บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ป.ป.ช.หน้าแตก! ลงมติส่งฟ้องผิดศาล คดีอดีต รมว.กลาโหมจ้าง จนท.กกต."ตัดต่อพันธุกรรม"พรรคเล็ก

ที่มา มติชน


นายวัฒนา อัศวเหม

คณะกรรมการ ป.ป.ช.หน้าแตก มีมติส่งฟ้อง"ธรรมรักษ์"อดีต รมว.กลาโหมกับพวกคดี"ตัดต่อพันธุกรรม"พรรคเล็ก ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แต่ถูกจำหน่ายคดี มีการทักท้วงแล้ว แต่ไม่ฟัง

ผู้สื่อข่าว"มติชนออนไลน์"รายงานเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์2553 ว่า เมื่อปลายปี 2552 ที่ผ่านมา ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกับพวกรวม 5 คน(นายอมรวิทย์ สุวรรณผา พนักงานการเลือกตั้ง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.), นายชวการ โตสวัสดิ์ นายบุญทวีศักดิ์ อมรสินธุ์ และนายสุขสันต์ หรือจตุชัย ชัยเทศ)ในคดีจ้างวาน นายอมรวิทย์ สุวรรณผา พนักงานการเลือกตั้ง (งานคอมพิวเตอร์)ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เปลี่ยนแปลงข้อมูลของพรรคพัฒนาชาติไทย(ตัดต่อพันธุกรรม) ในฐานข้อมูลนายทะเบียนพรรคการเมืองของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยทุจริตในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2548 เนื่องจากคดีดังกล่าวไม่อยู่ในอำนาจของศาลฎีกาแผนคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แต่อยู่ในเขตอำนาจของศาลอาญา


คำสั่งของศาลฎีกา(คดีหมายเลขแดง 14/2552)ระบุว่า องค์คณะผู้พิพากษาเห็นว่า คดีที่จคดีที่มีมูลคดีเป็นการกล่าวหาผู้กระทำความผิดในฐานเป็นตัวการ ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนที่อยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลฎีกาฯ ตามมาตรา 275 วรรคสองของรัฐธรรมนูญ 2550 และมาตรา 9(2)ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 ต้องเป็นการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่นของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว.หรือข้าราชการเมืองอื่นตามมาตรา 275 วรรคหนึ่งของรัฐธรรมนูญ


แต่ตามคำบรรยายฟ้องที่กล่าวหา นายอมรวิทย์ ในฐานะพนักงานของสำนักงาน กกต.ว่า กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดต่อพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 โดยพล.อ.ธรรมรักษ์ และนายชวการ โตสวัสดิ์ ร่วมกันเป็นผู้ใช้และจ้างวานนั้น พฤติการณ์ตามข้อกล่าวหา ไม่ปรากฏการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ของพล.อ.ธรรมรักษ์ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรววงกลาโหม ดังนั้นมูลคดีตามคำฟ้องจึงไม่อยู่ในความหมายของการกระทำความผิดของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตาม มาตรา 275 วรรคสองของรัฐธรรมนูญ จึงไม่อยู่ในเขตอำนาจการพิจารณาของศาลฎีกาฯ


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คดีดังกล่าว คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม เป็นเอกฉันท์ ว่า การกระทำของ นายอมรวิทย์ สุวรรณผา มีมูลเป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานทุจริตต่อหน้าที่ และฐานปฏิบัติหน้าที่โดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและมีมูลเป็นความผิดทางอาญา ฐานเป็นพนักงาน เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ และฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามมาตรา 6 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502

ขณะที่ พลงอ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา นายชวการ โตสวัสดิ์นายบุญทวีศักดิ์ อมรสินธุ์ และนายสุขสันต์ หรือจตุชัย ชัยเทศ มีมูลเป็นความผิดทางอาญา ฐานเป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ให้ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินการฟ้ องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง


อย่างไรก็ตามระหว่างการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีกรรมการบางคนทักท้วงว่า คดีดังกล่าวน่าจะไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลฎีกาฯ เพราะผู้กระทำผิดคือ นายอมรวิทย์ไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แต่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐธรรมดา แต่นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช.ยืนยันว่า ถ้าผู้สนับนุน หรือผู้ใช้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็อยู่ในเขตอำนาจศาลฎีกาฯ แม้ผู้กระทำผิดไม่ใช้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็ตาม ทำให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติให้ส่งฟ้องต่อศาลฎีกาฯ


แหล่งข่าวจากสำนักงานอัยการสูงสุดกล่าวว่า ในการพิจารณาของคณะทำงานของสำนักงานอัยการสูงสุดในคดีของพล.อ.ธรรมรักษ์นัน แม้คณะทำงาน จะเห็นว่า คดีดังกล่าวไม่อยู่ในอำนาจของศาลฎีกาฯ แต่อยู่ในเขตอำนาจของศาลอาญาฯ แต่เนื่องจากสำนักงานอัยการสูงสุดเคยพลาดในการส่งฟ้องผู้ร่วมกระทำผิดการทุจริตการจัดซื้อที่ดิน อ.คลองด่าน จ.สมุทรปราการเพื่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียร่วมกับนายวัฒนา อัศวเหม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยจำนวน 8 รายต่อศาลอาญา แต่ศาลอาญาและศาลอุทธรณ์ไม่รับฟ้องเพราะเห็นว่า อยู่ในเขตอำนาจของศาลฎีกาฯ เนื่องจากผู้กระทำผิดคือนายวัฒนาเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทำให้กว่าจะนำเรื่องมาฟ้องศาลฎีกาฯใหม่ ทำให้คดีหมดอายุความ ศาลฎีกาฯจึงพิพากษายกฟ้อง(คดีหมายเลขแดงที่อม.11,12,13/2552)


ดังนั้น คณะทำงานจึงเห็นว่า ควรส่งฟ้องต่อศาลฎีกาฯตามมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ถ้าศาลฎีกาฯมีคำสั่งไม่รับฟ้องก็สามารถนำมาฟ้องต่อศาลอาญาได้ จะได้ไม่เกิดปัญหาเช่นเดียวกับคดีคลองด่าน


แหล่งข่าวกล่าวว่า ทางสำนักงานอัยการสูงสุดได้ให้สำนักงาน ป.ป.ช.นำตัวจำเลยทั้งหมดมาเพื่อส่งฟ้องศาลอาญาต่อไป


แหล่งข่าวจากจากคณะกรรมการ ป.ป.ช.กล่าวว่า การวินิจฉัยผิดพลาดของคณะกรรมการ ป.ป.ช.แม้จะไม่ทำให้คดีเสียหายหรือหมดอายุความ แต่ถ้าวินิจฉัยผิดบ่อยจะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker