คอลัมน์ ชกไม่มีมุม
วงค์ ตาวัน
การประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติหรือก.ต.ช. ที่เปิดฉากขึ้นก่อนวันตัดสินคดียึดทรัพย์ทักษิณ 1 วัน ลงเอยด้วยอาการเคร่งเครียดของนายกฯอภิสิทธิ์ ถึงกับไม่ยอมให้สัมภาษณ์ใดๆ หลังเสร็จสิ้นการประชุม
ขณะที่กรรมการก.ต.ช.บางคน ให้สัมภาษณ์ทำนองว่า ไม่มีวาระการแต่งตั้งผบ.ตร.แต่อย่างใด
แต่ภาพที่นักข่าวเห็นกันอย่างโจ่งแจ้งคือ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ ต้องออกจากห้องประชุมราว 10-15 นาที
ถ้าไม่มีวาระที่เกี่ยวข้องกับพล.ต.อ.ปทีปโดยตรง แล้วต้องเชิญออกทำไม!
จริงอยู่ วาระการประชุมที่กำหนดเอาไว้ในวันนั้น ไม่มีเรื่องการแต่งตั้งผบ.ตร.อย่างแน่นอน
มีวาระการเปิดตำแหน่งนายตำรวจราชสำนักประจำ ระดับพล.ต.ท.และพล.ต.ต.
แล้ววาระเปิดตำแหน่งนี้ ก็ทำเอานายกฯ อารมณ ไม่ดี เพราะโดนก.ต.ช.เบรก ในประเด็นการจัดทำรายละเอียดในลักษณะผิดขั้นตอน
ก.ต.ช.ไม่ขัดข้อง แต่เห็นว่าเสนอมาไม่ถูกต้อง สุดท้ายก็ต้องนำเรื่องนี้กลับไปจัดการใหม่ให้เรียบร้อยก่อน
พอหมดวาระการประชุมที่กำหนดไว้แล้ว นายกฯ จึงขอหารือเป็นการพิเศษ
ตอนนี้แหละที่เชิญพล.ต.อ.ปทีปออกจากห้องประชุม เพราะเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แล้วนายกฯ ก็พูดคุยเป็นการภายใน โดยมีก.ต.ช. บางรายรับลูก เพื่อนำไปสู่การรวบรัดเรื่องแต่งตั้งผบ.ตร.
ปรากฏว่าก.ต.ช.ส่วนใหญ่คัดค้าน!
ต้องย้ำว่าส่วนใหญ่
เพราะระหว่างนั้นนายกฯ คงนั่งนับนิ้วดูแล้ว
เห็นแล้วในขณะนั้น ว่าใครมีท่าทีเช่นไร!
เมื่อก.ต.ช.ส่วนข้างมากไม่ขานรับ ก็แปลว่าถึงจะขอโหวตตั้งผบ.ตร.เลยตอนนั้นก็คงไม่สำเร็จอีกเป็นแน่
ลงเอยจึงต้องปิดการประชุม
องค์กรตำรวจก็ยังไม่ได้ตัวผบ.ตร.
ไม่เข้าใจว่า เหตุใดจึงไม่บรรจุวาระการแต่งตั้งผบ.ตร. เข้าไปเลยตั้งแต่แรก
มาใช้วิธีล็อบบี้ในวงประชุมแล้วเพิ่มเป็นวาระเร่งด่วนเดี๋ยวนั้น เลยเกิดปัญหา!?
ตั้งผบ.ตร.ตำแหน่งใหญ่โต ดูแลตำรวจตั้งสองแสนคน ควรต้องเปิดเผยตรงไปตรงมา
เป็นวิธีคิดและวิธีปฏิบัติที่แปลกประหลาดอีกหนของนายกรัฐมนตรี!
วงค์ ตาวัน
การประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติหรือก.ต.ช. ที่เปิดฉากขึ้นก่อนวันตัดสินคดียึดทรัพย์ทักษิณ 1 วัน ลงเอยด้วยอาการเคร่งเครียดของนายกฯอภิสิทธิ์ ถึงกับไม่ยอมให้สัมภาษณ์ใดๆ หลังเสร็จสิ้นการประชุม
ขณะที่กรรมการก.ต.ช.บางคน ให้สัมภาษณ์ทำนองว่า ไม่มีวาระการแต่งตั้งผบ.ตร.แต่อย่างใด
แต่ภาพที่นักข่าวเห็นกันอย่างโจ่งแจ้งคือ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ ต้องออกจากห้องประชุมราว 10-15 นาที
ถ้าไม่มีวาระที่เกี่ยวข้องกับพล.ต.อ.ปทีปโดยตรง แล้วต้องเชิญออกทำไม!
จริงอยู่ วาระการประชุมที่กำหนดเอาไว้ในวันนั้น ไม่มีเรื่องการแต่งตั้งผบ.ตร.อย่างแน่นอน
มีวาระการเปิดตำแหน่งนายตำรวจราชสำนักประจำ ระดับพล.ต.ท.และพล.ต.ต.
แล้ววาระเปิดตำแหน่งนี้ ก็ทำเอานายกฯ อารมณ ไม่ดี เพราะโดนก.ต.ช.เบรก ในประเด็นการจัดทำรายละเอียดในลักษณะผิดขั้นตอน
ก.ต.ช.ไม่ขัดข้อง แต่เห็นว่าเสนอมาไม่ถูกต้อง สุดท้ายก็ต้องนำเรื่องนี้กลับไปจัดการใหม่ให้เรียบร้อยก่อน
พอหมดวาระการประชุมที่กำหนดไว้แล้ว นายกฯ จึงขอหารือเป็นการพิเศษ
ตอนนี้แหละที่เชิญพล.ต.อ.ปทีปออกจากห้องประชุม เพราะเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แล้วนายกฯ ก็พูดคุยเป็นการภายใน โดยมีก.ต.ช. บางรายรับลูก เพื่อนำไปสู่การรวบรัดเรื่องแต่งตั้งผบ.ตร.
ปรากฏว่าก.ต.ช.ส่วนใหญ่คัดค้าน!
ต้องย้ำว่าส่วนใหญ่
เพราะระหว่างนั้นนายกฯ คงนั่งนับนิ้วดูแล้ว
เห็นแล้วในขณะนั้น ว่าใครมีท่าทีเช่นไร!
เมื่อก.ต.ช.ส่วนข้างมากไม่ขานรับ ก็แปลว่าถึงจะขอโหวตตั้งผบ.ตร.เลยตอนนั้นก็คงไม่สำเร็จอีกเป็นแน่
ลงเอยจึงต้องปิดการประชุม
องค์กรตำรวจก็ยังไม่ได้ตัวผบ.ตร.
ไม่เข้าใจว่า เหตุใดจึงไม่บรรจุวาระการแต่งตั้งผบ.ตร. เข้าไปเลยตั้งแต่แรก
มาใช้วิธีล็อบบี้ในวงประชุมแล้วเพิ่มเป็นวาระเร่งด่วนเดี๋ยวนั้น เลยเกิดปัญหา!?
ตั้งผบ.ตร.ตำแหน่งใหญ่โต ดูแลตำรวจตั้งสองแสนคน ควรต้องเปิดเผยตรงไปตรงมา
เป็นวิธีคิดและวิธีปฏิบัติที่แปลกประหลาดอีกหนของนายกรัฐมนตรี!