คอลัมน์ เหล็กใน
ไม่เคย...ไม่เคยมีผู้นำของไทยสักคนเดียว ที่เมื่อมือเปื้อนเลือดแล้วจักสามารถอยู่ในตำแหน่งหรือบนเส้นทางการเมืองได้อีก
นับจาก 14 ตุลา 16, 6 ตุลา 19, พฤษภาทมิฬ 35 และ สุดท้ายเมษาเลือด 53
จอมพลถนอม กิตติขจร, ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช, พล.อ. สุจินดา คราประยูร และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คือ 4 นายกฯ ที่อยู่ในเหตุการณ์นองเลือด
มีเพียงม.ร.ว.เสนีย์ ที่อยู่ห่างจากคำว่า "ทรราช" มากที่สุด
แต่ทั้ง 3 นายกฯก่อนหน้านี้ ก็ปิดฉากเส้นทางเก้าอี้นายกฯ และชีวิตทางการเมืองอย่างเบ็ดเสร็จ หลังกระสุนนัดแรกของทหารระเบิดใส่ผู้ชุมนุม
แม้หลังเกิดเหตุเมษาเลือด นายอภิสิทธิ์ที่ถูกกลุ่มนปช. เสื้อแดง ประณามเป็น "ทรราช" คนใหม่ จะไม่มีท่าทีแสดงความรับผิดชอบ
แต่จากประวัติศาสตร์การเมืองไทย ไม่มีผู้นำคนไหนของไทยจักสามารถดำรงอยู่ได้ หลังสั่งฆ่าประชาชน
กว่า 10 ชีวิตของเสื้อแดงที่ตายกลางสมรภูมิเลือดบน ถ.ราชดำเนิน ไม่ว่าจะด้วยเหตุใด นายอภิสิทธิ์ หลีกเลี่ยงการรับผิดชอบไม่ได้แน่นอน
เพราะปฏิบัติการสลายการชุมนุม เป็นคำสั่งโดยตรงของนายอภิสิทธิ์
อีกทั้งการนำทหารออกมาเผชิญหน้ากับม็อบ ไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องหรือที่นานาประเทศทำกัน
ทหารมีข้อเสียอย่างหนึ่งคือถนัดใช้อาวุธปืนมากกว่าโล่และกระบอง รวมทั้งมีจุดเดือดต่ำกว่าตำรวจซึ่งทำงานใกล้ชิดประชาชน จึงมีความอะลุ้มอล่วยมากกว่า
และยิ่งไปกันใหญ่เมื่อรัฐบาลอนุญาตให้ทหารติดอาวุธได้เต็มพิกัด
แม้รัฐบาลจะอ้างว่าเป็นการยิงขึ้นฟ้า แต่ผู้ชุมนุมกว่า 10 ศพมีเกินครึ่งที่ตายเพราะกระสุนปืน
หรือการโยนระเบิดแก๊สน้ำตาลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ ไปยังผู้ชุมนุมโดยไม่สนใจว่าเป็นเด็ก ผู้หญิง หรือแม้แต่สื่อมวลชน ก็ไม่ใช่วิธีเผชิญหน้าม็อบของนานาอารย ประเทศ
ที่น่าตลกที่สุด และแสดงให้เห็น 2 มาตรฐานชัดขึ้น เมื่อนายอภิสิทธิ์และกระบอกเสียงออกมาบอกว่าจะสอบ สวนการตายทั้งของผู้ชุมนุมและฝ่ายทหาร
ผิดกับสมัยม็อบพันธมิตรฯ ที่หลายฝ่ายออกมาประณาม และตัดสินไปเรียบร้อยว่าเด็กสาวที่เสียชีวิตจากเหตุปะทะกับตำรวจ ตายเพราะกระสุนแก๊สน้ำตา
ป.ป.ช.ตัดสินลงโทษผู้เกี่ยวข้องโดยไม่ฟังข้อชี้แจง ของผู้ถูกกล่าวหา และไม่รอกระทั่งผลชันสูตรอย่างเป็นทางการ
ซึ่งในภายหลังผลชันสูตรออกมาว่าเธอตายเพราะอาวุธอย่างอื่น
เหตุการณ์เมษาเลือด ต้องดูกันว่าองค์กรต่างๆ ที่เคยออกมาไล่ทุบตำรวจ เมื่อคราวปะทะม็อบพันธมิตรฯ จะมีท่าทีอย่างไร
ส่วนนายอภิสิทธิ์ ถึงแม้ตอนนี้จะไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆ แต่อนาคตทางการเมืองปิดฉากลงไปเรียบร้อย
ลาก่อน...ท่านนายกฯ
นับจาก 14 ตุลา 16, 6 ตุลา 19, พฤษภาทมิฬ 35 และ สุดท้ายเมษาเลือด 53
จอมพลถนอม กิตติขจร, ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช, พล.อ. สุจินดา คราประยูร และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คือ 4 นายกฯ ที่อยู่ในเหตุการณ์นองเลือด
มีเพียงม.ร.ว.เสนีย์ ที่อยู่ห่างจากคำว่า "ทรราช" มากที่สุด
แต่ทั้ง 3 นายกฯก่อนหน้านี้ ก็ปิดฉากเส้นทางเก้าอี้นายกฯ และชีวิตทางการเมืองอย่างเบ็ดเสร็จ หลังกระสุนนัดแรกของทหารระเบิดใส่ผู้ชุมนุม
แม้หลังเกิดเหตุเมษาเลือด นายอภิสิทธิ์ที่ถูกกลุ่มนปช. เสื้อแดง ประณามเป็น "ทรราช" คนใหม่ จะไม่มีท่าทีแสดงความรับผิดชอบ
แต่จากประวัติศาสตร์การเมืองไทย ไม่มีผู้นำคนไหนของไทยจักสามารถดำรงอยู่ได้ หลังสั่งฆ่าประชาชน
กว่า 10 ชีวิตของเสื้อแดงที่ตายกลางสมรภูมิเลือดบน ถ.ราชดำเนิน ไม่ว่าจะด้วยเหตุใด นายอภิสิทธิ์ หลีกเลี่ยงการรับผิดชอบไม่ได้แน่นอน
เพราะปฏิบัติการสลายการชุมนุม เป็นคำสั่งโดยตรงของนายอภิสิทธิ์
อีกทั้งการนำทหารออกมาเผชิญหน้ากับม็อบ ไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องหรือที่นานาประเทศทำกัน
ทหารมีข้อเสียอย่างหนึ่งคือถนัดใช้อาวุธปืนมากกว่าโล่และกระบอง รวมทั้งมีจุดเดือดต่ำกว่าตำรวจซึ่งทำงานใกล้ชิดประชาชน จึงมีความอะลุ้มอล่วยมากกว่า
และยิ่งไปกันใหญ่เมื่อรัฐบาลอนุญาตให้ทหารติดอาวุธได้เต็มพิกัด
แม้รัฐบาลจะอ้างว่าเป็นการยิงขึ้นฟ้า แต่ผู้ชุมนุมกว่า 10 ศพมีเกินครึ่งที่ตายเพราะกระสุนปืน
หรือการโยนระเบิดแก๊สน้ำตาลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ ไปยังผู้ชุมนุมโดยไม่สนใจว่าเป็นเด็ก ผู้หญิง หรือแม้แต่สื่อมวลชน ก็ไม่ใช่วิธีเผชิญหน้าม็อบของนานาอารย ประเทศ
ที่น่าตลกที่สุด และแสดงให้เห็น 2 มาตรฐานชัดขึ้น เมื่อนายอภิสิทธิ์และกระบอกเสียงออกมาบอกว่าจะสอบ สวนการตายทั้งของผู้ชุมนุมและฝ่ายทหาร
ผิดกับสมัยม็อบพันธมิตรฯ ที่หลายฝ่ายออกมาประณาม และตัดสินไปเรียบร้อยว่าเด็กสาวที่เสียชีวิตจากเหตุปะทะกับตำรวจ ตายเพราะกระสุนแก๊สน้ำตา
ป.ป.ช.ตัดสินลงโทษผู้เกี่ยวข้องโดยไม่ฟังข้อชี้แจง ของผู้ถูกกล่าวหา และไม่รอกระทั่งผลชันสูตรอย่างเป็นทางการ
ซึ่งในภายหลังผลชันสูตรออกมาว่าเธอตายเพราะอาวุธอย่างอื่น
เหตุการณ์เมษาเลือด ต้องดูกันว่าองค์กรต่างๆ ที่เคยออกมาไล่ทุบตำรวจ เมื่อคราวปะทะม็อบพันธมิตรฯ จะมีท่าทีอย่างไร
ส่วนนายอภิสิทธิ์ ถึงแม้ตอนนี้จะไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆ แต่อนาคตทางการเมืองปิดฉากลงไปเรียบร้อย
ลาก่อน...ท่านนายกฯ