บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

A close look at Thai E-News: counter-media in a time of conflict.

ที่มา Thai E-News


ที่มา Prachatai English
*อ่านภาคภาษาไทย ท้ายบทความนี้


‘Thai E-News: News about Thailand that you may not have read in the news’ is the slogan of one of Thailand’s leading political websites.

It has only content and no web board. It is unabashedly ‘red’, but red with a strange smell. It posts critical points of view from all circles.

Prachatai talks to Somsak Phakdidej, one of the founders, to find out how he thinks, how he works, and what his values are.

Thai E-News was born in silence, lives in mystery and does not know how mass media circles will define it. Maybe as ‘fake media’, ‘a tool of politicians’, or ‘an example of using media to start a political war’. Known as an alternative site that posts news that no one puts on normal blogs, it gets more than 40,000 clicks a day.


Today we will look closely at the phenomenon of news in cyberspace, where the power of producing and consuming news is in the hands of everyone equally. Somsak Phakdidej is the secret name of one of the founders of Thai E-News. He knew nothing of IT but is an active citizen sympathetic to democracy. The set-up of this website is strange because the working team is small and they don’t know each other personally. Their common background is the Ratchadamnoen room on the Pantip web board where they developed similar views in discussion since 2005-6.

‘Our policy is that you don’t need to know me, I don’t need to know you, but we know each other’s opinions.

‘The Ratchadamnoen room had both pro and con Thaksin opinions. I used to be with the opposition. I opposed Thaksin, like the NGOs, on account of his multiple conflicts of interest. When Sondhi Limthongkul started to become the centre of the rallies close to the coup, I got the sense that they were going beyond the role of a people’s movement. And then in the evening of 19 September 2006, the coup happened.

‘Thai E-News was created on 5 November 2006, in a very tense atmosphere, since Pantip’s policy was to close the Ratchadamnoen room “for security reasons”.

‘At the time of the coup, many people, both pro-democracy and pro-Thaksin, had nowhere to go, so they crowded into the Prachatai web board, including me.’

Somsak says that Thai E-News was created because they saw a big problem with the media. The mainstream media have a clear bias in presenting information.

‘What the Thaksin side did was completely black. So we wanted to create a media that wasn’t an alternative media, but counter-media, against the flow of the mainstream media, which had become a tool of the dictatorship.’

The principle of the counter-media is ‘anything that is not mainstream media news will be our news. Any mainstream media news that is propaganda or black propaganda, we will counter with the truth from another perspective. When the Thaksin interview on Times Online is translated carefully, it is clear that Thaksin said one thing while the mainstream media claimed that he was going to overthrow the institution. We took on the job of translating the whole thing.’

‘Our standpoint is pro-democracy. Being pro-Thaksin is a secondary issue.’

The content that appears on the weblog is all kinds, as diverse as a big pot of mixed curry, with political analyses, political history, critical articles of the people’s movement, news that is not political like UFOs (which turned out to be balloons), news of the red shirt movement, and so on.

‘We get lots of news on activities sent in from all corners of the country and overseas, and when the activity has happened, the organizer has to send us a report because we have no reporters.’

All content relies on e-mail conversations among the team and each does what they are good at – writing, analysis, translation. Some are good at technical things and some like to surf and know where there are things they can take.

‘I have experience in media. I know media and I know the nature of media very well. We are a counter-current in everything, including media. We see shocking things in other fields – among NGOs, human rights people, activists, academics – who naturally should be pro-democracy from what we know of their background and experience. So we started to analyze why these people mostly approve of and accept dictatorship.’

Apart from networks who send in stuff, many “cyber-reporters” from various web boards report on important events and make observations, like the research that found that the red-shirt woman who was dragged by the hair wasn’t at the Din Daeng flats and it wasn’t because of the frustration of the people in the Din Daeng flats as the mainstream media reported.

‘Doing counter-stories all the time is tiring. You have to research, get information for comparison. In the end, the picture of the woman dragged by the hair got an award.

‘We use a blog because it’s free and it’s easy. We use just two things – labour and heart. No expenses; no need for profit. And it’s easy enough for people with no IT experience.’

When the counter-current position is clear, the question is whether Thai E-News is propaganda for the opposite side.

‘When we started there were lots of questions about this. We even asked each other (laughs).

‘In fact we are concerned about one or two points. One is credibility. We quote here and there in reasonable detail. It should be credible. Two, people may say it is propaganda against propaganda. On the team we have talked about this a lot. If it’s black, we are white. If it’s white, we are black. That would not make any difference. We think that at least we should not use black propaganda, the kind that puts out lies. We’ve never done that. If the reds do something bad, we’ve never said it was good.

‘For example, when the PAD rallied on October 7, we don’t know what happened but someone lost a leg and there were deaths. We have to report deaths and injuries because they were seen. Many people on different web boards suggested he was already an amputee.

‘But if you say we use propaganda on one side to fight the other side, that could be true. When the mainstream pushes society all one way, we see that it’s wrong and we suggest, from the pro-democracy side, that the truth is something else. If you call that propaganda, we have to admit that we have to do this.’

But even if this is their job, they are clearly part of the red-shirt movement, but with sufficient independence. They express disagreement with some of the red-shirt movement, like their statement disagreeing with the march on Gen Prem Tinasulanonda’s house on 19 September 2009 because Gen Prem wasn’t there. Going there risked getting suppressed for nothing. Somsak says that this counts as the first statement since Thai E-News was set up.

‘If Thaksin does something crazy or goes astray, or the red shirts do something that we say is senseless, we have the freedom to criticize. We should not get restrained for fear of disrupting the movement. Such fear would make it even worse that disrupting the movement.’

In Somsak’s analysis, his readers are ‘reformers’ because on the basis of political opinion polls, republican sympathies are rare. Most want the 1997 Constitution, new elections. Most readers, 45%, are from Bangkok, 10% from overseas and 35% from upcountry.

A survey of the webpage at the time of the petition found that 75% wanted amendments to the constitution and only 2% approved of the amnesty petition for Thaksin.

‘We believe that people are going beyond Thaksin, at least people who read Thai E-News.’ Somsak says that they’ve kept statistics since the beginning, and between April 2007 and now, Thai E-News has averaged 40,000 hits a day, rising to 100,000 at hot times.

Whether you like the reports, articles and analyses that you read, you can’t exchange comments at the end of the piece or criticize them on the web board because there is no web board. The creators explain that they had no expertise in that, and they did not aim to build a two-way communication forum like most websites with political content.

‘If we allowed comments, it would be difficult to look after. It means a lot of work and we would have to find someone to do it. It doesn’t fit with our structure, which is not looking for even the slightest profit.’

When asked about their goals or self-evaluation about things to change, the Thai E-News people modestly excuse themselves. ‘Our readership is very small. About what changes these readers can make, I have no great hopes. At least pro-democracy people read us. Many people who hate Thaksin read us. We propose no civil war, though the current situation is leading to this. At Songkran, the red shirts only had people who speak. Now some soldiers are joining. Khun Panlop is preparing soldiers. There is talk that this time you shoot and I will shoot back, while the one side that has state power is ready to use violence. All through history, we see that this side likes to use violence against the democracy movement. Furthermore they have mainstream media put out biased reports that your lot are the ones who create violence, who like violence. What can be done to restrain the army peacefully, such as amending a rotten constitution, promising to respect the voice of the people?’

If Thai Rak Thai could come back, would the job of Thai E-News be finished?

‘We basically believe in democracy. The Thaksin issue is secondary. In the red-shirt media, there are many shades of red – scarlet, rose, pink. We stick to the basic principles of democracy. What we’ve always tried to propose is democracy. We like to cite the principles of democracy from the People’s Party and Pridi and how we will move forward, the principles of democracy as Socrates talked about them, sovereignty of the people, the principle of freedom, the principle of equality, the principle of law, respect for the voice of the majority while not abusing the voice of the minority.

‘If you ask about new elections and Thaksin’s return, we think it’s no big problem. The big problem is when will this country respect the principles of democracy and observe the rules of democracy. This is what we have to accept. If there is an election tomorrow and Bhumjai Thai wins, we should accept it. An ABAC poll gave Abhisit a 70% approval rating. If he wins the election, we have to accept it. But the problem of politics here in our country is that there is a government up above a government, and the principles of democracy have been violated.

‘If the situation returned to normal, we had democracy and the media did its job, then I don’t know what the counter-current would be counter to.

‘But these times may be the worst for freedom. People have been arrested on many charges.

‘Today I should say who I am and what I think, but I can’t.’

000000000

(ภาคภาษาไทย)คุยกับคนสร้างสื่อใหม่:ไทยอีนิวส์

ไทยอีนิวส์ เว็บไซต์ที่เสื้อสีไหนก็อยากอ่าน แต่ผู้อ่านไม่มีโอกาสรู้จักที่มาที่ไป ประชาไทจับเข่าคุย‘สมศักดิ์ ภักดิเดช’ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง เจาะลึกวิธีคิด วิธีการทำงาน และการนิยามตัวเอง


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาไทออนไลน์


ประชาไทเปิดศักราชใหม่ ด้วยการแลกเปลี่ยนมุมมองกับเหล่าคนทำสื่อในโลกไซเบอร์ ว่าเขานิยามการทำงานของตัวเองอย่างไร ประเดิมบทสัมภาษณ์แรกด้วย “สมศักดิ์ ภักดิเดช” หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งไทยอีนิวส์

ความตื่นตัวของการมีส่วนร่วมทางสังคมผ่านโลกออนไลน์ที่เติบโตขึ้น ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการสื่อสารและการแสดงพลังทางสังคมของผู้คนทั้งในประเทศไทยและระดับสากลอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากจำนวนของ citizen journalist หรือ cyber activist ที่คืบคลานเข้ามาสู่โลกแห่งการสื่อสารแบบใหม่นี้ ไม่ว่าคุณจะสนองตอบต่อความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ด้วยความหวาดระแวงคลางแคลงใจ หรือชื่นชมยินดีก็ตาม มันก็เข้ามามีบทบาทในโลกจริงแล้วอย่างไม่อาจปฏิเสธได้

การตรากฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เป็นตัวอย่างชั้นดีของการตอบสนองจากรัฐต่อช่องทางการสื่อสารใหม่นี้ ขณะที่สื่อหนังสือพิมพ์หลักของประเทศต้องปรับกลยุทธ์แบ่งสรรเนื้อหาออนไลน์กับฉบับตีพิมพ์อย่างชัดเจน หลังยอดขายเริ่มส่งสัญญาณในทางลบ

ไม่เพียงการเปลี่ยนแปลงเรื่องผลตอบแทน หากแต่วัฒนธรรมใหม่ที่มาพร้อมอินเตอร์เน็ตคือ ไม่มีใครเป็นผู้ยึดกุมความถูกต้อง สิ่งนี้ท้าทายขนบธรรมเนียมการสื่อสารแบบเดิมอย่างสิ้นเชิง ที่เชื่อว่าสื่อสามารถกำหนดวาระทางสังคม ปรากฏการณ์ข่าวเจาะจากเว็บพันทิปโดยผู้เล่นอินเตอร์เน็ต เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนว่า ผู้เล่นอินเตอร์เน็ตสามารถกำหนดวาระสื่อได้เช่นกัน

ประชาไทเปิดศักราชใหม่ด้วยการแลกเปลี่ยนมุมมองกับเหล่าคนทำสื่อในโลกไซเบอร์ ว่าเขานิยามการทำงานของตัวเองอย่างไร อะไรเป็นแรงผลักดันให้หันมาใช้สื่อใหม่เหล่านี้ เขามีข้อสังเกตอะไรบ้างต่อพื้นที่ออนไลน์ และมันช่วยเติมเต็มเสรีภาพในการสื่อสารได้จริงหรือไม่ เพียงใด


000
เจาะลึก ‘ไทยอีนิวส์’ สื่อกระแสทวนในยุคสมัยแห่งความขัดแย้ง

ไทยอีนิวส์ เว็บไซต์ที่เสื้อสีไหนก็อยากอ่าน แต่ผู้อ่านไม่มีโอกาสรู้จักที่มาที่ไป ประชาไทจับเข่าคุย‘สมศักดิ์ ภักดิเดช’ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง เจาะลึกวิธีคิด วิธีการทำงาน และการนิยามตัวเอง

-------------------------------------------------


“Thai E-News
ข่าวสารเกี่ยวกับประเทศไทยที่คุณไม่อาจหาอ่านได้จากสื่อ”


นี่คือคำประกาศ (โฆษณา) ของเว็บบล็อกยอดนิยมลำดับต้นๆ ในบรรดาเว็บข่าวสารการเมือง ....“ไทยอีนิวส์”

เว็บนี้เป็นเว็บเนื้อหาล้วน ไม่มีเว็บบอร์ดให้แลกเปลี่ยน ที่สำคัญ ไม่กระมิดกระเมี้ยนว่า “แดง” กระนั้นก็ยังเป็นแดงที่มีกลิ่นประหลาด และมักนำเสนอประเด็นต่างๆ ของทุกแวดวงอย่างแหลมคมให้ฮือฮาอยู่เสมอ

ไทยอีนิวส์เกิดขึ้นมาอย่างเงียบๆ ดำรงอยู่อย่างลึกลับ และไม่รู้ว่าแวดวงสื่อมวลชนจะนิยามมันอย่างไร อาจเป็น “สื่อเทียม” “เครื่องมือนักการเมือง” “ตัวอย่างของการใช้สื่อสร้างสงครามการเมือง” ฯลฯ รู้แต่เพียงมันเป็นพื้นที่ข้อมูลข่าวสารในอีกด้านหนึ่งที่ไม่มีใครนำเสนอบนเว็บบล็อกอันแสนธรรมดา แต่มีคนคลิ๊กอ่านเฉลี่ยแล้วกว่า 40,000 ครั้งต่อวัน

วันนี้เราจะเขยิบเข้าไป “อ่าน” ให้ใกล้อีกนิด อย่างน้อยที่สุดก็เพื่อทำความเข้าใจปรากฎการณ์การสื่อสารในโลกไซเบอร์ ซึ่งมีจุดแข็งปั๋งตรงที่อำนาจในการผลิตและเสพสื่ออยู่ที่สองมือของคนทุกคนอย่างเท่าเทียม


“สมศักดิ์ ภักดิเดช” เป็นนามแฝงของหนึ่งในผู้ก่อตั้งไทยอีนิวส์ ผู้ซึ่งไม่เคยมีความรู้เรื่องไอที อาศัยแต่เพียงเป็น ACTIVE CITIZEN ผู้ฝักใฝ่การเมือง ประชาธิปไตย และการแลกเปลี่ยนในเว็บบอร์ด !

การก่อตัวของเว็บนี้ค่อนข้างจะแปลกประหลาด เพราะทีมงานที่มีไม่กี่คนนั้นไม่รู้จักกันเป็นการส่วนตัวเลย พวกเขามีภูมิลำเนาดั้งเดิมอยู่ที่เว็บบอร์ดพันทิป ห้องราชดำเนิน พูดคุยเรื่องการเมืองกันมาตั้งแต่ปี 48-49 และมีแนวคิด แนวทางใกล้เคียงกัน

“นโยบายของเราคือ ไม่ต้องรู้จักกัน ไม่รู้จักฉัน ไม่รู้จักเธอ แต่รู้จักความคิดกันและกัน”

“อันที่จริง ในห้องราชดำเนินก็มีทั้ง pro ทั้ง con คุณทักษิณ สำหรับตัวผมเอง ก่อนหน้านั้นผมอยู่ฝ่ายคัดค้าน ผมก็คัดค้านคุณทักษิณเหมือนกับที่เอ็นจีโอคัดค้านนั่นแหละ ตั้งแต่เรื่องตากใบ เรื่องconflict of interest หลายกรณี”

เมื่อเห็นสนธิ ลิ้มทองกุล เคลื่อนขบวนมาถึงช่วงใกล้รัฐประหาร พวกเขาเริ่มเป็นกลุ่มก้อนที่เหนียวแน่นมากขึ้นด้วยความรู้สึกว่า ขบวนการนี้ “เกินเลย” ไปจากบทบาทของภาคประชาชน กระทั่งถึงฟางเส้นสุดท้ายเมื่อหัวค่ำของวันที่ 19 กันยายน 2549

ไทยอีนิวส์ถือกำเนิดในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2549 หรือ หลังรัฐประหารประมาณเดือนครึ่ง ท่ามกลางบรรยากาศแสนอึดอัด เพราะพันทิปมีนโยบายปิดบอร์ดราชดำเนิน “เพื่อความปลอดภัย”

“ช่วงรัฐประหารหลายคน ทั้งโปรประชาธิปไตย ทั้งโปรทักษิณ ไม่มีที่ไป ก็เลยแห่เข้าไปยึดเว็บบอร์ดประชาไท ผมก็เป็นคนหนึ่งในนั้น”

สมศักดิ์บอกว่า จุดเริ่มต้นของการลงมือสร้างพื้นที่ไทยอีนิวส์อีกประการหนึ่งก็คือมองเห็นปัญหาใหญ่มากในเรื่องของ “สื่อ” ซึ่งเขาเห็นว่า สื่อกระแสหลักล้วนชัดเจนว่ามีอคติในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร

“ฝ่ายทักษิณทำอะไรก็เป็นดำไปหมด เราจึงอยากจะสร้างสื่อ ซึ่งผมคิดว่าไม่ใช่สื่อทางเลือกด้วย แต่เป็นสื่อกระแสทวน คือทวนต่อทิศทางที่เป็นกระแสหลัก ซึ่งเป็นเครื่องมือเครื่องไม้ให้ระบอบเผด็จการ”


นิยามของสื่อกระแสทวน ก็คือ “อันไหนไม่เป็นข่าวในสื่อกระแสหลัก ที่นี่จะเป็นข่าวให้ อันไหนเป็นข่าวกระแสหลักที่เป็น propaganda หรือ black propaganda เราจะทวนกระแสโต้ตอบ แล้วเอาความจริงอีกมุมหนึ่งมานำเสนอ เอากันง่ายๆ บทสัมภาษณ์คุณทักษิณในไทมส์ออนไลน์ เมื่อแปลตัวบทอย่างเคร่งครัดก็เห็นชัดอยู่แล้วว่าทักษิณพูดอย่างหนึ่ง ขณะที่สื่อกระแสหลักไปนำเสนอว่าทักษิณจะล้มสถาบันอย่างนู้นอย่างนี้ เราก็มีหน้าที่แปลทั้งหมดออกมานำเสนอซะ”

“อย่างไรเสีย จุดยืนของเราคือ Pro ประชาธิปไตย ส่วน Pro ทักษิณนั้นเป็นเรื่องรอง”

ในด้านเนื้อหาที่ปรากฏ บนเว็บบล็อกที่เนื้อหาทุกเรื่องเรียงลงมาอย่างทื่อๆ เราจะเห็นความหลากหลายคล้ายแกงโฮะหม้อใหญ่ ตั้งแต่บทวิเคราะห์การเมือง บทความประวัติศาสตร์การเมือง บทวิพากษ์วิจารณ์ภาคประชาชน สื่อมวลชน ข่าวที่ไม่ใช่การเมืองอย่างข่าวยูเอฟโอที่สุดท้ายกลายเป็นแค่ลูกโป่ง ข่าวความเคลื่อนไหวคนเสื้อแดง กระทั่งการประกาศขายบ้าน ขายอสังหาริมทรัพย์ของคนเสื้อแดง ฯลฯ

“ไอ้ที่เห็นมีการประกาศขายของนั้น เพราะเราเห็นแล้วว่าการชุมนุม การรวมกันแต่ละครั้งของเสื้อแดงมีแต่ต้องควักตังค์ ต้องระดมทุน จึงมีคนเสนอว่าควรให้เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนการทำมาค้าขายกันซักหน่อย มันก็คล้ายๆ ข่าวสังคม ไทยรัฐหน้า4 ส่วนเรื่องกิจกรรมนั้นคนขยันส่งมาเยอะ ทุกมุมของประเทศ รวมไปถึงต่างประเทศด้วย และพอเขามีกิจกรรมแล้ว เจ้าภาพก็ต้องส่งข้อมูล ส่งข่าวมา เพราะเราไม่มีนักข่าวไปทำ”

เนื้อหาทั้งหมดนี้อาศัยเพียงอีเมล์คุยกันในกลุ่มคนทำงาน และต่างคนต่างทำตามที่ตัวเองถนัด บางคนมีฝีมือทางการเขียน การวิเคราะห์ บางคนถนัดการแปล บางคนเก่งเรื่องเทคนิค บางคนชอบท่องเว็บต่างๆ แล้วรู้ว่าแหล่งไหนมีอะไรน่าสนใจที่จะดึงมา

“ตัวผมเองมีประสบการณ์ทำงานสื่อมาหลากหลาย ผมรู้จักสื่อ และรู้จักธรรมชาติของสื่อดี และเราก็เป็นกระแสทวนในทุกวงการ นอกเหนือจากสื่อแล้ว เราจะเห็นว่าในแวดวงอื่นก็น่าตกใจ เช่น แวดวงเอ็นจีโอ นักสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรม นักวิชาการ ซึ่งโดยธรรมชาติ โดยความเป็นมา ประสบการณ์ที่เรารับรู้ น่าจะเป็นฝ่ายโปรประชาธิปไตย ดังนั้นจึงเริ่มต้นการวิเคราะห์ว่าทำไมพวกเขาส่วนใหญ่จึงเห็นดีเห็นงาม รับใช้เผด็จการ คนที่เขาเขียนมาก็เขียนให้เห็นที่ไปที่มา เครือข่ายที่เชื่อมโยงกัน รวมถึงผลประโยชน์ที่เขาได้รับ”

