บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ส.ส. ต้องสังกัดพรรค (ตอน 2)

ที่มา บางกอกทูเดย์

รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ให้ ส.ส.มีเวลา 60 วัน ภายหลังพรรคการเมืองมีคำสั่งถูกยุบ นั่นก็คือนับจากวันที่หนึ่งถึงวันที่หกสิบ ส.ส.จะต้องไปหาพรรคการเมืองสังกัดให้ได้ ถ้าทำไม่ได้ให้พ้นสภาพจากความเป็น ส.ส.แสดงว่า ส.ส.ไม่มีพรรคการเมืองที่จะนำไปกล่าวในที่ประชุมใช่หรือไม่? “ถ้าใช่” ก็คงต้องหมายความว่า

รัฐธรรมนูญนี้มีข้อยกเว้น มีบทเฉพาะกาล...แต่เมื่ออ่านทั้ง 309 มาตราแล้ว จะไม่พบข้อยกเว้นหรือบทเฉพาะกาลในเรื่องเหล่านี้เลย นั่นแสดงว่า เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญต้องการให้ ส.ส. สังกัดพรรคตลอดเวลา การทำหน้าที่ในสภาของ ส.ส. จึงทำหน้าที่ในฐานะปวงชนชาวไทยที่สังกัดพรรคการเมืองซึ่ง

ประชาชนได้เลือกเข้ามา ต่างจาก ส.ว. ที่ไม่ต้องสังกัดพรรค แต่เชื่อหรือไม่ครับ พี่น้องทั้งหลาย...การตะแบงของนักการเมืองได้เกิดขึ้นไปแล้ว มีการตีความกฎหมายรัฐธรรมนูญแบบเข้าข้างตัวเองหรือไม่ ลองพิจารณากันดู เพราะในการประชุมสภาเมื่อวันที่ 15 ธันวา 51 นั้น...ส.ส. ของพรรคการเมืองทั้งสาม

พรรค ยังเข้าไปทำหน้าที่ในสภาได้อย่างหน้าตาเฉย โดยเฉพาะ ส.ส. พรรคพลังประชาชน ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลเดิมแต่ถูกศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบไปเมื่อ 2 ธันวา 51 พรรคพลังประชาชนได้รับการเลือกตั้งเข้ามาโดยมีจำนวน ส.ส. มากเป็นอันดับหนึ่งในคราวเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 23 ธันวา 50 และสามารถจัดตั้งรัฐบาล

เข้ามาบริหารราชการแผ่นดินได้ มีนายกรัฐมนตรีมาแล้ว 2 คน เมื่อพรรคพลังประชาชนถูกศาลสั่งยุบพรรคไป นายกฯ สมชาย ต้องพ้นจากตำแหน่ง แน่นอน ต้องมีการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ก็มีการจับขั้วทางการเมืองเกิดขึ้น จนมีผู้ที่สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกฯ 2 คน คนหนึ่งมาจากพรรครัฐบาลเดิมมี

ยศ “พลตำรวจเอก” ที่ ส.ส. ของพรรคพลังประชาชนส่วนใหญ่ให้การสนับสนุน ส.ส. ที่สนับสนุนจะต้องเข้าชื่อเสนอว่าที่นายกฯ คนใหม่ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของ ส.ส. ที่มีอยู่ทั้งสภา ก็มีการดำเนินการกันไปแล้ว โดยที่มีลักษณะไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เพราะการเสนอชื่อว่าที่

นายกฯ นั้น มีการบันทึกไว้ของสภาว่า...ผู้ที่เข้าชื่อเสนอนั้นมีจำนวนถูกต้อง แต่ไม่มีการระบุว่า ส.ส. เหล่านี้สังกัดพรรคใด ในบันทึกการประชุมของสภาเมื่อวันที่ 15 ธันวา 51 ไม่มีการระบุว่า ส.ส. ของพรรคการเมืองทั้งสามที่ถูกยุบไป เป็น ส.ส. ของพรรคการเมืองอื่นหรือยัง ซึ่งตามข้อเท็จจริง ส.ส. เหล่านี้ยังไม่ไปหา

พรรคการเมืองอื่นสังกัดตามสิทธิที่มีอยู่ แต่ได้เข้าไปทำหน้าที่ในสภาเรียบร้อยไปแล้ว โดยการร่วมกันเสนอชื่อว่าที่นายกรัฐมนตรีแข่งกัน ส.ส. ส่วนใหญ่ของพรรคพลังประชาชนเดิมได้เข้าไปโหวตเลือกนายกฯที่พวกตนเองเสนอ ทั้งที่ ส.ส.เหล่านี้ไม่แจ้งสังกัดพรรคการเมือง ดูเหมือนการกระทำของ ส.ส. เหล่านี้จะ

ขัดต่อรัฐธรรมนูญไปแล้ว...เพราะส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ซึ่งในกรณีนี้...หากว่าที่นายกฯ ของกลุ่มเดิมได้รับเลือกก็คงต้องตีความว่าได้อำนาจมาชอบหรือไม่? เรื่องนี้ รัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ระบุชัดว่า เป็นเรื่องสำคัญ จึงกำหนดว่า...บุคคลใดจะใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อให้ได้มา

ซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้ อย่างที่กล่าวไปแล้ว...ไม่มีบทบัญญัติในมาตราใดของรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้ ส.ส. ที่ถูกพรรคการเมืองขับออก หรือ ส.ส. ของพรรคการเมืองที่ถูกยุบไปให้เข้าไปทำหน้าที่ในสภาได้ มีเพียงแค่ว่า ส.ส. นั้นยังคง

สถานภาพความเป็น ส.ส. อยู่ ที่มีเพียงสิทธิที่จะอุทธรณ์ต่อศาล หรือสิทธิที่จะไปพรรคการเมืองอื่นสังกัดภายในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ 30 วันตามมาตรา 106 (7) หรือ 60 วันตามมาตรา 106 (8) เท่านั้น การที่ ส.ส. ของพรรคพลังประชาชนเดิม ได้เข้าชื่อเสนอว่าที่นายกฯ คนใหม่ จึงอาจส่อไปในทางที่ใช้อำนาจหน้าที่หรือ

สิทธิเสรีภาพไปในทางที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจถูกถอดถอนได้ หากการเสนอชื่อว่าที่นายกฯ ของพรรคพลังประชาชนเดิมได้รับเสียงข้างมากจากบรรดา ส.ส. ที่ระบุว่า ยังไม่มีพรรคการเมืองใหม่สังกัดนั้น ก็คงจะต้องพิจารณาต่อไปว่านายกฯ คนใหม่นั้น ได้รับเลือกมาโดยชอบหรือไม่ เพราะถ้าพิจารณาตามบันทึก

การประชุมของสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551 จะพบว่า ส.ส.ของพรรคพลังประชาชนเดิม ไม่มีการระบุว่า เป็น ส.ส. ของพรรคการเมืองอื่นแต่อย่างใด คะแนนเสียงในการเสนอชื่อและในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ โดย ส.ส. ที่ไม่สามารถระบุว่าเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดจะใช้ได้หรือไม่?

น่าสนใจมากทีเดียว! เพราะเรื่องอย่างนี้ยังไม่เคยปรากฏมาก่อน เรื่องนี้เคยมีคนสนใจกันมาก...แต่ยังคลายปมไม่ออก แต่ก็ไม่ได้ติดตามกันมากนัก เพราะในเวลาต่อมา คนที่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีนั้นหาใช่พลตำรวจเอกไม่ แต่เป็น “เด็กหนุ่มรูปหล่อ” ที่หลายคนดีใจเมื่อชนะโหวตในสภาได้เป็นนายกฯ แทน ถูกใจ

แล้ว...ความถูกต้องก็เลยลืมเลือนไป แต่หากว่าคนรูปหล่อไม่ได้เป็น...การพิจารณาตามความถูกต้องน่าจะมีต่อไป เฉกเช่นเรื่องเขาพระวิหาร การทำกับข้าว การจ้างพรรคเล็ก การหันคูหาเลือกตั้ง เมื่อไม่ถูกใจ...แม้จะได้รับเลือกมาจากเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนอย่างไรก็ตาม ก็จะต้องหาเหตุกล่าวหากันให้ได้ว่า ทำ

อะไรก็ผิด ทั้งเรื่องการซื้อสิทธิ์ขายเสียง การใช้นอมินี การซุกหุ้นซุกเงิน การร่ำรวยผิดปกติ หรือการเป็นผู้ก่อการร้ายเรื่องที่หามาใส่กันนั้น เดิมคนส่วนใหญ่จะเห็นพ้องคล้อยตาม...แต่ทำไปมากเข้าชาวบ้านเลยงงๆว่า คนบางคนจะทำความผิดได้มากมายขนาดนั้นเลยหรือ แล้วคนที่อยู่ร่วมด้วยกันมากว่าหกปี ไม่มี

ใครผิดเลยหรือ บางคนถูกกระบวนการนอกเหนือจากรัฐธรรมนูญของประชาชน กล่าวหาว่าทำผิดอย่างมหันต์ ชั่วช้าสามาน ซึ่งมีมากมายหลายเรื่องที่โดนกล่าวหา แต่กระบวนการที่นำมาใช้นั้นดูเหมือนจะไม่ใช่ตามระบอบประชาธิปไตย เช่นนี้ คนส่วนหนึ่งจึงเริ่มรู้สึกว่าความเป็นธรรมนั้นมีจริงหรือไม่ หรือมีแต่เรื่อง

ความถูกใจ หาความถูกต้องได้ยาก ซึ่งที่พบเห็นก็เป็นเพียงการเลือกใช้อำนาจอย่างไม่เท่าเทียมกัน หรือสองมาตรฐาน เมื่อไม่เห็นด้วยกับวิธีการที่นำมาใช้ คนก็ต่อต้าน เพราะยังต้องการเห็นความถูกต้องความชอบธรรมอยู่ ซึ่งแม้คนที่เขาเลือกมาจะถูกกล่าวหาอย่างไรก็ตาม เขาก็ไม่โต้แย้ง ถ้าวิธีการที่นำมาใช้ใน

การพิจารณากล่าวหานั้นเป็นธรรม ผิดก็คือผิด ถูกก็ว่าไปตามที่ถูก และต้องไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใครก็ตาม ต้องได้รับความยุติธรรมที่ไม่แตกต่างกัน จะเป็นคนดีหรือคนไม่ดีในสายตาประชาคม ก็ต้องพิจารณาบนพื้นฐานของความเป็นธรรมที่เท่าเทียมกัน เขียนอย่างนี้แล้ว พี่น้องผู้อ่านอาจจะมองว่าเขียน

เข้าข้างใครหรือไม่...ตอบว่า “ไม่” เพราะว่าไปตามเนื้อผ้า พิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป ไม่ได้มองว่า คนนี้ไม่ชอบก็หาเรืองเขา คนนี้รักทำอะไรก็ไม่ผิด อย่างนั้นเรียกว่า “อคติ” กลับมาพิจารณากันต่อเรื่อง ส.ส. ต้องสังกัดพรรค ซึ่งถ้าเป็นไปในแนวทางที่กำหนดในกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญ จะเห็นว่า ส.ส. กับพรรคการ

เมืองแยกจากกันไม่ได้ ต้องอยู่คู่กันตลอดไป เพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 106 (4) ก็ระบุไว้ว่า ส.ส. จะพ้นสภาพถ้าขาดคุณสมบัติของการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง ซึ่งมาตรานี้ได้โยงเรื่องการขาดคุณสมบัติดังกล่าวไปที่มาตรา 101 (3) พิจารณาได้ชัดเจนพอควรแล้ว ก็มาดูต่อในกฎหมาย

ประกอบรัฐธรรมนูญที่รับรองเรื่องนี้ไว้ชัดเจนขึ้น เรื่องนี้ต้องไปดูต่อในกฎหมายพรรคการเมืองที่เรียกว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 กฎหมายพรรคการเมือง ให้ความหมายในมาตรา 4 คำว่า “สมาชิก” หมายถึงสมาชิกพรรคการเมือง ซึ่งจะสอดคล้องกับคำว่า สมาชิก ที่ระบุไว้รัฐ

ธรรมนูญ มาตรา 106 (7) และ (8) ดังที่กล่าวไปแล้ว ในกฎหมายพรรคการเมืองนี้ มีการผูกโยงสถานภาพของสมาชิกพรรคการเมืองไว้กับรัฐธรรมนูญด้วย ถ้าไปพิจารณาในกฎหมายพรรคการเมืองมาตรา 20 (5) ที่ระบุว่า สมาชิกภาพของสมาชิกพรรคการสิ้นสุดลงเมื่อพรรคการเมืองสิ้นสภาพถูกยุบไปอ่านเพียงเท่านี้ เข้า

ใจได้ทันทีว่า...สมาชิกพรรคการเมืองสิ้นไปแล้วทันทีที่ศาลสั่งยุบพรรคการเมือง สมาชิกของพรรคการเมืองที่เป็นคนทั่วไปก็หมดไป แต่คนที่เป็นกรรมการบริหารพรรคมีโทษตามมาด้วย คือถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker