คอลัมน์ |
![]() |
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้ |
ปีที่ 11 ฉบับที่ 2771 ประจำวัน ศุกร์ ที่ 2 เมษายน 2010 |
โดย ลอย ลมบน |
ขณะนี้ในรั้วมหาวิทยาลัยเก่าแก่ชื่อดังอย่างจุฬาลงกรณ์ฯมีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจของคนที่สังคมเชิดชูว่าเป็น “นักวิชาการ” เป็นผู้มีความรู้ เป็นผู้ชี้นำทางความคิดให้กับสังคม
อาจารย์กลุ่มหนึ่งนำโดย ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์, นายพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทในการรวบรวมรายชื่อนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาต่างๆกว่า 155 คน เห็นว่าโรดแม็พ 9 เดือน
แก้รัฐธรรมนูญก่อนยุบสภาที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ใช้เป็นข้อต่อรองกับแกนนำคนเสื้อแดงเป็นโรดแม็พเพื่อซื้อเวลาต่ออายุอยู่ในอำนาจต่อไป
อาจารย์กลุ่มนี้ไม่เห็นด้วยกับการทอดเวลาออกไปอีก 9 เดือน เพราะสุ่มเสี่ยงให้อำนาจนอกระบบเข้ามาแทรกแซงหากในช่วง 9 เดือนนี้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ขึ้น การยุบสภาจึงควรทำภายในเวลา 3 เดือน
อำนาจนอกระบบที่อาจารย์กลุ่มนี้กลัวคือการรัฐประหาร
นอกจากนี้กลุ่มนักวิชาการที่นำโดย ดร.พวงทองและนายพิชญ์ยังเห็นว่าไม่ควรเสียเงิน 2,000 ล้านบาท จัดทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญเพียง 6 ประเด็น และเสนอด้วยว่าการแก้รัฐธรรมนูญควรเป็นการรื้อใหญ่ ไม่ใช่แก้ไขเล็กน้อยเท่านั้นหากอยากให้ประเทศนี้เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง
นักวิชการกลุ่มนี้มองว่าข้ออ้างเรื่องจัดทำงบประมาณเรื่องแก้เศรษฐกิจไม่สมเหตุสมผล เพราะงบประมาณสามารถเบิกจ่ายกันได้ตามวาระปรกติ ขณะที่ภาคธุรกิจจะได้ประโยชน์มากกว่าหากการเมืองมีความชัดเจน ไม่อึมครึมอย่างที่เป็นอยู่ ยิ่งเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญกับการยุบสภาจะเอามาผูกโยงกันไม่ได้ เพราะการแก้รัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของสภา แต่การยุบสภาเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี ที่สำคัญการแก้รัฐธรรมนูญน่าจะเป็นความต้องการของพรรคร่วมรัฐบาลมากกว่า เพราะฝ่ายค้านไม่ได้ต้องการแก้ในประเด็นที่เสนอกัน
“การยุบสภาแล้วเลือกตั้งก็มีนัยแห่งการประชามติอยู่แล้ว หรือจะทำประชามติควบคู่ไปกับการเลือกตั้งเลยก็ได้ โดยเพิ่มบัตรอีก 1 ใบ หากกลัวว่าแก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตราแล้วจะไปยกเลิกโทษให้ใคร เพราะผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็อาจอยากได้รัฐบาลที่ดำเนินนโยบายแบบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่ไม่ต้องการตัว พ.ต.ท.ทักษิณ”
นี่คือทรรศนะของนักวิชาการรั้วจามจุรีฟากหนึ่ง
ขณะที่กลุ่มนักวิชาการอีกฟากหนึ่งภายใต้การนำของ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนวร่วมที่แนบแน่นกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย บอกว่า อาจารย์ อดีตอาจารย์ของจุฬาฯ และประชาชน ได้ร่วมกันหารือถึงสถานการณ์บ้านเมือง เห็นว่ามีการพูดจาจาบจ้วงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงเห็นร่วมกันให้เชิญชวนชาวจุฬาฯและประชาชนทั่วไปสวมเสื้อสีชมพูมารวมตัวกันที่ลานอนุสาวรีย์ 2 รัชกาลจุฬาฯ ในวันที่ 2 เม.ย. เพื่อถวายความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและแสดงความรักชาติ มีองค์กรภาคประชาชนต่างๆตอบรับเข้าร่วม เช่น กองทัพบก มูลนิธิองค์กรกลาง เครือข่ายปัญญาสยาม เครือข่ายจามจุรีรักชาติ โดยมีนายจรัส สุวรรณมาลา คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เป็นประธานในพิธีถวายสักการะ
นอกจากนี้นักวิชาการกลุ่มของ นพ.ตุลย์ยังนัดหมายที่จะเข้าให้กำลังใจนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ด้วย
คนรั้วเดียวกัน เลือดสีชมพูเหมือนกันยังเห็นต่างกัน ส่วนแนวทางของนักวิชาการกลุ่มไหนเป็นหนทางที่จะนำแสงสว่างมาให้สังคมและประเทศชาติคิดว่าคงไม่ยาก
ที่จะตัดสิน เพราะเมื่อกลุ่มหนึ่งพูดถึงหลักการแนวทางและพยายามเสนอทางออกให้ประเทศชาติ แต่อีกกลุ่มหนึ่งยังผูกขาดกับความจงรักภักดีและวิ่งเข้าหาศูนย์กลางของอำนาจ
กลุ่มไหนฝ่ายใดน่าให้การเคารพนับถือมากกว่ากันตัดสินได้ไม่ยาก
อาจารย์กลุ่มหนึ่งนำโดย ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์, นายพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทในการรวบรวมรายชื่อนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาต่างๆกว่า 155 คน เห็นว่าโรดแม็พ 9 เดือน
แก้รัฐธรรมนูญก่อนยุบสภาที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ใช้เป็นข้อต่อรองกับแกนนำคนเสื้อแดงเป็นโรดแม็พเพื่อซื้อเวลาต่ออายุอยู่ในอำนาจต่อไป
อาจารย์กลุ่มนี้ไม่เห็นด้วยกับการทอดเวลาออกไปอีก 9 เดือน เพราะสุ่มเสี่ยงให้อำนาจนอกระบบเข้ามาแทรกแซงหากในช่วง 9 เดือนนี้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ขึ้น การยุบสภาจึงควรทำภายในเวลา 3 เดือน
อำนาจนอกระบบที่อาจารย์กลุ่มนี้กลัวคือการรัฐประหาร
นอกจากนี้กลุ่มนักวิชาการที่นำโดย ดร.พวงทองและนายพิชญ์ยังเห็นว่าไม่ควรเสียเงิน 2,000 ล้านบาท จัดทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญเพียง 6 ประเด็น และเสนอด้วยว่าการแก้รัฐธรรมนูญควรเป็นการรื้อใหญ่ ไม่ใช่แก้ไขเล็กน้อยเท่านั้นหากอยากให้ประเทศนี้เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง
นักวิชการกลุ่มนี้มองว่าข้ออ้างเรื่องจัดทำงบประมาณเรื่องแก้เศรษฐกิจไม่สมเหตุสมผล เพราะงบประมาณสามารถเบิกจ่ายกันได้ตามวาระปรกติ ขณะที่ภาคธุรกิจจะได้ประโยชน์มากกว่าหากการเมืองมีความชัดเจน ไม่อึมครึมอย่างที่เป็นอยู่ ยิ่งเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญกับการยุบสภาจะเอามาผูกโยงกันไม่ได้ เพราะการแก้รัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของสภา แต่การยุบสภาเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี ที่สำคัญการแก้รัฐธรรมนูญน่าจะเป็นความต้องการของพรรคร่วมรัฐบาลมากกว่า เพราะฝ่ายค้านไม่ได้ต้องการแก้ในประเด็นที่เสนอกัน
“การยุบสภาแล้วเลือกตั้งก็มีนัยแห่งการประชามติอยู่แล้ว หรือจะทำประชามติควบคู่ไปกับการเลือกตั้งเลยก็ได้ โดยเพิ่มบัตรอีก 1 ใบ หากกลัวว่าแก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตราแล้วจะไปยกเลิกโทษให้ใคร เพราะผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็อาจอยากได้รัฐบาลที่ดำเนินนโยบายแบบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่ไม่ต้องการตัว พ.ต.ท.ทักษิณ”
นี่คือทรรศนะของนักวิชาการรั้วจามจุรีฟากหนึ่ง
ขณะที่กลุ่มนักวิชาการอีกฟากหนึ่งภายใต้การนำของ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนวร่วมที่แนบแน่นกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย บอกว่า อาจารย์ อดีตอาจารย์ของจุฬาฯ และประชาชน ได้ร่วมกันหารือถึงสถานการณ์บ้านเมือง เห็นว่ามีการพูดจาจาบจ้วงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงเห็นร่วมกันให้เชิญชวนชาวจุฬาฯและประชาชนทั่วไปสวมเสื้อสีชมพูมารวมตัวกันที่ลานอนุสาวรีย์ 2 รัชกาลจุฬาฯ ในวันที่ 2 เม.ย. เพื่อถวายความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและแสดงความรักชาติ มีองค์กรภาคประชาชนต่างๆตอบรับเข้าร่วม เช่น กองทัพบก มูลนิธิองค์กรกลาง เครือข่ายปัญญาสยาม เครือข่ายจามจุรีรักชาติ โดยมีนายจรัส สุวรรณมาลา คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เป็นประธานในพิธีถวายสักการะ
นอกจากนี้นักวิชาการกลุ่มของ นพ.ตุลย์ยังนัดหมายที่จะเข้าให้กำลังใจนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ด้วย
คนรั้วเดียวกัน เลือดสีชมพูเหมือนกันยังเห็นต่างกัน ส่วนแนวทางของนักวิชาการกลุ่มไหนเป็นหนทางที่จะนำแสงสว่างมาให้สังคมและประเทศชาติคิดว่าคงไม่ยาก
ที่จะตัดสิน เพราะเมื่อกลุ่มหนึ่งพูดถึงหลักการแนวทางและพยายามเสนอทางออกให้ประเทศชาติ แต่อีกกลุ่มหนึ่งยังผูกขาดกับความจงรักภักดีและวิ่งเข้าหาศูนย์กลางของอำนาจ
กลุ่มไหนฝ่ายใดน่าให้การเคารพนับถือมากกว่ากันตัดสินได้ไม่ยาก