โดย ด๊อกเตอร์ทอง
ด้วยความเสียใจต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งต้องเสียชีวิตจาก “คำสั่งให้ปฏิบัติ” ที่เถรตรงและขาดการใช้เหตุใช้ผลที่เหมาะสม รวมทั้งยังทำให้เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นถกเถียงและลือกระฉ่อนไปร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ
เริ่มที่สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นนำคลิปวิดีโอของสำนักข่าวสปริงนิวส์ที่คนอ่านข่าวส่วนมากเป็นคนจากช่อง 11 ไปเผยแพร่ ซึ่งมีการระบุว่าเป็นการผิดพลาดทางเทคนิคของเจ้าหน้าที่
ฟังดูก็คงเข้าใจคำว่า “Friendly fire” ที่ Rachel Harvey ผู้สื่อข่าวบีบีซีประจำประเทศไทยตั้งเป็นประเด็นขึ้นมา ไม่จำเป็นต้องอรรถาธิบายอะไรมากเพราะคนที่สนใจติดตามข่าวสารต่างประเทศจะทราบดีว่า การยิงเพื่อคุ้มกันหรือการยิงสนับสนุนที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษข้างต้นมีปัญหาไม่เพียงเฉพาะทหาร ตำรวจของเรา แต่ในสงครามอิรักและอัฟกานิสถานก็มีประสบการณ์เช่นนี้หลายครั้ง
บางทีนักข่าวเป็นฝ่ายโดน บางทีทหารเจ้าหน้าที่ด้วยกันเองก็โดน เสียชีวิตไปก็หลายราย โดยเฉพาะช่วงแรกๆของการทำสงครามของสหรัฐอเมริกา ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ดังกล่าวนี้ทำให้ทหารอังกฤษที่ขับเครื่องบินขับไล่ รวมทั้งกองกำลังพันธมิตรที่อยู่ภาคพื้นดินบาดเจ็บและโดนลูกหลงไปเป็นจำนวนมาก
เมื่อพิจารณาเหตุการณ์บนถนนวิภาวดีที่พบว่าภาพไม่ค่อยชัด
แต่คุณวรวีร์ วูวณิชย์ ผู้ประกาศข่าวของสปริงนิวส์ ได้อธิบายประกอบภาพอย่างชัดเจน มีการทำลูกศรโยงให้เห็นการเคลื่อนขบวนของรถมอเตอร์ไซค์จำนวนหลายคัน
บนถนนวิภาวดีขาออกมุ่งหน้าไปยังแถวทหารที่เรียงรายดักมิให้ “กลุ่มคนเสื้อแดง” เคลื่อนพลไปยังอนุสรณ์สถานฯได้ ซึ่งพลันที่เสียงปืนสองสามนัดสงบลง
ก็พบว่ามอเตอร์ไซค์ที่พลทหารผู้หนึ่งขับขี่มาก็ล้มลงกับพื้น สร้างความแตกตื่นให้ผู้พบเห็น รวมทั้งกลุ่มทหารที่ขับขี่ตามๆกันมา
ไม่ว่าผลการชันสูตรทางการแพทย์จะออกมาเช่นไร
แต่ข่าวนี้ได้ถูกตีแผ่ไปทั่วโลก
และยังเป็นประเด็นที่กลุ่มคนเสื้อแดงรวมทั้งแกนนำจำนวนหนึ่งนำไป “ขยายผล” ขนาดนำไปฟ้ององค์การระหว่างประเทศอย่างที่เห็นๆกัน
ซึ่งคงไปโทษใครไม่ได้นอกจากการ “ออกคำสั่ง”
ที่ขาดความระมัดระวังและการใช้เหตุผลที่สมควร เนื่องจากการกำหนด “จุดยิง”
หรือระยะแห่งความปลอดภัยที่ระบุว่าไม่ให้มีการเข้าใกล้แนวทหารเกินกว่า 100 เมตร ทำให้ทหารที่ขาดประสบการณ์และมีความตื่นกลัวแต่ในมือมีอาวุธร้ายแรงเต็มไปหมด
จึงเป็นที่มาของการ “ระดมยิง” เข้าใส่กันด้วยความสำคัญผิด
คงไม่มีอะไรดีไปกว่า “การพูดความจริงและรับผิดชอบในการกระทำที่เกิดขึ้น” หากพิสูจน์ได้ว่ามีการปฏิบัติอย่างขาดความรอบคอบ รัดกุม
และไม่รู้จักการใช้ “ดุลยพินิจที่เหมาะสม” หลายคนพยายามยกตัวอย่าง
ให้เห็นถึงการออกมาขอโทษต่อประชาชน
ที่นายกรัฐมนตรีของประเทศอังกฤษเผลอไผล “สบถ” คำไม่สุภาพต่อสตรีนางหนึ่ง
ในขณะที่ไมโครโฟนแบบไมค์ลอยสำหรับการให้สัมภาษณ์ยังติดอยู่กับตัว กลายเป็นเรื่องที่ทำลายคะแนนนิยมของเขา
ที่มีปัญหาอยู่กลายเป็นปมที่ทำให้ดูเหมือนว่านายกฯคนใหม่คงไม่ใช่กอร์ดอน บราวน์ อย่างแน่นอน
ถึงกระนั้น “บราวน์” ก็ยังยอมออกมาขอโทษ ถึงขนาดเดินทางไปหาสตรีที่ตนพูดคุย
ให้สัมภาษณ์ด้วยตัวเอง และคงจะเข็ดขยาดกลัวไมโครโฟนไปอีกนาน
แต่คำ “ขอโทษ” ของคนอย่างนายกรัฐมนตรีบราวน์คือสิ่งที่คนอังกฤษยอมรับได้
และยังให้โอกาส
เพราะถือว่าการกล่าวขออภัยเช่นนี้เป็นการกระทำที่มีเกียรติ เลยต้องคิดกันต่อไปว่า
สำหรับ “ชีวิตทหารชั้นผู้น้อย” ที่จากไปเมื่อวันที่ 28 เมษายน บนถนนวิภาวดี จะมีผู้บังคับบัญชาหรือผู้เกี่ยวข้องคนใดออกมาแสดงความรับผิดชอบกันบ้าง หากมีหลักฐานยืนยันว่าเป็นความผิดพลาดดังที่สื่อได้กระจายขยายข่าวออกไปทั่วโลกในเวลานี้
ด้วยความเสียใจต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งต้องเสียชีวิตจาก “คำสั่งให้ปฏิบัติ” ที่เถรตรงและขาดการใช้เหตุใช้ผลที่เหมาะสม รวมทั้งยังทำให้เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นถกเถียงและลือกระฉ่อนไปร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ
เริ่มที่สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นนำคลิปวิดีโอของสำนักข่าวสปริงนิวส์ที่คนอ่านข่าวส่วนมากเป็นคนจากช่อง 11 ไปเผยแพร่ ซึ่งมีการระบุว่าเป็นการผิดพลาดทางเทคนิคของเจ้าหน้าที่
ฟังดูก็คงเข้าใจคำว่า “Friendly fire” ที่ Rachel Harvey ผู้สื่อข่าวบีบีซีประจำประเทศไทยตั้งเป็นประเด็นขึ้นมา ไม่จำเป็นต้องอรรถาธิบายอะไรมากเพราะคนที่สนใจติดตามข่าวสารต่างประเทศจะทราบดีว่า การยิงเพื่อคุ้มกันหรือการยิงสนับสนุนที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษข้างต้นมีปัญหาไม่เพียงเฉพาะทหาร ตำรวจของเรา แต่ในสงครามอิรักและอัฟกานิสถานก็มีประสบการณ์เช่นนี้หลายครั้ง
บางทีนักข่าวเป็นฝ่ายโดน บางทีทหารเจ้าหน้าที่ด้วยกันเองก็โดน เสียชีวิตไปก็หลายราย โดยเฉพาะช่วงแรกๆของการทำสงครามของสหรัฐอเมริกา ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ดังกล่าวนี้ทำให้ทหารอังกฤษที่ขับเครื่องบินขับไล่ รวมทั้งกองกำลังพันธมิตรที่อยู่ภาคพื้นดินบาดเจ็บและโดนลูกหลงไปเป็นจำนวนมาก
เมื่อพิจารณาเหตุการณ์บนถนนวิภาวดีที่พบว่าภาพไม่ค่อยชัด
แต่คุณวรวีร์ วูวณิชย์ ผู้ประกาศข่าวของสปริงนิวส์ ได้อธิบายประกอบภาพอย่างชัดเจน มีการทำลูกศรโยงให้เห็นการเคลื่อนขบวนของรถมอเตอร์ไซค์จำนวนหลายคัน
บนถนนวิภาวดีขาออกมุ่งหน้าไปยังแถวทหารที่เรียงรายดักมิให้ “กลุ่มคนเสื้อแดง” เคลื่อนพลไปยังอนุสรณ์สถานฯได้ ซึ่งพลันที่เสียงปืนสองสามนัดสงบลง
ก็พบว่ามอเตอร์ไซค์ที่พลทหารผู้หนึ่งขับขี่มาก็ล้มลงกับพื้น สร้างความแตกตื่นให้ผู้พบเห็น รวมทั้งกลุ่มทหารที่ขับขี่ตามๆกันมา
ไม่ว่าผลการชันสูตรทางการแพทย์จะออกมาเช่นไร
แต่ข่าวนี้ได้ถูกตีแผ่ไปทั่วโลก
และยังเป็นประเด็นที่กลุ่มคนเสื้อแดงรวมทั้งแกนนำจำนวนหนึ่งนำไป “ขยายผล” ขนาดนำไปฟ้ององค์การระหว่างประเทศอย่างที่เห็นๆกัน
ซึ่งคงไปโทษใครไม่ได้นอกจากการ “ออกคำสั่ง”
ที่ขาดความระมัดระวังและการใช้เหตุผลที่สมควร เนื่องจากการกำหนด “จุดยิง”
หรือระยะแห่งความปลอดภัยที่ระบุว่าไม่ให้มีการเข้าใกล้แนวทหารเกินกว่า 100 เมตร ทำให้ทหารที่ขาดประสบการณ์และมีความตื่นกลัวแต่ในมือมีอาวุธร้ายแรงเต็มไปหมด
จึงเป็นที่มาของการ “ระดมยิง” เข้าใส่กันด้วยความสำคัญผิด
คงไม่มีอะไรดีไปกว่า “การพูดความจริงและรับผิดชอบในการกระทำที่เกิดขึ้น” หากพิสูจน์ได้ว่ามีการปฏิบัติอย่างขาดความรอบคอบ รัดกุม
และไม่รู้จักการใช้ “ดุลยพินิจที่เหมาะสม” หลายคนพยายามยกตัวอย่าง
ให้เห็นถึงการออกมาขอโทษต่อประชาชน
ที่นายกรัฐมนตรีของประเทศอังกฤษเผลอไผล “สบถ” คำไม่สุภาพต่อสตรีนางหนึ่ง
ในขณะที่ไมโครโฟนแบบไมค์ลอยสำหรับการให้สัมภาษณ์ยังติดอยู่กับตัว กลายเป็นเรื่องที่ทำลายคะแนนนิยมของเขา
ที่มีปัญหาอยู่กลายเป็นปมที่ทำให้ดูเหมือนว่านายกฯคนใหม่คงไม่ใช่กอร์ดอน บราวน์ อย่างแน่นอน
ถึงกระนั้น “บราวน์” ก็ยังยอมออกมาขอโทษ ถึงขนาดเดินทางไปหาสตรีที่ตนพูดคุย
ให้สัมภาษณ์ด้วยตัวเอง และคงจะเข็ดขยาดกลัวไมโครโฟนไปอีกนาน
แต่คำ “ขอโทษ” ของคนอย่างนายกรัฐมนตรีบราวน์คือสิ่งที่คนอังกฤษยอมรับได้
และยังให้โอกาส
เพราะถือว่าการกล่าวขออภัยเช่นนี้เป็นการกระทำที่มีเกียรติ เลยต้องคิดกันต่อไปว่า
สำหรับ “ชีวิตทหารชั้นผู้น้อย” ที่จากไปเมื่อวันที่ 28 เมษายน บนถนนวิภาวดี จะมีผู้บังคับบัญชาหรือผู้เกี่ยวข้องคนใดออกมาแสดงความรับผิดชอบกันบ้าง หากมีหลักฐานยืนยันว่าเป็นความผิดพลาดดังที่สื่อได้กระจายขยายข่าวออกไปทั่วโลกในเวลานี้