สถานการณ์บ้านเมือง ก่อนถึงวันพิพากษาคดีสำคัญทางการเมืองดูจะวุ่นวายชอบกล การที่กลุ่มคนบางกลุ่มพยายามจะ ใช้อภิสิทธิ์ออกมากดดันและชี้นำกระบวนการพิจารณาคดี โดยวิธีการต่างๆ นอกจากจะดูไม่เหมาะสมแล้ว ยังชี้ให้เห็นถึงความไม่เสมอภาคในสังคมไทยด้วย
กรณีคนบางกลุ่มออกมาให้สัมภาษณ์ต่อสาธารณชนว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความพยายามที่จะติดสินบนศาลด้วยจำนวนเงินเป็นพันล้านบาทนั้น ถือเป็นการละเมิดเอกสิทธิ์กระบวนการยุติธรรม หรือพูดภาษาชาวบ้านก็คือเป็นการละเมิดอำนาจศาลตรงๆ
ก่อนหน้านี้ก็มีคนใน คตส.ออกมาชี้นำในเชิงผลของคดีว่าจะต้องยึดทรัพย์ในลักษณะไหน เป็นจำนวนเท่าไหร่ สรุปแล้ว คนที่มีอคติกลุ่มนี้มีความพยายามกดดัน ที่จะให้กระบวนการยุติธรรมยึดทรัพย์ชนิดขุดรากถอนโคน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ได้
ที่สังคมติดตามและจับตาไปมากกว่านั้นก็คือทำไมมี คนกลุ่มหนึ่งที่มีอภิสิทธิ์ จะวิพากษ์วิจารณ์ชี้นำอะไรก็ได้ อย่างอิสรเสรีแม้จะละเมิดเอกสิทธิ์ของผู้อื่นก็ตาม
เพราะคดีนี้ไม่เกี่ยวข้องเฉพาะกับหลักกฎหมายอย่างเดียว แต่เกี่ยวข้องกับหลักรัฐศาสตร์ด้วย สมมติงานนี้มีการยึดทรัพย์จริง ก็จะวิจารณ์กันว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ซื้อขบวนการยุติธรรมไม่สำเร็จ แต่ถ้าไม่มีการยึดทรัพย์หรือยึดแต่เพียงบางส่วน ก็จะวิจารณ์กันไปอีกว่า กระบวนการยุติธรรมถูกซื้อ
เหล่านี้จะต้องตัดไฟเสียตั้งแต่ต้นลม
การที่ คุณสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาลยุติธรรม ออกมาแถลงถึงกรณีข้อกล่าวหาสินบนดังกล่าวไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด และที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีเรื่องเสนอสินบนใดๆ ถือว่าถูกต้องแล้ว
สำหรับการออกมาวิพากษ์วิจารณ์ศาลนั้น คุณสิทธิศักดิ์ ชี้แจงว่า ศาลไม่ต้องการสร้างเงื่อนไขใดๆโดยไม่จำเป็น การวิจารณ์ส่วนใหญ่ก็เป็นการคาดเดาเอาเอง และศาลไม่ต้องแสดงว่าร้อนตัวจนต้องสั่งห้ามใดๆ แต่ถ้ามีการวิจารณ์หมิ่นเหม่กระทบต่อการพิจารณาคดีหรือองค์คณะ ก็ต้องดำเนินการตามมาตรฐานกฎหมายต่อไป
สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่าว่าคำตัดสินจะออกมาอย่างไร หรือการคาดเดาวิพากษ์วิจารณ์คำตัดสินล่วงหน้าก็คือ วิกฤติศรัทธา ดังนั้นทุกคนจึงจำเป็นต้องรักษากติกาโดยเคร่งครัด
ไม่ใช้อภิสิทธิ์เหนือเอกสิทธิ์
วันนี้มีคนกลุ่มน้อยบางกลุ่มที่พยายามทำตัวมีอภิสิทธิ์เหนือกฎหมาย เหนือกระบวนการยุติธรรมเหนือสถาบันต่าง ๆ ตราบใดที่คนกลุ่มนี้ยังมีมาตรฐานสิทธิ เหนือคนอื่น โอกาสที่จะเกิดวิกฤติศรัทธาเป็นไปได้มาก หมดศรัทธาก็สิ้นกติกา
เข้าสู่ยุคบ้านป่าเมืองเถื่อน.
