26 กุมภาพันธ์ 2553 เป็นวันตัดสินคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านบาท พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี สังคมกำลังจับจ้อง...กลายเป็นประเด็นร้อนฮอตฮิตในห้องราชดำเนินคอการเมืองพันธุ์แท้...เว็บไซต์พันทิป
หลากหลายความเห็นเกี่ยวกับคดียึดทรัพย์ พรั่งพรูเหมือนสายน้ำไม่ขาดสาย มีทั้งคนเห็นด้วย...ไม่เห็นด้วย บางความเห็นก็รู้สึกกลางๆ...
อยากให้ตั้งสติ...คิดให้ดีก่อนที่จะทำจะพูดอะไรออกมา
กระทู้หนึ่งในนั้น ผู้โพสต์ใช้ชื่อว่า "ดลดวงดี" จั่วหัวว่า "วิจารณ์หน่อย" ความเห็นส่วนตัว ต้องบอกว่า โดนแน่ๆ...เพราะอะไร คงไม่ต้องสาธยายกันให้ เปลืองเนื้อที่อีก แต่อยากรู้จริงๆว่า...จะเกิดอะไรขึ้น หลังยึดทรัพย์ไปแล้ว เช่น
1. โหมโรงเสื้อแดง ตะลุย "ไม่ชนะ...ไม่เลิก" 2. อยากยึด...ให้ยึดไป มีอีกเยอะ เงินแค่นี้ น้ำจิ้ม เดินหน้าต่อ 3. หมดงบสู้แล้ว ปล่อยให้อำมาตย์ทำอะไรได้ตามใจชอบ เลิกยุ่งการเมือง ทำธุรกิจดีกว่า
4. อยากยึด...ให้ยึดไป มีโอกาสเมื่อไหร่ค่อยมาทวงคืน เดินหน้ากับเสื้อแดง สู้แบบเดิมๆ ป่วนไปเรื่อยๆจนกว่าอำมาตย์จะแพ้ 5. อื่นๆ...แล้วแต่เซียนจะเสนอแนะมาครับ
คุณ "มุมแดง" น่าจะเป็นฝ่ายหัวใจแดง บอกว่า เรื่องเล็ก...ยึดเอาไปได้ภายหลังก็คืนเขาได้ เพราะเรารู้ดีว่ายึดตามใบสั่ง...คุณสุทธิสาร โพสต์เป็นรายต่อมา เห็นว่า ศาลต้องอธิบายให้ได้ว่ายึดเขาด้วยข้อกฎหมายใด...นะครับ
ขณะที่อีกหลายทรรศนะก็เห็นว่า...ไม่โดน ส่วนผู้ใช้นามว่า "สุดยอดเซียน" บอกว่า ยังเชื่อมั่นในความยุติธรรม เงินของเขา เขาทำมาหากิน จะไปยึดมาได้ยังไง...
"ถ้ายึด...มันจะกลายเป็นบรรทัดฐาน คราวนี้ยุ่งเละเทะแน่ๆ ใครมาบริหารแล้วตัดสินใจอะไรไป เกิดเสียหาย...ใครสักคนหาเรื่องโยงใย มิต้องยึดทรัพย์เรียงตัวเหรอ..."
เหล่านี้เป็นมุมมองหลากหลายในกระโถนท้องพระโรง ปลดปล่อยอารมณ์ ได้อย่างอิสระในเน็ตฯ อาจไม่ได้คำนึงถึงว่าความเห็นที่สื่อออกมามีน้ำหนักกระทบใครมากน้อย และที่สำคัญไม่มีใครที่จะคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อความคิดเห็นที่แสดงออกมาเท่าใดนัก
เทียบกับความเห็นเชิงวิชาการ ในฐานะนักวิชาการย่อมมีน้ำหนักต่างกัน พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองภาพใหญ่ เอาไว้ว่า คำพิพากษาในคดีนี้จะเป็นตัวชี้วัดเรื่องตุลาการภิวัฒน์ในสังคมไทย
สิ่งที่ต้องเผชิญหน้ากันแน่นอน มี 3 เรื่อง คือ...
1. การปกครองโดยใช้หลักกฎหมาย หรือ หลักนิติธรรม (Rule of Law) ที่ทุกคนต้องเสมอภาคกันภายใต้กฎหมายเดียวกัน
"พ.ต.ท.ทักษิณก็มีปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน แต่อีกด้านหนึ่ง...คดีของบรรดาบุคคลที่โดนตรวจสอบ หลังการรัฐประหารก็มีปัญหาในเรื่องนี้เช่นกัน จนนำมาซึ่งข้อกล่าวหา...เรื่องสองมาตรฐาน"
2. หลักเสียงข้างมากที่ พ.ต.ท.ทักษิณพยายามอ้างอยู่เสมอตอนที่เป็นรัฐบาล แต่มีประเด็นว่า...หากเป็นเสียงข้างมากที่ไม่เกี่ยวกับความถูกต้อง มันก็อยู่กันไม่ได้ ซึ่งที่ผ่านมา พ.ต.ท.ทักษิณในการออกกฎหมายหรือดำเนินการในเรื่องใดๆที่เป็นประเด็นในคดียึดทรัพย์ ก็มีปัญหาในเรื่องความถูกต้อง
ปริญญา
"การที่เสียงข้างมากจะสามารถออกกฎหมายหรือแก้ไขกฎหมาย เพื่อเอื้อประโยชน์ให้ตนเองได้หรือไม่...ซึ่งประชาธิปไตยไทยในตอนนั้น ก็ไม่สามารถประกันความยุติธรรมได้..."
3. หลักตุลาการภิวัฒน์ ซึ่งหลักนี้...ถ้าไม่ยึดโยงประชาชนก็อยู่ไม่ได้
อาจารย์พิชญ์ ย้ำว่า ทั้งสามเรื่องจะเผชิญหน้ากัน โดยไม่ใช่ในบริบทแค่คดียึดทรัพย์ แต่เป็นบริบทการรัฐประหารปี 2549 คำพิพากษาที่ออกมาจะยึดโยงใน 3 มิตินี้มาก
หากคำพิพากษาในแง่ที่แย่ที่สุด คือ...ไม่ว่าจะยึดทรัพย์ แค่ไหน...เท่าไหร่ แต่เนื้อหาในคำพิพากษาใช้หลักการเพียงแต่ตุลาการภิวัฒน์ว่า... "ตนมีอำนาจตัดสิน"
แต่ไม่สามารถตรวจสอบคำตัดสินได้ และหากตอบไม่ชัดถึงอำนาจในการตัดสินว่ามาจากไหนตามหลักการประชาธิปไตย...เพราะ คตส.ที่มาตรวจสอบและส่งเรื่องเข้าสู่กระบวนการตัดสิน ตั้งขึ้นโดยคณะรัฐประหาร...
ประเด็นติดใจสงสัย ที่มาของ คตส. ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ และรองอธิการบดี มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ให้ทรรศนะว่า...สิ่งที่ต้องอธิบายเพิ่มเติมคือความต่างของ คตส.ชุดนี้ กับ คตส.ตอนปี 2534
"ความแตกต่าง คตส.ปี 2534... รสช. คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ นำโดยพลเอกสุจินดา คราประยูร มีอำนาจในการยึดทรัพย์ด้วย มีนักการเมืองถูกยึดทรัพย์ทั้งหมด 10 คน ตั้งแต่นายกฯ และรัฐมนตรีร่วม ครม.
ปรากฏว่า...ในปี 2536 พลเอกชาติชาย ฟ้องต่อศาลเพื่อจะบอกว่าการยึดทรัพย์ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ คดีไปถึงศาลฎีกา พิพากษาว่า คตส.ไม่ใช่ฝ่ายตุลาการ แต่การยึดทรัพย์นั้นเป็นอำนาจตุลาการ การยึดทรัพย์จึงขัดรัฐธรรมนูญ ให้คืนทรัพย์สินทั้งหมด"
จุดสำคัญ...ทำให้ คตส.ชุดนี้มีฐานะเพียงเป็นพนักงานสอบสวน มีอำนาจอายัดเท่านั้น
"ความบกพร่องคดีนี้อยู่ที่พนักงานสอบสวน ที่มีการคลางแคลงว่า มีอำนาจแค่ไหนอย่างไร" อาจารย์ปริญญา ว่า
"เรื่องนี้จะเห็นได้ว่าการแก้ปัญหาโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง ทำให้การแก้ปัญหามันแก้ได้ยาก ต่อให้มีการกระทำผิดเกิดขึ้นแล้วเราใช้วิธีการที่ผิดในการแก้ สุดท้ายก็ไม่รู้ว่าใครผิด แล้วจะแก้ไปให้ไปสู่สิ่งที่มันถูกได้อย่างไร"
อย่างไรก็ตาม กรณี คตส.ก็เป็น คตส.ที่มีอำนาจยึดทรัพย์เพียงอย่างเดียว แม้เราจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม
มองอนาคต...จะเกิดความแตกแยกภาคประชาชน สังคมมากขึ้นหรือเปล่า?
ทรรศนะส่วนตัวคิดว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่ต้องการเห็นความรุนแรงเกิดขึ้น เรามีความเติบโตมากขึ้น ยอมรับการเรียกร้องประชาธิปไตยและการชุมนุมกันมากขึ้น แต่การเคลื่อนไหวหรือการเรียกร้องประชาธิปไตยเกินขอบเขต มีการละเมิดกติกา
อาจารย์ปริญญา ย้ำว่า คนไทย...ส่วนใหญ่คงไม่ต้องการ
นำบ้านเมืองไปสู่ความรุนแรง เหตุการณ์ลุกลามบานปลาย ถือว่ามีผลในรอบสองปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีโอกาสเกิดเหตุนองเลือดลุกลามเป็นสงครามกลางเมืองอย่างน้อย 4 ครั้ง...
พันธมิตรฯยึดทำเนียบรัฐบาล ล้อมรัฐสภา ยึดสนามบิน รุนแรง สูญเสีย แต่ไม่ลุกลาม กระทั่งเสื้อแดง พลิกขั้วในรัฐบาลนอกสภา เปลี่ยนคนประท้วงจากเสื้อเหลืองมาเป็นเสื้อแดง ...สงกรานต์ที่แล้วก็มีโอกาสเกิดเหตุนองเลือด แต่เหตุการณ์ก็ไม่ลุกลาม
"ผู้วิเคราะห์สถานการณ์ต่างประเทศก็วิเคราะห์ว่าประเทศไทยต้องนองเลือด แต่ก็ไม่เข้าใจทำไมไม่นองเลือด...เป็นข้อพิสูจน์พลังของสังคมไทยที่ต้องการความสงบ ไม่ต้องการความรุนแรง มันมีอยู่จริงและประคับประคองสถานการณ์เอาไว้ได้"
ปัจจัยความรุนแรงมันมี แต่เราประคับประคองมาได้ ความสูญเสียที่เคยเกิดขึ้นนับจาก 14 ตุลา 2516...6 ตุลาคม 2519 หรือพฤษภาคม 2535 น่าจะเป็นบทเรียนของเราทุกคน
อาจารย์ปริญญา ยังย้ำประโยคเดิมที่ว่า ความรุนแรงมีแต่ความสูญเสีย ไม่ได้แก้ปัญหา สุดท้ายคนที่แพ้ก็คือ...ประเทศชาติ
"เราจะพบว่า สังคมไทยเติบโตมากขึ้นจริงๆ ใครทำเกินกติกา สังคมไม่เอาด้วย ก็ไม่สามารถชนะได้ เป็นพลังของคนส่วนใหญ่ โอกาสความขัดแย้ง ความแตกแยกถึงจะมีอยู่ ปัญหายังแก้ไม่ได้ แต่จะไม่ลุกลาม อดทนกันได้มากขึ้นแล้วจะอยู่กันต่อไปได้"
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ จะได้พิสูจน์กันว่า...
"ไม่ว่าจะเป็นเสื้อสีอะไรก็ตาม ถ้าทำเกินขอบเขต ประชาชนส่วนใหญ่ก็จะไม่เอาด้วย ทุกฝ่ายพูดว่าเป็นประชาชน แต่ประชาชนมีความหลากหลาย เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ไม่เอาด้วยแน่ ตรงนี้จะเป็นสิ่งที่เป็นพลังที่ควบคุมสถานการณ์เอาไว้"
ทั้งนี้ทั้งนั้นอยู่ที่คำพิพากษาที่จะออกมา ในแง่ประชาชนเราต้องยอมรับ แม้จะมีสิทธิไม่เห็นด้วย จะดูคำตัดสินเป็นทางไหนดูแค่นั้นไม่ได้ ต้องดูเหตุผลของศาลด้วย เพราะศาลจะใช้ข้อเท็จจริงในการตัดสิน
ประชาชนต้องดูว่าข้อเท็จจริงมันคืออะไร ทำไมศาลจึงตัดสินแบบนั้น
"ถ้าหากเราเป็นผู้ใหญ่กันมากขึ้น ใช้สติกันมากขึ้น ผมว่าเราจะผ่านวันที่ 26 กุมภาพันธ์นี้ไปได้"
ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ และรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวทิ้งท้าย.
หลากหลายความเห็นเกี่ยวกับคดียึดทรัพย์ พรั่งพรูเหมือนสายน้ำไม่ขาดสาย มีทั้งคนเห็นด้วย...ไม่เห็นด้วย บางความเห็นก็รู้สึกกลางๆ...
อยากให้ตั้งสติ...คิดให้ดีก่อนที่จะทำจะพูดอะไรออกมา
กระทู้หนึ่งในนั้น ผู้โพสต์ใช้ชื่อว่า "ดลดวงดี" จั่วหัวว่า "วิจารณ์หน่อย" ความเห็นส่วนตัว ต้องบอกว่า โดนแน่ๆ...เพราะอะไร คงไม่ต้องสาธยายกันให้ เปลืองเนื้อที่อีก แต่อยากรู้จริงๆว่า...จะเกิดอะไรขึ้น หลังยึดทรัพย์ไปแล้ว เช่น
1. โหมโรงเสื้อแดง ตะลุย "ไม่ชนะ...ไม่เลิก" 2. อยากยึด...ให้ยึดไป มีอีกเยอะ เงินแค่นี้ น้ำจิ้ม เดินหน้าต่อ 3. หมดงบสู้แล้ว ปล่อยให้อำมาตย์ทำอะไรได้ตามใจชอบ เลิกยุ่งการเมือง ทำธุรกิจดีกว่า
4. อยากยึด...ให้ยึดไป มีโอกาสเมื่อไหร่ค่อยมาทวงคืน เดินหน้ากับเสื้อแดง สู้แบบเดิมๆ ป่วนไปเรื่อยๆจนกว่าอำมาตย์จะแพ้ 5. อื่นๆ...แล้วแต่เซียนจะเสนอแนะมาครับ
คุณ "มุมแดง" น่าจะเป็นฝ่ายหัวใจแดง บอกว่า เรื่องเล็ก...ยึดเอาไปได้ภายหลังก็คืนเขาได้ เพราะเรารู้ดีว่ายึดตามใบสั่ง...คุณสุทธิสาร โพสต์เป็นรายต่อมา เห็นว่า ศาลต้องอธิบายให้ได้ว่ายึดเขาด้วยข้อกฎหมายใด...นะครับ
ขณะที่อีกหลายทรรศนะก็เห็นว่า...ไม่โดน ส่วนผู้ใช้นามว่า "สุดยอดเซียน" บอกว่า ยังเชื่อมั่นในความยุติธรรม เงินของเขา เขาทำมาหากิน จะไปยึดมาได้ยังไง...
"ถ้ายึด...มันจะกลายเป็นบรรทัดฐาน คราวนี้ยุ่งเละเทะแน่ๆ ใครมาบริหารแล้วตัดสินใจอะไรไป เกิดเสียหาย...ใครสักคนหาเรื่องโยงใย มิต้องยึดทรัพย์เรียงตัวเหรอ..."
เหล่านี้เป็นมุมมองหลากหลายในกระโถนท้องพระโรง ปลดปล่อยอารมณ์ ได้อย่างอิสระในเน็ตฯ อาจไม่ได้คำนึงถึงว่าความเห็นที่สื่อออกมามีน้ำหนักกระทบใครมากน้อย และที่สำคัญไม่มีใครที่จะคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อความคิดเห็นที่แสดงออกมาเท่าใดนัก
เทียบกับความเห็นเชิงวิชาการ ในฐานะนักวิชาการย่อมมีน้ำหนักต่างกัน พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองภาพใหญ่ เอาไว้ว่า คำพิพากษาในคดีนี้จะเป็นตัวชี้วัดเรื่องตุลาการภิวัฒน์ในสังคมไทย
สิ่งที่ต้องเผชิญหน้ากันแน่นอน มี 3 เรื่อง คือ...
1. การปกครองโดยใช้หลักกฎหมาย หรือ หลักนิติธรรม (Rule of Law) ที่ทุกคนต้องเสมอภาคกันภายใต้กฎหมายเดียวกัน
"พ.ต.ท.ทักษิณก็มีปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน แต่อีกด้านหนึ่ง...คดีของบรรดาบุคคลที่โดนตรวจสอบ หลังการรัฐประหารก็มีปัญหาในเรื่องนี้เช่นกัน จนนำมาซึ่งข้อกล่าวหา...เรื่องสองมาตรฐาน"
2. หลักเสียงข้างมากที่ พ.ต.ท.ทักษิณพยายามอ้างอยู่เสมอตอนที่เป็นรัฐบาล แต่มีประเด็นว่า...หากเป็นเสียงข้างมากที่ไม่เกี่ยวกับความถูกต้อง มันก็อยู่กันไม่ได้ ซึ่งที่ผ่านมา พ.ต.ท.ทักษิณในการออกกฎหมายหรือดำเนินการในเรื่องใดๆที่เป็นประเด็นในคดียึดทรัพย์ ก็มีปัญหาในเรื่องความถูกต้อง
ปริญญา
"การที่เสียงข้างมากจะสามารถออกกฎหมายหรือแก้ไขกฎหมาย เพื่อเอื้อประโยชน์ให้ตนเองได้หรือไม่...ซึ่งประชาธิปไตยไทยในตอนนั้น ก็ไม่สามารถประกันความยุติธรรมได้..."
3. หลักตุลาการภิวัฒน์ ซึ่งหลักนี้...ถ้าไม่ยึดโยงประชาชนก็อยู่ไม่ได้
อาจารย์พิชญ์ ย้ำว่า ทั้งสามเรื่องจะเผชิญหน้ากัน โดยไม่ใช่ในบริบทแค่คดียึดทรัพย์ แต่เป็นบริบทการรัฐประหารปี 2549 คำพิพากษาที่ออกมาจะยึดโยงใน 3 มิตินี้มาก
หากคำพิพากษาในแง่ที่แย่ที่สุด คือ...ไม่ว่าจะยึดทรัพย์ แค่ไหน...เท่าไหร่ แต่เนื้อหาในคำพิพากษาใช้หลักการเพียงแต่ตุลาการภิวัฒน์ว่า... "ตนมีอำนาจตัดสิน"
แต่ไม่สามารถตรวจสอบคำตัดสินได้ และหากตอบไม่ชัดถึงอำนาจในการตัดสินว่ามาจากไหนตามหลักการประชาธิปไตย...เพราะ คตส.ที่มาตรวจสอบและส่งเรื่องเข้าสู่กระบวนการตัดสิน ตั้งขึ้นโดยคณะรัฐประหาร...
ประเด็นติดใจสงสัย ที่มาของ คตส. ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ และรองอธิการบดี มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ให้ทรรศนะว่า...สิ่งที่ต้องอธิบายเพิ่มเติมคือความต่างของ คตส.ชุดนี้ กับ คตส.ตอนปี 2534
"ความแตกต่าง คตส.ปี 2534... รสช. คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ นำโดยพลเอกสุจินดา คราประยูร มีอำนาจในการยึดทรัพย์ด้วย มีนักการเมืองถูกยึดทรัพย์ทั้งหมด 10 คน ตั้งแต่นายกฯ และรัฐมนตรีร่วม ครม.
ปรากฏว่า...ในปี 2536 พลเอกชาติชาย ฟ้องต่อศาลเพื่อจะบอกว่าการยึดทรัพย์ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ คดีไปถึงศาลฎีกา พิพากษาว่า คตส.ไม่ใช่ฝ่ายตุลาการ แต่การยึดทรัพย์นั้นเป็นอำนาจตุลาการ การยึดทรัพย์จึงขัดรัฐธรรมนูญ ให้คืนทรัพย์สินทั้งหมด"
จุดสำคัญ...ทำให้ คตส.ชุดนี้มีฐานะเพียงเป็นพนักงานสอบสวน มีอำนาจอายัดเท่านั้น
"ความบกพร่องคดีนี้อยู่ที่พนักงานสอบสวน ที่มีการคลางแคลงว่า มีอำนาจแค่ไหนอย่างไร" อาจารย์ปริญญา ว่า
"เรื่องนี้จะเห็นได้ว่าการแก้ปัญหาโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง ทำให้การแก้ปัญหามันแก้ได้ยาก ต่อให้มีการกระทำผิดเกิดขึ้นแล้วเราใช้วิธีการที่ผิดในการแก้ สุดท้ายก็ไม่รู้ว่าใครผิด แล้วจะแก้ไปให้ไปสู่สิ่งที่มันถูกได้อย่างไร"
อย่างไรก็ตาม กรณี คตส.ก็เป็น คตส.ที่มีอำนาจยึดทรัพย์เพียงอย่างเดียว แม้เราจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม
มองอนาคต...จะเกิดความแตกแยกภาคประชาชน สังคมมากขึ้นหรือเปล่า?
ทรรศนะส่วนตัวคิดว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่ต้องการเห็นความรุนแรงเกิดขึ้น เรามีความเติบโตมากขึ้น ยอมรับการเรียกร้องประชาธิปไตยและการชุมนุมกันมากขึ้น แต่การเคลื่อนไหวหรือการเรียกร้องประชาธิปไตยเกินขอบเขต มีการละเมิดกติกา
อาจารย์ปริญญา ย้ำว่า คนไทย...ส่วนใหญ่คงไม่ต้องการ
นำบ้านเมืองไปสู่ความรุนแรง เหตุการณ์ลุกลามบานปลาย ถือว่ามีผลในรอบสองปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีโอกาสเกิดเหตุนองเลือดลุกลามเป็นสงครามกลางเมืองอย่างน้อย 4 ครั้ง...
พันธมิตรฯยึดทำเนียบรัฐบาล ล้อมรัฐสภา ยึดสนามบิน รุนแรง สูญเสีย แต่ไม่ลุกลาม กระทั่งเสื้อแดง พลิกขั้วในรัฐบาลนอกสภา เปลี่ยนคนประท้วงจากเสื้อเหลืองมาเป็นเสื้อแดง ...สงกรานต์ที่แล้วก็มีโอกาสเกิดเหตุนองเลือด แต่เหตุการณ์ก็ไม่ลุกลาม
"ผู้วิเคราะห์สถานการณ์ต่างประเทศก็วิเคราะห์ว่าประเทศไทยต้องนองเลือด แต่ก็ไม่เข้าใจทำไมไม่นองเลือด...เป็นข้อพิสูจน์พลังของสังคมไทยที่ต้องการความสงบ ไม่ต้องการความรุนแรง มันมีอยู่จริงและประคับประคองสถานการณ์เอาไว้ได้"
ปัจจัยความรุนแรงมันมี แต่เราประคับประคองมาได้ ความสูญเสียที่เคยเกิดขึ้นนับจาก 14 ตุลา 2516...6 ตุลาคม 2519 หรือพฤษภาคม 2535 น่าจะเป็นบทเรียนของเราทุกคน
อาจารย์ปริญญา ยังย้ำประโยคเดิมที่ว่า ความรุนแรงมีแต่ความสูญเสีย ไม่ได้แก้ปัญหา สุดท้ายคนที่แพ้ก็คือ...ประเทศชาติ
"เราจะพบว่า สังคมไทยเติบโตมากขึ้นจริงๆ ใครทำเกินกติกา สังคมไม่เอาด้วย ก็ไม่สามารถชนะได้ เป็นพลังของคนส่วนใหญ่ โอกาสความขัดแย้ง ความแตกแยกถึงจะมีอยู่ ปัญหายังแก้ไม่ได้ แต่จะไม่ลุกลาม อดทนกันได้มากขึ้นแล้วจะอยู่กันต่อไปได้"
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ จะได้พิสูจน์กันว่า...
"ไม่ว่าจะเป็นเสื้อสีอะไรก็ตาม ถ้าทำเกินขอบเขต ประชาชนส่วนใหญ่ก็จะไม่เอาด้วย ทุกฝ่ายพูดว่าเป็นประชาชน แต่ประชาชนมีความหลากหลาย เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ไม่เอาด้วยแน่ ตรงนี้จะเป็นสิ่งที่เป็นพลังที่ควบคุมสถานการณ์เอาไว้"
ทั้งนี้ทั้งนั้นอยู่ที่คำพิพากษาที่จะออกมา ในแง่ประชาชนเราต้องยอมรับ แม้จะมีสิทธิไม่เห็นด้วย จะดูคำตัดสินเป็นทางไหนดูแค่นั้นไม่ได้ ต้องดูเหตุผลของศาลด้วย เพราะศาลจะใช้ข้อเท็จจริงในการตัดสิน
ประชาชนต้องดูว่าข้อเท็จจริงมันคืออะไร ทำไมศาลจึงตัดสินแบบนั้น
"ถ้าหากเราเป็นผู้ใหญ่กันมากขึ้น ใช้สติกันมากขึ้น ผมว่าเราจะผ่านวันที่ 26 กุมภาพันธ์นี้ไปได้"
ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ และรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวทิ้งท้าย.