นอกจากนั้นก็อาศัยเครือข่ายที่จะส่งงานมาลง หรือกระทั่งค้นข้อมูลจาก “นักข่าวไซเบอร์” ทั้งหลายตามเว็บบอร์ดต่างๆ ซึ่งไปร่วมเหตุการณ์สำคัญแล้วบันทึกภาพ บันทึกเรื่องเล่าถึงเหตุการณ์ รวมถึงข้อสังเกตต่างๆ เช่นกรณีการค้นพบว่าผู้หญิงเสื้อแดงที่โดนจิกหัวนั้นไม่ใช่บริเวณแฟลตดินแดง และไม่ใช่เพราะชาวแฟลตดินแดงทนไม่ไหวตามที่สื่อกระแสหลักรายงาน

“มันมีเรื่องให้กระแสทวนต้องเหนื่อยเป็นประจำ ต้องสืบค้น ต้องหาข้อมูลมาเปรียบเทียบ กรณีของผู้หญิงที่ถูกจิกหัว สุดท้ายก็ได้ภาพข่าวดีเด่นรางวัลอิศราฯ อะไรด้วย..”

“ส่วนที่อาศัยรูปแบบของบล็อก็เพราะฟรีและง่าย ใช้แค่สองอย่าง คือ แรงกับใจ ไม่มีค่าใช้จ่ายก็ไม่ต้องหารายได้ และมันง่ายขนาดคนไม่รู้ไอทีอะไรเลยยังทำได้”

เมื่อชัดเจนถึงจุดยืนทวนกระแสแล้ว คำถามสำคัญของมือกระบี่ไร้กระบวนท่าอย่างไทยอีนิวส์ก็คือ ไทยอีนิวส์เป็นการ propaganda ในด้านกลับกันหรือไม่

“เราถูกตั้งคำถามเรื่องนี้อยู่มาก เราเองก็ตั้งคำถามกับตัวเองอยู่ (หัวเราะ)”

“ความจริงแล้วเรามีความเป็นห่วงอยู่ 2-3 เรื่อง หนึ่งคือ ความน่าเชื่อถือเราก็จะโค้ดที่ไปที่มาค่อนข้างละเอียด อย่างน้อยก็น่าจะช่วยได้บ้าง สอง คนอาจว่าเป็น propaganda สู้กับ propaganda ผมกับทีมคุยเรื่องนี้กันอยู่มาก ถ้าเขาเป็นดำเราเป็นขาว ถ้าเขาเป็นขาวเราเป็นดำ มันก็ไม่ต่างกัน ในสิ่งที่เราคิดเห็นคือ อย่างน้อยเราไม่ควรจะทำ black propaganda ชนิดที่เอาความมดเท็จมานำเสนอ เราไม่เคยทำ ถ้าเสื้อแดงทำอะไรเลวๆ ซักอย่างแล้วเราจะไปบอกว่าเสื้อแดงทำดีมาก เราก็ไม่เคยทำ”

“ยกตัวอย่างวันที่ 7 ตุลา ที่พันธมิตรฯ มาชุมนุมกัน มันเกิดอะไรขึ้นไม่รู้ แต่มันมีคนขาขาด มีคนตาย เราต้องนำเสนอไปตามนั้นว่ามีคนตายคนบาดเจ็บ เพราะเห็นกันอยู่ ขณะที่หลายๆ คนในบอร์ดต่างๆ ไปนำเสนอว่าคนนี้เป็นคนขาด้วนมาก่อน”

“แต่ถ้าจะบอกว่าเรา propaganda อีกด้านเพื่อสู้อีกด้าน ก็อาจว่าได้ ในเมื่อสื่อกระแสหลักมันโถมเป็นกระแสใหญ่ซัดใส่สังคมขนาดนั้น แล้วเราเห็นว่ามันเป็นเท็จ แล้วเรานำเสนอจากฝ่ายประชาธิปไตยว่าความจริงมันเป็นอีกแบบ ถ้าจะเรียกว่านี่เป็น propaganda เราก็คงต้องมีภาระจำยอมที่ต้องทำอย่างนี้ไปก่อน”