กรณีคนบางกลุ่มออกมาให้สัมภาษณ์ต่อสาธารณชนว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความพยายามที่จะติดสินบนศาลด้วยจำนวนเงินเป็นพันล้านบาทนั้น ถือเป็นการละเมิดเอกสิทธิ์กระบวนการยุติธรรม หรือพูดภาษาชาวบ้านก็คือเป็นการละเมิดอำนาจศาลตรงๆ
ก่อนหน้านี้ก็มีคนใน คตส.ออกมาชี้นำในเชิงผลของคดีว่าจะต้องยึดทรัพย์ในลักษณะไหน เป็นจำนวนเท่าไหร่ สรุปแล้ว คนที่มีอคติกลุ่มนี้มีความพยายามกดดัน ที่จะให้กระบวนการยุติธรรมยึดทรัพย์ชนิดขุดรากถอนโคน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ได้
ที่สังคมติดตามและจับตาไปมากกว่านั้นก็คือทำไมมี คนกลุ่มหนึ่งที่มีอภิสิทธิ์ จะวิพากษ์วิจารณ์ชี้นำอะไรก็ได้ อย่างอิสรเสรีแม้จะละเมิดเอกสิทธิ์ของผู้อื่นก็ตาม
เพราะคดีนี้ไม่เกี่ยวข้องเฉพาะกับหลักกฎหมายอย่างเดียว แต่เกี่ยวข้องกับหลักรัฐศาสตร์ด้วย สมมติงานนี้มีการยึดทรัพย์จริง ก็จะวิจารณ์กันว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ซื้อขบวนการยุติธรรมไม่สำเร็จ แต่ถ้าไม่มีการยึดทรัพย์หรือยึดแต่เพียงบางส่วน ก็จะวิจารณ์กันไปอีกว่า กระบวนการยุติธรรมถูกซื้อ
เหล่านี้จะต้องตัดไฟเสียตั้งแต่ต้นลม
การที่ คุณสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาลยุติธรรม ออกมาแถลงถึงกรณีข้อกล่าวหาสินบนดังกล่าวไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด และที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีเรื่องเสนอสินบนใดๆ ถือว่าถูกต้องแล้ว
สำหรับการออกมาวิพากษ์วิจารณ์ศาลนั้น คุณสิทธิศักดิ์ ชี้แจงว่า ศาลไม่ต้องการสร้างเงื่อนไขใดๆโดยไม่จำเป็น การวิจารณ์ส่วนใหญ่ก็เป็นการคาดเดาเอาเอง และศาลไม่ต้องแสดงว่าร้อนตัวจนต้องสั่งห้ามใดๆ แต่ถ้ามีการวิจารณ์หมิ่นเหม่กระทบต่อการพิจารณาคดีหรือองค์คณะ ก็ต้องดำเนินการตามมาตรฐานกฎหมายต่อไป
สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่าว่าคำตัดสินจะออกมาอย่างไร หรือการคาดเดาวิพากษ์วิจารณ์คำตัดสินล่วงหน้าก็คือ วิกฤติศรัทธา ดังนั้นทุกคนจึงจำเป็นต้องรักษากติกาโดยเคร่งครัด
ไม่ใช้อภิสิทธิ์เหนือเอกสิทธิ์
วันนี้มีคนกลุ่มน้อยบางกลุ่มที่พยายามทำตัวมีอภิสิทธิ์เหนือกฎหมาย เหนือกระบวนการยุติธรรมเหนือสถาบันต่าง ๆ ตราบใดที่คนกลุ่มนี้ยังมีมาตรฐานสิทธิ เหนือคนอื่น โอกาสที่จะเกิดวิกฤติศรัทธาเป็นไปได้มาก หมดศรัทธาก็สิ้นกติกา
เข้าสู่ยุคบ้านป่าเมืองเถื่อน.