นายวิทยา บุรณศิริ
180 ส.ส.พท.ยื่นถอดถอน "มาร์ค -เทือก-ชวรัตน์-โสภณ" นำร่องศึกซักฟอก วอนรัฐบาลขอเปิดอภิปรายก่อนพิจารณางบประมาณ อ้างทำตามระบอบประชาธิปไตย ไม่หวังเป็นรัฐบาล-"เหลิม" ไม่หวังเป็นนายกฯ..
เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 24 พ.ค. ที่รัฐสภา คณะ ส.ส.พรรคเพื่อไทย นำโดย นายวิทยา บุรณศิริ ส.ส.พระนครศรีอยุธยา ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ได้นำรายชื่อ ส.ส.พรรคเพื่อไทยจำนวน 159 คน เข้ายื่นต่อนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา (ส.ว.) เพื่อให้ถอดถอนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล รมว.มหาดไทย นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม ออกจากตำแหน่ง ซึ่งถือเป็นการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 270 และเข้าพบนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อนำรายชื่อ ส.ส.จำนวน 180 คน ยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีรวม 6 คน โดยอีก 2 รัฐมนตรีที่ยื่นเพียงการอภิปรายแต่ไม่ได้ยื่นถอดถอนคือนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง และนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ เนื่องจากมีความผิดพลาดในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่หลักฐานไม่เพียงพอที่จะยื่นถอดถอนได้
นายวิทยากล่าวว่า สำหรับข้อหารัฐมนตรีที่ยื่นอภิปราย 1. นายอภิสิทธิ์ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ผู้กำกับ ควบคุม ดูแลตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินทุกกระทรวง ทบวง กรม รวมทั้งกระทรวงคมนาคมที่มีนายโสภณ เป็นรัฐมนตรี และในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ได้กระทำการอันมีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ และส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย และฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง โดยร่วมกันกระทำการอันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่คู่สัญญาของรัฐที่เป็น เอกชนให้ได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ โดยชอบด้วยกฎหมาย ทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ที่ต้องสูญเสียเงินของแผ่นดินไปจำนวนมาก จากการดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ และกรณีกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในฐานะประธาน ก.ต.ช. ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ 2547 กระทำให้รัฐและหน่วยงานของรัฐได้รับความเสียหาย
2. นายสุเทพ คือ การปฏิบัติหน้าที่ราชการแทนนายกฯ และในตำแหน่งหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง กระทำผิดรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ไม่บังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย 3. นายชวรัตน์ มีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต และส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ และส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง 4. นายโสภณ บริหารราชการแผ่นดินโดยกำหนดนโยบายเพื่อมุ่งแสวงหาผลประโยชน์ในทางทรัพย์สิน และประโยชน์ทางการเมือง โดยไม่คำนึงถึงประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน รู้เห็นเป็นใจ หรือยินยอมให้พวกพ้อง หรือผู้สนับสนุนทางการเมืองของตนเองเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จากโครงการที่กำหนดขึ้น มีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริตและกระทำผิดต่อหน้าที่ราชการ ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายนายวิทยา กล่าวว่า
5. นายกรณ์ ดำเนินนโยบายด้านการเงิน การคลัง และการงบประมาณของประเทศผิดพลาด บกพร่อง ไม่ดำเนินการตามแผนงานการบริหารราชการแผ่นดิน 2552-2554 แผนนิติบัญญัติ 2552-2554 มุ่งแสวงหาการก่อหนี้สาธารณะจนขณะนี้มีหนี้สูงกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่คำนึงถึงสถานะทางเศรษฐกิจ ความจำเป็นในการใช้จ่ายภายในประเทศและภาระหนี้สาธารณะที่มีอยู่ อีกทั้งยังนำเงินที่ได้จากการกู้ไปดำเนินนโยบาย เพื่อเอื้อประโยชน์กับรัฐมนตรีในกระทรวงต่าง ๆ 6. นายกษิต บริหารราชการแผ่นดินโดยไม่ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีกับประเทศชาติในสายตา ประชาคมโลก มีพฤติกรรมข่มขู่ก้าวร้าวต่อมิตรประเทศ สร้างความขัดแย้งระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน มีทัศนคติที่เป็นอันตรายต่อฝ่ายที่เห็นต่างกับตนเอง มุ่งทำลาย มุ่งทำลายล้างนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรม และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ถือเป็นการไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและนโยบายที่ได้แถลงไว้ บริหารราชการไม่เป็นไปตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
นายวิทยา ยังกล่าวถึงการพิจารณา พ.ร.บ.ร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2554 เป็นที่น่าสังเกตว่าน่าแปลกใจที่มีการจัดสรรไวกว่ากำหนด ทำให้ไม่สบายและเห็นว่ารัฐบาลมีเจตนาจะเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ข้อเท็จจริงเราตั้งใจที่จะอภิปรายไม่ไว้วางใจก่อนที่จะมีการพิจารณางบประมาณ แต่เป็นที่ทราบกันดีว่ารัฐบาลพยายามให้สภาฯ ผ่านร่างงบประมาณไปก่อน ซึ่งแทนที่จะห่วงใยประชาชนที่ได้รับผลกระทบในการสลายการชุมนุม ซึ่งคงไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะผู้ประกอบการ เจ้าของกิจการ หรือบ้านอสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ที่อยู่ในบริเวณการชุมนุม แต่จะเกิดกับจิตใจกับผู้ที่สูญเสียชีวิต ซึ่งรัฐบาลไม่ยอมพูดเรื่องนี้เลย ซึ่งก็น่าจะให้ฝ่ายค้านได้ทำหน้าที่ตรวจสอบ โดยเฉพาะการอภิปรายไม่ไว้วางใจก่อนที่จะพิจารณางบประมาณ ซึ่งถือเป็นเรื่องรอง เพราะแม้ว่าจะมีงบประมาณมากเพียงใด แต่ความขัดแย้งยังเกิดขึ้นในประเทศ และรัฐบาลไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ คิดว่าไม่เกิดประโยชน์อะไร
เมื่อถามว่าเหตุใดไม่ยื่นอภิปรายในสมัยประชุมสามัญที่ผ่านมา นายวิทยา กล่าวว่า การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลขณะนี้ถือว่าล่อแหลมมาก เพราะอยู่ระหว่างที่รัฐกำลังใช้อำนาจ และมีผู้สูญเสียในเหตุการณ์ 10 เม.ย.53 หากรัฐบาลยอมรับและฝ่ายค้านยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจช่วงนั้น เสียงรัฐบาลมีมากกว่า เท่ากับว่าได้ประทับตราความถูกต้องชอบธรรมให้นายอภิสิทธิ์ เท่ากับว่าประชาชนที่มาชุมนุมกระทำไม่ถูกต้อง แต่รัฐบาลได้รับความชอบธรรม คือ สภาฯ ลงมติเห็นชอบหรือให้ผ่านในการปฏิบัติหน้าที่ แต่ขณะนี้เราเห็นการกระทำของรัฐบาลที่ปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมอย่างไร ซึ่งมีความบอบช้ำ บาดแผลที่หลายฝ่ายไม่ได้ออกมาตีแผ่ ทุกวันนี้ก็ทราบข้อมูลด้านเดียว ซึ่งน่าจะเป็นหน้าที่ของฝ่ายค้านที่จะบอกข้อเท็จจริงให้กับประชาชนว่าเกิด อะไรขึ้นกับผู้ชุมนุมว่ารัฐใช้อำนาจและเกิดความผิดพลาดอย่างไร ซึ่งถือว่าแตกต่างไปจากตอนนั้น
"การอภิปรายครั้งนี้ เราไม่ได้คาดหวังว่าจะได้รับมือสนับสนุนจากเสียงของพรรค ร่วมรัฐบาล และร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วนก็ไม่ได้หวังเป็นนายกฯ แต่ทำตามครรลองประชาธิปไตย ซึ่งฝ่ายค้านเพียงต้องการสะท้อนให้เห็นถึงการบริหารงานผิดพลาดของรัฐบาลว่า เกิดอะไรขึ้นในอนาคตของประเทศต่อไปอย่างไร" นายวิทยา กล่าว.
180 ส.ส.พท.ยื่นถอดถอน "มาร์ค -เทือก-ชวรัตน์-โสภณ" นำร่องศึกซักฟอก วอนรัฐบาลขอเปิดอภิปรายก่อนพิจารณางบประมาณ อ้างทำตามระบอบประชาธิปไตย ไม่หวังเป็นรัฐบาล-"เหลิม" ไม่หวังเป็นนายกฯ..
เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 24 พ.ค. ที่รัฐสภา คณะ ส.ส.พรรคเพื่อไทย นำโดย นายวิทยา บุรณศิริ ส.ส.พระนครศรีอยุธยา ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ได้นำรายชื่อ ส.ส.พรรคเพื่อไทยจำนวน 159 คน เข้ายื่นต่อนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา (ส.ว.) เพื่อให้ถอดถอนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล รมว.มหาดไทย นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม ออกจากตำแหน่ง ซึ่งถือเป็นการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 270 และเข้าพบนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อนำรายชื่อ ส.ส.จำนวน 180 คน ยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีรวม 6 คน โดยอีก 2 รัฐมนตรีที่ยื่นเพียงการอภิปรายแต่ไม่ได้ยื่นถอดถอนคือนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง และนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ เนื่องจากมีความผิดพลาดในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่หลักฐานไม่เพียงพอที่จะยื่นถอดถอนได้
นายวิทยากล่าวว่า สำหรับข้อหารัฐมนตรีที่ยื่นอภิปราย 1. นายอภิสิทธิ์ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ผู้กำกับ ควบคุม ดูแลตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินทุกกระทรวง ทบวง กรม รวมทั้งกระทรวงคมนาคมที่มีนายโสภณ เป็นรัฐมนตรี และในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ได้กระทำการอันมีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ และส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย และฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง โดยร่วมกันกระทำการอันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่คู่สัญญาของรัฐที่เป็น เอกชนให้ได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ โดยชอบด้วยกฎหมาย ทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ที่ต้องสูญเสียเงินของแผ่นดินไปจำนวนมาก จากการดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ และกรณีกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในฐานะประธาน ก.ต.ช. ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ 2547 กระทำให้รัฐและหน่วยงานของรัฐได้รับความเสียหาย
2. นายสุเทพ คือ การปฏิบัติหน้าที่ราชการแทนนายกฯ และในตำแหน่งหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง กระทำผิดรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ไม่บังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย 3. นายชวรัตน์ มีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต และส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ และส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง 4. นายโสภณ บริหารราชการแผ่นดินโดยกำหนดนโยบายเพื่อมุ่งแสวงหาผลประโยชน์ในทางทรัพย์สิน และประโยชน์ทางการเมือง โดยไม่คำนึงถึงประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน รู้เห็นเป็นใจ หรือยินยอมให้พวกพ้อง หรือผู้สนับสนุนทางการเมืองของตนเองเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จากโครงการที่กำหนดขึ้น มีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริตและกระทำผิดต่อหน้าที่ราชการ ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายนายวิทยา กล่าวว่า
5. นายกรณ์ ดำเนินนโยบายด้านการเงิน การคลัง และการงบประมาณของประเทศผิดพลาด บกพร่อง ไม่ดำเนินการตามแผนงานการบริหารราชการแผ่นดิน 2552-2554 แผนนิติบัญญัติ 2552-2554 มุ่งแสวงหาการก่อหนี้สาธารณะจนขณะนี้มีหนี้สูงกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่คำนึงถึงสถานะทางเศรษฐกิจ ความจำเป็นในการใช้จ่ายภายในประเทศและภาระหนี้สาธารณะที่มีอยู่ อีกทั้งยังนำเงินที่ได้จากการกู้ไปดำเนินนโยบาย เพื่อเอื้อประโยชน์กับรัฐมนตรีในกระทรวงต่าง ๆ 6. นายกษิต บริหารราชการแผ่นดินโดยไม่ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีกับประเทศชาติในสายตา ประชาคมโลก มีพฤติกรรมข่มขู่ก้าวร้าวต่อมิตรประเทศ สร้างความขัดแย้งระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน มีทัศนคติที่เป็นอันตรายต่อฝ่ายที่เห็นต่างกับตนเอง มุ่งทำลาย มุ่งทำลายล้างนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรม และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ถือเป็นการไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและนโยบายที่ได้แถลงไว้ บริหารราชการไม่เป็นไปตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
นายวิทยา ยังกล่าวถึงการพิจารณา พ.ร.บ.ร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2554 เป็นที่น่าสังเกตว่าน่าแปลกใจที่มีการจัดสรรไวกว่ากำหนด ทำให้ไม่สบายและเห็นว่ารัฐบาลมีเจตนาจะเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ข้อเท็จจริงเราตั้งใจที่จะอภิปรายไม่ไว้วางใจก่อนที่จะมีการพิจารณางบประมาณ แต่เป็นที่ทราบกันดีว่ารัฐบาลพยายามให้สภาฯ ผ่านร่างงบประมาณไปก่อน ซึ่งแทนที่จะห่วงใยประชาชนที่ได้รับผลกระทบในการสลายการชุมนุม ซึ่งคงไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะผู้ประกอบการ เจ้าของกิจการ หรือบ้านอสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ที่อยู่ในบริเวณการชุมนุม แต่จะเกิดกับจิตใจกับผู้ที่สูญเสียชีวิต ซึ่งรัฐบาลไม่ยอมพูดเรื่องนี้เลย ซึ่งก็น่าจะให้ฝ่ายค้านได้ทำหน้าที่ตรวจสอบ โดยเฉพาะการอภิปรายไม่ไว้วางใจก่อนที่จะพิจารณางบประมาณ ซึ่งถือเป็นเรื่องรอง เพราะแม้ว่าจะมีงบประมาณมากเพียงใด แต่ความขัดแย้งยังเกิดขึ้นในประเทศ และรัฐบาลไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ คิดว่าไม่เกิดประโยชน์อะไร
เมื่อถามว่าเหตุใดไม่ยื่นอภิปรายในสมัยประชุมสามัญที่ผ่านมา นายวิทยา กล่าวว่า การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลขณะนี้ถือว่าล่อแหลมมาก เพราะอยู่ระหว่างที่รัฐกำลังใช้อำนาจ และมีผู้สูญเสียในเหตุการณ์ 10 เม.ย.53 หากรัฐบาลยอมรับและฝ่ายค้านยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจช่วงนั้น เสียงรัฐบาลมีมากกว่า เท่ากับว่าได้ประทับตราความถูกต้องชอบธรรมให้นายอภิสิทธิ์ เท่ากับว่าประชาชนที่มาชุมนุมกระทำไม่ถูกต้อง แต่รัฐบาลได้รับความชอบธรรม คือ สภาฯ ลงมติเห็นชอบหรือให้ผ่านในการปฏิบัติหน้าที่ แต่ขณะนี้เราเห็นการกระทำของรัฐบาลที่ปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมอย่างไร ซึ่งมีความบอบช้ำ บาดแผลที่หลายฝ่ายไม่ได้ออกมาตีแผ่ ทุกวันนี้ก็ทราบข้อมูลด้านเดียว ซึ่งน่าจะเป็นหน้าที่ของฝ่ายค้านที่จะบอกข้อเท็จจริงให้กับประชาชนว่าเกิด อะไรขึ้นกับผู้ชุมนุมว่ารัฐใช้อำนาจและเกิดความผิดพลาดอย่างไร ซึ่งถือว่าแตกต่างไปจากตอนนั้น
"การอภิปรายครั้งนี้ เราไม่ได้คาดหวังว่าจะได้รับมือสนับสนุนจากเสียงของพรรค ร่วมรัฐบาล และร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วนก็ไม่ได้หวังเป็นนายกฯ แต่ทำตามครรลองประชาธิปไตย ซึ่งฝ่ายค้านเพียงต้องการสะท้อนให้เห็นถึงการบริหารงานผิดพลาดของรัฐบาลว่า เกิดอะไรขึ้นในอนาคตของประเทศต่อไปอย่างไร" นายวิทยา กล่าว.