แม้ไม่แน่ใจว่า "สัญญาณพิเศษ" ของนายสุริยะใส กะตะศิลา เลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ มีความหมายกว้างไกลแค่ไหน แต่การที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ออกมาระบุว่า ปัญหาการเมืองต้องแก้ไขด้วยการเมือง ก็ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ต้องกลับมาคิดหนัก
เพราะนอกจากเสียงของ ผบ.ทบ.แล้ว แกนนำพรรคร่วมรัฐบาลก็ยังประสานเสียงตรงกันว่าต้องยุบสภา สอดคล้องกับแกนนำ นปช.ที่ตะโกนมาจากสี่แยกราชประสงค์
จะแตกต่างกันก็เพียงห้วงระยะเวลาสามเดือน หกเดือน หรือในทันทีทันใด
หรือจะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในสองมาตราก่อน
นั่นหมายความว่า นาฬิกาของรัฐบาลภายในการนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เริ่มนับเวลาถอยหลังแล้ว ช้าหรือเร็วก็ต้องถึงคราวยุบสภาเลือกตั้งใหม่
ที่สำคัญการตัดสินใจในเรื่องนี้ต้องสะเด็ดน้ำโดยเร็ว ขืนรอให้เนิ่นนานออกไปก็อาจจะเกิดแอ็กซิเดนท์อะไรก็ได้
ย้อนกลับไปดูเสียงค้านไม่ยุบสภาที่เคยดังเซ็งแซ่ หลังจากเหตุปะทะที่สี่แยกคอกวัวเมื่อคืนวันที่ 10 เม.ย. ดูเหมือนเสียงนี้จะแผ่วไป ไม่คึกคักเหมือนวันก่อน อาจเป็นเพราะกำลังช็อกกับเหตุรุนแรง เลยทำให้ไม่ค่อยกล้าส่งเสียงดัง
เช่นเดียวกับเสียงจากพรรคการเมืองใหม่ หรือกลุ่มพันธมิตรฯในอดีต ที่เคยนัดหมายประชุมหารือหลังเทศกาลสงกรานต์ ก็ยังคงสงบนิ่งเพื่อรอดูท่าทีจากฝ่ายต่างๆ เพราะรู้ดีว่าขืนผลีผลามออกมาในตอนนี้มีแต่จะเสีย
ทำให้รัฐบาลดูจะขาดเสียงหนุนไปบ้างในช่วงนี้
ยิ่งเมื่อ กกต.มีมติ 4 ต่อ 1 ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ในสองความผิดคือ เรื่องเงินบริจาค 258 ล้านบาท และเงินสนับสนุนพรรคการเมือง 29 ล้านบาท
ก็เหมือนฟ้าผ่าลงมากลางรูปปั้นพระแม่ธรณีบีบมวยผม คนพรรคประชาธิปัตย์แม้จะทำใจไว้บ้างแล้ว แต่ก็อดใจหล่นไปอยู่ที่ตาตุ่มไม่ได้
แม้ขั้นตอนการยุบพรรคจะยังไม่จบแค่นี้ กกต.จะต้องส่งเรื่องไปให้อัยการสูงสุดพิจารณาส่งฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน หรืออาจเป็นปี
แต่การเป็นพรรคเก่าแก่กว่าหกสิบปี จนกลายเป็นเหมือนสถาบันทางการเมือง ทำให้มติ กกต.ในครั้งนี้ดูจะหนักหนาสาหัสกว่าแรงบีบยุบสภามากนัก
แม้คนในพรรคประชาธิปัตย์จะออกมาบอกว่า มั่นใจในความบริสุทธิ์ของตัวเอง มติของ กกต.เป็นเหมือนความเห็นของพนักงานสอบสวน กระบวนการต่างๆยังมีขั้นตอนทางคดีอีกเยอะ พร้อมยืนยันที่จะขอต่อสู้คดีความจนถึงที่สุด
แต่วันนี้พรรคประชาธิปัตย์เองก็ไม่ต่างอะไรกับผู้ต้องหาคดีอุกฉกรรจ์ ที่คงไม่มีกะจิตกะใจที่จะคิดทำการใหญ่อะไร นอกจากหาทางสู้เพื่อให้หลุดคดีในชั้นศาล
สถานการณ์ของพรรคประชาธิปัตย์ในวินาทีนี้ มีหนทางเลือกเดินไม่มากนัก ซ้ำร้ายทุกทางที่มีอยู่ล้วนแล้วแต่เต็มไปด้วยขวากหนาม แนวทางแรกคือการแข็งใจทำหน้าที่รัฐบาลบริหารประเทศ ประคองสถานการณ์ทางการเมืองต่อไป รอเวลาให้ทุกอย่างสุกงอมที่จะยุบสภาเลือกตั้งใหม่ ส่วนปัญหาม็อบเสื้อแดงก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายประจำ ที่จะหาทางคลี่คลายปัญหาไปตามวิถีทางของมัน เพราะหากตัดสินใจทำรุนแรง รัฐบาลก็จะเสียรังวัดไปมากกว่านี้
หนทางที่สองก็คือ เตรียมทีมกฎหมายชุดใหญ่ ระดมสรรพกำลังเท่าที่มีอยู่ทั้งหมด เพื่อเตรียมต่อสู้คดียุบพรรคในศาลรัฐธรรมนูญ แม้โอกาสรอดจะน้อยยิ่งกว่าน้อย แต่ก็ยังดีกว่าจะไม่ดิ้นรนต่อสู้เสียเลย
ทางสุดท้ายก็คือ เตรียมจัดตั้งพรรคใหม่ไว้ให้พร้อม ในกรณีที่บ้านเก่าถูกยุบก็จะได้มีที่พักพิงแห่งใหม่ไว้รอท่า ที่สำคัญ หัวหน้าและผู้บริหารพรรคชุดใหม่ต้องมากบารมี มีศักยภาพและอุดมการณ์ทางการเมืองสูง สามารถดึงดูดสมาชิกพรรคไม่ให้แตกฉานซ่านเซ็น
ไม่ว่าจะตัดสินใจเลือกเดินหนทางใดก็ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่หากยังต้องการอยู่ต่อก็ต้องเดินต่อไปข้างหน้า และพร้อมพิสูจน์ความจริงดังพุทธภาษิตที่ว่า "สจฺจํเว อมตา วาจา".
"ลมสลาตัน"
เพราะนอกจากเสียงของ ผบ.ทบ.แล้ว แกนนำพรรคร่วมรัฐบาลก็ยังประสานเสียงตรงกันว่าต้องยุบสภา สอดคล้องกับแกนนำ นปช.ที่ตะโกนมาจากสี่แยกราชประสงค์
จะแตกต่างกันก็เพียงห้วงระยะเวลาสามเดือน หกเดือน หรือในทันทีทันใด
หรือจะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในสองมาตราก่อน
นั่นหมายความว่า นาฬิกาของรัฐบาลภายในการนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เริ่มนับเวลาถอยหลังแล้ว ช้าหรือเร็วก็ต้องถึงคราวยุบสภาเลือกตั้งใหม่
ที่สำคัญการตัดสินใจในเรื่องนี้ต้องสะเด็ดน้ำโดยเร็ว ขืนรอให้เนิ่นนานออกไปก็อาจจะเกิดแอ็กซิเดนท์อะไรก็ได้
ย้อนกลับไปดูเสียงค้านไม่ยุบสภาที่เคยดังเซ็งแซ่ หลังจากเหตุปะทะที่สี่แยกคอกวัวเมื่อคืนวันที่ 10 เม.ย. ดูเหมือนเสียงนี้จะแผ่วไป ไม่คึกคักเหมือนวันก่อน อาจเป็นเพราะกำลังช็อกกับเหตุรุนแรง เลยทำให้ไม่ค่อยกล้าส่งเสียงดัง
เช่นเดียวกับเสียงจากพรรคการเมืองใหม่ หรือกลุ่มพันธมิตรฯในอดีต ที่เคยนัดหมายประชุมหารือหลังเทศกาลสงกรานต์ ก็ยังคงสงบนิ่งเพื่อรอดูท่าทีจากฝ่ายต่างๆ เพราะรู้ดีว่าขืนผลีผลามออกมาในตอนนี้มีแต่จะเสีย
ทำให้รัฐบาลดูจะขาดเสียงหนุนไปบ้างในช่วงนี้
ยิ่งเมื่อ กกต.มีมติ 4 ต่อ 1 ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ในสองความผิดคือ เรื่องเงินบริจาค 258 ล้านบาท และเงินสนับสนุนพรรคการเมือง 29 ล้านบาท
ก็เหมือนฟ้าผ่าลงมากลางรูปปั้นพระแม่ธรณีบีบมวยผม คนพรรคประชาธิปัตย์แม้จะทำใจไว้บ้างแล้ว แต่ก็อดใจหล่นไปอยู่ที่ตาตุ่มไม่ได้
แม้ขั้นตอนการยุบพรรคจะยังไม่จบแค่นี้ กกต.จะต้องส่งเรื่องไปให้อัยการสูงสุดพิจารณาส่งฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน หรืออาจเป็นปี
แต่การเป็นพรรคเก่าแก่กว่าหกสิบปี จนกลายเป็นเหมือนสถาบันทางการเมือง ทำให้มติ กกต.ในครั้งนี้ดูจะหนักหนาสาหัสกว่าแรงบีบยุบสภามากนัก
แม้คนในพรรคประชาธิปัตย์จะออกมาบอกว่า มั่นใจในความบริสุทธิ์ของตัวเอง มติของ กกต.เป็นเหมือนความเห็นของพนักงานสอบสวน กระบวนการต่างๆยังมีขั้นตอนทางคดีอีกเยอะ พร้อมยืนยันที่จะขอต่อสู้คดีความจนถึงที่สุด
แต่วันนี้พรรคประชาธิปัตย์เองก็ไม่ต่างอะไรกับผู้ต้องหาคดีอุกฉกรรจ์ ที่คงไม่มีกะจิตกะใจที่จะคิดทำการใหญ่อะไร นอกจากหาทางสู้เพื่อให้หลุดคดีในชั้นศาล
สถานการณ์ของพรรคประชาธิปัตย์ในวินาทีนี้ มีหนทางเลือกเดินไม่มากนัก ซ้ำร้ายทุกทางที่มีอยู่ล้วนแล้วแต่เต็มไปด้วยขวากหนาม แนวทางแรกคือการแข็งใจทำหน้าที่รัฐบาลบริหารประเทศ ประคองสถานการณ์ทางการเมืองต่อไป รอเวลาให้ทุกอย่างสุกงอมที่จะยุบสภาเลือกตั้งใหม่ ส่วนปัญหาม็อบเสื้อแดงก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายประจำ ที่จะหาทางคลี่คลายปัญหาไปตามวิถีทางของมัน เพราะหากตัดสินใจทำรุนแรง รัฐบาลก็จะเสียรังวัดไปมากกว่านี้
หนทางที่สองก็คือ เตรียมทีมกฎหมายชุดใหญ่ ระดมสรรพกำลังเท่าที่มีอยู่ทั้งหมด เพื่อเตรียมต่อสู้คดียุบพรรคในศาลรัฐธรรมนูญ แม้โอกาสรอดจะน้อยยิ่งกว่าน้อย แต่ก็ยังดีกว่าจะไม่ดิ้นรนต่อสู้เสียเลย
ทางสุดท้ายก็คือ เตรียมจัดตั้งพรรคใหม่ไว้ให้พร้อม ในกรณีที่บ้านเก่าถูกยุบก็จะได้มีที่พักพิงแห่งใหม่ไว้รอท่า ที่สำคัญ หัวหน้าและผู้บริหารพรรคชุดใหม่ต้องมากบารมี มีศักยภาพและอุดมการณ์ทางการเมืองสูง สามารถดึงดูดสมาชิกพรรคไม่ให้แตกฉานซ่านเซ็น
ไม่ว่าจะตัดสินใจเลือกเดินหนทางใดก็ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่หากยังต้องการอยู่ต่อก็ต้องเดินต่อไปข้างหน้า และพร้อมพิสูจน์ความจริงดังพุทธภาษิตที่ว่า "สจฺจํเว อมตา วาจา".
"ลมสลาตัน"