ข้อถกเถียงถึง ความไม่เป็นเอกภาพในกองทัพ ดูจะหนาหูขึ้นทุกวัน
โดยเฉพาะการขยับ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ขึ้นมาควบคุมการใช้กำลังของ ศอฉ.
วิเคราะห์กันได้ หลายกรณี อาทิ ส่ง ผบ.ทบ.ขึ้นเขียงเชือดข้อหาไม่ให้ความร่วมมือ ลอยตัวหนีปัญหา
หรือเป็นเพราะต้องการให้กองทัพมีเอกภาพในการสลายผู้ชุมนุมหลังจากประสบความล้มเหลว
จากการสลายม็อบที่สะพานผ่านฟ้าฯ
หรือเพราะต้องการย้อนศรทหารแตงโม
เนื่องจากที่ผ่านมาการขยับเขยื้อนเพื่อสลายการชุมนุมของรัฐบาล
ไม่เคยเป็นความลับ แผนการทั้งหมดถูกถ่ายทอดต่อแกนนำผู้ชุมนุมทุกครั้ง
มีนายทหารชั้นผู้ใหญ่หลายคนถูกข้อหาทหารแตงโม
โดยเฉพาะในกลุ่มพยัคฆ์บูรพา สร้างความหวาดระแวงระหว่างรัฐบาลกับกองทัพมาโดยตลอด
มุมหนึ่งอาจจะมองว่า เกิดความขัดแย้งขึ้นในกองทัพ
มุมหนึ่งอาจมองว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างผู้นำรัฐบาลกับผู้นำกองทัพ
แต่หากดูจากข้อเท็จจริง
และจุดยืนของ พล.อ.อนุพงษ์ ปฏิเสธที่จะใช้กำลังทหารเข้าสลายการชุมนุม
ปฏิเสธที่จะทำการปฏิวัติรัฐประหาร
แน่นอนว่าเพื่อความสบายใจและภาพพจน์ของ พล.อ.อนุพงษ์เอง ด้วยช่วงเวลาที่เหลือ
อยู่ในชีวิตราชการทหาร คงไม่อยากเจ็บตัวตอนจบ ไม่อยากมีมลทินติดตัวกลับบ้าน
แต่เหตุผลที่สำคัญกว่านั้นน่าจะเป็นไปตามที่ ผบ.ทบ.พูดเอาไว้ คือการเมืองจะต้องแก้ด้วยการเมือง
ข้อนี้ต่างหากที่สำคัญ
การไม่ให้ความร่วมมือในสองประเด็นหลักของกองทัพ
เท่ากับเป็นการกดดันให้รัฐบาลต้องหันกลับมาเลือกวิธีแก้ปัญหาในกรอบของประชาธิปไตย
ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาหาทางออกร่วมกัน หรือยุบสภา หรือลาออก ก็เป็นไปได้ทั้งนั้น
เพราะฉะนั้นคำว่าทหารแตงโมหรือจะแปลได้ว่า ทหารประชาธิปไตยนั้น
น่าจะเป็นคำจำกัดความได้ดีที่สุด ที่จะปกป้องประชาธิปไตย
อาจจะขัดใจรัฐบาล อาจจะเกิดความอึดอัดใจในการรับคำสั่งบางอย่าง
แต่ยังดีกว่าดึงประเทศลงเหว
เพราะต่อไปนี้ไม่ว่าจะใช้กำลังสลายการชุมนุม จะเสียเลือดเสียเนื้อ อีกเท่าไหร่
จะเกิดการปฏิวัติรัฐประหารขึ้นมาอีกครั้งในรอบ 4 ปีของประเทศไทย
คือจุดจบของประเทศไทย
ก็น่าแปลกที่รัฐบาลกระหายที่จะใช้กำลัง
แต่ กองทัพกลับกระหายประชาธิปไตย มีความพยายามทำทุกวิถีทางที่จะทำให้
การแก้ไขปัญหาวิกฤติการเมืองอยู่ในกรอบของประะชาธิปไตย
พยายามแม้แต่จะขอความช่วยเหลือจากผู้นำประเทศอื่นๆที่จะช่วยประสานให้ทุกอย่างคลี่คลายลง
ในแนวทางสันติ
หรือกระทั่งสุดท้ายต้องยอมกลืนเลือดเพื่อให้วิกฤติยุติโดยเร็วที่สุด.
หมัดเหล็ก
โดยเฉพาะการขยับ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ขึ้นมาควบคุมการใช้กำลังของ ศอฉ.
วิเคราะห์กันได้ หลายกรณี อาทิ ส่ง ผบ.ทบ.ขึ้นเขียงเชือดข้อหาไม่ให้ความร่วมมือ ลอยตัวหนีปัญหา
หรือเป็นเพราะต้องการให้กองทัพมีเอกภาพในการสลายผู้ชุมนุมหลังจากประสบความล้มเหลว
จากการสลายม็อบที่สะพานผ่านฟ้าฯ
หรือเพราะต้องการย้อนศรทหารแตงโม
เนื่องจากที่ผ่านมาการขยับเขยื้อนเพื่อสลายการชุมนุมของรัฐบาล
ไม่เคยเป็นความลับ แผนการทั้งหมดถูกถ่ายทอดต่อแกนนำผู้ชุมนุมทุกครั้ง
มีนายทหารชั้นผู้ใหญ่หลายคนถูกข้อหาทหารแตงโม
โดยเฉพาะในกลุ่มพยัคฆ์บูรพา สร้างความหวาดระแวงระหว่างรัฐบาลกับกองทัพมาโดยตลอด
มุมหนึ่งอาจจะมองว่า เกิดความขัดแย้งขึ้นในกองทัพ
มุมหนึ่งอาจมองว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างผู้นำรัฐบาลกับผู้นำกองทัพ
แต่หากดูจากข้อเท็จจริง
และจุดยืนของ พล.อ.อนุพงษ์ ปฏิเสธที่จะใช้กำลังทหารเข้าสลายการชุมนุม
ปฏิเสธที่จะทำการปฏิวัติรัฐประหาร
แน่นอนว่าเพื่อความสบายใจและภาพพจน์ของ พล.อ.อนุพงษ์เอง ด้วยช่วงเวลาที่เหลือ
อยู่ในชีวิตราชการทหาร คงไม่อยากเจ็บตัวตอนจบ ไม่อยากมีมลทินติดตัวกลับบ้าน
แต่เหตุผลที่สำคัญกว่านั้นน่าจะเป็นไปตามที่ ผบ.ทบ.พูดเอาไว้ คือการเมืองจะต้องแก้ด้วยการเมือง
ข้อนี้ต่างหากที่สำคัญ
การไม่ให้ความร่วมมือในสองประเด็นหลักของกองทัพ
เท่ากับเป็นการกดดันให้รัฐบาลต้องหันกลับมาเลือกวิธีแก้ปัญหาในกรอบของประชาธิปไตย
ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาหาทางออกร่วมกัน หรือยุบสภา หรือลาออก ก็เป็นไปได้ทั้งนั้น
เพราะฉะนั้นคำว่าทหารแตงโมหรือจะแปลได้ว่า ทหารประชาธิปไตยนั้น
น่าจะเป็นคำจำกัดความได้ดีที่สุด ที่จะปกป้องประชาธิปไตย
อาจจะขัดใจรัฐบาล อาจจะเกิดความอึดอัดใจในการรับคำสั่งบางอย่าง
แต่ยังดีกว่าดึงประเทศลงเหว
เพราะต่อไปนี้ไม่ว่าจะใช้กำลังสลายการชุมนุม จะเสียเลือดเสียเนื้อ อีกเท่าไหร่
จะเกิดการปฏิวัติรัฐประหารขึ้นมาอีกครั้งในรอบ 4 ปีของประเทศไทย
คือจุดจบของประเทศไทย
ก็น่าแปลกที่รัฐบาลกระหายที่จะใช้กำลัง
แต่ กองทัพกลับกระหายประชาธิปไตย มีความพยายามทำทุกวิถีทางที่จะทำให้
การแก้ไขปัญหาวิกฤติการเมืองอยู่ในกรอบของประะชาธิปไตย
พยายามแม้แต่จะขอความช่วยเหลือจากผู้นำประเทศอื่นๆที่จะช่วยประสานให้ทุกอย่างคลี่คลายลง
ในแนวทางสันติ
หรือกระทั่งสุดท้ายต้องยอมกลืนเลือดเพื่อให้วิกฤติยุติโดยเร็วที่สุด.
หมัดเหล็ก