“จาตุรนต์”ข้องใจรัฐปรองดองหรือปราบปราม จวกใช้ พรก.ฉุกเฉินเกินขอบเขตขัดรธน. เตือนอย่าดึงดันแก้ตัวเหตุยิงในวัดปทุม จะทำให้พังเร็ว...
นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ประธานสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย กล่าวว่า ตนเห็นด้วยที่หลายฝ่ายได้เสนอความเห็นสนับสนุนการปรองดอง เพราะการปรองดองสมานฉันท์เท่านั้น ที่จะป้องกันไม่ให้สังคมมีความขัดแย้งรุนแรงบานปลายต่อไป และสามารถกลับคืนสู่ความสงบสุขได้ แต่ปัญหาขณะนี้คือคำว่าปรองดองได้ถูกทำให้สูญเสียความหมายไปหมดแล้ว
จากการกระทำของรัฐบาล ทั้งในระหว่างการชุมนุมและในปัจจุบัน สังคมไทยจึงจำเป็นต้องมาทำความเข้าใจกับคำว่าปรองดองกันใหม่เสียก่อน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้ยกเรื่องปรองดองขึ้นมาหลังการสลายการชุมนุมที่ผ่านฟ้าซึ่งมีคนตาย 20 กว่าคนและบาดเจ็บ 900 กว่าคน
แต่หลังจากนายกฯเสนอแผนปรองดองเป็นต้นมา กลับทำให้มีคนตายเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 70 คนและบาดเจ็บมากกว่าเดิม ทำให้การปรองดองมีความหมายเป็นการปราบปราม ประชาชนไป นายจาตุรนต์กล่าวว่า ต่อมาภายหลังจากการชุมนุมยุติลงแล้ว รัฐบาลก็พร่ำพูดคำว่าปรองดอง แต่กลับมุ่งทำลายล้างฝ่ายตรงข้ามอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้คนจำนวนมากอยู่ในสภาพหวาดกลัว หวาดระแวง โกรธแค้น เกลียดชัง ทำให้สังคมมีแนวโน้มที่จะแตกแยกมากขึ้นทุกที
หากรัฐบาลยังมุ่งทำลายล้างประชาชน ที่มีความเห็นแตกต่างจากรัฐบาลต่อไป สังคมไทยอาจจะก้าวไปสู่ความรุนแรงยิ่งกว่าที่เคยมีมาแล้วในอดีต ขณะนี้รัฐบาลและศอฉ.กำลังใช้ พรก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างเกินขอบเขต ขัดต่อกฎหมายและรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน การปิดกั้นเสรีภาพในการสื่อสาร เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพทางวิชาการรวมทั้งการปิดกั้นแทรกแซงสื่อมวลชนยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ได้อาศัยข้อมูลหลักฐานเกี่ยวกับการทำผิดกฎหมายมาเป็นสาเหตุ แต่กลับใช้ดุลพินิจบนพื้นฐานความคิดความเห็นทางการเมืองที่แตกต่างหรือตรงข้ามกับรัฐบาล ที่สำคัญการบัญชาการสั่งการทั้งหมดทำไปโดยผู้ที่เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคการเมืองที่เป็นคู่กรณีกับประชาชน ที่มาชุมนุมต่อต้านรัฐบาล
นายจาตุรนต์กล่าวอีกว่า ในส่วนของการสั่งให้จับกุมดำเนินคดี รวมทั้งการระงับธุรกรรมการเงินของบุคคลและบริษัทเป็นไปแบบตามอำเภอใจและเห็นได้ชัดว่าเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาล ทั้งในการสร้างความชอบธรรมให้กับตนเอง แก้ต่างข้อหาที่รัฐบาลถูกกล่าวหาว่าสั่งฆ่าประชาชนและทำลายเครือข่ายของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ซึ่งย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อพรรครัฐบาลในการเลือกตั้งในอนาคต ขณะนี้รัฐบาลและศอฉ.กำลังข่มขู่ประชาชนผู้ร่วมชุมนุมโดยเฉพาะผู้ที่บาดเจ็บจำนวนมาก ต้องให้ปากคำในทางที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐบาล โดยขู่ว่าหากไม่ให้ความร่วมมือก็อาจจะตั้งข้อหาดำเนินคดีข้อหาฝ่าฝืน พรก.ฉุกเฉินฯ
การข่มขู่ลักษณะนี้ เป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำให้ทุกฝ่ายยอมรับเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม วันนี้รัฐบาลกำลังตกที่นั่งลำบาก ในสายตาของสื่อต่างประเทศและชาวต่างชาติ โดยเฉพาะในกรณีการสังหารประชาชนในวัดปทุมวนาราม ส่วนตัวได้มีโอกาสคุยกับผู้ได้รับบาดเจ็บในเหตุการณ์ ซึ่งอยู่กับผู้ถูกยิงเสียชีวิตและเฝ้าศพตลอดทั้งคืน เล่าให้ฟังว่า ผู้ที่อยู่ในวัดปทุมวนาราม ส่วนใหญ่จะปักใจเชื่อว่าทหารยิงประชาชน และในกรณีนี้หากรัฐบาลยังแก้ตัวให้ทหารอย่างออกนอกหน้าอย่างที่ทำอยู่ ความโกรธแค้นเกลียดชังจะรุนแรงยิ่งขึ้น รัฐบาลอาจต้องประสบกับวิกฤตความชอบธรรมเร็วกว่าที่คาดไว้
นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ประธานสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย กล่าวว่า ตนเห็นด้วยที่หลายฝ่ายได้เสนอความเห็นสนับสนุนการปรองดอง เพราะการปรองดองสมานฉันท์เท่านั้น ที่จะป้องกันไม่ให้สังคมมีความขัดแย้งรุนแรงบานปลายต่อไป และสามารถกลับคืนสู่ความสงบสุขได้ แต่ปัญหาขณะนี้คือคำว่าปรองดองได้ถูกทำให้สูญเสียความหมายไปหมดแล้ว
จากการกระทำของรัฐบาล ทั้งในระหว่างการชุมนุมและในปัจจุบัน สังคมไทยจึงจำเป็นต้องมาทำความเข้าใจกับคำว่าปรองดองกันใหม่เสียก่อน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้ยกเรื่องปรองดองขึ้นมาหลังการสลายการชุมนุมที่ผ่านฟ้าซึ่งมีคนตาย 20 กว่าคนและบาดเจ็บ 900 กว่าคน
แต่หลังจากนายกฯเสนอแผนปรองดองเป็นต้นมา กลับทำให้มีคนตายเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 70 คนและบาดเจ็บมากกว่าเดิม ทำให้การปรองดองมีความหมายเป็นการปราบปราม ประชาชนไป นายจาตุรนต์กล่าวว่า ต่อมาภายหลังจากการชุมนุมยุติลงแล้ว รัฐบาลก็พร่ำพูดคำว่าปรองดอง แต่กลับมุ่งทำลายล้างฝ่ายตรงข้ามอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้คนจำนวนมากอยู่ในสภาพหวาดกลัว หวาดระแวง โกรธแค้น เกลียดชัง ทำให้สังคมมีแนวโน้มที่จะแตกแยกมากขึ้นทุกที
หากรัฐบาลยังมุ่งทำลายล้างประชาชน ที่มีความเห็นแตกต่างจากรัฐบาลต่อไป สังคมไทยอาจจะก้าวไปสู่ความรุนแรงยิ่งกว่าที่เคยมีมาแล้วในอดีต ขณะนี้รัฐบาลและศอฉ.กำลังใช้ พรก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างเกินขอบเขต ขัดต่อกฎหมายและรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน การปิดกั้นเสรีภาพในการสื่อสาร เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพทางวิชาการรวมทั้งการปิดกั้นแทรกแซงสื่อมวลชนยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ได้อาศัยข้อมูลหลักฐานเกี่ยวกับการทำผิดกฎหมายมาเป็นสาเหตุ แต่กลับใช้ดุลพินิจบนพื้นฐานความคิดความเห็นทางการเมืองที่แตกต่างหรือตรงข้ามกับรัฐบาล ที่สำคัญการบัญชาการสั่งการทั้งหมดทำไปโดยผู้ที่เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคการเมืองที่เป็นคู่กรณีกับประชาชน ที่มาชุมนุมต่อต้านรัฐบาล
นายจาตุรนต์กล่าวอีกว่า ในส่วนของการสั่งให้จับกุมดำเนินคดี รวมทั้งการระงับธุรกรรมการเงินของบุคคลและบริษัทเป็นไปแบบตามอำเภอใจและเห็นได้ชัดว่าเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาล ทั้งในการสร้างความชอบธรรมให้กับตนเอง แก้ต่างข้อหาที่รัฐบาลถูกกล่าวหาว่าสั่งฆ่าประชาชนและทำลายเครือข่ายของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ซึ่งย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อพรรครัฐบาลในการเลือกตั้งในอนาคต ขณะนี้รัฐบาลและศอฉ.กำลังข่มขู่ประชาชนผู้ร่วมชุมนุมโดยเฉพาะผู้ที่บาดเจ็บจำนวนมาก ต้องให้ปากคำในทางที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐบาล โดยขู่ว่าหากไม่ให้ความร่วมมือก็อาจจะตั้งข้อหาดำเนินคดีข้อหาฝ่าฝืน พรก.ฉุกเฉินฯ
การข่มขู่ลักษณะนี้ เป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำให้ทุกฝ่ายยอมรับเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม วันนี้รัฐบาลกำลังตกที่นั่งลำบาก ในสายตาของสื่อต่างประเทศและชาวต่างชาติ โดยเฉพาะในกรณีการสังหารประชาชนในวัดปทุมวนาราม ส่วนตัวได้มีโอกาสคุยกับผู้ได้รับบาดเจ็บในเหตุการณ์ ซึ่งอยู่กับผู้ถูกยิงเสียชีวิตและเฝ้าศพตลอดทั้งคืน เล่าให้ฟังว่า ผู้ที่อยู่ในวัดปทุมวนาราม ส่วนใหญ่จะปักใจเชื่อว่าทหารยิงประชาชน และในกรณีนี้หากรัฐบาลยังแก้ตัวให้ทหารอย่างออกนอกหน้าอย่างที่ทำอยู่ ความโกรธแค้นเกลียดชังจะรุนแรงยิ่งขึ้น รัฐบาลอาจต้องประสบกับวิกฤตความชอบธรรมเร็วกว่าที่คาดไว้