บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คำพิพากษาประวัติศาสตร์คดียึดทรัพย์

ที่มา ไทยรัฐ

องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อ่านคำพิพากษาคดีประวัติศาสตร์ ยึดทรัพย์พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทั้งหมดมีดังนี้...

ผู้สื่อข่าวรายงานวันที่ 26 ก.พ.ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองศาลฟังคำพิพากษาในคดีที่อัยการสูงสุด เป็นผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยึดทรัพย์ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว จำนวน 76,621,603 ล้านบาทเศษ ตกเป็นของแผ่นดิน ตามรัฐธรรมนูญปี 40 มาตรา 110,208,209,291,292 พรบ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี ปี43 มาตรา4,5,6 ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. พ.ศ.2542 มาตรา 32,33,100และป.อาญามาตรา 119,122 กรณีถูกกล่าวหาว่า มีผลประโยชน์เป็นทรัพย์สิน เนื่องจากการกระทำที่เป็นการขัดกัน ระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคล และประโยชน์ส่วนรวม และได้มาโดยไม่สมควร เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ อันเป็นการรร่ำรวยผิดปกติ คือ เป็นจำนวนกว่าร้อยละ 48 ของหุ้นที่จำหน่ายได้ ที่พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง โดยปกปิดอำพรางไว้ในชื่อนายพานทองแท้ น.ส.พินทองทา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์

โดยขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปฯ จำนวน 1,419,490,150 หุ้น ให้กับกลุ่มเทมาเส็ก สิงคโปร์ โดยมีบริษัทซีดาร์โฮลดิ้งส์ จำกัด และบริษัทแอสแพนโฮลดิ้ง จำกัด คดีมีผู้ร้องคัดค้านว่าทรัพย์สินไม่ควรตกเป็นของแผ่นดิน 23 ราย ต่อมา คตส.เพิกการอายัดไป 4 ราย ปัจจุบันได้อายัดไว้ 16 รายการ รรวม68,000ล้านบาท ส่วนขาดอยู่หากพิพากษาให้ยึดทั้งหมดต้องมีหมายบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินที่มีอยู่ยังไม่เคยถูกอายัดเช่นบ้าน ที่ดิน รถยนต์ เครื่องบิน เป็นต้น

บรรยากาศก่อนฟังคำพิพากษา ตั้งแต่ ช่วงเช้าเวลา 04.00 น. ศาลฎีกา อนุญาตให้รถถ่ายทอดสัญญาณ โทรทัศน์เข้าในศาล โดยผ่านการตรวจค้น มีตำรวจ ทหาร ทั้งในและนอกเครื่องแบบ ตำรวจปราบจลาจล มีอาวุธโล่ กระบอก เตรียมพร้อมราว 150 นาย ในบริเวณภายในศาล มีรถวิทยุ191 และ บก.น.1 ,บก.น.6 และหน่วยอื่นๆ อีกราว 300 นาย ตำรวจมีการจัดวางกำลังโดยแบ่งหน่วยงานมีที่สังเกตคือผ้าพันคอสีต่างกัน มีตำรวจเก็บกู้วัตถุระเบิด และ ด้านหน้าศาล ถนนราชดำเนินใน ถนนหน้าหับเผย ถนนราชินี มีจุดตรวจสามจุด และ มีการปิดถนนบางส่วน รวมทั้งหน่วยตัดสัญญานโทรศัพท์ป้องกันการจุดระเบิดด้วยสัญญาณโทรศัพท์

ที่สนามหลวงตรงข้ามศาล มีเวทีของกลุ่มแดงสยาม เริ่มทยอยมาจับจองที่นั่งในสนามหลวงอย่างคึกคึก ที่หน้าอาคารศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ มีรปภ.ศาล 20 นาย ตั้งโต๊ะตรวจค้นผู้ที่เข้านั่งฝั่ง ส่วนสื่อมวลชนที่ลงทะเบียนไว้ ศาลจะอนุญาตให้เข้าฟังการพิพากษาในห้องพิจารณาได้ คุ้มกันองค์คณะระดับวีไอพี.

ต่อมาเวลา 07.30 น. องค์คณะผู้พิพากษาประกอบด้วย นายสมศักดิ์ เนตรมัย ผู้พิพากษาอาวุโสศาลฎีกา ในฐานะเจ้าของสำนวน นายธานิศ เกศวพิทักษ์ ประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลฎีกา, นายพิทักษ์ คงจันทร์ ประธานแผนกคดีเลือกตั้งในศาลฎีกา, นายพงศ์เทพ ศิริพงศ์ติกานนท์ ผู้พิพากษาอาวุโส ในศาลฎีกา ,นายอดิศักดิ์ ทิมมาศย์ ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา, ม.ล.ฤทธิเทพ เทวกุล ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา, นายประทีป เฉลิมภัทรกุล ประธานแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลฎีกา, นายกำพล ภู่สุดแสวง ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา และ นายไพโรจน์ วายุภาพ รองประธานศาลฎีกาได้เดินทางมาถึงศาลฎีกา โดยรถแลนด์โรเวอร์สีดำกันกระสุน ในรถแต่ละคันมีตำรวจประกบภายในรถ จากนั้นองค์คณะได้เข้าห้องประชุมใหญ่ เพื่อนำคำพิพากษาส่วนตัวที่วินิจฉัยแล้วทุกประเด็น มาพิจารณาร่วมกัน ในเวลา 08.00น. ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ โอนหุ้นชินคอร์ป บริษัท แอมเพิลริช บริษัท วินมาร์ค ให้แก่บุตร โดยตนยังมีอำนาจบริหารงานดังเดิม แล้วทำทีขายหุ้นไปแก่กลุ่มเทมาเส็ก เพื่อเอื้อประโยชน์แก่บริษัทในเครือ ขณะดำรงตำแหน่งจริงหรือไม่ อันเป็นประเด็นรวม 5 ข้อ เช่น แก้ไขสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิตเพื่อช่วยบริษัทโทรคมนาคมในเครือ การปรับลดค่าสัปทานสัญญาณโรมมิ่งเพื่อประโยชน์เอไอเอส มีการอนุมัติเงินเอ็กซิมแบงก์ ในอัตราดอกเบี้ยต่ำแก่พม่า เพื่อนำมาซื้อสินค้าในบริษัทเครือชินคอร์ป หากได้ประเด็นที่เป็นเสียงข้างมากตรงกัน ก็จะร่วมกันทำคำพิพากษากลาง ก่อนนำไปอ่านในเวลา13.30น.

ฟ้องแสวงหาประโยชน์จากตำแหน่ง

ต่อมาเวลา13.30น. องค์คณะทั้ง 9 นาย ออกนั่งบัลลังก์ โดยอนุญาตให้สื่อมวลชนถ่ายรูป แล้วพร้อมกันมีคำพิพากษาว่า คดีนี้ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) มีหนังสือถึงอัยการสูงสุดแจ้งว่า คตส. ทราบว่า ระหว่างเดือนก.พ.43 ถึงมี.ค.48 ขณะพ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ถูกกล่าวหา เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 กับเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายมีอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ได้กระทำการปกปิดการถือหุ้นบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,149,490,150 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 48 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด โดยที่ผู้ถูกกล่าวหาและคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง ของ บ.ในเครือ เช่น บ.แอมเพิลริช บ.วินมาร์ค จำกัด แต่ใช้ชื่อนายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย ถือหุ้นแทนจำนวน 458,550,000 หุ้น น.ส.พินทองทา ชินวัตร บุตรสาว ถือหุ้นแทนจำนวน 604,600,000 หุ้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาว ถือหุ้นแทนจำนวน 20,000,000 หุ้น และ นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายบุญธรรมคุณหญิงพจมาน ถือหุ้นแทนจำนวน 336,340,150 หุ้น โดยไม่ได้โอนหุ้นกันอย่างแท้จริง และไม่ได้แสดงรายการทรัพย์สินก่อนและหลังดำรงตำแหน่ง แก่ ปปช.

