บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

“อรรถพล ใหญ่สว่าง”

ที่มา thaifreenews

อรรถพล ใหญ่สว่าง

ธรรมศาสตร์ 11 ก.พ. - “อรรถพล ใหญ่สว่าง” แจงที่มาศาลคดีนักการเมือง ระบุเหตุให้มีศาลเดียวเพื่อต้องการความรวดเร็ว แต่ก็พิจารณาอย่างละเอียด รอบคอบทุกคดี ย้ำอย่าได้คลางแคลงในการทำหน้าที่ของศาล

ในการสัมมนาเรื่อง “กระบวนการยุติธรรมกับคดีอาญานักการเมือง” ซึ่งจัดโดยสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย ช่วงบ่ายวันนี้ (11 ก.พ.) นายอรรถพล ใหญ่สว่าง รองอัยการสูงสุด กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ได้กำหนดให้มีศาลฎีกาพิจารณาคดีของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยตรง ซึ่งก่อนยกร่างกฎหมายลูก ได้มีการดูรูปแบบมาจากหลายประเทศ ตนในฐานะหนึ่งในผู้ยกร่างได้ยึดหลักที่ว่า ไม่ควรปล่อยให้คนชั่วลอยนวล และต้องการพิสูจน์อย่างรวดเร็ว จึงเป็นที่มาของศาลเดียว ต่างจากศาลอาญาปกติที่มี 3 ศาล

นายอรรถพล กล่าวต่อว่า สำหรับการกำหนดพิจารณาคดีลับหลังจำเลยนั้น เป็นเพราะจำเลยมักหลบหนี ส่วนเสียงวิจารณ์มีศาลเดียวไม่เป็นธรรมนั้น ต่อมาก็มีการแก้ไขให้เพิ่มขั้นตอนการอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา แต่จะทำได้ต่อเมื่อมีหลักฐานใหม่ที่มีผลให้คดีเปลี่ยนแปลงภายใน 30 วัน อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าการหาหลักฐานใหม่ภายใน 30 วัน คงเป็นไปได้ยาก

นายอรรถพล กล่าวว่า ศาลฎีกาฯ ใช้ระบบการไต่สวน โดยศาลจะเป็นผู้ไปค้นหาความจริงเป็นหลัก พนักงานอัยการเป็นแค่ผู้ช่วย จะสังเกตได้ว่าเมื่อมีพยาน ศาลจะถามก่อน แล้วจึงอนุญาตให้ทนายฝ่ายจำเลยและฝ่ายอัยการได้ถาม ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะไม่ให้ทนายหรืออัยการถามก็ได้ แต่จะเห็นได้ว่าในคดียึดทรัพย์ ศาลให้โอกาสทนายฝ่ายจำเลยได้นำพยานมาถึง 24 นัด ขณะที่ฝ่ายอัยการได้ 9 นัด ดังนั้น หากจะมาตำหนิว่าศาลไม่ให้ความเป็นธรรมคงไม่ใช่ ทั้งนี้ ยังมีคนตั้งคำถามว่า เมื่อศาลกำหนดวันนัดไต่สวนพยานแล้วครบทุกนัดแล้ว จึงนัดไต่สวนพยานเพิ่มอีกข้อเท็จจริง คือ ศาลต้องการข้อเท็จจริงเพิ่มอีก จะเห็นได้ว่าบุคคลที่มาในสองนัดหลังเป็นบุคคลที่ตัดพยานไปแล้ว จึงอย่าได้คลางแคลงในการทำหน้าที่ของศาล นอกจากนี้ ศาลยังให้เวลายื่นคำแถลงปิดคดีภายใน 30 วันอีก

“อยากเรียนว่าการพิจารณาของศาลฎีกาฯ แม้เป็นศาลเดียว แต่เป็นไปอย่างละเอียดรอบคอบ เปิดโอกาสให้มีการชี้แจงทุกอย่าง จึงจะมีคำพิพากษาออกไป” นายอรรถพล กล่าว

ด้านนายสัก กล่าวว่า การทำหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ได้ยึดหลักตามกฎหมายปกติและใช้ระเบียบของ ป.ป.ช.ทุกอย่าง และการตรวจสอบไต่สวนของ คตส.เปิดโอกาสให้ผู้ที่ถูกชี้มูลพิสูจน์ได้อย่างเต็มที่ แม้จะมีการขอขยายเวลาหรือเลื่อนออกไป คตส.ก็อนุญาตให้ จนถูกตำหนิว่าทำคดีล่าช้า และสำนวนของ คตส. ที่ได้ดำเนินการ อัยการสูงสุดจะทำหน้าที่ฟ้องคดีแทนตามระบบไต่สวน โดยอัยการสูงสุดมีหน้าที่ดูสำนวนที่ คตส.ทำว่าสมบูรณ์หรือไม่ แล้วตั้งคณะทำงานร่วมกัน เพื่อพิจารณาข้อไม่สมบูรณ์ภายใน 30 วัน จากนั้นเมื่อยังหาข้อยุติไม่ได้ ภายใน 14 วัน คตส.สามารถฟ้องคดีเองได้ ซึ่งกรณีที่ต้องกำหนดเรื่องนี้ขึ้น เพื่อไม่ทำให้คดีต้องหยุดกลางคัน.

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker