บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

SMSอัปยศ! 2มาตรฐานชัดๆ

ที่มา บางกอกทูเดย์

แต่จนถึงวันนี้ คดีเอสเอ็มเอสของนายอภิสิทธิ์ กลับซุกเงียบ ไม่ได้มีความกระตือรือล้นจากหน่วยงานที่ควรเป็นองค์กรอิสระที่ทำเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเลยสักนิดแม้แต่นายเรืองไกรก็ยังอดรนทนไม่ไหว ต้องออกมาจี้ทวงถามเป็นระยะๆแถมยังดักคอด้วยว่า ได้ยินมาว่ากรณีนี้ ป.ป.ช. อาจตัดสินว่าไม่มีเจตนา จึงไม่ผิดเหตุการณ์ที่ท้าทายทั้งเรื่องของต่อมคุณธรรม และเรื่องของ 2 มาตรฐาน ที่คาราคาซังมานานอย่างยิ่งคดีหนึ่ง ของการเมืองไทยหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ก็คือ กรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ส่งข้อความสั้นผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือบริการเอสเอ็มเอส ให้ลูกค้าบริษัทมือถือค่ายยักษ์ใหญ่ 3

แห่ง คือ บริษัทเอไอเอส, ดีแทค และทรูมูฟโดยเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม หลังจากที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้รับการโหวตจากสภาฯ เป็นนายกรัฐมนตรี จากนั้นในเช้าวันที่ 16 ธันวาคม 2551 เวลา 08.00 น. นายจิรายุ ดุลยานนท์ นักวิชาการคณะทำงานของนายอภิสิทธิ์ ได้เชิญผู้บริหารทั้ง 3 บริษัทเข้าประชุมที่โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ โดยมีนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โผล่ร่วมด้วยและได้รับทราบว่าการส่งเอสเอ็มเอสนั้น ผู้รับต้องมี

ความประสงค์รับ รวมทั้งการส่งมีค่าใช้จ่ายครั้งละ 1 บาท นายจิรายุจึงได้ขอร้องให้ทั้ง 3 บริษัทส่งเอสเอ็มเอส และนายกรณ์ได้แจ้งว่าจะส่งจดหมายขอความร่วมมือให้ภายหลัง หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ประชาชนได้ร้องเรียนไปยังบริษัทมือถือทั้ง 3 แห่ง ทำให้จากเดิมที่ต้องส่งเอสเอ็มเอส 50 ล้านเลขหมาย เหลือเพียงแค่ 5 ล้านเลขหมายเรื่องนี้นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ได้หยิบยกขึ้นมาอภิปรายนายอภิสิทธิ์ โดยตั้งข้อ

กล่าวหา 7 ประเด็น ประกอบด้วย 1.ใช้ผู้ใต้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่มิชอบ 2.เรียกร้องรับผิดประโยชน์เกิน 3,000 บาท ซึ่งเกินกว่าที่กฎหมายคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กำหนดไว้ 3.ละเมิดสิทธิคนใช้มือถือ 4.ร่วมกันนำข้อมูลส่วนบุคคลให้บริษัทเอกชนทั้งที่ไม่ได้รับการยินยอม 5.ร่วมกับบริษัทเอกชนสมรู้ร่วมคิด หลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีเข้ารัฐ 6.ทำให้รัฐขาดรายได้ส่วนแบ่งจากสัมปทานมือถือ และ 7.ฉ้อโกงหรือฉ้อฉลเอกชน

บริษัทมือถือทั้ง 3 บริษัท โดยไม่จ่ายค่าจ้างตามที่ตกลงซึ่งนายอภิสิทธิ์ ก็ได้ยอมรับว่าทำจริงโดยชี้แจงว่า “ผมมีความคิดว่าทำอย่างไรจะสื่อสารไปถึงประชาชนให้มากที่สุด แน่นอนที่สุดว่าผมทราบดีว่าความเห็นทางการเมืองมีความแตกแยกสูงพอสมควร ผมก็หารือกับคุณกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้มีตำแหน่ง แน่นอนว่าการดำเนินการอะไร ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย คือต้องอยู่บนพื้นฐานของประโยชน์และสิทธิเสรีภาพ คือถ้าหากว่ามีการขอ

ความร่วมมือ ทางผม หรือผู้เกี่ยวข้องต้องไม่มีประโยชน์ในเรื่องการเงินใดๆ ทั้งสิ้น” ในขณะที่นายกรณ์ ก็ยืนยันชัดเจนว่าไม่ได้มีการจ่ายเงินให้กับ 3 บริษัทเลยแม้แต่บาทเดียว แต่เป็นการขอความร่วมมือเท่านั้น แต่ก็นายกรณ์เองนั่นแหละที่พูดกลางสภาว่า ปกติถ้าจะไปจ้างให้ส่งข้อความนั้น ราคาจะแตกต่างกันไปแล้วแต่บริษัท แล้วแต่ต้นทุนพร้อมกับยอมรับในเรื่องภาษีด้วยว่า“ตรงนี้ชัดเจนมากว่า ไม่มีการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ทั้ง 3 บริษัทได้ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว รวมถึง

รายได้ที่ได้รับจากการส่งเอสเอ็มเอสนี้ด้วย ส่วนภาษีนิติบุคคลอยู่ระหว่างยื่นแบบ”ไม่ได้จ่ายเงิน เท่ากับว่าบริษัทไม่มีรายได้ แต่บริษัทมีรายจ่ายจากการส่ง และต้องเสียภาษี ตรงนี้แหละที่เป็นประเด็นให้ถูกตรวจสอบว่าการที่บริษัทจู่ๆ ต้องมีรายจ่ายเกิดขึ้นมา โดยเป็นผลมาจากความต้องการของนายอภิสิทธิ์ และนายกรณ์ เงินที่บริษัทต้องจ่ายออกไปนั้น ควรถือเป็นอะไร... เป็นผลประโยชน์ของนายอภิสิทธิ์ และนายกรณ์ หรือไม่เรื่องนี้แหละที่ทำให้นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.

ว.สรรหา โดดเข้ามาตรวจสอบอย่างเข้มข้นและหากสังคมยอมรับว่า ส.ว.จอมสอย นายเรืองไกร เป็นคนที่ตรงไปตรงมา และยึดมั่นในความถูกต้องแล้ว ควรจะต้องคิดด้วยว่า หากไม่มั่นใจในแง่ของกฎหมายจริงๆ แล้ว นายเรืองไกรคงไม่ลงมาเล่นงานอย่างจริงๆ จังๆ แน่เอาเรื่องถึงขั้นขอให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รวมทั้งผู้ตรวจการแผ่นดิน ดำเนินการายกรัฐมนตรี เพราะนายเรืองไกร เชื่อมั่นว่า การส่งเอสเอ็มเอสครั้งนั้น คิดเป็น

มูลค่าสูงถึง 50 กว่าล้านบาท ซึ่งนายเรืองไกร ระบุว่า จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 - 20 มีนาคม 2552 ที่นายกรณ์ จาติกวณิช ก็ได้ยอมรับว่าได้ติดต่อประสานงานกับบริษัทเอกชนผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3 แห่ง ให้ส่งข้อความสั้นตอบรับฟังความคิดเห็นของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก่อนได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี โดยอ้างว่าเนื่องจากสังคมในขณะนั้นอยู่ในสภาวะแตกแยก จึงขอความร่วมมือภาคเอกชนโดยไม่มีการเสียค่า

ใช้จ่ายให้“การส่งเอสเอ็มเอสไป 17 ล้านหมายเลขเป็นข้อเท็จจริงที่นายกรณ์ได้ยอมรับในสภา และฟังได้ว่าไม่มีการชำระราคาค่าบริการให้กับบริษัททั้งสาม เพราะนายกรณ์รับว่า ทั้ง 3 บริษัทก็ได้ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่รวมถึงรายได้จากการส่งเอสเอ็มเอสครั้งนี้ด้วย” ดังนั้น เมื่อคำนวณมูลค่าการส่งข้อความเอสเอ็มเอสจากทั้ง 3 บริษัท หากคิดค่าบริการครั้งละ 3 บาท เช่นเดียวกับการตอบกลับ ก็จะได้มูลค่าของประโยชน์จากการได้รับบริการเป็นเงิน 51,000,000 บาทประเด็น

ที่พิจารณาได้ต่อมาก็คือ การที่บริษัททั้งสามต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเองนั้น ทำให้เข้าใจได้ว่านายอภิสิทธิ์เป็นผู้ใช้บริการ แต่ไม่ต้องชำระค่าบริการและค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงอาจเข้าข่ายฝ่าฝืน มาตรา 103 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ที่ระบุว่า ห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคล นอกเหนือจากทรัพย์สินหรือประโยชน์อันควรได้ตามกฎหมาย หรือกฎข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติ

แห่งกฎหมายดังนั้น การที่นายอภิสิทธิ์ ยอมรับว่ามีการขอให้ส่งเอสเอ็มเอสจริง และมีจำนวนถึง 17 ล้านหมายเลข ย่อมทำให้เกิดประโยชน์ต่อนายอภิสิทธิ์ในฐานะเป็นนายกรัฐมนตรี โดยที่บริษัททั้ง 3 จะต้องจ่ายทั้งค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม และอาจจะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วยและกรณีนี้ย่อมอาจถือได้ว่า นายอภิสิทธิ์ได้รับประโยชน์อย่างอื่นตามนัยความหมายของ มาตรา 103 แห่ง พ.ร.บ. ป.ป.ช. แล้ว ประโยชน์ที่ได้รับจากการส่งเอสเอ็มเอสดังกล่าว ย่อมพิสูจน์

มูลค่าได้จากการลงบัญชีและการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มของบริษัททั้งสามแห่งงานนี้ระหว่างจริยธรรม กับ ผลประโยชน์ ถือเป็นเดิมพันสำคัญยิ่ง ที่โหมเข้าใส่นายอภิสิทธิ์ เพราะผู้ที่เป็นนายกรัฐมนตรี ย่อมเป็นบุคคลที่มีอำนาจและบารมีทางการเมืองสูง เป็นที่ยอมรับทั้งในคณะรัฐมนตรีที่ร่วมรัฐบาลและประชาชนจำนวนมาก หากพิจารณาในด้านธรรมาภิบาลแล้ว บุคคลผู้เป็นนายกรัฐมนตรีไม่สมควรที่จะเข้าไปรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคล ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ

ก็ตาม ไม่ว่าจะมีราคามากหรือน้อย และอาจจะกล่าวได้ว่าค่านิยมของบุคคลนอกวงราชการก็ตาม ส่วนใหญ่มักจะจำยอมต่อผู้มีอำนาจบารมี โดยเฉพาะผู้มีอำนาจและบารมีทางการเมืองสูงเช่นนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาจมีอำนาจให้คุณให้โทษแก่บุคคลนอกวงราชการที่ทำธุรกิจได้ และเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ มาตรา 130 แห่งพ.ร.บ. ป.ป.ช.ฯ ที่มุ่งหวังจะป้องปรามการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้แสวงหาประโยชน์จากผู้ใด อันจะก่อให้เกิดการขัดกันระหว่าง

ผลประโยชน์ของตนกับผลประโยชน์ของรัฐ หรือก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยในความซื่อสัตย์สุจริตในการปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ จึงต้องการให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. และผู้ตรวจการแผ่นดิน ตรวจสอบกรณีดังกล่าวนี้ด้วยแต่จนถึงวันนี้ คดีเอสเอ็มเอสของนายอภิสิทธิ์ กลับซุกเงียบ ไม่ได้มีความกระตือรือล้นจากหน่วยงานที่ควรเป็นองค์กรอิสระที่ทำเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเลยสักนิดแม้แต่นายเรืองไกรก็ยังอดรนทนไม่ไหว ต้องออกมาจี้ทวง

ถามเป็นระยะๆแถมยังดักคอด้วยว่า ได้ยินมาว่ากรณีนี้ ป.ป.ช. อาจตัดสินว่าไม่มีเจตนา จึงไม่ผิด ดังนั้นหาก ป.ป.ช.ต้องการพิสูจน์ว่าไม่มีสองมาตรฐาน นายเรืองไกรพูดชัดเจนว่า ควรเร่งพิจารณาเพราะจะ 2 ปีแล้ว ยังไม่มีความคืบหน้ารวมทั้งแม้ว่า ขนาดพรรคเพื่อไทย ออกมาจี้ให้ ป.ป.ช.รีบดำเนินการ ซึ่งหากไม่เร่งดำเนินคดีจริงๆ พรรคเพื่อไทย ก็เตรียมที่จะประชุมพรรค เพื่อขอมติยื่นเรื่องถอดถอนคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งคณะ ว่ามีความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา

157 ในเดือนมีนาคม ที่จะถึงนี้ จึงแว่วว่า งานนี้มีความพยายามเร่งที่จะพลิกเกม ออกมาอุ้มนายอภิสิทธิ์ เหมือนกับที่นายเรืองไกรสงสัยแล้วแต่ขอเตือนว่า หากดำเนินการ 2 มาตรฐานอย่างไม่มี หิริ โอตัปปะ กันอย่างนั้นจริงๆ สงสัย ศึก 2 มาตรฐาน จะทำให้แผ่นดินร้อนฉ่าแน่ๆ... เพราะนี่นอกจากพิสูจน์พฤติกรรม ป.ป.ช.แล้ว ยังเป็นการทำลายระบบยุติธรรมลงด้วยนั่นเองไม่ใช่เรื่องล้อเล่นแน่ๆ

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker