บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ฎีกา ‘วัวกินอ้อย’

ที่มา บางกอกทูเดย์

ว่ากันว่า...มีทฤษฎีหนึ่งที่ยกมากล่าวหากันเรื่องนักการเมืองรํ่ารวยผิดปกติ กรณี “ทุจริตเชิงนโยบาย”ทำให้ขายหุ้นของครอบครัวในตลาดหลักทรัพย์ฯได้เงินมาประมาณ 76,000 ล้านบาททฤษฎีที่พูดถึง คือ “ทฤษฎีวัวกินหญ้า”ฟังมาได้ความในทำนองว่า...ถ้าวัวของผู้ใหญ่บ้านไปกินหญ้าที่ปลูกโดยงบหลวงในที่สาธารณะ แล้ววัวของผู้ใหญ่บ้านอ้วนขึ้นก็ต้องจับวัวนั้นมาฆ่าทั้งตัวเพราะไม่สามารถถอนหญ้าออกมาจากตัววัวได้!ดังนั้น...ไม่ต้องคำนึงว่า หญ้าที่วัวกินไปนั้นมีมูลค่าเท่าใดและเดิมวัวนั้นโตมาอย่างไร มีนํ้าหนักตัวเท่าไหร่เมื่อพบว่า...วัวเข้าไปกินหญ้าแล้วก็ต้องจับวัวมาทั้งตัวฟังแล้วก็งงครับ? กับทฤษฎีวัวกินหญ้า...

แล้วต้องจับวัวทั้งตัวเพราะในทางแพ่งหรือทางละเมิดนั้นก็ควรจะฟ้องร้องกล่าวหากันที่ “มูลละเมิด” หรือในทางอาญาก็ควรจะต้องหา “ข้อเท็จจริง” ในความผิดตามกฎหมายมากล่าวหากันจะไปยกทฤษฎีวัวกินหญ้ามาจากไหน...ก็คงปรับใช้ในการลงโทษตามกฎหมายไม่ได้ เว้นแต่ว่า “ทฤษฎีวัวกินหญ้า” นั้น...จะเป็นบทบัญญัติในกฎหมายใดกฎหมายหนึ่งเท่านั้นเมื่อไปค้นหาว่า ทฤษฎีวัวกินหญ้า ได้มีบัญญัติไว้ในกฎหมายใดหรือไม่...ก็ไม่พบว่ามีอยู่ในกฎหมายไทย หรือจะเอา

มาจากต่างประเทศ หรือจากต่างดาว ก็มิทราบอย่างไรก็ตาม ก็เคยมีการฟ้องร้องเกี่ยวกับเรื่องของวัวจริงๆ เหมือนกัน และเป็นข้อเท็จจริง ไม่ใช่ทฤษฎีเป็นเรื่องวัวกินอ้อย...ไม่ใช่วัวกินหญ้าซึ่งดูแล้วก็น่าจะเอามาเขียนให้ได้อ่านกัน ดังนี้ป.พ.พ. มาตรา 420, 432, 438ป.วิ.พ. มาตรา 142, 172 วรรคสอง, 179, 180, 248วรรคหนึ่งคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท...ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา248 วรรคหนึ่งที่จำเลยทั้ง

แปดฎีกาว่า...จำเลยทั้งแปดไม่เคยนำวัวไปเลี้ยงในไร่อ้อยของโจทก์ จึงไม่ได้ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1ซึ่งฟังว่า...จำเลยทั้งแปดซึ่งเป็นคู่สามีภรรยากันต่างคู่ต่างปล่อยวัวของตนเข้าไปกินอ้อยของโจทก์อันเป็นละเมิดเป็นฎีกาใน “ข้อเท็จจริง” ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยแม้โจทก์ฟ้องว่า...จำเลยทั้งแปดร่วมกันไล่ต้อนวัวเข้าไปกินอ้อยในไร่ของโจทก์แต่ทางศาลพิจารณาได้ความว่า...จำเลยทั้งแปด

ต่างคู่สามีภรรยาต่างปล่อยวัวของตนเข้าไปกินอ้อยของโจทก์ก็เป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดซึ่งเป็นเรื่องเล็กน้อย...ไม่ถึงกับเป็นเรื่องนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง...จำเลยทั้งแปดก็สามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่แล้ว ไม่มีเหตุที่จะยกฟ้องโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยแต่ละคู่แยกกันรับผิดในความเสียหายตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438จึงชอบแล้วการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้อง...ย่อมทำให้

คำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง ตลอดทั้งแผนที่สังเขปที่แนบมาท้ายคำร้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องด้วยศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงชอบที่จะนำมาใช้ในการวินิจฉัยว่า...ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ได้โจทก์ได้บรรยายฟ้องพอเข้าใจได้ว่า...จำเลยทั้งแปดปล่อยปละละเลยไม่ดูแลเลี้ยงดูฝูงวัวของตนเป็นเหตุให้ฝูงวัวของจำเลยทั้งแปดเข้าไปกินต้นอ้อยใบอ้อยและเหยียบยํ่าต้นอ้อยของโจทก์เสียหายประมาณ60 ไร่เศษส่วนคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก็ระบุอาณาเขตความกว้างยาวของ

ที่ดินในการปลูกอ้อยด้านทิศเหนือ ทิศใต้ทิศตะวันออก และทิศตะวันตกว่า...จดที่ดินของผู้ใดตามแผนที่สังเขปท้ายคำร้อง จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมองค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกา (จรัญ หัตถกรรม- นาม ยิ้มแย้ม - สุรินทร์นาควิเชียร)ตามคำพิพากษาฎีกาข้างต้นศาลพิพากษาให้จำเลยแต่ละคู่แยกกันรับผิดในความเสียหายตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438ในองค์คณะผู้

พิพากษาศาลฎีกาซึ่งมีอยู่ 3 คนนั้น...มีท่านหนึ่งที่ระบุชื่อไว้ว่า “นาม ยิ้มแย้ม”ซึ่งต่อมาได้เป็นบุคคลหนึ่งในคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ หรือ คตส.เห็นอย่างนี้แล้ว...พี่น้องผู้อ่านจะคิดอย่างไรระหว่าง“ทฤษฎี วัวกินหญ้า” กับ “ฎีกา วัวกินอ้อย” ก็สุดแล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละคน แล้วหละครับ! 

เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker