ศอฉ.ขยายเคอร์ฟิว 2 วัน 5 ทุ่มถึงตี 4 เตรียมย้าย ศอฉ.ไปอยู่กองทัพบกพรุ่งนี้ ตั้งจุดตรวจเข้ม 5 จุดสำคัญรอบราชประสงค์ คุมเข้มตั้งด่านกรุงเทพชั้นใน 16 ด่าน...
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 23 พ.ค. 2553 ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11รอ.) พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) แถลงผลการประชุมศอฉ.ในช่วงเช้าที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคงในฐานะผอ.ศอฉ.เป็นประธานว่า การดูแลความปลอดภัยให้ประชาชนจะมีใน 3 ลักษณะควบคู่กันไปคือ ลักษณะที่ 1 การจัดกำลังจากเจ้าหน้าที่สารวัตรทหารของทุกเหล่าทัพปฏิบัติภารกิจร่วมกับตำรวจ และ เจ้าหน้าที่เทศกิจ โดยพื้นที่ที่รับผิดชอบคือ พื้นที่โดยรอบของแยกราชประสงค์ ซึ่งจะตั้งจุดตรวจสำคัญ 5 จุด ได้แก่ แยกราชประสงค์ แยกประตูน้ำ แยกศาลาแดง แยกเพลินจิต และแยกปทุมวัน โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 08.00 น.ของวันนี้ ภารกิจคือ ดูแลความปลอดภัยระงับยับยั้งเหตุร้ายที่มีประชาชนมาร้องขอความช่วยเหลือในพื้นที่ดังกล่าว
“ลักษณะที่ 2 เรื่องการจัดกำลังสายตรวจของเจ้าหน้าที่สารวัตรทหาร เป็นสายตรวจรถยนต์จะตรวจพื้นที่ต่างๆทั่วกรุงเทพทุกเส้นทางเริ่มตั้งแต่วันนี้ นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งด่านตรวจในพื้นที่กรุงเทพชั้นนอก และปริมณฑล จำนวน 17 ด่าน ส่วนกรุงเทพชั้นในตั้งจุดตรวจ ด่านสกัด 16 ด่าน กำลังของทุกเหล่าทัพจะปรับกำลังออกไปควบคุมทั้ง 50 เขตของกทม. โดยแบ่งความรับผิดชอบเป็น 7 โซน ทั้งนี้ยังมีการรักษาความปลอดภัยในสถานที่สำคัญที่มีข้อมูลข่าวสารว่าต้องดูแลเป็นพิเศษรวม 17 แห่ง เช่น โรงพยาบาลศิริราช ทำเนียบรัฐบาล บ้านพักสี่เสาเทเวศร์ของพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ พระราชวังสวนจิตรลดา และสถานที่ราชการสำคัญต่างๆ”พ.อ.สรรเสริญ กล่าว
พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า ขณะนี้ทางกทม.กำลังเข้าไปฟื้นฟูระบบต่างๆในพื้นที่ราชประสงค์ ทั้งกล้องซีซีทีวี ไฟสัญญาณจราจร และความสะอาด คาดว่า จะประกาศให้ประชาชนใช้พื้นที่บริเวณแยกราชประสงค์ และพื้นที่ใกล้เคียงภายในวันที่ 24 พ.ค.นี้เวลา 05.00 น. ส่วนเรื่องการประกาศห้ามออกเคหสถานในยามวิกาลนั้น จำเป็นต้องขอต่อระยะเวลาออกไปอีก 2 วัน คือ คืนวันที่ 23 พ.ค.-24 พ.ค.นี้ โดยมีการปรับเวลาเป็นตั้งแต่เวลา 23.00-04.00 น. เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ทำธุระในช่วงหัวค่ำ หลังจากนั้นจะมีการประเมินสถานการณ์เป็นช่วงๆเพื่อดูถึงความเหมาะสมว่า จะยกเลิกหรือขอประกาศต่ออีกกี่วัน ซึ่งการประกาศห้ามออกนอกเคหสถานครั้งนี้รวมถึงในพื้นที่ต่างจังหวัดที่มีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินด้วย นอกจากนี้ในวันที่ 24 พ.ค.นี้ ศอฉ.จะย้ายที่ตั้งกองบัญชาการจาก ร.11 รอ. ไปอยู่ที่กองบัญชาการกองทัพบก โดยจะมีการประชุมศอฉ.วันละ 2 ครั้งเวลา 09.00 น.และ 17.00 น.
เมื่อถามว่า จะมีการยุบ ศอฉ. เมื่อไรนั้น พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับรัฐบาลที่จะพิจารณาว่า มีความปลอดภัยหรือยัง แต่ในเวลานี้ยังไม่ได้คุยกัน ทั้งนี้ทางทหารยังไม่ได้ส่งคืนพื้นที่ให้ กทม. ในส่วนที่มีการส่งคืนนั้นเป็นเรื่องของการจัดการจราจรให้เป็นไปตามปกติ แต่ในเรื่องภารกิจการดูแลรักษาความปลอดภัยนั้นทหารยังคงทำหน้าที่คู่กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และมีเจ้าหน้าที่เทศกิจไปอีกระยะหนึ่ง ยังไม่ได้กำหนดเวลาว่าจะนานเท่าไหร่ แต่มีการปรับกำลังให้ลดน้อยลงตามความจำเป็นของสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ และในส่วนของทหารที่มีการปรับลดก็จะทยอยกลับเข้าที่ตั้งปกติ แต่บางส่วนอาจจะต้องสำรองไว้ในพื้นที่เขต กทม.และปริมณฑล เพื่อหมุนเวียนให้กับกำลังพลที่ปฏิบัติหน้าที่
พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า ในที่ประชุม ศอฉ. ยังมีความกังวลกลุ่มปฏิบัติการใต้ดินที่จะสร้างสถานการณ์ความไม่สงบ แต่ขณะนี้สถานการณ์ดีขึ้นมากแล้ว เพราะในช่วงที่ผ่านมาที่ยังมีการชุมนุมมีทั้งการปฏิบัติการบนดินและใต้ดิน ซึ่งวันนี้มีการวิจารณ์กันตามข้อมูลข่าวสารว่า เหลือขบวนการใต้ดินเพียงอย่างเดียว ถึงแม้ว่าสถานการณ์จะดีขึ้น เจ้าหน้าที่ก็ไม่ประมาท อย่างไรก็ตามในที่ประชุม ศอฉ.ยังไม่ได้มีการหารือถึงแกนนำกลุ่ม นปช.ที่จะเกิดขึ้นมาใหม่ ส่วนกรณีที่กลุ่ม นปช.เตรียมจะชุมนุมอีกครั้งในช่วงวันที่ 24 มิถุนายนนี้นั้น ทุกฝ่ายคงเตรียมการเพราะเราอยากให้บ้านเมืองสงบ แต่คิดว่าคนทั่วไปคงจะเบื่อกันชุมนุมแล้ว
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 23 พ.ค. 2553 ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11รอ.) พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) แถลงผลการประชุมศอฉ.ในช่วงเช้าที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคงในฐานะผอ.ศอฉ.เป็นประธานว่า การดูแลความปลอดภัยให้ประชาชนจะมีใน 3 ลักษณะควบคู่กันไปคือ ลักษณะที่ 1 การจัดกำลังจากเจ้าหน้าที่สารวัตรทหารของทุกเหล่าทัพปฏิบัติภารกิจร่วมกับตำรวจ และ เจ้าหน้าที่เทศกิจ โดยพื้นที่ที่รับผิดชอบคือ พื้นที่โดยรอบของแยกราชประสงค์ ซึ่งจะตั้งจุดตรวจสำคัญ 5 จุด ได้แก่ แยกราชประสงค์ แยกประตูน้ำ แยกศาลาแดง แยกเพลินจิต และแยกปทุมวัน โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 08.00 น.ของวันนี้ ภารกิจคือ ดูแลความปลอดภัยระงับยับยั้งเหตุร้ายที่มีประชาชนมาร้องขอความช่วยเหลือในพื้นที่ดังกล่าว
“ลักษณะที่ 2 เรื่องการจัดกำลังสายตรวจของเจ้าหน้าที่สารวัตรทหาร เป็นสายตรวจรถยนต์จะตรวจพื้นที่ต่างๆทั่วกรุงเทพทุกเส้นทางเริ่มตั้งแต่วันนี้ นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งด่านตรวจในพื้นที่กรุงเทพชั้นนอก และปริมณฑล จำนวน 17 ด่าน ส่วนกรุงเทพชั้นในตั้งจุดตรวจ ด่านสกัด 16 ด่าน กำลังของทุกเหล่าทัพจะปรับกำลังออกไปควบคุมทั้ง 50 เขตของกทม. โดยแบ่งความรับผิดชอบเป็น 7 โซน ทั้งนี้ยังมีการรักษาความปลอดภัยในสถานที่สำคัญที่มีข้อมูลข่าวสารว่าต้องดูแลเป็นพิเศษรวม 17 แห่ง เช่น โรงพยาบาลศิริราช ทำเนียบรัฐบาล บ้านพักสี่เสาเทเวศร์ของพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ พระราชวังสวนจิตรลดา และสถานที่ราชการสำคัญต่างๆ”พ.อ.สรรเสริญ กล่าว
พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า ขณะนี้ทางกทม.กำลังเข้าไปฟื้นฟูระบบต่างๆในพื้นที่ราชประสงค์ ทั้งกล้องซีซีทีวี ไฟสัญญาณจราจร และความสะอาด คาดว่า จะประกาศให้ประชาชนใช้พื้นที่บริเวณแยกราชประสงค์ และพื้นที่ใกล้เคียงภายในวันที่ 24 พ.ค.นี้เวลา 05.00 น. ส่วนเรื่องการประกาศห้ามออกเคหสถานในยามวิกาลนั้น จำเป็นต้องขอต่อระยะเวลาออกไปอีก 2 วัน คือ คืนวันที่ 23 พ.ค.-24 พ.ค.นี้ โดยมีการปรับเวลาเป็นตั้งแต่เวลา 23.00-04.00 น. เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ทำธุระในช่วงหัวค่ำ หลังจากนั้นจะมีการประเมินสถานการณ์เป็นช่วงๆเพื่อดูถึงความเหมาะสมว่า จะยกเลิกหรือขอประกาศต่ออีกกี่วัน ซึ่งการประกาศห้ามออกนอกเคหสถานครั้งนี้รวมถึงในพื้นที่ต่างจังหวัดที่มีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินด้วย นอกจากนี้ในวันที่ 24 พ.ค.นี้ ศอฉ.จะย้ายที่ตั้งกองบัญชาการจาก ร.11 รอ. ไปอยู่ที่กองบัญชาการกองทัพบก โดยจะมีการประชุมศอฉ.วันละ 2 ครั้งเวลา 09.00 น.และ 17.00 น.
เมื่อถามว่า จะมีการยุบ ศอฉ. เมื่อไรนั้น พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับรัฐบาลที่จะพิจารณาว่า มีความปลอดภัยหรือยัง แต่ในเวลานี้ยังไม่ได้คุยกัน ทั้งนี้ทางทหารยังไม่ได้ส่งคืนพื้นที่ให้ กทม. ในส่วนที่มีการส่งคืนนั้นเป็นเรื่องของการจัดการจราจรให้เป็นไปตามปกติ แต่ในเรื่องภารกิจการดูแลรักษาความปลอดภัยนั้นทหารยังคงทำหน้าที่คู่กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และมีเจ้าหน้าที่เทศกิจไปอีกระยะหนึ่ง ยังไม่ได้กำหนดเวลาว่าจะนานเท่าไหร่ แต่มีการปรับกำลังให้ลดน้อยลงตามความจำเป็นของสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ และในส่วนของทหารที่มีการปรับลดก็จะทยอยกลับเข้าที่ตั้งปกติ แต่บางส่วนอาจจะต้องสำรองไว้ในพื้นที่เขต กทม.และปริมณฑล เพื่อหมุนเวียนให้กับกำลังพลที่ปฏิบัติหน้าที่
พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า ในที่ประชุม ศอฉ. ยังมีความกังวลกลุ่มปฏิบัติการใต้ดินที่จะสร้างสถานการณ์ความไม่สงบ แต่ขณะนี้สถานการณ์ดีขึ้นมากแล้ว เพราะในช่วงที่ผ่านมาที่ยังมีการชุมนุมมีทั้งการปฏิบัติการบนดินและใต้ดิน ซึ่งวันนี้มีการวิจารณ์กันตามข้อมูลข่าวสารว่า เหลือขบวนการใต้ดินเพียงอย่างเดียว ถึงแม้ว่าสถานการณ์จะดีขึ้น เจ้าหน้าที่ก็ไม่ประมาท อย่างไรก็ตามในที่ประชุม ศอฉ.ยังไม่ได้มีการหารือถึงแกนนำกลุ่ม นปช.ที่จะเกิดขึ้นมาใหม่ ส่วนกรณีที่กลุ่ม นปช.เตรียมจะชุมนุมอีกครั้งในช่วงวันที่ 24 มิถุนายนนี้นั้น ทุกฝ่ายคงเตรียมการเพราะเราอยากให้บ้านเมืองสงบ แต่คิดว่าคนทั่วไปคงจะเบื่อกันชุมนุมแล้ว