ต่อมาบริษัท ชินคอร์ป เป็นบริษัทได้รับสัมปทานกิจการดาวเทียม โทรศัพท์ และโทรคมนาคมต่างๆ จากรัฐ ได้ขายหุ้นแก่เทมาเส็ก แต่ก็ยังจ่ายเงินปันผลแก่ผู้คัดค้าน 76,621,603 บาท ซึ่งเป็นการมีประโยชน์ขัดกันระหว่างประโยชน์ตนกับประโยชน์ส่วนรวม ฝ่าผืนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540, พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 และ พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. พ.ศ.2542 ม.32, 33 และ 100 ซึ่งมีความผิดอาญา ม.119 และ 122 แสวงหาประโยชน์โดยอาศัยตำแหน่ง ในระหว่างที่ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ สั่งการ มอบนโยบาย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐภายใต้บังคับบัญชา หรือกำกับดูแลของผู้ถูกล่าวหากระทำการที่เป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัท ชินคอร์ปฯ และบริษัทในเครือเป็นจำนวนมาก คือ

1.กรณีแปลงค่าสัมปทานเป็นค่าภาษีสรรพสามิต โดยมีการตรา พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 พ.ศ.2546 ซึ่งกรณีดังกล่าวทำให้มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากกิจการโทรคมนาคม โดยให้นำค่าสัมปทานมาหักกับภาษีสรรพสามิต อันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับกิจการของผู้ถูกกล่าวหาและพวกพ้อง อีกทั้งยังมีการกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 20 - 50 ทำให้ผู้ประกอบการรายใหม่ต้องรับภาระมากขึ้น ในขณะที่ผู้ประกอบการรายเดิมมีสิทธินำค่าสัมปทานไปหักจากภาษีของตนได้ พฤติกรรมของผู้ถูกกล่าวหา จึงเป็นกีดกันระบบโทรคมนาคมเสรีอย่างแท้จริง ทำให้ไม่มีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาประกอบกิจการแข่งขันกับบริษัทเอไอเอส อีกทั้งจัดกระทรวงเทคโนโลยี เพื่อรองรับกิจการของตนและพวกพ้อง เป็นการบิดเบือนใช้อำนาจนิติบัญญัติเอื้อประโยชน์ให้เอไอเอส ทำให้รายได้รัฐลดลง และให้ต่างชาติมีส่วนถือหุ้นสูงขึ้น เพื่อจะได้ขายหุ้นตนได้ราคาสูงขึ้น

2.กรณีการแก้ไขสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ลงวันที่ 27 มี.ค.33 (ครั้งที่ 6 ) เมื่อวันที่ 15 พ.ค.44 ปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า ให้กับบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส ปี 42 จากการจัดทำข้อตกลงต่อท้ายสัญญา (ครั้งที่ 6 )ดังกล่าวส่งผลให้บริษัทเอไอเอส จ่ายส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า ให้แก่ บริษัท ทศทฯ ในอัตรา ร้อยละ 20 คงที่ตลอดอายุสัญญาสัมปทานตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.44 จากเดิมที่ต้องจ่ายตามสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นแบบก้าวหน้าในอัตรา 25 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.43 - 30 ก.ย.48 และในอัตรา 30 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ 1 ต.ค.48 - 30 ก.ย.48 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ส่งผลให้เอไอเอสได้ประโยชน์ทางธุรกิจโดย กสท.และ ประชาชนไม่ได้ประโยชน์โดยตรง ส่งผลเสียหายในอนาคต 5, 000 ล้านบาท

3.กรณีการแก้ไขสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ฉบับลงวันที่ 27 มี.ค. 33 (ครั้งที่ 7) เมื่อวันที่ 20 ก.ย.45 เพื่ออนุญาตให้ใช้เครือข่ายร่วมหรือ “โรมมิ่ง” และให้หักค่าใช้จ่ายจากรายรับ และกรณีการปรับลดอัตราค่าใช้เครือข่ายรวม เช่น บ.ดีพีซี. เป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัท ชินคอร์ปฯ และบริษัท เอไอเอส การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาที่ให้บริษัท เอไอเอส เข้าไปใช้เครือข่ายร่วมผู้ให้บริการรายอื่นมีผลต่อการจ่ายเงินผลประโยชน์ที่บริษัท เอไอเอส ต้องจ่ายให้กับ บริษัท ทศท. และบริษัท กสท.ไม่น้อยกว่า 18,970,579,711 บาท กลายเป็น บริษัท เอไอเอส จะได้รับผลประโยชน์ที่ไม่ต้องจ่ายเงินจำนวนดังกล่าว ซึ่งบริษัทชินคอร์ปฯ ที่ผู้ถูกกล่าวหาถือหุ้นเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท เอไอเอส ดังนั้น ผลประโยชน์ที่บริษัท เอไอเอส ได้รับดังกล่าว จึงตกกับหุ้นบริษัท ชินคอร์ปฯ ที่ผู้ถูกกล่าวหาถือในระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นเหตุให้หุ้นมีมูลค่าจนกระทั่งได้มีการขายหุ้นให้กับกลุ่มเทมาเส็ก ของประเทศสิงคโปร์ จึงเป็นการได้ประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่

4.กรณีละเว้น อนุมัติ ส่งเสริม สนับสนุนธุรกิจดาวเทียมตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศโดยมิชอบ 3 กรณี อาทิ การอนุมัติโครงการดาวเทียม และดาวเทียมสำรอง 2 ชุด รวม 4 ดวง แล้วปรับโครงการมาเป็นโครงการดาวเทียม IP STAR การอนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทาน ดาวเทียมในประเทศ ครั้งที่ 5 วันที่ 27 ต.ค.47 ลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ปฯ ในบริษัท ชินแซทเทิลไลท์ ที่เป็นผู้ขออนุมัติสร้าง และส่งดาวเทียมไทยคม 1,2 และการอนุมัติให้ใช้เงินค่าสินไหมทดแทนของดาวเทียมไทยคม 3 ที่ได้ส่งเร็วขึ้น และได้ค่าสินไหมทดแทน 26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แล้วมีการขอแก้สัญญาต่างๆ อันเป็นการเอื้อประโยชน์กับบริษัท ชินคอร์ปฯ และบริษัท ชินแซทฯ เพราะดาวเทียมไอพีสตาร์ ไม่สามารถใช้แทนดาวเทียมไทยคม3 ได้ ตามสัญญาและทำให้ไม่มีดาวเทียมไทยคม 4 จนทุกวันนี้ รัฐจึงเสียหายจากโครงการนี้4พันล้านบาท ผู้ถูกกล่าวหาได้ประโยชน์ไป16,000ล้านบาท

5.กรณีอนุมัติให้รัฐบาลสหภาพพม่า กู้เงินจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ เอ็กซิมแบงก์ เพื่อนำไปซื้อสินค้าและบริการของบริษัท ชินแซทฯโดยเฉพาะ ซึ่งครั้งแรกผู้ถูกกล่าวหาได้สั่งการเห็นชอบให้เอ็กซิมแบงก์ให้วงเงิน 3,000 ล้านบาท แก่รัฐบาลสหภาพพม่า แล้วต่อมาได้สั่งการเห็นชอบเพิ่มวงเงินกู้อีก 1,000 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 4,000 ล้านบาท สำหรับโครงการพัฒนาระบบโทรคมนาคมของสหภาพพม่า โดยให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าต้นทุน รวมทั้งให้ขยายระยะเวลาปลอดการชำระหนี้ การจ่ายเงินต้นจาก 2 ปี เป็น 5 ปี เพื่อประโยชน์ของบริษัท ชินแซท ฯ ซึ่งนายสุรเกียรติ เสถียรไทย ได้ทักท้วงแล้ว กรณีดังกล่าวหาผู้ถูกกล่าวหาและครอบครัวชินวัตรกับพวกมีผลประโยชน์ถือหุ้นอยู่ ในการให้ได้รับงานจ้างพัฒนาระบบโทรคมนาคมจากรัฐบาลสหภาพพม่า เป็นเหตุกระทรวงการคลัง เสียหายเสนอกฎหมายช่วยบริษัทตัวเอง นอกจากนี้ในระหว่างที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นหัวหน้ารัฐบาลในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้เสนอกฎหมายแก้ไข พ.ร.บ. เป็น พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2549 ที่เป็นผลให้บริษัท ชินคอร์ปฯ ซึ่งประกอบธุรกิจในกิจการโทรคมนาคมสามารถมีผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลต่างด้าวได้ไม่เกินร้อยละ 50 โดย พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับให้เมื่อวันที่ 21 ม.ค.49 โดยปรากฏว่า ในวันที่ 23 ม.ค. 49 มีการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปฯ จำนวน 1,149,490,150 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 48 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดโดยที่ผู้ถูกกล่าวหาและคู่สมรส เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง แต่ใช้ชื่อนายพานทองแท้ , น.ส.พินทองทา บุตรชายและบุตรสาว น.ส.ยิ่งลักษณ์ น้องสาว และนายบรรณพจน์ พี่ชายบุญธรรมคุณหญิงพจมาน ถือหุ้นแทน บ.แอมเพิลริช ถือไว้แทน แล้วขายให้กับกลุ่มเทมาเส็ก ของประเทศสิงคโปร์ โดยมีบริษัท ซีดาร์โฮลดิ้งส์ จำกัด และบริษัท แอสแพนโฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างด้าว เป็นผู้ซื้อ เป็นจำนวนเงินสุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว รวม 69,722,880932.05 บาท ซึ่งตั้งแต่ 2546 - 2548 บริษัท ชินคอร์ปฯ ได้จ่ายเงินปันผลตามหุ้นจำนวนดังกล่าวรวมเป็นเงินจำนวน ทั้งหมด 6,898,722,129 บาท รวมเป็นเงินที่ได้รับจากหุ้นดังกล่าวทั้งหมดจำนวน 76,621,603,061.05 บาท ขอให้ยึดตกแก่แผ่นดิน เงินจำนวนดังกล่าว จึงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาเนื่องจากการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม และเป็นกรณีที่ได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควรสืบเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่อันเป็นการร่ำรวยผิดปกติ จึงส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดเพื่อยื่นเรื่องต่อศาลฎีกาฯ ขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินจำนวน 76,621,603,061.05 บาท ตกเป็นของแผ่นดิน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. พ.ศ. 2542 ม.80

ต่อมามีคำสั่งอายัดเงินและทรัพย์สินที่ได้มาจากการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปฯให้กับกลุ่มเทมาเส็ก และเงินปันผลตามจำนวนหุ้นที่ได้รับในช่วงปี พ.ศ.2546 - 2548 รวม 15 คำสั่ง รวมเป็นเงิน 73,667,987,902.60 บาท พร้อมดอกผล คตส.สามารถอายัดเงินและทรัพย์สินไว้ได้บางส่วน ยังขาดอยู่9พันล้านบาทเศษ จึงขอติดตามและให้ยึดทรัพย์ทั้ง76,621ล้านบาทเศษ พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ7.5 ตั้งแต่วันกระทำผิดจนถึงวันฟ้อง ตกเป็นของแผ่นดิน

ทักษิณ -เมีย สู้ยิบตา สู้ยิบตา

พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ถูกกล่าวหา คัดค้านว่า หุ้นบ.ชินครอป ได้โอนไปจริงให้บุคคลต่างๆไปแล้ว ก่อนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือได้รับผลประโยชน์อีก จึงไม่ใช่การโอนหุ้นโดยปกปิดอำพราง และเป็นข้อกล่าวหาที่เกินกว่า 2 ปีหลังพ้นตำแหน่งขัดพรบ.ปปช.ปี 42 คำร้องของอัยการเคลือบคลุม ไม่ทำให้เข้าใจว่า ตนเอื้อประโยชน์แก่ตัวเองและพวกพ้องอย่างไร เกี่ยวข้องกับการปฎิบัติหน้าที่อย่างไร ก่อให้เกินมูลค่าหุ้นมีมูลค่าสูงอย่างไร รวยผิดปกติอย่างไร ทรัพย์สินที่ตนมีอยู่ ได้มาระหว่างก่อนดำรงตำแหน่ง ที่มีราคาเพิ่มขึ้นก็เป็นเพราะสภาพตลาด ตามหลักเศรษฐกิจ อีกทั้งตนเคยยื่นบัญชีทรัพย์สินแก่ปปช.เมื่อปี 44 ไปแล้ว โดยไม่มีหุ้นชินคอร์ปแต่อย่างใด ไม่เคยใช้ตำแหน่งเอื้อประโยชน์ตามที่ถูกกล่าวหาทั้ง 5 กรณี มาตรการต่างๆ เป็นไปตามการดำเนินการของเจ้าหกน้าที่ที่รับผิดชอบ ตนไม่ได้ยุ่งเกี่ยว หุ้นชินไม่ได้เป็นของตนและคู่สมรส และไม่ได้มาจากการไม่สมควร จากการใช้อำนาจหน้าที่ มติคตส. กับปปช.เป็นมติไม่ชอบ เพราะปปช.ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ การไต่สวนครั้งนี้เป็นการทำนอกอำนาจ ผู้ร้องไม่มีอำนาจร้องให้ยึดตกเป็นของแผ่นดิน หากจะผิดก็เป็นกฎหมายฉบับอื่น หรือเป็นคดีปกครองเรื่องความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ซึ่งไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลนี้

คุณหญิงพจมาน ร้องคัดค้านว่า ทรัพย์ 26 รายการเป็นของตน และได้มาก่อนพ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกฯ มีเงิน26,000ล้านบาท ทรัพย์ดังกล่าวไม่ได้มาจาการแสวงหาประโยชน์ ตนเคยมีหุ้นชิน แต่ขายแก่บุตรชำระเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน ไปแล้วเมื่อปี 40 ไม่ได้ถือหุ้นชินคอร์ปอีก ไม่ได้ให้บุตรหรือญาติ ถือหุ้นไว้แทนตน ตนเคยแสดงรายการต่อ ปปช.ไปแล้วไม่มีหุ้นชินคอร์ป หุ้นชินที่มีมูลค่าสูงขึ้นภายหลังก็เป็นไปโดยกลไกของตลาด การกล่าวหาครั้งนี้คดีขาดอายุความแล้ว คตส.ไม่มีอำนาจตรวจสอบ การตรวจสอบก็ยังไม่เสร็จสิ้นกระบวนการ จึงข้ามขั้นตอน คำร้องเคลือบคลุม การฟ้องคดีนี้เข้าลักษณะการละเมิดของเจ้าหน้าที่ต้องขึ้นศาลปกครอง ศาลฎีกาไม่มีอำนาจพิจารณา คตส.เป็นปฏิปักษ์กับ ชินวัตร

นายพานทองแท้ คัดค้านว่า ตนเป็นผู้ถือหุ้นชินคอร์ป โดยซื้อจากบิดามารดา แล้วขายไป ได้กำไรค่านายหน้าได้มา 26,000 ล้านบาท โอนเข้าธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารัชโยธิน เอาเงินไปซื้อที่ดิน บ้างจ่ายค่าทนายความบ้าง เงินที่ถูกอายัดส่วนหนึ่งเป็นของตน จึงขอคืน

น.ส.พินทองทา คัดค้านว่า ตนเป็นเจ้าของหุ้นชิน ไม่ได้ถือแทนบิดามารดา แล้วขายไป 26,000ล้านบาท นำเงินเข้าธนาคาร

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คัดค้านว่าหุ้นชิน เป็นของตนแล้วขายให้ บ.ซีด้าโฮลดิ้ง เอาเงินฝากธนาคาร คตส. ที่สอบสวนไม่เป็นกลาง เป็นปฏิปักษ์แก่ผู้ถูกกล่าวหา

นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ คัดค้านว่า หุ้นชินเป็นของตน แล้วขายไปเอาเงินฝากที่ธนาคาร และหุ้นมีราคาสูงเพราะเศรษฐกิจดี ลงทุนธุรกิจต่างๆ มีผลประกอบการดี คตส. ไม่เปิดโอกาสให้ตนได้เข้าชี้แจงข้อเท็จจริง ขอให้เพิกถอนการอายัด ส่วนผู้คัดค้านอื่นๆ ต่อสู้ในแนวเดียวกัน

ศาลปรับข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงจากการไต่สวนฟังได้ว่า ผู้ถูกกล่าวหา เป็น หัวหน้าพรรคไทยรักไทย เป็นนายกรัฐมนตรี ส่วน บ.ชินคอร์ป เป็นผู้ถือหุ้น เอไอเอส กับ ดีพีซี บริษัทเหล่านี้มีการดำเนินการสัปทานกับรัฐ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ เดิมผู้ถูกกล่าวหากับพวก ถือหุ้นชินคอร์ปอยู่จนปี42 มีการซื้อหุ้นเพิ่มทุน ต่อมาขายให้บ.แอมเพิลริช โดยให้นางกาญจนาภา หงส์เหิน เป็นกรรมการ บ.แอมเพิลริช จากนั้น ผู้ถูกกล่าวหากับคู่สมรส ขายหุ้นให้บุตร ต่อมามีการรัฐประหาร และตั้งคตส. ทางคตส. ตรวจพบว่า ระหว่างพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี มีการกระทำเอื้อประโยชน์แก่พวกตนเอง มีประเด็นต้องพิจารณาว่ามีการปกปิดการถือหุ้น แล้วเอื้อประโยชน์แก่บริษัทโทรคมนาคม และเรื่องอื่นๆ จึงขอให้ยึดทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดินมีประเด็นต้องศาลนี้มีอำนาจพิจารณาหรือไม่ เห็นว่า การสืบสวนสอบสวนของคตส. เป็นการทำงานเกี่ยวกับปราบปรามการทุจริต ตาม พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญปี 42 และอยู่ภายใต้พรบ.คดีอาญานักการเมือง กรณีไม่ใช่วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง องค์คณะ มีมติเอกฉันท์ว่าศาลนี้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ข้ออ้างทักษิณ ฟังไม่ขึ้น

ปัญหาว่า ผู้ร้องมีอำนาจร้องหรือไม่ เห็นว่าเมื่อคณะปฏิรูปยึดอำนาจการปกครองฯ หรือ คปค. ได้ออกคำสั่งยุบ รธน.ปี 40 แต่ พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ เรื่อง ปปช.ปี42 ถูกตราขึ้นโดยชอบ จึงยังคงใช้ได้แม้รธน.ปี 40 ถูกยุบไป ประกาศ คปค.ฉบับที่30 ที่สั่งคตส.สืบสวนสอบสวน เป็นการดำเนินการในอำนาจ ที่พ.ต.ท.ทักษิณอ้าง ว่าคตส.สืบสวบสอสวนนานเกิน 2 ปี นับแต่พ้นตำแหน่งนั้น แต่กฎหมายอนุญาตให้คตส.และส่งต่อ ปปช.สอบสวน ต่อไปภายในกรอบเวลาแล้ว คำคัดค้านฟังไม่ขึ้น คณะอนุกรรมการไต่สวนฝ่ายผู้ร้องได้ส่งข้อกล่าวหาผ่านตัวแทน เพื่อชี้แจงข้อกล่าวหาและทำคำร้องชี้แจงทรัพย์สิน มีการขอขยายเวลาออกไป ซึ่งได้รับอนุญาต และขอตรวจดูพยานหลักฐาน แต่ถูกยกคำร้อง ต่อมาได้เปิดโอกาสให้ส่งพยานฝ่ายผู้ถูกกล่าวหา มาให้การ ก็ไม่ส่งมาขอเลื่อนออกไป ผู้ถูกกล่าวหาขอส่งพยานอีก4ปาก แต่คตส.ส่งสำนวนให้ปปช.ไปก่อน เห็นว่า มีการให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาแล้วตามระเบียบ และกฎหมาย คำคัดค้านของพ.ต.ท.ทักษิณ ฟังไม่ขึ้นที่อ้างว่าตั้ง นายบรรเจิด สิงคเนติ นายแก้วสรร อติโพธิ นายกล้านรงค์ จันทิก ปฏิบัติไม่ชอบเพราะเป็นปฏิปักษ์กับตนการแต่งตั้งมาสอบสวน จึงต้องห้ามเป็นกรรมการนั้น เห็นว่าที่นายกล้านรงค์ ขึ้นเวทีปราศรัยทางการเมือง นายบรรเจิด นายแก้วสรร เคยมีกิจกรรมที่ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ คัดค้าน ก็เป็นในฐานะนักวิชาการ ต่อมาถูกท้วงก็เลิกไป อีกทั้งไม่มีเหตุโกรธเคืองส่วนตัวกันมาก่อน การตั้งบุคคลทั้งสามเป็นกรรมการมาสอบสวนจึงชอบแล้ว ปปช. ดำเนินการแทน คตส.ต่อมา จึงชอบเช่นกัน คำคัดค้านจึงฟังไม่ขึ้น

ส่วนที่อ้างว่าคตส.วินิจฉัยเรื่องทรัพย์สินข้ามขั้นตอนนั้น เห็นว่า คณะกรรมการได้เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหา ผู้คัดค้านเข้าชี้แจง มีคณะอนุกรรมการมารับฟังการพิสูจน์ทรัพย์ แต่พอดีครบเวลาการทำงานของคตส. จึงส่งสำนวนให้ ปปช.ทำต่อ มีบางรายการที่คตส.เพิกถอนการอายัดก็มีสามราย การกระทำของคตส.จึงขอบด้วยกฎหมาย ส่วนที่อ้างว่า อัยการบอกว่าสำนวนยังมีข้อไม่สมบูรณ์ แต่ คตส. ปปช.ไม่ฟัง อัยการกลับมายื่นคำร้องอีก สำนวนจึงไม่ชอบนั้น ศาลเห็นว่า ตอนแรกอัยการสูงสุดเห็นว่ามีข้อไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อยืนยันมา อัยการก็ยื่นให้ จึงถือว่า ข้อไม่สมบูรณ์จึงแก้ไขแล้ว คำคัดค้านฟังไม่ขึ้น ที่อ้างว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งต้องรอฟังผลคดีอาญาก่อนนั้น เห็นว่า คดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิทางทรัพย์สิน ไม่จำเป็นต้องรอฟังข้อเท็จจริงทางคดีอาญาเป็นที่ยุติเสียก่อน ผู้ถูกกล่าวหาเองก็เคยยอมรับว่าเป็นคดีแพ่งมาก่อน คดีนี้ศาลพิจารณาได้โดยไม่ต้องรอให้พ.ต.ท.ทักษิณมาอยู่ต่อหน้าศาล คำคัดค้านฟังไม่ขึ้น ที่ผู้คัดค้านอ้างว่า พวกตนเป็นเจ้าของทรัพย์สิน แต่พวกตนไม่ใช่นักการเมือง จึงไม่อยู่ในอำนาจศาล ศาลมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ผู้ร้องมีอำนาจร้องคดีนี้

คำร้องไม่เคลือบคลุม

มีประเด็นต้องพิจารณาว่า คำร้องเคลือบคลุมหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้ได้ร้องว่าพบการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาว่า ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ถือหุ้นชินคอร์ป โดยมีผู้ถือหุ้นแทน และมีผลประโยชน์จากกิจการโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่ 68,000 ล้านบาท เงินปันผลอีก รวมทั้งสิ้น 76,621ล้านบาท มีความชัดเจนถึงชื่อผู้ครอบครอง ตัวเลข ช่วงเวลา ประกอบข้อกฎหมายท้ายคำร้องแล้ว พร้อมมีคำข้อบังคับให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า เป็นคำร้องที่ไม่เคลือบคลุม คำคัดค้านฟังไม่ขึ้น

ศาลเห็นว่า เมื่อคณะอนุกรรมการไต่สวน คตส.พบว่า ผู้ถูกกล่าวหาคงถือหุ้นชินคอร์ปไว้ โดยพบจากการรายงานธนาคารพาณิชย์ ก.ล.ต. จึงพบว่า ขณะเป็นนายกรัฐมนตรี มีหุ้นชินคอร์ป โดยให้ญาติยึดถือแทน ต่อมาขายให้กองทุน เทมาเส็ก ที่อ้างว่า ได้โอนขายไปปี 1 ธ.ค. 43 ได้รับชำระค่าหุ้นแล้ว และการโอนหลักทรัพย์มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกร้อยละ 5 ต้องรายงาน ก.ล.ต.ด้วย กรณี จึงต้องพิจารณาจากพฤติการณ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ กับ คุณหญิงพจมานผู้คัดค้านที่ 1 นายพานทองแท้ ผู้คัดค้านที่ 2 น.ส.พินทองทา ผู้คัดค้านที่3 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ผู้คัดค้านที่4 นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ผู้คัดค้านที่5 ด้วย เห็นว่าเมื่อ 5 พ.ค.42 อ้างว่า 5 โอนเงินให้โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน โดยใช้ชื่อนำว่า “คุณหญิง” โดยอ้างว่าฉบับเดิมหายไป ไม่น่าเชื่อ เพราะเป็นการซื้อขายโอนรายใหญ่ ไม่น่าทำหาย ที่อ้างว่าตั๋วเดิมใส่ชื่อ นางพจมาน ออกให้ใหญ่เขียนเป็นคุณหญิงจึงไม่น่าเป็นความจริง และเมื่อขายไปแล้ว ผู้ถูกกล่าวหา ผู้คัดค้านที่1 ขายไปแล้ว ยังได้รับผลประโยชน์จากหุ้นนั้นเหมือนเดิม เมื่อพิจารณาจากการโอนขายให้บุตรและญาติ เห็นว่าการขายหุ้นหุ้นปี 2545 ผู้คัดค้านที่ 2 โอนหุ้นให้ผู้คัดค้านที่3 เป็นของขวัญวันเกิด พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ไม่ได้เรียกเก็บเงินค่าหุ้นจากบุตร มาแต่แรก ช่วงปี2546 กลุ่มผู้ถูกกล่าวหากับญาติ ต่างขายหุ้นไปมา ซึ่งผู้คัดค้านที่ 2 กับผู้คัดค้านที่4 รับว่า ได้เงินมาก็นำไปฝากธนาคาร บางครั้งเมื่อได้ชำระเงินปันผลให้ผู้ถูกกล่าวหา กับผู้คัดค้านอื่น ก็เขียนตัวเลขเช็คผิด บ้างก็เป็นการชำระค่านาฬิกาของขวัญ ค่าแต่งบ้าน ทำสนามฟุตบอล ซื้อทองแท่ง เพชร เครื่องประดับ สำรองที่บ้าน เห็นว่าไม่น่าเชื่อ ข้อคัดค้านผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้น จึงเป็นเรื่องผู้ถูกกล่าวหา กับผู้คัดค้านที่1 ให้ญาติถือหุ้นไว้แทน และยังรับเงินปันผลมาตลอด นอกจากนี้การได้รับประโยชน์ดังกล่าว ต้องเสียภาษีตามกฎหมายป.รัษฎากร ผู้ถูกกล่าวหาคัดค้าน ว่า คดีนี้เป็นเรื่องแพ่งไม่ใช่คดีภาษี ศาลจึงเห็นว่า ฟังไม่ขึ้น

ฟังธง ทักษินมีหุ้น ขณะเป็นายกฯ

ผู้ถูกกล่าวหายังมีอำนาจเบิกถอนเงินในบัญชี บ.แอมเพิลริช ที่อ้างว่าขายให้บุตรทั้งหมด ทั้งที่ยังมีอำนาจเบิกถอนเงินมา บ.แอมเพิลริช มาอีก4ปี ส่วนหุ้นบ.วินมาร์ค ผู้ร้องอ้างว่า ผู้ถูกกล่าวหาให้ผู้อื่นถือไว้แทน ขอให้ศาลสั่งยึดเงินนั้น เห็นว่าการสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ดีเอสไอ ไม่ยืนยันเรื่องนี้ จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่า บ.วินมาร์คเกี่ยวข้องหรือไม่ ทั้งผู้ถูกกล่าวหาอ้างว่า บ.ชินคอร์ป มีผู้บริหารที่เก่ง บุตรไม่ต้องไปดูแลเอง นั้น เห็นว่า บ.ชิน โอนไปนั้น ผู้ถูกกล่าวหากับคุณหญิงถือหุ้นอยู่ รวมร้อยละ 48.75 ยังมีสิทธิ์ออกเสียงควบคุมนโยบายชินคอร์ป การกำหนดอำนาจหน้าที่กรรมการ ซึ่งกรรมการ บ.ชินคอร์ป แม้ไม่มี ผู้ถูกกล่าวหา ผู้คัดค้านที่ 1 มีชื่ออยู่แต่ก็ แสดงว่ามีการแต่งตั้งกรรมการและควบคุมการดำเนินการ ผ่านตัวกรรมการ และบ.ชินคอร์ปมีการพัฒนาหลายประการ เช่น ก่อตั้ง บ.ไทยแอร์เอเชีย การจัดโครงสร้างการถือหุ้นขนาดใหญ่ การลดทุนในโครงการดาวเทียม กรรมการไม่ร่วมมีความเสี่ยงตัดสินใจด้วย มีข้อพิรุธในการซื้อขายหุ้น และ การรับผลประโยชน์หลังการโอน องค์คณะ มีมติเป็นเอกฉันท์ ว่าถือหุ้นชิน 1,400 ล้านหุ้น อยู่จริงขณะเป็นนายกรัฐมนตรี

เอไอเอสกินจนอ้วน

มีประเด็นต้องพิจารณาว่า ผู้ถูกกล่าวหา มีการกระทำเอื้อประโยชน์ให้เครือบ.ชินคอร์ป หรือไม่ เห็นว่ากรณีการดำเนินกิจการโทรศัพท์ของเอไอเอส ดีพีซี กับ กสท เกี่ยวกับการแปลงสัญญาสัปทานเป็นภาษีสรรพสามิต ที่ทำให้สิทธิพิเศษแก่ บ.เอไอเอส.นั้น ปี 2541 ครม.มีมติให้แปรรูป ทศท กับ กสท ให้เอกชนเข้าแข่งขันอย่างเสรี คณะกรรมการกำกับรัฐวิสากิจ ให้มีการศึกษาความเห็นเสนอ กระทรวงการคลัง นักวิชาการ เห็นว่า การแปรรูปสัญญาสัปทาน ต้องเป็นไปตามความสมัครใจของคู่สัญญา พยานเบิกความว่า แนวการดำเนินการของ ครม.กับกรรมการขัดแย้งกันอยู่ในตัว แนวคิดของ ครม. เรื่องให้แปลงเป็นภาษีสรรพสามิต ขัดกับทางปฏิบัติ เพราะรัฐเสียประโยชน์ ปัจจุบันโทรศัพท์ในประเทศเป็นสิ่งจำเป็น ไม่ใช่ฟุ่มเฟือย ไม่ควรเก็บภาษีสรรพสามิต พยานเหล่านี้มีความรู้จริง ถ้ารัฐจะเก็บภาษีสรรพสามิตเข้ารัฐจริง ไม่ควรให้เอกชนนำภาษีที่เสีย “ไปหักกับค่าสัปทานได้ ครม.มีมติเช่นนี้” ทำให้รัฐอ่อนแอ ทศท.มีรายได้ลดลง ต้องหักค่าภาษีสรรพสามิต ไปชดเชยค่าสัปทาน ซ้ำเอไอเอส ได้รับการผูกขาด ซ้ำได้สิทธิ์ ใช้อุปกรณ์ เมื่อเอไอเอส ต้องเสียภาษีเมื่อหักค่าสัปทานแล้ว ทศท ได้ภาษีจากเอไอเอส ร้อยละ15 เท่านั้น ทศท ไม่เหลือประโยชน์เลย เอไอเอสไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตเลย เพราะได้หักจากค่าสัปทานไปแล้ว มติ ครม.ส่งผลกระทบทศท อย่างรุนแรง ผู้ประกอบการรายอื่น ต้องเสียภาษีเต็มทุกรายการ ทั้งที่ยังไม่มีลูกค้าอย่างเอไอเอสที่ครองตลาด และยังมีข้อจำกัดในการทำตลาด จึง มีการเอื้อประโยชน์ให้เครือบ.ชินคอร์ป รัฐเสียหาย รัฐเสียรายได้ 6 หมื่นล้านบาทเศษ ผู้ถูกกล่าวหาเข้าประชุม ครม. ร่วม มติดังกล่าวขณะถือหุ้นเอไอเอส องค์คณะจึงมีมติเสียงข้างมากว่า ใช้อำนาจในตำแหน่งตราพระราชกำหนด 2ฉบับ ให้หักค่าสรรพสามิตออกจากค่าสัมปทาน

โทรแบบบัตรเติมเงินก็เอาเปรียบ

มีประเด็นว่า มีการแสวงหาประโยชน์จากตำแหน่งหรือไม่ การไต่สวนพยานเบิกความว่า การให้บริการโทรศัพท์ เป็นการเอื้อประโยชน์หรือไม่ เห็นว่าการทำบัตรโทรศัพท์จ่ายเงินล่วงหน้า ที่มีค่าประกันเลขหมาย คู่แข่งของ บ.เอเอไอส ที่ทำบัตร วัน ทู คอล คือ บ.แทค จำกัด ที่ทำบัตร พร็อป ให้บริการแข่งขัน แต่ต้องจ่ายค่าเชื่อมโยงเครือข่าย และแบบอื่นมากกว่าเอไอเอส จึงขอปรับลดค่าอัตรา และสัญญา เอไอเอส กับกสท กับบ.แทค กับ กสท นั้น ทางแทคมีภาระมากกว่า ทั้งที่ยังไม่มีลูกค้า ทำให้ขาดทุนเสียรายได้ กสท ได้ปรับอัตราให้ บ.แทค จึงชอบแล้ว เอไอเอส ขอลดอัตรารายได้บ้าง และมีช่องทางได้ปรับลดตามที่ขอ เห็นว่า เอไอเอสไม่มีเหตุที่จะขอลดอัตรารายได้ที่ต้องส่งให้กสท แม้รายได้ของสองบริษัทนี้ ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ใช้บริการ กลไกตลาดและการบริหารงาน

ต่อมา กสท ปรับอัตรารายได้ลดลงให้เอไอเอส ทำให้เอไอเอสได้รับประโยชน์ ตั้งแต่ 1 มิ.ย.44 ซึ่งความจริงผู้ใช้บริการ ก็ต้องได้รับประโยชน์จากค่าบริการที่ถูกลง จนพยานเบิกความว่า เอไอเอส ได้ลดค่าโทร ลูกค้าเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่ภาระต้นทุนของเอไอเอส ลดลง เกิดประโยชน์แก่เอไอเอส ตั้งแต่ปี 44 ถึง49 จาก 2.5 แสนราย เป็น 17 ล้านราย และแม้กสท ได้รับรายได้มากก็ตาม แต่เทียบกับรายได้ของเอไอเอสแล้ว เอไอเอสได้ประโยชน์องค์คณะมีเสียงข้างมากว่า เอื้อประโยชน์ให้เอไอเอส

ประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อไปมีว่า การแก้ไขสัญญานอนุญาตใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ เครือข่ายร่วม “โรมมิ่ง” เอื้อประโยชน์แก่บ.ชินคอร์ปหรือไม่ เห็นว่าบ.ชินคอร์ปถือหุ้นใหญ่ใน บ.เอไอเอส ที่ได้รับสัปทานโทรศัพท์ 20 ปี ต่อมาได้รับขยายอายุสัญญาเป็น 25 ปี กสท.ยอมให้เอไอเอส.แก้สัญญา ที่ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมต่างๆ ต่อมาเอไอเอสได้ขอขยายการให้บริการกับบ.ดีพีซี อ้างว่า เบอร์ของเอไอเอสเต็ม เป็นการทำเพื่อประโยชน์ของเอไอเอสเอง ส่วนคลื่นความถี่ที่ต้องหาเพิ่ม ทางเอไอเอสคาดไว้ล่วงหน้าว่า ต้องได้อยู่แล้ว เห็นว่า การให้บริการโทรศัพท์ต้องมีประสิทธิภาพ และต้องจ่ายค่าภาษี ค่าธรรมเนียม แก่รัฐเอง การกระทำของเอไอเอส พึงได้รับตอบแทนให้ทศท ตามสัญญาหลักไม่เป็นไปตามระเบียบ ที่เอไอเอสต้องรับผิดชอบเอง ทศท ไม่ได้รับประโยชน์ส่วนนี้จึงเสียหาย ขณะที่เอไอเอส ได้ประโยชน์ไป 6 พันล้านบาทเศษจากการแก้สัญญา ที่ทำในขณะพ.ต.ท.ทักษิณเป็นผู้ถือหุ้น และ เป็นนายกรัฐมนตรี มีอำนาจดำเนินการ องค์คณะมีมติเสียงข้างมากกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับประโยชน์จากเรื่องดังกล่าว แต่เมื่อโอนให้เทมาเส็กแล้ว ขณะพ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกฯ มีบ.ดีพีซี กับบ.เอไอเอส ได้รับส่วนแบ่งในตลาดสูง ผลประโยชน์จึงตกแก่ พ.ต.ท.ทักษิณ และบ.ชินคอร์ป จนหุ้นมีมูลค่าสูงขึ้น เงินจึงได้มาจากการใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่สวมควร แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ รวบรวมหุ้นขายให้เทมาเส็ก เมื่อ 23 ม.ค. 49 แม้จะมีการดำเนินการบางส่วนก่อนดำรงตำแหน่ง จนรายได้ 796 ล้านบาทเศษ 28 มิ.ย.49 อย่างไรก็ตาม กรรมการใหญ่กสท มีหนังสือท้วง เป็นเวลาหลังขายหุ้นให้เทมาเส็กแล้ว หากผลประโยชน์ตกแก่ บ.ชิน ผู้ได้รับไม่ใช่ตามที่ผู้ร้องอ้าง แต่เป็นกลุ่มเทมาเส็ก เมื่อมีการปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายที่ต้องจ่ายแก่ กสท. ช่วงที่โอนขายหุ้นแก่เทมาเส็กแล้ว องค์คณะส่วนใหญ่จึง เห็นว่าผลประโยชน์การปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วมไม่เกี่ยวกับพ.ต.ท.ทักษิณ แต่อย่างใด จึงไม่จำต้องพิจารณาประเด็นย่อย

โครงการดาวเทียมก็โดน

กรณีดาวเทียมสื่อสาร เห็นว่า การประมูลโครงการดาวเทียมกับรัฐ คือ กระทรวงคมนาคม ต้องมีอุปกรณ์และวงจรดาวเทียมที่มีคุณภาพ ทั้งดาวเทียมหลักและดาวเทียมรอง โดยรัฐต้องได้ประโยชน์ แต่มีข้อแม้ว่ากระทรวงทบวงกรม ต้องไม่เอาวงจร ไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ส่วนดาวเทียมไอพี สตาร์เป็นของ บ.ไทยคม เกิดจากการแก้สัญญาจากการว่าหลังส่งดาวเทียม3 ให้ส่ง เป็นไทยคม 4 ที่ส่งไทยคม4 ไม่ได้จึงกลายเป็นดาวเทียมสำรอง ไอพี สตาร์ ส่วนสัญญามีรายละเอียดว่า การจะส่งเมื่อใด วิถีอวกาศแค่ไหน ประโยชน์เพียงใด มีผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้เจรจา ในที่สุด บ.ชินคอร์ป ก็ได้รับสัมปทาน และมีการขอเปลี่ยนคุณสมบัติดาวเทียม ซึ่ง ผู้ได้รับสัมปทานได้ประโยชน์โดย มีพฤติกรรมการกระทำลัดขั้นตอนอย่างรีบเร่ง ขณะที่ดาวเทียมไอพีสตาร์ ก็มีเทคโนโลยีสูงด้านอินเตอร์เนต คือระบบเคยูแบน จึงเป็นดาวเทียมหลักไม่ใช่ดาวเทียมสำรอง และ บ.ไทยคมมีหน้าที่ต้องทำดาวเทียมสำรองอีก 1 ดวง แต่ความจริงตามสัญญา การไม่เกิดดาวเทียมไทยคม 4 จนทุกวันนี้ ทำให้ บ.ไทยคม ไม่ต้องปฏิบัติตามสัญญามูลค่า4 พันล้านบาท ข้อเท็จจริงพบว่า ดาวเทียมไอพีสตาร์ เป็นการทำดาวเทียมเพื่อต่างประเทศมาใช้บริการ ไม่ใช่ใช้เพื่อบริการในประเทศ บ.ชินคอร์ป และบ.ไทยคม ร้องขอให้อนุมัติช่วย บ.ไทยคม ที่ได้สัมปทานดาวเทียมระหว่างประเทศโดยไม่มีการแข่งขันในช่วงที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นประธานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ โดยยอมให้แก้คุณสมบัติดาวเทียมไทยคม 4 เป็นไอพีสตาร์ องค์คณะเห็นว่าเป็นการเอื้อประโยชน์แก่ บ.ไทยคม นายกฯเป็นคู่สัญญากับรัฐ เรื่องการลดสัดส่วนการถิอหุ้น ของบ.ชินคอร์ป เป็น บ.ไทยคม ในการดำเนินโครงการดาวเทียม เห็นว่า บ.ชินคอร์ป ต้องไปดำเนินการขอลดสัดส่วนใน บ.ไทยคม เอง บ.ชินคอร์ป ได้ประโยชน์จากการแก้ไขสัญญาดาวเทียม โดยมี บ.ไทยคมเป็นตัวแทน การแก้สัญญาผู้ได้ประโยชน์ คือบ.ชินคอร์ป และต้องมีการแก้ไขโครงสร้าง บ.แห่งใหม่ ให้เสร็จใน12 เดือน นายบวรศักด์ อุวรณโ อดีตเลขาธิการสำนักนายกเบิกความว่า เรื่องสัญญาดาวเทียมในประเทศนี้เป็นเรื่องไม่สมควร เพราะนายกรัฐมนตรี เป็นคู่สัญญากับรัฐเสียเอง จึงไม่เสนอ ครม.พิจารณา และต่อมา นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สมาชิกพรรคไทยรักไทย ที่มีผู้ถูกกล่าวหาเป็นหัวหน้าพรรค ยอมให้แก้สัดส่วนการถือหุ้น จากร้อยละ 51เป็นร้อยละ 40 โดยไม่ผ่าน ครม.แต่อย่างใด จึงเป็นการเอื้อประโยชน์แก่บ.ชินคอร์ป และบ.ในเครือ และ บ.เหล่านี้ไม่ต้องไปกู้ยืมเงินมาเพิ่มทุน เพื่อรักษาสัดส่วน 84 ล้านหุ้น หรือ1,600 ล้านบาท แต่ไปกระจายความเสี่ยงในตลาดหลักทรัพย์แทน บ.ชินคอร์ป ได้ประโยชน์และจ่ายผลประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้น องค์คณะมีมติเสียงข้างมากว่า เป็นการกระทำที่เอื้อประโยชน์ แก่บ.ชินคอร์ป

ไทยคมได้สิทธิ์เหนือใคร

ส่วนเงินค่าทดแทนที่ดาวเทียมไทยคม 3 เสียหาย26ล้านดอลลาร์นั้น ต้องตัดโอนให้กระทรวงฯ รับประโยชน์ โดยบริษัทเป็นผู้ชำระเบี้ยประกัน หากมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น บ.ชินฯ ต้องรับผิดแทนรัฐ ซึ่งอาจไม่คุ้มกับการลงทุนของบริษัท ปี 46 ดาวเทียมไทยคม 3 เสียหายหนัก และเรียกค่าสินไหม 33ล้านดอลลาร์ และต้องเอาเงินส่วนหนึ่งไปเช่าช่องสัญญานสำรอง ระหว่างรอดาวเทียมดวงใหม่ กระทรวงฯได้ยอมให้เงิน6ล้านดอลลาร์ไปเช่าช่องสัญญาณ แล้วยอมให้เงิน 26 ล้านดอลลาร์ไปสร้างดาวเทียมไทยคม 5 นพ.สุรพงษ์ก็อนุมัติอีก เมื่อ20พ.ย.46 ศาลฎีกา เห็นว่า กรณีเกิดความเสียหาย ต้องรีบแก้ไขทันที ผู้รับสัมปทานต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น แต่มีการแก้ไขสัญญาที่ บ.ไทยคม ไม่ต้องรับผิดค่าใช้จ่ายเอง จึงขัดต่อหลักการในสัญญามาตลอด และไม่มีสิทธินำเงินค่าสินไหมไปเช่าช่องสัญญา แต่เงินที่ได้รับค่าสินไหมมา ต้องจ่ายให้รัฐ โดยบริษัทได้ประโยชน์จากเจ้าหน้าที่ ซึ่งอยู่ใต้บัญชาของพ.ต.ท.ทักษิณ ที่เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดความเสียหายแก่รัฐ

โครงการเอ็กซิมแบงก์

ศาลพิจารณาประเด็นสุดท้ายว่า ผู้ถูกกล่าวหามีผลประโยชน์จากโครงการให้เงินกู้แก่พม่า หรือ เอ็กซิมแบงก์ หรือไม่ เห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหาไปพม่าพบ พล.อ.อาวุโส ตาน ฉ่วย กับ พลจัตวา ขิ่น ยุ่น 2 ครั้งปี 46 จากนั้นก็พบนายกรัฐมนตรีพม่า ที่เมืองบาหลี อินโดนีเชีย ทาง รมว.ต่างประเทศพม่า มีหนังสือถึงนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย ขอกู้เงิน 3,000ล้านบาท เพื่อการเกษตร แล้วขอเพิ่มเรื่อยๆ เป็น5,000ล้านบาท เห็นว่า ในระหว่างที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกฯ นายสุรเกียรติ์ ได้แจ้งเตือนรัฐมนตรีของพม่า ที่ภูเก็ตว่า เกรงว่าจะเสียหายเพราะผู้ได้ประโยชน์จากเงินกู้คือ บริษัทโทรคมนาคม ของนายกฯ จะเป็นผลเสียมากกว่า แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมีคำสั่งด้วยวาจาให้ดำเนินการต่อไป และเพิ่มวงเงินเป็น 5 พันล้านบาท พยานเบิกความว่า บ.ไทยคม เอไอเอส เคยไปประกอบการในพม่าตั้งแต่ปี 41 เช่น โทรศัพท์จีเอสเอ็ม จนทำสัญญาโรมมิ่งกับพม่ามาก่อน บ.ไทยคม ได้สัมปทานในพม่ามาตลอด เป็นการให้กู้เงินต่ำกว่าต้นทุน เกิดความเสียหายแก่เอ็กซิมแบงก์ การขอวงเงินเพิ่มเติมมุ่งจะซื้อสินค้าจากไทยคมนั่นเอง ที่พ.ต.ท.ทักษิณ บอกกว่าทำให้ ปตท.ได้สัมปทาน ก๊าซธรรมชาติก็เป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวกัน กรณีเกิดขึ้นขณะที่ผู้ถูกกล่าวหาถือหุ้นเครือชิน และไทยคม จึงเป็นการเอื้อประโยชน์แก่ผู้ถูกกล่าวหาขณะดำรงตำแหน่ง ข้อคัดค้านไม่อาจหักล้างได้ ศาลมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า การดำเนินการขออนุมัติเงินกู้พม่าเพิ่มเติม เป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัทไทยคมและบริษัทชินคอร์ป

เสนอ - สนองกันครบวงจร

การดำเนินการทั้ง 5 กรณี เป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่ เห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหาเป็นหัวหน้ารัฐบาล ต้องดำเนินการบริหารราชการคู่กับรัฐสภา แต่การดำเนินการทั้ง 5 กรณีที่ถูกกล่าวหา มีรัฐมนตรีหลายกระทรวงเกี่ยวข้องด้วย และพบว่าผู้ถูกกล่าวหาใช้อำนาจเกี่ยวข้องชัดแจ้ง คือ การแปลงค่าสัญญาสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต เป็นการแบ่งงานกันทำระหว่างนายกรัฐมนตรี กับรัฐมนตรี และผู้บริหารองค์กร กับโครงการเอ็กซิมแบงก์ ได้มีการสั่งการตามนโยบายไปยังข้าราชการที่เกี่ยวข้อง ส่วนโครงการบัตรเติมเงิน โครงการโรมมิ่ง และเรื่องละเว้นส่งเสริมทสนับสนุนธุรกิจดาวเทียม พ.ต.ท.ทักษิณ ล้วนเป็นผู้กำกับ รมว.คลัง รมว.คมนาคม รมว.เทคโนโลยี และหน่วยงานรัฐทที่เกี่ยวข้อง ผู้ถูกกล่าวหายังเป็นประธานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน อีกทั้งยังให้ปลัด ก.คลัง ร่วมเป็นกรรมการด้วย ต่อมา กสท กับทศท แปลงสภาพเป็นเอกชนมี ก.คลังเป็นผู้ถือหุ้น มี กระทรวงเทคโนโลยีฯ กำกับดูแลรัฐมนตรี ทุกคนเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย และบริษัทเครือชินฯ เป็นผู้ขอตั้งต้นเสนอโครงการก่อน และมีพฤติการณ์ของผู้บริหาร ทศท ตอบสนองผู้ถูกกล่าวหากับพวกอย่างรวดเร็ว องค์คณะมีมติเสียงข้างมาก ว่า ผู้ถูกกล่าวหาใช้ตำแหน่งหน้าที่เอื้อประโยชน์ตามคำร้อง เงินที่ได้จากการขายหุ้นตกแก่แผ่นดินหรือไม่ เห็นว่า บ.ชินคอร์ป ได้ผลกำไรจากกิจการ และเงินปันผลของบ.ชินคอร์ป และ บ.ไทยคม ทำให้สังคมเกิดความเชื่อมั่นการลงทุน ทำให้มูลค่าหุ้นชินคอร์ป จึงสูงขึ้น เงินที่มาจากการขายหุ้นแก่กลุ่มเทมาเส็ก จึงเป็นเงินที่ได้มาไม่สมควร ซึ่งศาลมีอำนาจยึดได้ ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 พรบ.ประกอปรธน.ปี 42 แต่ผู้ถูกกล่าวหาได้มาเงินมาบางส่วนก่อนสมรส เห็นว่า จะเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสนั้น ต้องได้ความว่า ทรัพย์สินได้มาโดยชอบและสมควรหรือไม่ เห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหา ผู้คัดค้านที่ 1 ตั้งบ.ชินคอร์ป ดำเนินกิจการร่วมกันตลอดมา ดังที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ว่า ทั้งสองเป็นนักบริหาร การที่ซื้อหุ้นแอเพิลริช ก็มีการออกเงินให้ก่อนแล้วคืนให้ภายหลัง ส่วนการโอนหุ้นของผู้ถูกกล่าวหาแก่พวก เป็นเจตนาแสวงหาประโยชน์ร่วมกันตลอดมา การขายหุ้นให้เทมาเส็ก เป็นการได้มาโดยไม่สมควรจาการปฏิบัติหน้าที่เสียแล้ว ทั้งสองไม่อาจอ้างว่าเงินดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรส จึงสั่งให้ของผู้คัดค้านที่ 1ตกเป็นของแผ่นดินได้ด้วย แต่ต้องดูว่า “ได้เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ” และ ร่ำรวยผิดปกติ หรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควรจากการปฏิบัติหน้าที่ เห็นว่ามูลคดีนี้ แบ่งเป็นสองกรณี คือ เทียบกับบัญชีทรัพย์สินที่ยื่นก่อน และ พ้นจากตำแหน่ง

การที่ผู้ถูกกล่าวหาและ ผู้คัดค้าน ร้องค้านว่า ก่อนจะมาดำรงตำแหน่งนายกฯ วาระแรก ผู้ถูกกล่าวหามีทรัพย์สินตามรายการที่ยื่นต่อป.ป.ช มีมูลค่ารวม 15,124 ล้านบาท จึงไม่อาจให้ทรัพย์ในส่วนนี้ตกเป็นของแผ่นดินได้นั้น คำไต่สวน ไม่ได้ข้อบังคับไปถึงทรัพย์สินอื่น จึงไม่มีข้อต้องพิจารณาตามคำร้องผู้คัดค้านที่ 1 อย่างไรก็ดี ยังมีข้อต้องพิจารณาว่าเงินปันผลและเงินที่ได้จากการขายหุ้นเป็นทรัพย์ที่ ได้มาโดยไม่สมควรทั้งจำนวนหรือไม่

เมื่อพิจารณาจากเอกสารแล้วปรากฏว่า การซื้อขายหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 7 ก.พ. 44 อันเป็นวันที่หุ้นชินคอร์ป มีราคาเฉลี่ย 213.9 บาท เมื่อคำนวณมูลค่าหุ้นหลังเปลี่ยนทุน เป็นหุ้นละ 1 บาท เท่ากับราคาซื้อขายวันดังกล่าวมีราคา 21.309 บาท ครั้น คำนวณจากหุ้นจำนวน 1,419 ล้านหุ้น คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 30,247,915,606.35 บาท อันถือเป็นทรัพย์ที่ผู้ถูกกล่าวหามี แต่เดิม และไม่อาจให้ตกเป็นของแผ่นดินได้

องค์คณะมีมติเสียงข้างมากว่า ทรัพย์สินที่ตกเป็นของแผ่นดินมีเฉพาะเงินปันผลค่าหุ้น และเงินที่ได้จากการขายหุ้น รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 46,373,687,454.70 บาท พร้อมดอกผลของเงินจำนวนดังกล่าวให้ตกเป็นของแผ่นดิน โดยบังคับจากทรัพย์สินที่อายัดไว้ก่อนหน้านี้

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker