหยุดยั้งได้ โดยการเกิดขึ้นของสื่อต่างๆ เหล่านี้ ล้วนเกิดขึ้นมาจากความตั้งใจ และการจัดตั้งกันเอง ด้วยความสมัครใจ ด้วยงบประมาณส่วนตัวของกลุ่มคนเหล่านั้น
ที่ผ่านมาการเคลื่อน ไหวของประชาชนในประเทศไทย ไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ อันเนื่องจากมีกฎหมายบางมาตราควบคุมอยู่ และมีบทลงโทษที่รุนแรง ดังนั้น จึงทำให้การเคลื่อนไหวเพื่อการเผยแพร่ข้อเท็จจริงบางอย่าง ไม่สามารถที่จะนำเสนอได้อย่างอิสระ เป็นผลทำให้ประชาชนส่วนหนึ่ง ยังคงมีความคิด ความเชื่อ และเข้าใจในด้านการเมืองการปกครองของไทยผิดไปจากความเป็นจริง อันนำมาสู่ความด้อยพัฒนา ของระบอบประชาธิปไตยของไทย และจะยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป หากประชาชนไทยส่วนใหญ่ ยังคงไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่แท้จริงได้
การสร้างความ เข้าใจในที่มาที่ไปของระบอบประชาธิปไตยในเมืองไทย และระบอบศักดินาของไทย ที่เป็นตัวปัญหาต่อความล้าหลังของประชาธิปไตยในเมืองไทย จึงเป็นสิ่งสำคัญ เราเองมีบุคลากรที่ได้เสียสละเวลา และอิสระภาพของตนเอง ผลิตชิ้นงานเพื่อเผยแพร่แนวคิดด้านประชาธิปไตยที่ถูกต้อง อยู่มากมายหลายท่าน ทั้งที่เคลื่อนไหวอยู่ในประเทศไทยเอง และอยู่ในต่างประเทศ และมีสื่อเพียงไม่กี่กลุ่ม ที่กล้าจะนำเสนอความจริง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มคนไทยที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศทั้งนั้น
เมื่อการเคลื่อนไหว ภายในประเทศไทย ในการเผยแพร่ข้อมูลด้านประชาธิปไตยเป็นไปได้ยาก ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องอาศัยพลังมวลชนชาวไทย ที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศเป็นตัวขับเคลื่อนการเผยแพร่ความรู้ดังกล่าว ซึ่งปัจจุบัน มีคนไทยที่รักประชาธิปไตยฝ่ายเสื้อแดง กระจัดกระจายอยู่หลายประเทศทั่วโลก ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ เราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีศูนย์กลางของคนไทยเสื้อแดงทั่วโลก เพื่อการเคลื่อนไหวอย่างเป็นเอกภาพต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ
เพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูล (Information Center) ของคนไทยเสื้อแดง ที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ และเพื่อสร้างความเข้มแข็ง เป็นปึกแผ่น ของคนไทยเสื้อแดงผู้รักประชาธิปไตยในต่างแดน
เป้าหมายของโครงการ
1. เป็นศูนย์กลางการกระจายข้อมูลข่าวสารด้านประชาธิปไตย ที่ไม่สามารถเผยแพร่ได้ในประเทศไทย ให้กับคนไทยในประเทศไทย โดยคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศ
2. เป็นศูนย์กลางข้อมูลคนไทยในต่างประเทศ เพื่อการจัดตั้งกลุ่มคนไทยเสื้อแดงในประเทศต่างๆ อย่างเป็นระบบ และมีพลัง
วิธีดำเนินการ
1. จัดทำฐานข้อมูลคนไทยในประเทศต่างๆ โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านทางเว็บไซต์ และสื่อเสื้อแดงเท่าที่มี เพื่อรวบรวมรายชื่อคนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศต่างๆ เข้าด้วยกัน จากนั้นประสานงานให้กลุ่มคนไทยที่อยู่ในพื้นที่ใกล้กัน ได้พบกันและทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่วมกัน
2. สนับสนุนให้เกิดกลุ่มคนไทยที่รวมตัวกันได้แล้ว จัดตั้งเป็นองค์กร อย่างเป็นรูปธรรม และประกาศประชาสัมพันธ์ให้คนไทยทั่วโลกได้รับรู้ถึงการเติบโตของกลุ่มนั้นๆ
3. ดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลด้านประชาธิปไตย โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ของคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศ ซึ่งไม่ได้ถูกปิดกั้นด้วยกฎหมายบางมาตราเหมือนกับประเทศไทย
ระยะเวลาในการดำเนินการ
สามารถเริ่มดำเนินการได้ทันที จนกว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศไทย และแม้ว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้ว เราก็จะยังคงองค์กรนี้ต่อไป เพื่อรองรับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ทีมงาน นปช.ยูเอสเอ โดย คุณวูดไซด์ นิวยอร์ก
ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. มีการจัดตั้งกลุ่มเสื้อแดงในแต่ละประเทศ อย่างมีทิศทาง และเป็นระบบ เพื่อเป็นพลังตัวแทนของคนเสื้อแดงในประเทศไทย ในกรณีที่คนเสื้อแดงในประเทศไทยถูกคุกคาม
2. มีการเผยแพร่ความรู้ด้านประชาธิปไตยให้กับประชาชนอย่างแพร่ หลายมากขึ้น ในแง่มุมที่ไม่สามารถนำเสนอได้ในเมืองไทย
3. เกิดการเปลี่ยนแปลง.. ด้วยความเข้าใจ และมั่นคง โดยมวลชนเสื้อแดง ที่มีความเข้าใจ และมีความต้องการการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง
จึงเรียนมาให้ทราบโดยทั่วกัน
ทีมงาน นปช.ยูเอสเอ
** สำหรับผู้ที่สนใจจะเข้าร่วมองค์กร RSIO สามารถอีเมล์มาสมัครได้ที่ RSIO@norporchorusa.com (กรุณาแจ้ง รัฐ จังหวัด หรือเมือง และประเทศที่ท่านอาศัยอยู่ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการจัดกลุ่มเพื่อดำเนินการปฏิบัติการต่อไป)
ปัจจุบันมีคนไทยทั่วทุกมุมโลกเข้าร่วมองค์กรRSIOแล้วดังนี้
ALL COUNTRIES
01. Australia Canberra, Minto, Sydney
02. Cambodia
03. Canada
04. Denmark Copenhagen
05. France lille (Nord pas de calais)
06. Germany (Frankfurt, Munich, Hannover, Bad-Bergzabern)
07. Greece Athens
08. Hong Kong
09. Japan
10. Laows
11. Netherlands (Netherlands)
12. New Zealand (Queenstow)
13. Norway Sanvika, longyearbyen Svalbard
14. Sweden stockholm
15. Switzerland
16. Turkey
17. United Kingdom Sussex
18. Unites State*
19. Viet Nam
20. Maldives
21. Cyprus (Nicosia)
22. Canada
23. Saudi Arabia
24. China (Nanning, GuangXi)
25. India (New Delhi)
26. U.A.E. (Abu Dhabi)
27. Fiji (Suva)
28. Greenland (NUUK) 2010-02-19
UNITED STATE
01. California (San Francisco, Santa Rosa, Long Beach, San Diego, Rialto)
02. Colorado (Highlands ranch)
03. Kansas
04. Massachusetts New Bedford
05. Mississippi
06. Missouri
07. New York (Bayside, Queens)
08. Washington (Seattle)
09. Florida Tampa
10. Nevada Las Vegas
11. Texas Dallas-Fort Worth
12. Illinois Chicago
13. Washington DC
14. Wisconsin Milwaukee
15. Michigan
16. New Mexico
17. Arizona Kingman
18. Oklahoma Oklahoma City
19. Minnesota Worthington
CANADA
01. Alberta (Edmonton)
02. British Columbia (Vancouver)
03. Ontario (Toronto) 2010-02-19
THAILAND
ภาคกลาง 12 of 22
01. กรุงเทพฯ
02. กำแพงเพชร
03. นครสวรรค์
04. นนทบุรี
05. ปทุมธานี
06. พิษณุโลก
07. ลพบุรี
08. สมุทรปราการ
09. สมุทรสงคราม
10. สระบุรี
11. สิงห์บุรี
12. อยุธยา
ภาคอีสาน 8 of 19
01. เลย
02. หนองคาย
03. โคราช
04. ขอนแก่น
05. หนองบัวลำภู
06. สกลนคร
07. อุบลราชธานี (2010-02-18)
08. ชัยภูมิ (2010-02-18)
ภาคใต้ 4 of 14
01. นครศรีธรรมราช
02. ภูเก็ต
03. สงขลา
04. สุราษฎร์ธานี
ภาคตะวันตก 1 of 5
01. ราชบุรี
ภาคเหนือ 5 of 9
01. เชียงใหม่
02. เชียงราย
03. พะเยา
04. ลำปาง
05. ตาก
ภาคตะวันออก 4 of 6
01. จันทบุรี
02. ชลบุรี
03. ปราจีนบุรี
04. ระยอง