ใกล้เข้ามาทุกวันกับวันพิพากษา..เรื่องยึดทรัพย์ ครอบครัวชินวัตร7หมื่น6 พันล้านบาทนั้น..เป็นตัวเลขเกินฝันของมนุษย์ธรรมดาทั่วโลก แต่เป็นตัวเลขที่มีอยู่จริงสำหรับครอบครัวชินวัตร..หลังการขายธุรกิจให้กับบริษัทยักษ์ในสิงคโปร์ ครั้งนั้น ขณะที่ยังเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย..ทักษิณ อธิบายอย่างลิงโลดดีใจว่า..เป็นการล้างมือในอ่างทองคำไม่มีใครคาดคิดว่า..มันจะกลับมาเป็นวิบากกรรมของเขาตัวอย่างการยึดทรัพย์..เกิดขึ้นมาแล้วหลายคดีความใน
ประเทศไทย..ว่ากันตั้งแต่สมัย..เปลี่ยนแปลงการปกครอง..คณะราษฎร์..ได้ดำเนินการเข้าใช้สถานที่ อาทิเช่น..วังบางขุนพรหม..พระที่นั่งอนันตสมาคม วังสราญรมย์ วังปารุสสกวัน ฯลฯว่ากันว่าการเข้าใช้สถานเหล่านั้น เป็นส่วนหนึ่งของวิธีคิดทางการเมืองของเหล่าผู้ก่อการ เพราะยังหวาดหวั่นอยู่กับอำนาจแห่งสมบูรณาญาสิทธิราช..ที่ฝังรากลึกอย่างยาวนานในแผ่นดินที่พวกเขายึดอำนาจการยึดทรัพย์กลับมาเป็นข่าวโด่งดังอีกครั้งหนึ่งเมื่อ...จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์..
สิ้นบุญเมื่อปี 2506 และลูกๆ ของเขาได้เรียกร้องทวงถามสมบัติในกองมรดกของเขามูลค่า 2 พัน 8 ร้อยล้าน..ประชาชนต่างถามกันว่า เงินมหึมาขนาดนั้นมาจากไหน..ในคนที่รับราชการมาตลอดชีวิต เสียงเรียกร้องกึกก้อง..จนในที่สุด จอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีทนไม่ไหว..ต้องออกมายึดทรัพย์เหล่านั้น..ตกเป็นของรัฐจนเมื่อ จอมพล ถนอม กิตติขจร..กับครอบครัวที่ดองกันกับจอมพลคนคู่ใจ..ประภาส จารุเสถียร..แพ้ภัยการเมืองและคำกล่าวหาว่า คนใน
ครอบครัวบางท่าน..พูดถึงตำแหน่งประธานาธิบดีในเมืองไทยในงานเลี้ยงใหญ่ตีนภูเขาลูกหนึ่งลูกน้องของ 2 จอมพล..นักการเมืองและนักวิชาการ..ผลักนิสิตนักศึกษาออกมาเคลื่อนไหว..จนกลายเป็น วันมหาวิปโยค..รัฐบาลต่อมาของ นายสัญญา ธรรมศักดิ์..ก็ดำเนินการยึดทรัพย์ของทั้ง 2 ครอบครัว..จากนั้นเรื่องราวการยึดทรัพย์...ก็จะมาจากคำสั่งศาล..อันเป็นปกติของระบบยุติธรรม..อันเป็นสากล..คือ การกล่าวหาและสู้ความกันจนถึงชั้นฏีกา..บางครั้งที่คณะปฏิวัติ
พิทักษ์ทรัพย์นักการเมือง..แต่ก็ใช้วิธีการให้ศาลสถิตย์ยุติธรรมตามครรลอง..เป็นผู้ให้ความเป็นธรรมตำนานยึดทรัพย์กำลังเขียนบทใหม่..คณะปฏิวัติใช้..องค์คณะที่แต่งตั้งขึ้นมาทำหน้าที่เป็น..ศาล..เพิ่มเรื่องราวในตำนานแห่งการยึดทรัพย์หน้าใหม่..และคงจะไม่ใช่หน้าสุดท้ายในประวัติศาสตร์การเมืองไทย..ที่ไม่เคยห่างไกลจากการแย่งอำนาจในประเทศที่การเมือง คือ ความมั่งคั่ง ผู้ปราชัย..ย่อมต้องยอมรับการสูญเสีย