อย่างไรก็ตาม แม้เขาจะนับรวมภารกิจนี้อยู่ในขบวนการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงอย่างชัดเจน แต่ก็สะท้อนความเป็นอิสระ และเป็นตัวของตัวเองพอสมควร โดยยกตัวอย่างของการแสดงความไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวบางส่วนของคนเสื้อแดง เช่น การออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยที่จะไปบ้านพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อ 19 ก.ย.52 เพราะพล.อ.เปรมไม่ได้อยู่ที่บ้าน หากเคลื่อนขบวนไปก็เสี่ยงต่อโดนปราบเปล่าๆ สมศักดิ์ว่านั่นนับเป็นการออกแถลงการณ์ฉบับแรกตั้งแต่ตั้งไทยอีนิวส์มา

“ถ้าทักษิณเกิดทำอะไรบ้าๆ บอๆ นอกลู่นอกรอย หรือเสื้อแดงทำอะไรที่เราว่าไม่เข้าท่า เราก็มีอิสระจะวิพากษ์วิจารณ์ เราไม่ควรติดเรื่องเสียขบวน ถ้ามัวแต่กลัวเรื่องนี้มันจะยิ่งหนักกว่าการเสียขบวน”



สมศักดิ์ยังวิเคราะห์กลุ่มคนอ่านของเขาว่า น่าจะเป็น “นักปฏิรูป” เพราะดูจากผลการสำรวจความคิดเห็นเรื่องทางการเมืองต่างๆ แนวคิดอย่างที่ต้องการสาธารณรัฐนั้นมีน้อย ส่วนใหญ่เพียงต้องการรัฐธรรมนูญ 40 การเลือกตั้งใหม่ ทั้งนี้ คนส่วนใหญ่ที่เข้ามาอ่าน มาจาก กทม.45% ต่างประเทศ 10% และต่างจังหวัด 35%

นอกจากนี้ยังพบผลสำรวจที่ทำขึ้นบนหน้าเว็บในช่วงการถวายฎีกาด้วยว่า เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 75% และเห็นด้วยกับการถวายฎีกาเพื่อให้ทักษิณเพียง 2%

“เราเชื่อว่าคนก้าวข้ามทักษิณแล้ว อย่างน้อยในบริบทคนอ่านไทยอีนิวส์” สมศักดิ์กล่าว

นับตั้งแต่เริ่มมีการเก็บสถิติตั้งแต่เมษายน 2550 จนปัจจุบัน ไทยอีนิวส์ถูกคลิ๊กไปแล้วกว่า 13.5 ล้านคลิ๊ก เฉลี่ยแล้ววันละ 40,000คลิ๊ก และจะพุ่งเป็นแสนกว่าคลิ๊กช่วงสถานการณ์ร้อน

เมื่อคุณอ่านข่าวสาร บทความ บทวิเคราะห์ ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ก็คงไม่สามารถจะแลกเปลี่ยนที่ท้ายชิ้นงาน หรือวิจารณ์ในเว็บบอร์ดได้ เพราะที่นี่ไม่เปิดเว็บบอร์ด โดยผู้ก่อตั้งชี้แจงว่าเพราะไม่เชี่ยวชาญด้านนั้น และไม่ได้มุ่งเน้นในการสร้างพื้นที่การสื่อสารสองทางอย่างที่เว็บที่มีเนื้อหาการเมืองส่วนใหญ่เป็น

“ถ้าเปิดให้แสดงความคิดเห็นแล้วดูแลยาก ทำให้ต้องเสียแรงเยอะมากกับตัวป่วน ที่สำคัญต้องหาคนมาดูแล ซึ่งสร้างภาระและไม่สอดคล้องกับโครงสร้างที่ไม่มุ่งหารายได้แม้แต่น้อย”

เมื่อถามถึงเป้าหมาย หรือการประเมินตัวเองต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น คนทำไทยอีนิวส์ออกตัวอย่างถ่อมตน “คนที่อ่านเราถือว่าน้อยมาก คนเหล่านี้จะก่อความเปลี่ยนแปลงได้ขนาดไหน ผมก็ไมได้หวังมากมายนัก แต่อย่างน้อยคนโปรประชาธิปไตยก็อ่านเรา คนเกลียดทักษิณมากๆ ก็อ่านเรา เราจะนำเสนออย่างไรไม่ให้คนก่อสงครามกลางเมือง เพราะรูปการณ์ตอนนี้มันนำไปสู่เรื่องนั้นนะ เทียบกับตอนสงกรานต์ เสื้อแดงมีแต่นักพูด เวลานี้มีทหารเข้ามา มีคุณพัลลภ เตรียมทหาร 10 ใครต่อใคร มีการพูดว่า คราวนี้กูจะไม่ให้พวกมึงยิงพวกกูฟรีแล้ว มึงยิงมากูยิงกลับเหมือนกัน ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งที่เขาครองอำนาจรัฐอยู่ เขาพร้อมจะใช้ความรุนแรงอยู่ตลอดเวลา ตลอดประวัติศาสตร์เราเห็นอยู่ว่าพวกนี้นิยมจะใช้ความรุนแรงกับขบวนการประชาธิปไตย ไม่พอยังเสือกใช้สื่อกระแสหลักบิดเบือนอีกว่า พวกมึงพวกสร้างความรุนแรง นิยมความรุนแรง ทำอย่างไรจะห้ามทัพได้ ทางสันติก็มีอยู่ เช่น แก้รัฐธรรมนูญเสีย ทำปฏิญญาว่าจะเคารพเสียงประชาชนอะไรทำนองนี้”

ถามว่า ถ้าสถานการณ์คลี่คลายไทยรักไทยกลับมาเป็นรัฐบาลได้ ภารกิจของไทยอีนิวส์จะสิ้นสุดลงหรือไม่

“เรายึดหลักประชาธิปไตยเป็นด้านหลัก เรื่องของทักษิณเป็นด้านรอง ในแวดวงของสื่อเสื้อแดงมีหลายเฉด มีแดงแจ๊ด แดงระเรื่อ แดงอมชมพู ของเราจะยืนในเรื่องหลักประชาธิปไตย สิ่งที่เราพยายามนำเสนอมาตลอดก็คือนี่เป็นสายธารประชาธิปไตย เราชอบที่จะยกอ้างหลักประชาธิปไตยจากคณะราษฎร และปรีดี และจะไปข้างหน้ายังไง หลักประชาธิปไตยก็อย่างที่โสเครตีสพูดไว้ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน หลักเสรีภาพ หลักความเสมอภาค หลักนิติรัฐ หลักการเคารพเสียงข้างมาก ไม่ละเมิดเสียงข้างน้อย

“ถามว่าเลือกตั้งใหม่ ทักษิณ กลับมา ทีมเราคิดว่าไม่ใช่ปัญหาใหญ่ ปัญหาใหญ่ก็คือ เมื่อใดประเทศนี้จะเคารพในหลักประชาธิปไตย ทำตามกฎกติกาประชาธิปไตย เป็นเรื่องที่เราควรจะยอมรับได้ เลือกตั้งวันพรุ่งนี้พรรคภูมิใจไทยชนะเราก็ควรจะยอมรับเขา เอแบคโพลล์บอกว่าคุณอภิสิทธิ์ได้รับความนิยม 70% ถ้าเขาเลือกตั้งชนะก็ต้องยอมรับเขา แต่ปัญหาในบ้านเมืองของเรามันเป็นรัฐซ้อนรัฐ เราละเมิดหลักประชาธิปไตยอยู่ทุกข้อ”

“หากสภาพมันกลับคืนสู่ปกติ เป็นประชาธิปไตย สื่อทำหน้าที่ของตัวเอง กระแสทวน ก็ไม่รู้จะทวนอะไร”

“แต่ตอนนี้ อาจเป็นยุคที่เลวร้ายที่สุดสำหรับเสรีภาพ มีคนโดนจับกุมคุมขังด้วยข้อหาทางความคิดเยอะมาก”

“อย่างวันนี้ผมควรจะบอกได้ว่าผมเป็นใคร และสิ่งที่ผมคิดได้ แต่ผมก็บอกไม่ได้”

นี่คือทั้งหมดของไทยอีนิวส์ อีกหนึ่งเว็บบล็อกการเมืองฝีมือ active citizen กลุ่มหนึ่ง ส่วนการนิยามว่ามันคืออะไร ในยุคที่ความหมายของ ซ้าย ขวา ขาว ดำ ต่ำ สูง เคลื่อนย้ายไปมาสับสนอลหม่าน คงให้เป็นหน้าที่ของคนอ่าน

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker