โดย คุณศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์
ที่มา เวบไซต์ มติชน
13 เมษายน 2553
ขณะที่รอยเลือดของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตทุกฝ่ายยังไม่จางไป นายกรัฐมนตรีรีบอธิบายว่า ผู้ชุมนุมผิดกฎหมาย ส่วนท่านก็เพียงทำตามหน้าที่ในการต่อสู้เพื่อผิวจราจร นักวิชาการบางกลุ่มเสนอว่า ประชาชนมีอาวุธ นายกจึงสั่งสลายการชุมนุมได้ สื่อมวลชนบางประเภทไปไกลขนาดว่า ประชาชนคือฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบที่เกิดการเสียชีวิตขึ้นมา
กล่าวอย่างรวบรัดแล้ว คำอธิบายของนายกและผู้สนับสนุน วางอยู่บนตรรกะสองข้อ
ข้อแรกคือ การชุมนุมเป็นเรื่องผิดรัฐธรรมนูญ และ
ข้อสอง นายกมีสิทธิสลายการชุมนุมด้วยวิธีรุนแรง นั่นคือใช้กระสุนจริง ใช้ระเบิดควัน ใช้แก๊สน้ำตา ใช้รถถัง ใช้รถหุ้มเกราะ ฯลฯ
พูดให้สั้นก็คือ สมควรแล้วที่ประชาชนมือเปล่าและเจ้าหน้าที่ จะบาดเจ็บล้มตาย ประชาชนควรเจ็บควรตายเพราะผิดกฎหมาย ส่วนทหารควรเจ็บควรตายเพื่อสนองนโยบายนายกรัฐมนตรี
เรื่องที่ต้องวินิจฉัยคือ การชุมนุมของประชาชนครั้งนี้ ผิดรัฐธรรมนูญจริงหรือไม่
คำตอบคือ ไม่ผิด รัฐธรรมนูญมีหลักใหญ่คือ คุ้มครองการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ส่วนหลักรองคือ คุ้มครองการชุมนุมที่ไม่ทำลายชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น
การชุมนุมที่ผ่านฟ้าและราชประสงค์เข้าเงื่อนไขนี้ เพราะมีการรวมตัวของประชาชนมหาศาลอย่างสันติ ความรุนแรงที่มีบ้าง คือความรุนแรงทางสำนวนโวหาร ซึ่งต่อให้ใครจะชอบหรือไม่ชอบ นั่นไม่ใช่เหตุให้อ้างได้ว่า การชุมนุมทำลายทรัพย์สินหรือชีวิต และยิ่งไม่ใช่เหตุให้นายกมีอำนาจสลายการชุมนุม
เแน่นอนว่า การชุมนุมด้วยวิธีนี้มีผู้ไม่พอใจ และผู้ชุมนุมก็ต้องยอมรับความเสี่ยงจากการเลือกวิธีสู้แบบนี้ แต่นั่นเป็นคนละประเด็นว่าประชาชนไม่มีสิทธิในการชุมนุม รัฐธรรมนูญยอมรับว่า ประชาชนมีสิทธิชุมนุมในพื้นที่สาธารณะ และผ่านฟ้ากับราชประสงค์ ก็คือพื้นที่สาธารณะจริง
ตราบใดที่ไม่มีกฎหมายห้ามชุมนุมในบริเวณผ่านฟ้าหรือราชประสงค์ ตราบนั้นประชาชนก็มีสิทธิตามกฎหมาย ในการชุมนุมในบริเวณนั้นอย่างสมบูรณ์
นายกอ้างว่า การชุมนุมละเมิดกฎหมายและทำให้มีผู้เดือดร้อน แต่กฎหมายที่การชุมนุมละเมิด คือกฎหมายระดับ พรบ.การจราจร กฎหมายการใช้เสียง กฎหมายความสะอาด ฯลฯ ซึ่งมีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญทั้งนั้น ซ้ำโทษจากการกระทำผิดนี้ ก็คือการปรับ ไม่ใช่การปราบหรือสลายการชุมนุมจนล้มตาย
การชุมนุมไม่ควรทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน แต่ต้องประเมินความเดือดร้อนตามข้อเท็จจริงรายกรณี เช่น การชุมนุมเป็นอุปสรรคต่อการทำงานจริงหรือไม่ เข้าพื้นที่ราชประสงค์ไม่ได้จริงหรือ ส่งเสียงรบกวนบริเวณใกล้เคียงขนาดไหน ฯลฯ ผู้ชุมนุมต้องชดเชยความเสียหายนี้
แต่นายกไม่มีสิทธิฉวยความเดือดร้อนนี้ เป็นข้ออ้างสลายการชุมนุม
อย่าลืมว่า ประเทศเราไม่มีกฎหมายให้รัฐบาลใช้กองทัพติดอาวุธสลายผู้ขัดขวางทางจราจร หรือใช้เสียงดัง
นอกจากพิจารณาเรื่องนี้ในแง่กฎหมาย เรื่องที่ต้องพิจารณาด้วยก็คือ ผู้ชุมนุมเป็นเจ้าของพื้นที่สาธารณะไม่ต่างจากประชาชนคนอื่น เขามีสิทธิใช้ถนนเท่าผู้ใช้รถและอภิมหาเศรษฐีที่ผูกขาดถนนนี้มาตลอดชีวิต ให้ผู้ชุมนุมใช้สิทธินี้บ้างจะเป็นไรไป ความลำบากในการขับรถ ไม่พึงเป็นเหตุให้ใช้กำลังสลายประชาชน
เมื่อรัฐธรรมนูญคุ้มครองการชุมนุมของประชาชนอย่างครบถ้วน นายกรัฐมนตรีจึงผิดตั้งแต่ประกาศ พรบ. ความมั่นคง และผิดมากขึ้น ที่ประกาศ พรก. ฉุกเฉิน
ผิดแง่กฎหมาย เพราะใช้อำนาจนายกโดยละเมิดรัฐธรรมนูญ
ผิดแง่การเมือง เพราะใช้กฎหมายสำหรับจัดการศัตรูของชาติ มาจัดการผู้เรียกร้องยุบสภา แต่นายกก็เลือกทางนี้ เพื่อแลกกับเครื่องมือทางกฎหมายในการจัดการผู้ชุมนุม
ถ้าพูดลงรายละเอียดให้มากขึ้น นายกฯ กระทำผิดในการสลายการชุมนุมอย่างน้อยอีก 3 ข้อ
ข้อแรก เมื่อประชาชนเริ่มรวมตัวชุมนุมที่แยกผ่านฟ้า นายกฯ ให้สัมภาษณ์ครั้งแล้วครั้งเล่าว่า ชุมนุมที่นั่นไม่ได้ แต่เมื่อย้ายการชุมนุมไปราชประสงค์ นายกฯ กลับคำใหม่ว่า การชุมนุมผ่านฟ้า เป็นการชุมนุมที่รัฐธรรมนูญคุ้มครอง คำวินิจฉัยที่กลับไปมาแบบนี้ ไม่มีเหตุให้เชื่อได้เลยว่า เป็นคำวินิจฉัยที่ยึดหลักอะไรจริง
ต้องถามด้วยซ้ำว่า นายกฯ มีสิทธิอะไรในการวินิจฉัยว่า การชุมนุมไหน ขัดหรือไม่ขัดรัฐธรรมนูญ? นายกอ้างอำนาจนี้ตามอำเภอใจไม่ได้ และถ้ายังไม่มีการวินิจฉัยปัญหานี้ให้เป็นที่ยุติ ก็ต้องคุ้มครองสิทธิตามรัฐธรรมนูญไปก่อน หาไม่ก็จะกลายเป็นการวินิจฉัยเพื่อละเมิดสิทธิเปะปะตามอำเภอใจ
ต่อให้เชื่อว่า นายกมีสิทธิวินิจฉัยเรี่องนี้ คำถามคือ ทำไมสั่งสลายการชุมนุมที่ผ่านฟ้า ซึ่งเคยบอกเองว่าทำได้ ฤาสิทธิตามรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องที่เปลี่ยนตามใจนายกฯ? หรือแท้จริงแล้ว ไม่เชื่อว่าผู้ชุมนุมมีสิทธิตั้งแต่ต้น จึงไม่เคยเคารพหลักนี้ แต่พูดเพื่อกล่าวโทษผู้ชุมนุมเป็นประเด็นข่าวไปวัน ๆ
ข้อสอง นายกฯ อ้างว่า ต้องสลายผ่านฟ้า เพื่อทวงพื้นผิวจราจร แต่การจราจรในกรุงเทพฯ เวลานี้ เป็นปัญหาตรงไหน? ทุกคนรู้ว่ากรุงเทพฯ ยามสงกรานต์ จะกลายสภาพเป็นมหานครใกล้ร้างไปอีกเกือบหนึ่งอาทิตย์ จึงไม่มีเหตุผลอะไรเลย ที่ต้องเร่งรีบสลายการชุมนุม โดยอ้างเหตุอย่างที่กระทำไป
ถ้านายกฯ หมกมุ่นเรื่องยึดพื้นที่ให้น้อยลง ท่านสามารถชะลอการสั่งสลายการชุมนุมได้ ใช้เวลาระหว่างนั้น ทำการเจรจาภายในไปพลาง ไม่ใช่ทำตัวเป็นยามเฝ้าถนนแบบเอาเป็นเอาตาย จนทำคนตายไปจริงๆ
นายกต้องตอบให้ได้ว่า ทำไมสลายการชุมนุมที่ผ่านฟ้า ท่านควรคิดให้รอบด้านว่า ผู้ชุมนุมไม่เพียงมีสิทธิใช้ถนนในฐานะสิทธิในการชุมนุม หากพวกเขายังมีสิทธิใช้ถนนเหมือนประชาชนทั่วไป
นอกจากจะผิดที่สั่งสลาย นายกยังผิดมากขึ้น ที่ให้ปฏิบัติกิจนี้ยามวิกาล รัฐบาลประชาธิปไตยไม่ทำแบบนี้ การสลายยามวิกาลเสี่ยงต่อการปะทะระหว่างทหารกับประชาชน เสี่ยงเกิดเหตุวุ่นวาย สร้างโอกาสที่ทหารจะฆ่าคนโดยไม่ต้องรับผิดชอบ และที่สำคัญ คือไม่ปลอดภัยสำหรับผู้ชุมนุม ที่จะเดินทางกลับในเวลากลางคืน
การเสียชีวิตจำนวนมากที่สุด เกิดขึ้นในช่วงที่รัฐบาลสั่งสลายการชุมนุมแบบนี้เอง
ข้อสาม นายกฯ พูดนับครั้งไม่ถ้วนว่า จะดำเนินมาตรการสลายการชุมนุม จากเบาไปหาหนัก แต่หลักฐานทั้งหมดปรากฏชัดว่า ท่านสลายการชุมนุมที่ผ่านฟ้า ด้วยมาตรการจากหนักไปหนักที่สุด ไม่มีคำเตือน ไม่มีการฉีดน้ำ การสลายเริ่มต้นด้วยแก๊สน้ำตา ระเบิดควัน จากนั้นเป็นการตีพื้นที่ด้วยอาวุธสงคราม
ลำพังไม่รักษาคำพูดเรื่องนี้ยังพอทำเนา แต่ที่ไม่อาจเข้าใจได้เลย คือการอนุญาตให้นายทหารระดับสัญญาบัตร พกอาวุธสังหารและใช้กระสุนจริงสลายการชุมนุม
ท่านนายกฯ จะมองผู้ชุมนุมอย่างไรก็ว่าไป แต่อาวุธที่ทหารยิงใส่ประชาชน คืออาวุธที่ท่านให้ทหารพกพา คำถามคือ
ท่านให้เขาขนอาวุธสงครามไปสลายการชุมนุมได้อย่างไร?
ทำไมไม่สั่งหยุดเมื่อเกิดการปะทะ?
ยิ่งกว่านั้นคือ ท่านอนุญาตให้พกพาอาวุธก่อนที่การปะทะจะเกิดขึ้นจริง จะอ้างการปะทะในภายหลังเป็นเหตุในการสั่งใช้อาวุธได้อย่างไร?
นายกอ้างว่า ประชาชนมีอาวุธ แต่กองทัพสลายประชาชนด้วยอาวุธสงครามที่รุนแรงกว่า ประชาชนใช้ลูกโป่งก่อกวนเฮลิคอปเตอร์ ใช้ด้ามธงปกป้องตัวเองจากทหาร ใช้ปิ๊คอัพขวางรถหุ้มเกราะ ขณะที่กองทัพใช้ปืนกล รถถัง เอ็ม 60 รถหุ้มเกราะ แก๊สน้ำตา ระเบิดควัน ฯลฯ ส่วนอาวุธที่คร่าชีวิตทหารนั้น ไม่ปรากฏว่าเป็นของใคร
ถ้าสรุปให้ชัดไม่ได้ ก็อย่าปัดให้เป็นของประชาชน
คำสั่งสลายกรณีนี้ ผิดเกินกว่าเหตุ ไม่ทำตามขั้นตอนอารยะ และเป็นเหตุของการปะทะ จนมีผู้บาดเจ็บล้มตาย ประชาชนผู้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญไม่ควรตาย เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ควรตายจากคำสั่งให้ปะทะกับประชาชน
ถ้าไม่มีคำสั่งสลายการชุมนุม ก็จะไม่มีการปะทะ ถ้าไม่มีการปะทะ ก็จะไม่มีการบาดเจ็บล้มตาย
นายกคือผู้ที่ต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อความสูญเสียนี้ ไม่ใช่ประชาชนผู้ชุมนุม ไม่ใช่ทหารผู้ปฏิบัติตามคำสั่ง แต่คือท่านผู้เริ่มต้นออกคำสั่งสลายการชุมนุม
คำขอโทษอย่างเดียวไม่พอ ชีวิตคนที่บาดเจ็บล้มตาย และความสูญเสียด้านอื่น มีค่ากว่าคำพูดสั้นๆ ของนายกรัฐมนตรี
การตัดสินใจผิดกรณีนี้ เป็นความรับผิดชอบของท่าน สัตตบุรุษพึงแสดงความรับผิดชอบด้วยการกระทำ
อย่ารอให้ถึงวันที่แม้กระทั่งการลาออกก็ยังไม่เพียงพอ
ที่มา เวบไซต์ มติชน
13 เมษายน 2553
ขณะที่รอยเลือดของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตทุกฝ่ายยังไม่จางไป นายกรัฐมนตรีรีบอธิบายว่า ผู้ชุมนุมผิดกฎหมาย ส่วนท่านก็เพียงทำตามหน้าที่ในการต่อสู้เพื่อผิวจราจร นักวิชาการบางกลุ่มเสนอว่า ประชาชนมีอาวุธ นายกจึงสั่งสลายการชุมนุมได้ สื่อมวลชนบางประเภทไปไกลขนาดว่า ประชาชนคือฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบที่เกิดการเสียชีวิตขึ้นมา
กล่าวอย่างรวบรัดแล้ว คำอธิบายของนายกและผู้สนับสนุน วางอยู่บนตรรกะสองข้อ
ข้อแรกคือ การชุมนุมเป็นเรื่องผิดรัฐธรรมนูญ และ
ข้อสอง นายกมีสิทธิสลายการชุมนุมด้วยวิธีรุนแรง นั่นคือใช้กระสุนจริง ใช้ระเบิดควัน ใช้แก๊สน้ำตา ใช้รถถัง ใช้รถหุ้มเกราะ ฯลฯ
พูดให้สั้นก็คือ สมควรแล้วที่ประชาชนมือเปล่าและเจ้าหน้าที่ จะบาดเจ็บล้มตาย ประชาชนควรเจ็บควรตายเพราะผิดกฎหมาย ส่วนทหารควรเจ็บควรตายเพื่อสนองนโยบายนายกรัฐมนตรี
เรื่องที่ต้องวินิจฉัยคือ การชุมนุมของประชาชนครั้งนี้ ผิดรัฐธรรมนูญจริงหรือไม่
คำตอบคือ ไม่ผิด รัฐธรรมนูญมีหลักใหญ่คือ คุ้มครองการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ส่วนหลักรองคือ คุ้มครองการชุมนุมที่ไม่ทำลายชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น
การชุมนุมที่ผ่านฟ้าและราชประสงค์เข้าเงื่อนไขนี้ เพราะมีการรวมตัวของประชาชนมหาศาลอย่างสันติ ความรุนแรงที่มีบ้าง คือความรุนแรงทางสำนวนโวหาร ซึ่งต่อให้ใครจะชอบหรือไม่ชอบ นั่นไม่ใช่เหตุให้อ้างได้ว่า การชุมนุมทำลายทรัพย์สินหรือชีวิต และยิ่งไม่ใช่เหตุให้นายกมีอำนาจสลายการชุมนุม
เแน่นอนว่า การชุมนุมด้วยวิธีนี้มีผู้ไม่พอใจ และผู้ชุมนุมก็ต้องยอมรับความเสี่ยงจากการเลือกวิธีสู้แบบนี้ แต่นั่นเป็นคนละประเด็นว่าประชาชนไม่มีสิทธิในการชุมนุม รัฐธรรมนูญยอมรับว่า ประชาชนมีสิทธิชุมนุมในพื้นที่สาธารณะ และผ่านฟ้ากับราชประสงค์ ก็คือพื้นที่สาธารณะจริง
ตราบใดที่ไม่มีกฎหมายห้ามชุมนุมในบริเวณผ่านฟ้าหรือราชประสงค์ ตราบนั้นประชาชนก็มีสิทธิตามกฎหมาย ในการชุมนุมในบริเวณนั้นอย่างสมบูรณ์
นายกอ้างว่า การชุมนุมละเมิดกฎหมายและทำให้มีผู้เดือดร้อน แต่กฎหมายที่การชุมนุมละเมิด คือกฎหมายระดับ พรบ.การจราจร กฎหมายการใช้เสียง กฎหมายความสะอาด ฯลฯ ซึ่งมีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญทั้งนั้น ซ้ำโทษจากการกระทำผิดนี้ ก็คือการปรับ ไม่ใช่การปราบหรือสลายการชุมนุมจนล้มตาย
การชุมนุมไม่ควรทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน แต่ต้องประเมินความเดือดร้อนตามข้อเท็จจริงรายกรณี เช่น การชุมนุมเป็นอุปสรรคต่อการทำงานจริงหรือไม่ เข้าพื้นที่ราชประสงค์ไม่ได้จริงหรือ ส่งเสียงรบกวนบริเวณใกล้เคียงขนาดไหน ฯลฯ ผู้ชุมนุมต้องชดเชยความเสียหายนี้
แต่นายกไม่มีสิทธิฉวยความเดือดร้อนนี้ เป็นข้ออ้างสลายการชุมนุม
อย่าลืมว่า ประเทศเราไม่มีกฎหมายให้รัฐบาลใช้กองทัพติดอาวุธสลายผู้ขัดขวางทางจราจร หรือใช้เสียงดัง
นอกจากพิจารณาเรื่องนี้ในแง่กฎหมาย เรื่องที่ต้องพิจารณาด้วยก็คือ ผู้ชุมนุมเป็นเจ้าของพื้นที่สาธารณะไม่ต่างจากประชาชนคนอื่น เขามีสิทธิใช้ถนนเท่าผู้ใช้รถและอภิมหาเศรษฐีที่ผูกขาดถนนนี้มาตลอดชีวิต ให้ผู้ชุมนุมใช้สิทธินี้บ้างจะเป็นไรไป ความลำบากในการขับรถ ไม่พึงเป็นเหตุให้ใช้กำลังสลายประชาชน
เมื่อรัฐธรรมนูญคุ้มครองการชุมนุมของประชาชนอย่างครบถ้วน นายกรัฐมนตรีจึงผิดตั้งแต่ประกาศ พรบ. ความมั่นคง และผิดมากขึ้น ที่ประกาศ พรก. ฉุกเฉิน
ผิดแง่กฎหมาย เพราะใช้อำนาจนายกโดยละเมิดรัฐธรรมนูญ
ผิดแง่การเมือง เพราะใช้กฎหมายสำหรับจัดการศัตรูของชาติ มาจัดการผู้เรียกร้องยุบสภา แต่นายกก็เลือกทางนี้ เพื่อแลกกับเครื่องมือทางกฎหมายในการจัดการผู้ชุมนุม
ถ้าพูดลงรายละเอียดให้มากขึ้น นายกฯ กระทำผิดในการสลายการชุมนุมอย่างน้อยอีก 3 ข้อ
ข้อแรก เมื่อประชาชนเริ่มรวมตัวชุมนุมที่แยกผ่านฟ้า นายกฯ ให้สัมภาษณ์ครั้งแล้วครั้งเล่าว่า ชุมนุมที่นั่นไม่ได้ แต่เมื่อย้ายการชุมนุมไปราชประสงค์ นายกฯ กลับคำใหม่ว่า การชุมนุมผ่านฟ้า เป็นการชุมนุมที่รัฐธรรมนูญคุ้มครอง คำวินิจฉัยที่กลับไปมาแบบนี้ ไม่มีเหตุให้เชื่อได้เลยว่า เป็นคำวินิจฉัยที่ยึดหลักอะไรจริง
ต้องถามด้วยซ้ำว่า นายกฯ มีสิทธิอะไรในการวินิจฉัยว่า การชุมนุมไหน ขัดหรือไม่ขัดรัฐธรรมนูญ? นายกอ้างอำนาจนี้ตามอำเภอใจไม่ได้ และถ้ายังไม่มีการวินิจฉัยปัญหานี้ให้เป็นที่ยุติ ก็ต้องคุ้มครองสิทธิตามรัฐธรรมนูญไปก่อน หาไม่ก็จะกลายเป็นการวินิจฉัยเพื่อละเมิดสิทธิเปะปะตามอำเภอใจ
ต่อให้เชื่อว่า นายกมีสิทธิวินิจฉัยเรี่องนี้ คำถามคือ ทำไมสั่งสลายการชุมนุมที่ผ่านฟ้า ซึ่งเคยบอกเองว่าทำได้ ฤาสิทธิตามรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องที่เปลี่ยนตามใจนายกฯ? หรือแท้จริงแล้ว ไม่เชื่อว่าผู้ชุมนุมมีสิทธิตั้งแต่ต้น จึงไม่เคยเคารพหลักนี้ แต่พูดเพื่อกล่าวโทษผู้ชุมนุมเป็นประเด็นข่าวไปวัน ๆ
ข้อสอง นายกฯ อ้างว่า ต้องสลายผ่านฟ้า เพื่อทวงพื้นผิวจราจร แต่การจราจรในกรุงเทพฯ เวลานี้ เป็นปัญหาตรงไหน? ทุกคนรู้ว่ากรุงเทพฯ ยามสงกรานต์ จะกลายสภาพเป็นมหานครใกล้ร้างไปอีกเกือบหนึ่งอาทิตย์ จึงไม่มีเหตุผลอะไรเลย ที่ต้องเร่งรีบสลายการชุมนุม โดยอ้างเหตุอย่างที่กระทำไป
ถ้านายกฯ หมกมุ่นเรื่องยึดพื้นที่ให้น้อยลง ท่านสามารถชะลอการสั่งสลายการชุมนุมได้ ใช้เวลาระหว่างนั้น ทำการเจรจาภายในไปพลาง ไม่ใช่ทำตัวเป็นยามเฝ้าถนนแบบเอาเป็นเอาตาย จนทำคนตายไปจริงๆ
นายกต้องตอบให้ได้ว่า ทำไมสลายการชุมนุมที่ผ่านฟ้า ท่านควรคิดให้รอบด้านว่า ผู้ชุมนุมไม่เพียงมีสิทธิใช้ถนนในฐานะสิทธิในการชุมนุม หากพวกเขายังมีสิทธิใช้ถนนเหมือนประชาชนทั่วไป
นอกจากจะผิดที่สั่งสลาย นายกยังผิดมากขึ้น ที่ให้ปฏิบัติกิจนี้ยามวิกาล รัฐบาลประชาธิปไตยไม่ทำแบบนี้ การสลายยามวิกาลเสี่ยงต่อการปะทะระหว่างทหารกับประชาชน เสี่ยงเกิดเหตุวุ่นวาย สร้างโอกาสที่ทหารจะฆ่าคนโดยไม่ต้องรับผิดชอบ และที่สำคัญ คือไม่ปลอดภัยสำหรับผู้ชุมนุม ที่จะเดินทางกลับในเวลากลางคืน
การเสียชีวิตจำนวนมากที่สุด เกิดขึ้นในช่วงที่รัฐบาลสั่งสลายการชุมนุมแบบนี้เอง
ข้อสาม นายกฯ พูดนับครั้งไม่ถ้วนว่า จะดำเนินมาตรการสลายการชุมนุม จากเบาไปหาหนัก แต่หลักฐานทั้งหมดปรากฏชัดว่า ท่านสลายการชุมนุมที่ผ่านฟ้า ด้วยมาตรการจากหนักไปหนักที่สุด ไม่มีคำเตือน ไม่มีการฉีดน้ำ การสลายเริ่มต้นด้วยแก๊สน้ำตา ระเบิดควัน จากนั้นเป็นการตีพื้นที่ด้วยอาวุธสงคราม
ลำพังไม่รักษาคำพูดเรื่องนี้ยังพอทำเนา แต่ที่ไม่อาจเข้าใจได้เลย คือการอนุญาตให้นายทหารระดับสัญญาบัตร พกอาวุธสังหารและใช้กระสุนจริงสลายการชุมนุม
ท่านนายกฯ จะมองผู้ชุมนุมอย่างไรก็ว่าไป แต่อาวุธที่ทหารยิงใส่ประชาชน คืออาวุธที่ท่านให้ทหารพกพา คำถามคือ
ท่านให้เขาขนอาวุธสงครามไปสลายการชุมนุมได้อย่างไร?
ทำไมไม่สั่งหยุดเมื่อเกิดการปะทะ?
ยิ่งกว่านั้นคือ ท่านอนุญาตให้พกพาอาวุธก่อนที่การปะทะจะเกิดขึ้นจริง จะอ้างการปะทะในภายหลังเป็นเหตุในการสั่งใช้อาวุธได้อย่างไร?
นายกอ้างว่า ประชาชนมีอาวุธ แต่กองทัพสลายประชาชนด้วยอาวุธสงครามที่รุนแรงกว่า ประชาชนใช้ลูกโป่งก่อกวนเฮลิคอปเตอร์ ใช้ด้ามธงปกป้องตัวเองจากทหาร ใช้ปิ๊คอัพขวางรถหุ้มเกราะ ขณะที่กองทัพใช้ปืนกล รถถัง เอ็ม 60 รถหุ้มเกราะ แก๊สน้ำตา ระเบิดควัน ฯลฯ ส่วนอาวุธที่คร่าชีวิตทหารนั้น ไม่ปรากฏว่าเป็นของใคร
ถ้าสรุปให้ชัดไม่ได้ ก็อย่าปัดให้เป็นของประชาชน
คำสั่งสลายกรณีนี้ ผิดเกินกว่าเหตุ ไม่ทำตามขั้นตอนอารยะ และเป็นเหตุของการปะทะ จนมีผู้บาดเจ็บล้มตาย ประชาชนผู้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญไม่ควรตาย เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ควรตายจากคำสั่งให้ปะทะกับประชาชน
ถ้าไม่มีคำสั่งสลายการชุมนุม ก็จะไม่มีการปะทะ ถ้าไม่มีการปะทะ ก็จะไม่มีการบาดเจ็บล้มตาย
นายกคือผู้ที่ต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อความสูญเสียนี้ ไม่ใช่ประชาชนผู้ชุมนุม ไม่ใช่ทหารผู้ปฏิบัติตามคำสั่ง แต่คือท่านผู้เริ่มต้นออกคำสั่งสลายการชุมนุม
คำขอโทษอย่างเดียวไม่พอ ชีวิตคนที่บาดเจ็บล้มตาย และความสูญเสียด้านอื่น มีค่ากว่าคำพูดสั้นๆ ของนายกรัฐมนตรี
การตัดสินใจผิดกรณีนี้ เป็นความรับผิดชอบของท่าน สัตตบุรุษพึงแสดงความรับผิดชอบด้วยการกระทำ
อย่ารอให้ถึงวันที่แม้กระทั่งการลาออกก็ยังไม่เพียงพอ