คอลัมน์ เหล็กใน
ทําเอาใครต่อใครหลายคนงุนงงไปตามกัน
กรณี นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปฏิเสธด้วยท่าทีแข็งกร้าวและในทันทีทันใดต่อเงื่อนไขข้อเรียกร้องล่าสุดของกลุ่มคนเสื้อแดง
ให้ "ยุบสภา" ภายใน 30 วัน
นอกจากนี้ ยังมีรายงานข่าว มีคนโทรศัพท์แจ้งไปยัง นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกฯ ให้ยกเลิกการเจรจากับแกนนำนปช.กลางคัน
เชื่อเถอะว่าคนที่จะสั่งเลขาธิการนายกฯ ได้มีเพียงไม่กี่คนในประเทศ
ที่งงก็เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมาหลังการเจรจา 2 ครั้งแรกล้มเหลว เนื่องจาก 2 ฝ่ายตกลงกันไม่ได้ในเรื่องเงื่อนเวลาที่เหมาะสมในการยุบสภา
นายอภิสิทธิ์ ยืนกรานอยู่ที่ 9 เดือน แกนนำนปช. ต้องการให้ยุบใน 15 วัน
เมื่อตกลงกันดีๆ ไม่ได้ก็เลยต้องตัดสินกันด้วยกำลัง
ผลก็คือเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายนมีผู้บาดเจ็บล้มตายกันจำนวนมากทั้งฝ่ายเจ้าหน้าที่ทหารและประชาชนเสื้อแดง
หลังเหตุการณ์แกนนำนปช. ประกาศปิดประตูตายการ เจรจารอบใหม่ (รอบที่ 3) พร้อมยกระดับข้อเรียกร้องเป็นรัฐบาลต้องยุบสภาทันที
แต่รัฐบาลและนายกฯ ไม่ยอม
ทั้งยังตอบโต้ด้วยการเพิ่มมาตรการด้านการทหาร และการบังคับใช้กฎหมายแบบเข้มงวดทุกเม็ด
เพื่อข่มขู่กดดันให้กลุ่มผู้ชุมนุมสลายตัว
การที่ทั้ง 2 ฝ่ายต่างดื้อดึงไม่ยอมถอยให้กันและกัน
ได้นำมาสู่ความสูญเสียอีกครั้งเมื่อวันที่ 22 เมษายน พร้อมกับคู่ขัดแย้งบนท้องถนนที่เพิ่มขึ้นภายใต้เครื่องแบบเสื้อหลากสี
ระหว่างนั้นทุกภาคส่วนในสังคม ทั้งนักวิชาการ อาจารย์มหา"ลัย กลุ่มองค์กรประชาธิปไตย ส.ว. นักธุรกิจ สื่อมวลชน ประชาชนทั่วไป ฯลฯ
ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าการปล่อยให้สถานการณ์บ้านเมืองเป็นอย่างนี้ต่อไป
มีแต่จะเกิดความสูญเสียมากขึ้น
ดังนั้น ทั้ง 2 ฝ่ายควรเริ่มเปิดการเจรจารอบใหม่เป็น การด่วนโดยต่อยอดจากการเจรจา 2 ครั้งก่อน
ตอนแรกก็นึกว่าแกนนำนปช.คงไม่ยอมและน่าจะเป็นฝ่ายปฏิเสธข้อเสนอการเจรจา
รัฐบาลเองก็เป่าหูสังคมมาตลอดว่าคนเสื้อแดงต้องการจบปัญหาด้วยความรุนแรง
แต่ไปๆ มาๆ กลายเป็นรัฐบาลที่เป็นฝ่ายดับความหวังของสังคมที่ต้องการเห็น 2 ฝ่ายหันหน้าเข้าเจรจากัน
หรือว่าตัวเลขคนตาย 26 คน บาดเจ็บอีกร่วม 900 คน
ไม่มีผลลดทอนความดื้อด้านของใครบางคนลงได้แม้แต่นิดเดียว
กรณี นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปฏิเสธด้วยท่าทีแข็งกร้าวและในทันทีทันใดต่อเงื่อนไขข้อเรียกร้องล่าสุดของกลุ่มคนเสื้อแดง
ให้ "ยุบสภา" ภายใน 30 วัน
นอกจากนี้ ยังมีรายงานข่าว มีคนโทรศัพท์แจ้งไปยัง นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกฯ ให้ยกเลิกการเจรจากับแกนนำนปช.กลางคัน
เชื่อเถอะว่าคนที่จะสั่งเลขาธิการนายกฯ ได้มีเพียงไม่กี่คนในประเทศ
ที่งงก็เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมาหลังการเจรจา 2 ครั้งแรกล้มเหลว เนื่องจาก 2 ฝ่ายตกลงกันไม่ได้ในเรื่องเงื่อนเวลาที่เหมาะสมในการยุบสภา
นายอภิสิทธิ์ ยืนกรานอยู่ที่ 9 เดือน แกนนำนปช. ต้องการให้ยุบใน 15 วัน
เมื่อตกลงกันดีๆ ไม่ได้ก็เลยต้องตัดสินกันด้วยกำลัง
ผลก็คือเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายนมีผู้บาดเจ็บล้มตายกันจำนวนมากทั้งฝ่ายเจ้าหน้าที่ทหารและประชาชนเสื้อแดง
หลังเหตุการณ์แกนนำนปช. ประกาศปิดประตูตายการ เจรจารอบใหม่ (รอบที่ 3) พร้อมยกระดับข้อเรียกร้องเป็นรัฐบาลต้องยุบสภาทันที
แต่รัฐบาลและนายกฯ ไม่ยอม
ทั้งยังตอบโต้ด้วยการเพิ่มมาตรการด้านการทหาร และการบังคับใช้กฎหมายแบบเข้มงวดทุกเม็ด
เพื่อข่มขู่กดดันให้กลุ่มผู้ชุมนุมสลายตัว
การที่ทั้ง 2 ฝ่ายต่างดื้อดึงไม่ยอมถอยให้กันและกัน
ได้นำมาสู่ความสูญเสียอีกครั้งเมื่อวันที่ 22 เมษายน พร้อมกับคู่ขัดแย้งบนท้องถนนที่เพิ่มขึ้นภายใต้เครื่องแบบเสื้อหลากสี
ระหว่างนั้นทุกภาคส่วนในสังคม ทั้งนักวิชาการ อาจารย์มหา"ลัย กลุ่มองค์กรประชาธิปไตย ส.ว. นักธุรกิจ สื่อมวลชน ประชาชนทั่วไป ฯลฯ
ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าการปล่อยให้สถานการณ์บ้านเมืองเป็นอย่างนี้ต่อไป
มีแต่จะเกิดความสูญเสียมากขึ้น
ดังนั้น ทั้ง 2 ฝ่ายควรเริ่มเปิดการเจรจารอบใหม่เป็น การด่วนโดยต่อยอดจากการเจรจา 2 ครั้งก่อน
ตอนแรกก็นึกว่าแกนนำนปช.คงไม่ยอมและน่าจะเป็นฝ่ายปฏิเสธข้อเสนอการเจรจา
รัฐบาลเองก็เป่าหูสังคมมาตลอดว่าคนเสื้อแดงต้องการจบปัญหาด้วยความรุนแรง
แต่ไปๆ มาๆ กลายเป็นรัฐบาลที่เป็นฝ่ายดับความหวังของสังคมที่ต้องการเห็น 2 ฝ่ายหันหน้าเข้าเจรจากัน
หรือว่าตัวเลขคนตาย 26 คน บาดเจ็บอีกร่วม 900 คน
ไม่มีผลลดทอนความดื้อด้านของใครบางคนลงได้แม้แต่นิดเดียว