สมาชิกพรรคการเมืองที่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี...ถ้าเป็น ส.ส.หรือเป็นนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี อยู่ด้วยก็จะพ้นสภาพตามไปด้วยกรณีที่ศาลยุบพรรคทั้งสามไปเมื่อ 2 ธันวา 51 ก็เข้าลักษณะนี้แต่ ส.ส.ที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองนั้น ยังมีข้อยกเว้นเอาไว้ในมาตรา 20 มีวรรคหกซึ่งเป็นวรรคท้ายของมาตรานี้อยู่ด้วย“วรรคหก” นี้เป็นประเด็นสำคัญที่หลายคนคงคาดไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็นนักกฎหมายหรือผู้เชี่ยวชาญกฎหมายที่อาจมองข้ามไปมาตรา 20 วรรคหก บัญญัติว่า “การสิ้นสุดสมาชิกภาพตามวรรคหนึ่ง (5) ถ้า
สมาชิกผู้นั้นดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วย และไม่อาจเข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นได้ภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่พรรคการเมืองยุบไป ให้สมาชิกภาพของผู้นั้นสิ้นสุดลงนับแต่วันถัดจากวันที่ครบหกสิบวันนั้น”ยกความใน มาตรา 20 วรรคหก มาเขียนให้อ่านทุกคำตามตัวอักษรแล้ว...พี่น้องลอง
พิจารณาตามไปด้วยกันนะครับในมาตรา 20 วรรคหกจะเห็นคำว่า “สมาชิก” กับคำว่า “สมาชิกภาพ” “สมาชิกภาพ” นั้นเขียนไว้ในมาตรา 20 วรรคหนึ่งว่า...สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเมื่อ.....อ่านแล้วนำไปพิจารณารวมกับความหมายของคำว่า “สมาชิก”ก็จะได้ความว่า สมาชิกภาพของสมาชิกพรรคการ
เมืองสิ้นสุดลงเมื่อ.....ดังนั้น การสิ้นสุดสมาชิกภาพตามวรรคหนึ่ง (5) จึงหมายถึงการสิ้นสุดสมาชิกภาพตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง (5)แต่มาตรา 20 วรรคหก ได้ข้อยกเว้นไว้ให้...โดยยกเว้นให้สมาชิกของพรรคการเมืองที่เป็น ส.ส. มีสมาชิกภาพต่อไปการมีสมาชิกภาพของ ส.ส. สำหรับพรรคการเมืองที่ถูกยุบไป
แสดงให้เห็นว่า กฎหมายนี้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ในเรื่อง ส.ส.ต้องสังกัดพรรคเพราะมาตรา 20 วรรคหก กำหนดให้ ส.ส. นั้นยังมีเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองที่ถูกยุบได้ต่อไปสมาชิกภาพของ ส.ส. ของพรรคที่ถูกยุบโดยคำสั่งศาลนั้น จึงได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 20 วรรคหกว่า ยังเป็น ส.ส. ที่มีพรรค
การเมืองสังกัดอยู่เช่น นายชัย ชิดชอบ ก็ยังคงถือว่าเป็น ส.ส. ในสังกัดพรรคพลังประชาชน ในวันที่ 15 ธันวา 51พอเข้าใจได้แล้วใช่ไหมครับว่า ส.ส. ต้องสังกัดพรรค ทีนี้มาพิจารณากันต่อว่า ส.ส. ของพรรคการเมืองที่ถูกยุบไปนั้น จะทำหน้าที่ในสภาได้หรือไม่และถ้าเข้าไปทำหน้าที่ในสภาจะทำหน้าที่ในฐานะ ส.ส.ที่
ไม่มีพรรคสังกัดได้หรือไม่หรือจะเข้าไปทำหน้าที่ในสภา โดยแสดงฐานะของพรรคการเมืองเดิมที่ถูกยุบไป เรื่องนี้คงพิจารณาได้ว่า ส.ส. ของพรรคพลังประชาชน ก็ยังคงเป็น ส.ส. ของพรรคพลังประชาชนต่อไป ตามกฎหมายพรรคการเมือง มาตรา 20 วรรคหก แต่พรรคการเมืองมีอยู่หรือไม่ ต้องไม่มีแล้ว ตั้งแต่วัน
ที่ศาลมีคำสั่งยุบพรรค ดังนั้นแม้ว่า กฎหมายพรรคการเมืองจะคุ้มครองให้ ส.ส. ต้องสังกัดพรรค แต่ ส.ส. ที่สังกัดพรรคที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญยุบไปแล้ว จะเข้าไปทำหน้าที่ในสภาได้อย่างไรแต่เรื่องนี้เกิดขึ้นไปแล้ว โดยเฉพาะ ส.ส. ของพรรคพลังประชาชนเกือบทั้งหมดได้เข้าไปทำหน้าที่ในสภาไปเรียบร้อยแล้วรวมทั้ง
อีกสองพรรคที่ถูกยุบไปด้วย ดังนั้น ถ้าตัวแทนของพรรคพลังประชาชนได้รับเลือกเป็นนายกฯ ก็คงจะไม่ชอบไม่ชอบตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคหนึ่ง ดังที่กล่าวไปแล้วว่า...เป็นการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและในวรรคสองของ
มาตรา 68 ก็บัญญัติให้สิทธิคนทั่วไปที่ทราบการกระทำการดังกล่าวของ ส.ส. เหล่านี้ สามารถเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อยื่นคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้หยุดการกระทำดังกล่าวได้ นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคสาม ยังกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการ
เมืองใดเลิกการกระทำดังกล่าว และศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวต่อไปบังเอิญการเสนอชื่อว่าที่นายกฯ ของ ส.ส. พรรคพลังประชาชนนั้นไม่ได้รับเลือกโดยเสียงข้างมากในสภา แต่กลับกลายเป็นว่าที่นายกฯ อีกคนหนึ่งที่ได้รับการเสนอชื่อเช่นกันถ้ายึดถือตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและ
กฎหมายพรรคการเมือง การที่รายงานการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ 15 ธันวา 51 นั้น ซึ่งปรากฏหลักฐานไว้ชัดว่า...มีการแสดงลำดับที่ หมายเลขที่ ชื่อ-นามสกุล พรรคการเมืองที่สังกัดไว้ชัดเชื่อหรือไม่? บันทึกการลงคะแนนเลือกว่าที่นายกฯ ทั้งสองคนนั้น ซึ่งต้องเปิดเผยให้ทราบนั้นปรากฏว่า...มีบันทึก
ไว้แปลกมาก แปลกจริงๆเพราะ ส.ส. ทั้งสามพรรคที่เข้าไปทำหน้าที่ในสภาวันที่ 15 ธันวานั้น “ไม่มีการระบุชื่อพรรค”เอาไว้เลยแสดงให้เห็นว่า ส.ส. เหล่านี้คงมีการเข้าใจว่า คนเหล่านี้เป็น ส.ส. อิสระอยู่อย่างนั้นหรือ เป็นเจ้าที่ไม่มีศาลใช่หรือไม่คงตอบได้ชัดว่า “ไม่ใช่”เพราะ ส.ส. เหล่านี้ยังต้องถือว่าเป็นสมาชิกพรรค
พลังประชาชนอยู่ต่อไปตามกฎหมายพรรคการเมืองเมื่อยังเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเดิมที่พรรคนั้นถูกศาลยุบไปแล้วการบันทึกรายงานการออกเสียง การลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรี ในวันที่15 ธนั วา 51 ทงั้ สองคนน่าจะมีความไม่ชอบ!เพราะการบันทึกว่า ส.ส. ในขณะนั้นมีอยู่437 คน...ว่าที่นายกฯ ที่พรรคพลัง
ประชาชนสนับสนุนได้คะแนนเสียงน้อยกว่าว่าที่นายกฯ รูปหล่อจึงถือว่า “นายกฯ รูปหล่อ” ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่คงจะผิดพลาดกันไปแล้ว...แต่อาจจะมีความบังเอิญอย่างตั้งใจอีกเช่นกัน“นักร้องขาประจำ” ทั้งหลายไม่รู้หรือแกล้งโง่หรือไม่ มิทราบ...ไม่มีใครยอมหยิบประเด็นใหญ่โตอย่างนี้ขึ้นมาพูดคุย
หรือตรวจสอบกันเลยนี่หรือระบบการปกครองที่ยึดถือหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม ยึดถือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยคงต้องทบทวนกันหรือไม่?!ปัญหาที่เกิดขึ้นไปแล้ว ไม่เคยมีมาก่อนก็จริง อาจจะส่งกระทบในวงกว้างก็เป็นได้!