จตุพร - โดยข้อเท็จจริงข้อทางกฎหมาย พ.ร.บ.เรื่องประชามติ ถ้าจะทำเรื่องใดๆ ก็ตามต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 90 วันแต่ไม่เกิน 120 วัน คุณชำนิคงจำได้ว่าได้อภิปรายกฎหมายฉบับนี้กันอยู่ นั่นหมายความว่า ถ้าเรื่องนี้เริ่มปฏิบัติ ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 เดือน แล้วหลังจากนั้นเข้าสู่กระบวนการเรื่องรัฐธรรมนูญอีก ผมไม่แน่ใจว่าวาระของท่าน 1 ปี 9 เดือนจะทันเรื่องนี้หรือเปล่า โดยกระบวนการที่ว่า โดยเงื่อนไขไม่ใช่ว่ากรณีพิเศษ เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญหลังเกิดเหตุการณ์พฤษภา 35 วันเดียว 3 วาระรวด แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ วาระ 1 วาระ 2 อาจจะวันเดียวก็ได้ แต่วาระ 2 กับ 3 ต้องทิ้ง 15 วัน ทีนี้ทั้งเงื่อนไขประเด็นเศรษฐกิจหรืออะไรก็ตาม จะมาผูกมัดรวมไม่ได้ ไม่มีใครยืนยันว่า เศรษฐกิจถัดจากนี้ไปท่านจะทำให้ดีขึ้นภายใต้เงื่อนไขอะไร กระทั่งว่าบรรยากาศก็ตาม ผมไม่แน่ใจว่า เวลาที่เหลือถัดจากนี้ไป 9 เดือนภาวะเศรษฐกิจจะดีขึ้นหรือไม่ดีขึ้นอย่างไร หรือแม้กระทั่งเรื่องกติกามันจะมีอุปสรรคระหว่างทางหรือไม่ เพราะมันซ้ำซากเรื่องแบบนี้ มีการพยายามกันมาหลายครั้ง แล้วบรรยากาศที่ทุกฝ่ายมีความต้องการกันนั้น มันยังไม่ประสบความสำเร็จ แล้วยิ่งนำสู่ความขัดแย้งหนักกว่าเดิม เพราะฉะนั้นผมจึงเรียนกับท่าน ในความเห็นของผมว่า ทั้ง 3 อย่าง มันไปกันไม่ได้โดยข้อเท็จจริง ถ้าสถานการณ์มันอยู่ภาวะปกติ เป็นเรื่องที่น่ารับฟัง แต่โดยสถานการณ์เช่นนี้ เวลานี้เรื่องการท่องเที่ยว การชุมนุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยว ท่านพูดชัดเจนว่า ไม่กระทบกระเทือน เพราะฉะนั้น ผมจึงเรียนกับท่านนายกฯ ว่า ทั้ง 3 อย่างที่จะลากไปถึงสิ้นปี มันเป็นเรื่องที่ยาวนานกับเหตุการณ์เฉพาะหน้า เพราะฉะนั้นการเรียกร้องว่า การที่ท่านเสียสละหรือไม่เสียสละก็ตาม ก็ยังเป็นเรื่องสำคัญหลักกันอยู่ เพราะว่า ผมเชื่อว่าคนที่เป็นนายกรัฐมนตรี ไม่มีใครอยากบริหารประเทศในสถานการณ์ที่มีความขัดแย้ง คือ นายกรัฐมนตรีต้องใช้ชีวิตปกติ ประชาชนต้องปกติ แต่ถ้าเราไม่หาจุดความพอดีกัน ก็อยู่ท่ามกลางความไม่ปกติต่อไป ผมเชื่อว่า ถ้าประชาชน ตามที่ท่านเชื่อมั่นว่า อาจจะไม่เห็นด้วยกับการยุบสภา เป็นเสียงข้างมาก เขาก็เลือกท่านกลับมาเป็นนายกฯ หมายความว่า การเรียกร้องของเรามันวัดตรงผลการเลือกตั้ง แล้วที่ท่านมั่นใจว่าถ้าคนไม่เห็นด้วยกับการเรียกร้องของพวกเรา ซึ่งพวกท่านเป็นเสียงข้างมากอยู่ ณ ปัจจุบัน รวมกระทั่งพรรคของท่านที่อยู่ในอำนาจ ควบคุมอำนาจรัฐแบบเบ็ดเสร็จขณะนี้ ท่านย่อมได้รับเสียงข้างมาก เพราะฉะนั้นผมถึงบอกว่า การเสียสละของท่านกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่คู่แข่งกับท่านเขายอมเสียเปรียบ เพราะท่านได้เปรียบในการต่อสู้อันนี้ เพียงแต่ว่าบรรยากาศของบ้านเมืองจะกลับมาสู่ดังเดิม เพราะฉะนั้นสิ้นปีคงเป็นเรื่องที่รับไม่ได้
อภิสิทธิ์ - ผมย้ำอีกครั้งเรื่องทำเศรษฐกิจ ดีไม่ดีเราไม่เถียงกัน ผมเพียงแต่บอกว่า ผมดูตารางปฏิทินงบประมาณ ซึ่งหากว่าตารางปฏิทินงบประมาณถูกกระทบ นั่นหมายถึงว่าช่วงแรกของปีงบประมาณ ตั้งแต่เดือน ต.ค.เป็นต้นไป มันจะต้องใช้งบประมาณซึ่งผิดปกติ เพราะปีนี้มันเป็นปีที่ผิดปกติมากๆ เพราะฉะนั้นผมไม่ได้พูดเรื่องว่า ให้เกิดความเข้าใจ เพราะว่าอันนี้เป็นเสียงที่ผมต้องรับฟัง เพราะประชาชนส่วนหนึ่งเขาเป็นห่วงเป็นใยกังวลเรื่องนี้
เรื่องรัฐธรรมนูญ เมื่อกี้ท่านนับแล้ว 90-120 วัน ไม่เกิน 120 แล้วแก้รัฐธรรมนูญวาระ 1, 2, 3 อาจจะ 2 เดือน 3 เดือน บวกกันยังไงก็ไม่ 1 ปี 9 เดือนหรอกครับ ผมยังมองไม่เห็นว่าจะไปถึว 1 ปี 9 เดือนได้ยังไง
จตุพร - จะถูกรั้งวาระที่ 2
อภิสิทธิ์ - ผมคิดว่าวิธีที่เราจะทำ คือ เนื่องจากผมต้องการให้ประชามติในสิ่งที่ชัดเจน ไม่ใช่ว่าทำมาแล้วมาเถียงกันอีกว่าประชาชนว่ายังไงแน่ วันนั้นก็คุยกันแล้วในวิป เวลาเราไปถามเราจะถามค่อนข้างแน่ชัด บางคนเสนอถึงขั้นว่า ทำร่างให้เสร็จ สรุปสาระให้ประชาชนเข้าใจง่ายๆ แต่ใครสนใจลึกขนาดว่า หน้าตาร่างจะเป็นอย่างไร ทำกันให้เสร็จ เพราะทำกันอยู่แล้ว คณะทำงานของสภาเขาทำไว้แล้ว
จตุพร - แค่เรื่องเขตเลือกตั้งระหว่างท่านกับพรรคร่วมก็มีความเห็นต่างกันแล้ว
อภิสิทธิ์ - ไม่เกี่ยวครับ เพราะประชามติออกมายังไงก็เอาอย่างนั้น ก็ไม่มีปัญหาจะต้องพิจารณากันอีก เพราะพรรคผมยืนอยู่ในจุดที่ว่า ถ้าเป็นความต้องการประชาชน ผ่านกระบวนการประชามติ เราไม่มีปัญหา แต่ถ้าไม่ผ่านประชามติจะเป็นจุดยืนของแต่ละพรรคไป
เพราะฉะนั้น กระบวนการตรงนี้มีเวลาของมันชัดเจน
วีระ - ประชามติ 3 เดือนใช่ไหม
นายกฯ - 3-4 เดือน
จตุพร - คือ กฎหมายเขาเขียนไว้ไม่ต่ำกว่า 90 ไม่เกิน 120 แต่โดยเงื่อนไขกับสถานการณ์ ณ ขณะนี้ เป็นเรื่องที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์
นายกฯ - นั่นความเห็นท่าน ความเห็นผม ก็บอกว่า อันนี้ จะเป็นกระบวนการที่ดีมาก ในการปรับให้ทุกคนเข้ามายอมรับกระบวนการไปออกคะแนนเสียงเลือกตั้ง ส่วนเรื่องของคะแนนนิยม ผมไม่ได้ติดใจ ผมพูดตรงๆ ไม่ติดใจ 280 มันเลขาธิการพรรคผม เขามีความรับผิดชอบ ต้องพยายามทำให้ได้ ทุกพรรคลงเลือกตั้งก็อยากชนะทั้งนั้น ไม่ปฏิเสธกัน และกำหนดเป้าหมายกัน แต่ผมไม่ได้ติดใจ เลือกแล้วแพ้ ชนะไม่มีปัญหา แต่ผมบอกว่า ผมจะตัดสินใจเรื่องการเลือกตั้ง ด้วยเอาประโยชน์ที่คิดว่าเป็นส่วนรวม เป็นที่ตั้ง ท่านอาจเห็นไม่ตรงกับผมก็อีกเรื่อง
ทีนี้ ท่านบอกว่า ใครไม่เห็นด้วยกับท่านเรื่องยุบสภา เขาก็ต้องไปเลือกผม ไม่ใช่ครับ อยากอ่าน SMS ไหมครับ ทุกคนบอกผมว่า ถ้าผมยุบสภา โดยเขามองว่า เป็นการยุบสภา เนื่องจากมีการกดดันจากคนกลุ่มหนึ่ง เขาจะไม่เลือกผมอีก แต่ถ้าผมยุบสภาโดยมีเหตุผล ว่า แม้ผมจะอยู่ 1 ปี 9 เดือนได้ ผมตัดวาระลงมา อาจเกิดความชะงักงันในความรู้สึกของคนบางกลุ่ม แต่ผมอธิบายได้ว่า ผมได้ฟังคนเสื้อแดง เขาก็มีเหตุผลของเขา ผมก็ดูว่า อะไรที่ดีกับประชาชน และผมก็กำหนดเวลาคร่าวๆ ที่เราคุยเมื่อสักครู อย่างนี้ก็อีกเรื่อง
จะมาบอกว่า ใครไม่เห็นด้วยกับพวกท่าน ต้องเลือกผม ไม่ใช่นะครับ เขามีคนอีกกลุ่ม ซึ่งเขาหงุดหงิด และอยากให้ผมทำอย่างอื่นด้วยซ้ำ เกี่ยวกับการชุมนุม ซึ่งผมก็ไม่ทำ
จตุพร - คืออยากให้ทำตามสบาย ใจคิดอะไรทำอย่างนั้น
นายกฯ - เพราะฉะนั้น ผมเลยบอกว่า อันนี้คือจุดที่ผมมองว่าเป็นประโยชน์สูงสุด ผมไม่ได้ลาก 9 เดือน ผมให้ 1 ปี ฉะนั้น ผมเลยบอกว่า อันนี้ เป็นข้อเสนอเบื้องต้น ก็คุยกัน เท่านั้นเอง
จตุพร - ในแต่ละคน ที่เป็นสิทธิระหว่างทาง อย่างที่ผมบอกว่า ไม่ว่าจะเป็นคุณสมัคร หรือคุณสมชาย ถ้านับเวลา ถ้าไม่มีกลไกอะไรพิเศษ มันก็ต่างคนต่างนับเวลากันได้ แต่ในความเห็นผม สิ้นปี ตอนนี้เราคงจบเรื่อง 15 วัน กับสิ้นปีกัน มันเป็นประเด็นที่มันตกลงกันไม่ได้โดยทางปฏิบัติ แต่ผมว่าได้โอกาสมาพูดคุยกัน แต่ข้อเรียกร้องอันนี้ และสิ่งตอบสนองคงไปด้วยกันไม่ได้
หมอเหวง - คือท่านนายกฯ ผมมีประสบการณ์การเมืองเยอะ และท่านต้องรับฟังผม ถึงแม้สิ่งที่ผมพูดไปอาจระคายเคืองท่านบ้าง คือความจริง นักการเมืองเขาจะฉลาดสร้างเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์กับตัวเอง โดยยิ่งคนที่อยู่ในอำนาจ
ผมขออนุญาตเท้าความถึงเรื่องที่ ฉลาด วรฉัตร ที่จะให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ 7ร สุดท้ายกลายเป็นว่า ท่านบัญญัติ บรรทัดฐาน มาปฏิเสธตอนเย็น และให้ท่านมารุต บุนนาค คณะกรรมการพัฒนาการเมือง อาจารย์ประเวศ ท่านก็ลงมือทำ มีเอกสารเยอะแยะ สุดท้ายเก็บเข้าลิ้นชัก ไม่ได้ประโยชน์อะไร
เพราะฉะนั้น การต่อสู้ ประชาชนจำนวนมากมายเลยสลายไป และมีเหตุอันเป็นไป ทั้งนี้ เนื่องจากมีการยุบสภา เนื่องจาก สปก.4-01 เป็นต้น และพอมาสมัยบรรหาร มีการตั้งคณะ ส.ส.ร.ขึ้นมา และร่างขึ้นมา กว่าที่นักการเมืองจะยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนั้น หืดขึ้นคอ นี่คือแก่นแท้ของนักการเมืองในปัจจุบัน ยกเว้นจะมีการเปลี่ยนแปลง
ผมเรียนท่านนายกฯ ถ้าท่านจริงใจแก้ปัญหา ผมขออนุญาต ผมยังไม่อยากมองท่านในสายตาที่ร้าย ผมเรียนว่า เวลาที่ซื้อมา 9 เดือน ผมไม่เชื่อท่าน พอถึงเวลา 9 เดือน สิ่งที่ท่านพูด 3 อย่าง มันจะไม่บรรลุอะไรซักอย่าง เหมือนผมเคยมีประสบการณ์กับท่านนายกฯชวน ท่านบัญญัติ บรรทัดฐาน รวมถึงท่านบรรหาร ศิลปอาชา
เพราะฉะนั้น โดยสรุปรวม ท่านนายกฯ ผมยืนยันว่าถ้าเราจริงใจในการให้ความขัดแย้งทางการเมืองเที่ยวนี้ยุติ ท่านโปรดพิจารณาด้วย ผมเชื่อว่า พอท่านประกาศยุบสภา 15 วัน และให้ทุกคนกลับไปเลือกตั้ง ผมว่าทุกอย่างจะเข้ารูปเข้ารอย และพรรคการเมืองต่างๆ ก็ไปร่างนโยบายและหาเสียง และไม่มีปัญหา เรายินดีต้อนรับให้นายกฯไปหาเสียงทุกที่ได้ ผมยืนยัน ผมเชื่อมั่น ประชาชนไทยเขามีวุฒิภาวะการเมืองสูงพอที่จะปฏิบัติตามที่เราตกลง หรือ ท่านต้องการให้กลุ่มไหนมาเซ็นสัญญา ผมเชื่อว่า ทุกกลุ่มยินดี มาเซ็นสัญญา หรือมีบทลงโทษอะไรก็ว่ากันไป
ผมยืนยันว่า วิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งการเมืองที่ดีที่สุดในปัจจุบัน คือยุบสภา อาจภายในเวลา 15 วัน หรือ ท่านบอกว่า 1 วัน 15 วัน มีค่าเท่ากัน ท่านยุบสภาเลยครับ แล้วเกียรติภูมิของท่านจะสูงส่ง
นายกฯ - สุดแล้วแต่ ผมคิดว่าเรามาเจรจากัน คงต้องให้เกียรติกันและกัน ถ้าจะให้เหตุผลว่า ไม่เชื่อกัน อันนั้นไม่รู้จะว่าอย่างไร ผมเรียนอย่างนี้ว่า ไม่อยากจะรื้อฟื้น ผมจำได้ เหตุการณ์วันนั้น ผมต้องให้ความเป็นธรรมกับคุณบัญญัติ เพราะผมกับคุณบัญญัติ เป็นผู้เข้าในที่ประชุมพรรค และพูดถึงการพูดคุยกับทางคุณฉลาด ใครต่อใคร และพยายามโน้มน้าวให้ที่ประชุมพรรคเขาเห็นตามนั้น
วันนั้นมีการลงมติ แล้วท่านแพ้ ท่านบัญญัติแพ้ ท่านจึงต้องกลับไป แต่ท่านถึงไปขอร้องให้ อ.มารุต ซึ่งเป็นประธานสภา ไปดำเนินการในฝ่ายนิติบัญญัติ และงานที่ทำในฝ่ายนิติบัญญัติ ไม่ได้โยนทิ้ง นั่นคือที่มาของรัฐธรรมนูญปี 40 ที่ท่านเรียกร้องให้เอากลับมา เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกันไป โดยนายกฯบรรหาร ท่านเข้ามาทำ และต้องเสนอแก้ไขมาตรา 211 ขณะนั้น อันนี้เรียนตรงไปตรงมา ผมไม่ปิดบัง
ผมยอมรับว่า วันนั้นคุณบัญญํติไปเจรจา และผมเล่าให้ฟัง ผมอยู่ในเหตุการณ์ว่า เรากลับมา ที่ประชุมพรรคลงมติไปแล้ว แต่ไม่ใช่เรื่องที่จะพูดในทำนองให้เสียเกียรติยศของบุคคลเหล่านั้น เพราะท่านเป็นคนที่ตรงไปตรงมา และมีวินัยของพรรค ทีนี้ สิ่งที่ท่านกลัว เบี้ยวกันหรือเปล่า ผมบอกได้ว่า ถ้าผมเบี้ยว ผมอยู่ไม่ได้ ไม่ต้องคิดเลย ไม่ต้องมีประสบการณ์เท่าท่าน ทางการเมืองก็ดูออก เพราะฉะนั้น ผมไม่มีเหตุผลที่จะมาพูดคุยอะไรแล้วไม่ทำตาม แต่ก็เป็นเรื่องพิจารณากันได้
จตุพร - ผมว่าเป็นจุดยืน ความเห็นที่แตกต่างกัน ผมเชื่อว่า พวกเราคงไม่ต้องการพาประชาชนไปอกหักระหว่างทาง เพราะมันคือสิ่งที่เจอกันซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะฉะนั้น ความเห็นต่างกันระหว่าง ปีเดียวกับภายใน 9 เดือน กับ 15 วัน เพราะว่ามันมีค่าเท่ากัน แต่ผมก็ ต่างฝ่ายได้แสดงกันแล้ว หลังจากนั้น ไปทำหน้าที่
ชำนิ - ผมขออธิบายเพิ่มเติม เพราะมันเป็นข้อเสนอที่ไม่ได้อยู่ตรงมุ่งหมายจะยืดเวลา จาก 15 เป็น 9 เดือน คำอธิบายมันมี และมันเป็นกระบวนการ ถามว่า ถ้ากระบวนการนี้ ทำได้ก่อน มันก็ไม่จำเป็นต้อง 9 แต่ถ้าปัญหาที่หลายฝ่าย และปัญหาที่ปรึกษาหารือ และมีความกังวล คือปัญหาที่ท่านนายกฯเสนอทั้ง 3 ประเด็น มันเป็นปัญหาที่ดำรงอยู่ แล้วเราต้องพาเมืองไทยก้าวพ้นให้ได้จริงๆ
ตามหลัก บางเรื่องเป็นความเชื่อ บางเรื่องเป็นความสามารถ ด้วยเราจะเดินผ่านจุดนั้นไปได้ แต่พอเราพูดถึงกติกา โดยกรอบของกติกา ถ้าเราไปเลือกตั้งโดยไม่มีการปรับเปลี่ยนกติกาก่อน ปัญหามันก็เกิดจากความคิด เมื่อวานท่านก็เชื่ออย่างหนึ่ง และผมก็เชื่ออย่างหนึ่ง แต่ว่าความเชื่อไม่ได้เป็นข้อขัดแย้งที่ไม่สามารถหาความลงตัวได้
ถามว่า 9 เดือน ได้มาอย่างไร โดยกระบวนการ คุณจตุพรก็เห็นว่า เราต้องทำประชามติ มันใช้เวลาเท่าไร แล้วไปแก้ไข การแก้ไขก็มีกระบวนการอีก เพราะกฎหมายมันบังคับ ขั้นตอนแต่ละขั้นตอน รับหลักการเมื่อไร ฟังความเห็นระยะเท่าไร กี่วันจะโหวตได้ โหวตแล้วกี่วันถึงจะไปสู่ขั้นสุดท้าย และไปลงเลือกตั้ง เพราะฉะนั้น ระยะเวลา 9 วัน มันจึงเป็นระยะเวลาที่เต็ม
จตุพร - ถ้า 9 วัน จะรีบตกลงเลย ถือว่าลดลงมา
ชำนิ - ประทานโทษ มันไปลงดังนี้ ไม่ใช่ว่าเลือก 9 วัน เพื่อยืดเวลา 9 เดือน เพื่อยืดเวลา ขอประทานโทษ เพราะฉะนั้นตัว 9 เดือน จึงเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดโดยเงื่อนไขของกฎเกณฑ์ ของกฎหมาย ของกติกา และผมเชื่อว่า ถ้าเราผ่านกระบวนการของกติกาที่เป็นประชามติ ไปตามขั้นตอน มันจะนำไปสู่การสร้างบรรยากาศในประเด็นที่ 3 ได้แน่นอน และเราไปสนามการเลือกตั้งกัน ผมไม่ได้คำนึงว่า เราแพ้หรือชนะ แต่คำนึงว่า เราเลือกตั้งบนความสันติ และนำวิกฤตออกจากการเมืองได้
จตุพร - ผมเรียนถามท่านนายกฯ นี่เป็นทัศนะของท่านชำนิ ท่านรับรองทัศนะของท่านชำนิไหมครับ
นายกฯ - ไม่มีอะไรที่ขัดแย้งกันครับ
จตุพร - มีความไม่ตรงกันเรื่องเวลา ที่บอกว่า เร็วกว่า 9 เดือนใช่ไหม
ชำนิ - ไม่ใช่ คือผมหมายถึงว่า 9 เดือนได้มาอย่างไร คือเราอธิบาย ทำไมถึงพูด 9 เดือน ซึ่ง 9 เดือนไม่ใช่นายกฯอยากอยู่
นายกฯ - คือเราไม่ได้เอาตัวเลขเป็นตัวตั้ง เราเอาสิ่งที่เป็นกระบวนการ เป็นเหตุผล และมารองเรียงดู และคาดประมาณกัน
จตุพร - ผมจึงคิดว่า 1 ปี 9 เดือน ไม่พอด้วยซ้ำ กับ 3 ข้อ
นายกฯ - ไม่หรอกครับ ที่ผมต้องพูดตัวเลขนี้ เพราะถ้ามันเกินจากนี้ พวกผมต้องรับผิดชอบแล้ว มันไม่มีทางอื่นหรอกครับ
กอร์ปศักดิ์ - ประเด็นมันอย่างนี้ เราพยายามมานั่งคุยกัน ต้องกลับไปถามตัวเองเหมือนกัน ว่า ทำไมมานั่งคุยตรงนี้ เราคุยตรงนี้ เพราะอยากหาข้อยุติ ผมหารือกับพี่วีระ ถึงมีวันนี้ขึ้นมา เพราะอยากหาข้อยุติ ไม่มีใครเชื่อใครหรอกครับ และเวลาบอก เคารพๆ ก็ไม่ค่อยแน่ใจ ว่า เคารพจริงหรือเปล่าเหมือนกัน เพราะพูดว่า เคารพคำ ก็ด่าดำ แต่ผมกับพี่วีระ ผมเคารพ เพราะไม่มีคำด่า แต่ประเด็นมันมี แต่ว่า ในเมื่อเราไม่เชื่อกัน ผมก็ไม่เชื่อท่าน ท่านไม่เชื่อผม ทำยังไง เราก็ต้องลองกัน ลองวางกฎเกณฑ์ ท่านบอก ไม่ต้องลองหรอก เชื่อผมเถอะ 15 วัน ผมไม่เชื่อครับ ผมบอกว่า ภายใน 9 เดือน คือสิ้นปี มันน่าจะเข้ารูปเข้ารอย ท่านบอกไม่เชื่อ ไม่มีใครเชื่อใครหรอก เพราะถ้าเชื่อกันไม่มีวันนี้หรอก แต่ถ้าเราไม่เชื่อกันอย่างนี้ แล้วเกิดความรุนแรง ที่เราพูดกันวันแรก บอกเรามานั่งคุยกันเพื่อประเทศไทย ไม่ใช่เพื่ออภิสิทธิ์ เป็นนายกฯอีก ไม่ใช่เพื่อคุณจะได้เป็นรัฐบาล ไม่เกี่ยวนะครับ เกี่ยวกับประเทศไทยครับ
ผมว่าเราอย่าปฏิเสธอะไรกันเร็ว เรามานั่งคุยนั่งคิด ว่า จริงๆ ทำได้เปล่า ท่านบอก 15 วัน และเราก็คุยกันแล้ว เราก็บอกว่า ถ้า 15 วัน ถ้าท่านยืนยัน มันไม่ต้องคุยต่อ เพราะมันทำไม่ได้ ผมก็ดีใจ ดีใจมากด้วย ที่พี่วีระบอกว่าคุยได้ และบอกว่า มันอาจมีวันที่สาม ผมฟังได้ยินอย่างนั้น เพราะผมไม่เชื่อว่า ปัญหาบ้านเมือง ที่หนักหนาสาหัส จนต้องมานั่งคุยกัน มันจะจบภายใน 2 ครั้ง มันจบได้ คือจบแล้วไม่พูดกัน อย่างนั้นจบง่าย ออกทีวี กล่าวร้ายป้ายสี มันก็จบ
แต่ประเด็นผมคือ หากท่านอยากให้มันจบเพื่อประเทศไทย เรามาดูเวลากัน ทดสอบกันว่า เราเชื่อใจกันได้หรือเปล่า เราเริ่มก่อนว่า เราอยากไปหาประชาชน เราทำยังไม่ต้องเลือกตั้ง เอาประชามติเป็นหลัก เอาเรื่องรัฐธรรมนูญ หลายข้อ หลายประเด็น เราบอกเราศึกษามานาน มี 6 เด็น เอา 6 ประเด็นนี้ กลับไปหาประชาชน ท่านมีเสื้อแดงกี่คน ฝ่ายอื่นมีกี่คน แต่อีก 40 กว่าล้าน เขาไม่ได้ใส่สีอะไรเลย ใส่ทุกสี เราก็ถามเขา ประเด็นที่ 1 เอาไหม ประเด็นที่ 2 เอาไหม 3 เอาไหม ใช้เวลาครับ 120 วัน ช่วง 120 วัน หรือ 4 เดือน มาดูกันว่า ใครผิดกติกาก่อน
กติกา คือ ท่านชุมนุมได้ แต่เป็นไปตามศาลปกครองเคยวินิจฉัยไว้ ว่ากรอบอย่างนี้นะ กติกาคือ พวกผมไปทำสิ่งผิดกฎหมาย สลายการชุมนุมไม่ได้ เพราะพวกผมต้องเคารพสิทธิในการชุมนุมของท่าน ทดลองไปเรื่อยๆ 4 เดือนทำเสร็จ ทุกคนโล่งอกเลยนะครับ หลังจากนั้นก็เข้ามาดู แต่ท้ายที่สุดถ้าหากมันเบี้ยวกัน มันจบตั้งแต่ 2 เดือนแรก เดือนแรกก็จบแล้ว ไปไม่รอดหรอกครับ ผมจึงเรียนว่า ผมอยากจะ คือพูดกันจริงๆ แล้วนะครับ ไม่อยากที่จะให้ yes หรือ no วันนี้ล่ะครับๆ เพราะมันเป็นเรื่องใหญ่นะครับ เป็นเรื่องใหญ่ที่ไม่ใช่เรา 6 คนมานั่งตัดสินใจ ต้องปรึกษากันเยอะๆ แล้วข้อเสนอมันชัดแล้วตอนนี้ ใกล้เข้ามาแล้ว ใกล้เข้ามา คือของท่านมี 15 วัน ของพวกผมมีสิ้นปี ด้วยเหตุผลดังกล่าว อีก 2 วันเจอกันอีกที แล้วก็มาคุยกัน แล้วเราก็..
อภิสิทธิ์ - ที่จริงถ้าผมอยู่พรุ่งนี้ก็จะคุย เผอิญไปบาห์เรน กลับมาวันพุธค่ำ
กอร์ปศักดิ์ - คือถ้าทำได้อย่างนั้นนะครับ ท่านครับ
อภิสิทธิ์ - ต้องพฤหัสฯ เช้า
กอร์ปศักดิ์ - ผมว่าพี่น้องประชาชนที่นั่งฟังอยู่ทางบ้าน ไม่ว่าจะเป็นคนเสื้อสีอะไรก็จะดีใจที่เขาจะมี...
อภิสิทธิ์ - คือเราขยับกันมาแล้วนะครับ เดิมท่านทันทีๆ ท่านก็บอกว่า เอ้า ให้ 15 วัน ผมก็บอกว่าถ้าเกิด บอกว่าเราถูก ไม่ต้องสนใจอะไรมันก็ 1 ปี 9 เดือน ก็ร่นมาเหลือ 9 เดือนก่อน มาคุยกัน ก็ไปพิจารณาเท่านั้นเอง
วีระ - ผมไม่ได้เปิดประเด็นใหม่ แต่ฝาก ช่วยคิดแทนผมที คือคนที่มา อย่างที่เราพูดกัน เขาไม่ใช่ว่ามาเรื่องรัฐธรรมนูญ เรื่องประเด็นเดียว เขาไฟลนเขามาด้วยเรื่องที่ต้องยุบสภา ก็เพราะเหตุว่าเขาต้องการที่จะเปลี่ยนรัฐบาล โดยขอประชามติ ทีนี้ท่านไม่ต้องเปลี่ยน ท่านเป็นรัฐบาลอยู่แล้ว เขาบอกว่า ก็ไม่จัดการเรื่อง 2 มาตรฐานเสียที นี่ของเก่านะ แต่ว่าเหตุผลประกอบเท่านั้นเอง แล้วก็มีการทุจริต 2 เรื่องนี้ สมมติเราบอกว่า 9 เดือน แต่ในระหว่างนี้ 2 มาตรฐานก็ยังเป็น 2 มาตรฐานอยู่ มันก็แย่
อภิสิทธิ์ - พี่วีระขอโทษนะครับ จะได้สบายใจ คือไม่ใช่ว่า สมมติว่าเราตกลงอย่างนี้แล้ว เราก็พูดเรื่องรัฐธรรมนูญ เรื่องอะไรแล้วก็จบ ผมอยากทำงานต่อ สมมุติว่าท่านติดใจเรื่อง 2 มาตรฐาน ก็เอาเรื่องที่ท่านอาจจะบอกว่าคดีความต่างๆ ที่มันค้างอยู่ มานั่งคุยกันก็ได้ รัฐบาลก็ยินดีคุย คือผมไม่ได้บอกว่าประชามติรัฐธรรมนูญ งบประมาณ แล้วก็ยุบสภา คือผมกำลังบอกว่าผมมาชวนทำบรรยากาศบ้านเมือง ติดใจเรื่องอะไรก็มา ส่วนทุจริตนั้น รายนี้เขาจัดการอยู่แล้ว ตอนอภิปรายไม่ไว้วางใจ เราก็ตอบ แล้วก็ตรวจสอบกันไป ก็ไม่มีปัญหาครับ
จตุพร - คืออย่างนี้ครับท่าน คือความเห็นของพวกผมคือนอกจากว่าบรรยากาศของพวกท่านเอง หลายๆ เรื่องก็ไม่ได้เป็นบรรยากาศของการสร้างสรรค์อะไร การกล่าวหา การใส่ร้ายกันไม่เว้นแต่ละวัน มันจึงเป็นที่มาว่าทำไมเราจึงจำเป็นจะต้องมาชุมนุม มาเรียกร้อง คือหลายเรื่องเป็นความเท็จ 100% ท้าไปไม่เคยพิสูจน์อะไรได้ ไม่ว่าจะเป็นท่อน้ำเลี้ยง คนต่างด้าว หรืออะไรก็ตาม สารพัด ผมก็ตั้งกระทู้อย่างตรงไปตรงมา แต่ว่าที่ผมเรียนเรื่องนี้ก็คือว่า ความรู้สึก ความร้อน ของแต่ละคนแตกต่างกัน ของพวกผมนี่ร้อนมาก พูด 15 วัน ท่านร้อนน้อยก็ 9 เดือน แต่ผมดูสภาพ ดูประสบการณ์เล็กๆ ในสภา แล้วก็ข้างนอกอาจจะยาวนานหน่อย ผมว่าเราพาประชาชนไปสิ้นหวังกันเปล่าๆ แต่ทีนี้ส่วนจากว่าจะคุยกันอย่างไร ก็สุดแท้แต่ว่าจะว่ากันไป ความเห็นของผมนี่ ความเห็นมันแตกต่างกันมาก ทุกคนต้องการบรรยากาศดีกันทั้งนั้น แต่ว่าในทางปฏิบัติ คือคำว่าซื้อเวลามันเป็นเรื่องที่ที่เราได้ยินคำนี้มานาน แต่ท้ายที่สุดมันไม่มีอะไรจะดีขึ้น ยกเว้นความเจ็บช้ำน้ำใจมันยิ่งมากขึ้น และผมกลัวว่าบรรยากาศบ้านเมืองวันนั้นมันยากเกินกว่าที่เราจะคุยกัน
อภิสิทธิ์ - คุณจตุพรครับ คำว่าซื้อเวลา หมายความว่าไม่ทำอะไร ผมชวนทำหมดเลยนะ ถ้าจะพูดเรื่องปัญหาว่าขณะนี้การพูดจาและโดยเฉพาะสื่อสารมวลชนมีลักษณะที่ทำ ให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น ความขัดแย้ง ความเกลียดชังมากขึ้น เอ้า มานั่งวางกันเลย คงจะกล่าวหาช่อง 11 อะไรอย่างนี้ เอ้า มาดู ทีวีเสื้อแดง เอามาดูด้วย ช่องอื่นถ้ามีใครติดใจช่องไหน เอ้ามาดูกันเลย มาทำความตกลงกัน ว่ากี่เดือนที่จะทำตามตารางนี้ มาปรับวิธีทำงาน วิธีคิด วิธีพูดกันไหม ผมชวนหมดเลยนะครับ เพราะฉะนั้นผมถึงบอกว่ายิ่งท่านพูดสิ่งเหล่านี้ยิ่งทำให้ผมมองเห็นว่าการยุบ สภาวันนี้ 15 วัน มันไม่ตอบโจทย์พวกนี้เลย มันไม่หยุดหรอกครับ ไอ้ที่จะมีการอะไรต่างๆ
จตุพร - แล้ววันนั้นท่านเชื่อในมิติไหน วันที่ท่านเรียกร้องให้นายสมัครยุบสภา
อภิสิทธิ์ - วันนั้นพันธมิตรฯ เขาไม่ได้เรียกร้องให้ยุบสภา เขาไม่ต้องการด้วยซ้ำ แต่ผมเห็นว่าวันนั้นถ้ามีการยุบสภา ผมมีความเชื่อว่าเขาไม่มีทางเลือกนอกจากกลับบ้าน เท่านั้นเองครับ ผมให้เหตุให้ผลที่ชัดเจน ท่านไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไร แต่ว่าผมก็อยากจะบอกว่า วันนี้เหตุการณ์หลายอย่างที่หยิบยกขึ้นมา ผมไม่มีว่า ตกลงกันแล้วก็เอาของพวกนี้โยนทิ้ง เพราะผมฟังไง ผมถึงบอกว่าทุกประเด็นเลย มาทำงานร่วมกัน 1 วัน 15 วัน ทำไม่ทันหรอกครับ 9 เดือนมันก็อาจจะทำไม่หมด แต่ผมว่าพอ ที่เราคำนวณกันคร่าวๆ มันพอ แล้วถ้าไม่ทำ ไม่ต้องห่วงหรอกครับ ผมอยู่ไม่ได้หรอก ไม่ทำท่านก็ต้องรู้อยู่แล้วว่าถ้ามาเบี้ยวกันไม่เคยมีใครอยู่ได้ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นผมก็คิดว่าตอนนี้มันต่างกันอย่างนี้ ก็อยู่ที่ท่าน ถ้าท่านยังสนใจว่าจะไปพิจารณากัน ก็กลับมาคุยกัน ถ้าท่านบอกมันไม่ได้ แหม ท่านจะหันหน้าไปบอกกับประชาชนทั้งประเทศได้ไหมครับว่า
วีระ - ไม่ได้ๆๆ เรื่องบ้านเมืองมันเป็นเรื่องที่มาตัดรอนกันแบบนั้นไม่ได้หรอก เราควรจะพูดจากัน มันไม่ใช่เรื่องส่วนตัว เพราะฉะนั้นเราต้องพูดจากัน ถ้ามันตันช่วงนี้ เราก็มะรืนนี้ก็ได้ ก็มาว่ากัน
อภิสิทธิ์ - อย่างนี้ได้ไหมครับ คือทั้งสองท่านอยู่ประเทศไทย ก็คงไม่จำเป็นจะต้องมานั่งคุยอย่างนี้เท่านั้น ระหว่างนี้ประเด็นที่เราพูดกันในหลายเรื่อง กางออกมาเลย ทำแผนร่วมกันว่าจะเอายังไง
วีระ - ไม่ต้องออกโทรทัศน์ทุกครั้งก็ได้
อภิสิทธิ์ - ไม่ต้อง รัฐธรรมนูญจะเอายังไง เรื่องเศรษฐกิจ บรรยากาศ งบประมาณอะไรต่างๆ ที่ขุ่นข้องหมองใจ เรื่องคดีความอะไรเอามาเลยครับ แล้วท่านก็ทำระหว่างนี้ ผมไปบาห์เรนพรุ่งนี้เช้า ผมกลับมาวันพุธ 3 ทุ่ม วันพฤหัสฯ ผมยินดีคุยต่อเลยเพื่อไม่ให้เสียเวลา เอางั้นไหมครับ ระหว่างนี้ก็ช่วยกันรักษาบรรยากาศ
จตุพร - พวกท่านหรือพวกผม
อภิสิทธิ์ - ทั้งสองฝ่าย พูดกันตรงๆ ไง ทั้งสองฝ่าย ถูกไหมครับ
จตุพร - นี่ผมถามนิดหนึ่ง ตอนนี้เอาทหารเข้าประจำวัดอีกแล้ว
อภิสิทธิ์ - คือผมย้ำอีกครั้งนะครับ ทหารเขาเข้าไปเพื่อช่วยดูแลความปลอดภัย เราห่วงมากเรื่องระเบิด มันเกิดทุกคืน เราไม่รู้ว่าใครทำ ที่จับได้ก็กำลังสืบสวนอยู่ แต่เราไม่รู้ว่าใครทำ ทีนี้สิ่งที่เราจำเป็นก็คือ ตรงนี้มันไปช่วยดูแลรักษาพื้นที่ตรงนั้นไม่ให้เกิดปัญหา ทหารไม่มีอาวุธไปทำร้ายท่านแน่นอนนะครับ ไม่มีแน่นอนครับ เพราะว่าผมได้สั่งการไป แล้ว ศอ.รส. กอ.รมน. นโยบายเหล่าทัพ
จตุพร - ถ้าพวกผมไปขอตรวจค้นแล้วพบอาวุธ ท่านจะรับผิดชอบ
อภิสิทธิ์ - คืออย่างนี้นะครับ มันมีส่วนของเขาที่เข้าไปอยู่ ของทหารใช่ไหมครับ
จตุพร - ครับ
อภิสิทธิ์ - ผมให้นโยบายไปชัดเจนแล้ว ทีนี้ถ้าท่านสงสัยตรงไหนก็ตรวจสอบมาได้ ยินดีคุยกันเลย แต่ว่าอย่าใช้วิธีในการที่จะไปเอาประชาชนไปเผชิญหน้ากันเท่านั้น
จตุพร - คือประเด็นก็คือว่าวัดมันไม่เหมาะจริงๆ
อภิสิทธิ์ - ท่านจะให้อยู่ที่ไหนครับ
จตุพร - ทหารก็ควรจะอยู่ในที่ของทหารอยู่ ไม่ใช่อยู่วัด แค่คนมาตักบาตรตอนเช้า เจอทหารมันถอยกรูดกันไปหมด
อภิสิทธิ์ - ขออนุญาตนิดหนึ่งครับ เพื่อจะได้เข้าใจ ทหารเขาไม่ไปทำอะไรกับท่านหรอกครับ ผมบอกได้เลยครับถ้าผมสั่งทหารไปทำอะไรท่านนะ พล.อ.อนุพงษ์ ไม่ทำหรอกครับ ไม่ทำหรอกครับ
จตุพร - พล.อ.ประยุทธ์ ล่ะครับ
อภิสิทธิ์ - ไม่ทำครับ พล.อ.ประยุทธ์ ก็ผู้ใต้บังคับบัญชา พล.อ.อนุพงษ์ ครับ พล.อ.อนุพงษ์ พูดกับผมตั้งแต่ต้น เราพูดกันว่า เห็นตรงกันนะ ฝ่ายการเมืองกับกองทัพ ไม่ถือประชาชนที่มาชุมนุม ไม่ว่าฝ่ายใด เป็นศัตรู มีหน้าที่ในการดูแลความสงบเรียบร้อย และ ผมบอกคุณอนุพงษ์ ผมสั่งอะไรไม่ถูกต้องไม่ต้องทำ อย่าทำ ไม่ควรทำ และผมไม่สั่ง ท่านก็บอกว่า ท่านจะทำเฉพาะที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น เพราะท่านบอกว่า ทหารเป็นหน่วยงานที่มีความเป็นกลางทางการเมือง
หมอเหวง - แต่ว่าท่านนายกฯ ครับ ผมฟัง ผมไม่แน่ใจว่า ท่านมีอำนาจเพียงพอหรือเปล่า เพราะเมษาเลือด ยิงคนแน่นอน และกระสุนจริงแน่นอน
นายกฯ - ขอโทษนะครับ คือตรวจสอบมาแล้ว แต่ท่านมีอันนี้มา ผมต้องชี้แจง
หมอเหวง - ยิงแน่นอน เพราะคนชื่อไสว ทองอ้น ผมไปดูเอง กระสุนเข้าตรงนี้รูเล็กๆ ออกข้างนอกรูใหญ่ อันนี้ M-16 แน่นอน
นายกฯ - ที่ดินแดงหรือเปล่าครับ
หมอเหวง - ใช่ และเข้าโรงพยาบาลราชวิถี ส่วนคนตายมีหรือเปล่า ไม่ทราบ เพราะฉะนั้น ที่ท่านบอกว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ยิงประชาชน ผมไม่แน่ใจ เพราะมันเกิดแล้ว ข้อที่ 1 นะครับ
ข้อที่ 2 ท่านนายกฯ ไม่คิดว่า ท่านจะกินแรงพวกเรามากไปหรือ เพราะขณะนี้ ท่านยังประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคงอยู่ คือถ้าท่านต้องการบรรยากาศการเจรจาดีๆ ไม่ควรมี พ.ร.บ.ความมั่นคง เพราะพวกเราพิสูจน์ตลอด และเรียนท่านนายกฯนะ ผมอึดอัด คือท่านบอกว่า พวกเรามีคนแค่ 3 คน ไม่ใช่ คนข้างหลังเรา ผมไม่อยากโชว์ตัวเลขเว่อร์ๆ อย่างน้อยมีประชาชนอยู่หลังเราประมาณไม่ต่ำกว่า 20 ล้าน
เพราะฉะนั้น ท่านนายกฯ เราไม่ได้มาแค่ 3 คน เราพ่วงประชาชน 20 ล้าน ที่เขาฝากความหวังไว้กับเรา ในการทำประเทศชาติบ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย แต่ท่านทำกับเราอย่างนี้ เพราะฉะนั้น พ.ร.บ.ความมั่นคง ท่านนายกฯต้องยกเลิก ผมถึงจะเห็นความจริงใจในการเจรจากันจริงๆ
นายกฯ - ผมขอเรียนอย่างนี้ ผมไม่มาพูดเรื่องตัวเลขกัน ใครกี่ล้านคน ป่านนี้ผมท้าไปแล้วว่า ทำประชามติวันนี้ ไม่ให้ยุบสภาไหม เอาไหมครับ ถ้าประชามติแล้ว ไม่ยุบสภา ท่านเอาไหม
หมอเหวง - ไม่ ผม คือการตัดสินใจ
นายกฯ - เป็นเรื่องถามประชาชนเหมือนกัน เราก็ไม่อยากท้าทายกันใช่ไหมครับ เราก็ต้องรับผิดชอบคนทุกคน พ.ร.บ.ความมั่นคง นะครับ คุณหมอครับ ประกาศมาแล้ว น่าจะ 5 ครั้ง ถามว่าทำเพื่ออะไร ทำเพื่อป้องปรามไม่ให้เกิดเหตุการณ์ ถึงประชุมอาเซียนได้ ตอนประชุมอาเซียนล้ม ที่ผิดพลาดคือ ไม่ได้ประกาศกฎหมายความมั่นคง ต้องให้เกิดเรื่องแล้วไปประกาศ พ.ร.ก. ผมเป็นฝ่ายไม่ต้องการเห็นความสูญเสีย กฎหมายความมั่นคงจึงประกาศเพื่อให้เจ้าหน้าที่ช่วยดูแลความปลอดภัยได้ ผมถามว่า ผ่านมา 15 วัน 16 วัน เจ้าหน้าที่คุกคามท่านไหม เจ้าหน้าที่มีแต่บอกว่า ความสัมพันธ์กับท่านดี รายงานผมมา ชาวบ้านทั้งที่เป็นประชาชนธรรมดา ทั้งเสื้อแดงให้น้ำ พูดคุยกัน เขาไปดูแลให้ แต่ถ้าท่านบอกไม่อยากให้อยู่ที่วัดลองเสนอมา ให้อยู่ที่ไหน แต่ว่า ผมมาพูดคุย ไม่แม้แต่เรียกร้องให้ท่านเลิกชุมนุม
จตุพร - อันนี้เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ม.69
นายกฯ - ถูกต้องครับ เป็นสิทธิที่ท่านจะชุมนุม ผมก็มีสิทธิจะอยู่อีก 1 ปี 9 เดือน ผมก็ไม่อ้างสิทธิ ผมบอกว่า ชุมนุมไปเถอะ แต่ขอให้ดูแลการชุมนุมอย่าให้เกิดเหตุร้าย เพราะถ้ามันเกิดเหตุร้ายขึ้นมา จะยุ่ง พี่วีระเข้าใจดี เพราะฉะนั้น เราไม่มีอะไร อีก 2 วัน ก็มาคุยต่อ ท่านมีปัญหาท่านแจ้งมา
จตุพร - ผมเองมาด้วยฉันทานุมัติประชาชนได้พูดไปแล้ว เรื่อง 4-5 วัน เพราะฉะนั้น พวกผมต้องกลับไปด้วยเงื่อนไขนี้
นายกฯ -ถูกต้อง
จตุพร - หมายความว่า ฝ่ายท่านไม่รับเงื่อนไขนี้ ผมต้องกลับไปเงื่อนไขนี้ เพราะฉะนั้นในเบื้องต้นเราต้องยุติกันก่อน หยุดก่อน เพราะอย่าพึ่งนัดกันเลย ขอให้จบลงตรงนี้เสียก่อน ถือว่าการเจรจา 2 ฝ่ายไม่บรรลุผล ส่วนจะว่าต่อไปก็เป็นเรื่องอนาคตว่าจะพูดหรือไม่พูดกันดี เอากันอย่างนี้จะเหมาะมากกว่า
อภิสิทธิ์ - อันนั้นเป็นการตัดสินใจของท่าน ผมเพียงแต่บอกว่า ผมคิดว่าเราควรจะรับผิดชอบกับคน 60 กว่าล้านคน ผมตัดสินใจอะไรผมก็รับผิดชอบกับคนเสื้อแดงด้วยนะครับ ท่านอาจจะเป็นตัวแทนคนเสื้อแดงมา แต่ผมคิดว่าท่านควรจะช่วยกันรับผิดชอบกับคนที่เหลือที่ไม่ใช่คนเสื้อแดงด้วย เพราะฉะนั้นที่พี่วีระพูดก็ดีอยู่แล้ว ในชั้นนี้คือว่า ข้อเสนอของท่านไม่ได้รับการตอบสนอง
จตุพร - ถูกต้อง
อภิสิทธิ์ - มีข้อเสนอที่ฝ่ายรัฐบาลได้นำเสนอในวันนี้ ท่านก็กลับไปพิจารณา พูดคุยนอกรอบแล้วนัดหมายเพื่อให้ได้คำตอบ ผมว่าอันนี้จะทำให้ประชาชนสบายใจ
จตุพร - คือประชาชน คือพวกผมเองอยู่กับประชาชน เพราะฉะนั้นประชาชนต้องมีความสบายใจและตรงไปตรงมา พวกเรามาพบกับพวกท่านก็ต้องเปิดเผยกันแบบนี้ คือต้องแสดงตนไปมุบมิบพบกันไม่ได้ เพราะฉะนั้น นี่พูดกันตรงไปตรงมาที่สุด ขอวันนี้ว่า เอาละการเจรจา 2 วัน ต่างคนต่างมีข้อเสนอและยังไม่บรรลุ ให้จบลงตรงนี้ซะก่อน ส่วนวันข้างหน้าว่ากันอีกที แต่ว่าพวกผมพก 15 วัน แล้วท่านปฏิเสธ ท่านเสนอ 9 เดือนผมก็ปฏิเสธ ให้ยืนจุดไว้เท่านี้
อภิสิทธิ์ - เรียนให้ทราบเดี๋ยวคนจะเข้าใจผิดว่า ผมกับพี่วีระมาเสนอให้มุบมิบกัน ไม่ใช่มุบมิบ
จตุพร - ไม่ได้ครับ พวกผมมันเรื่องใหญ่มาก มันคุยแล้วมุบมิบไม่ได้
อภิสิทธิ์ - ไม่มีเรื่องมุบมิบ ถ้าจะไม่คุยเลยก็ได้ เพียงแต่ว่ามันจะเสียเวลา ที่ให้ไปคุยกันหมายความว่า ที่ยังติดใจว่า ตารางเวลาคิดยังไง เรื่องงบประมาณ เรื่องรัฐธรรมนูญ ก็ไปคุยกันนอกรอบ ผมไม่อยู่เท่านั้นเอง ผมอยู่ก็กลับมาคุยกัน
จตุพร - ประเด็นขอให้จบลง ณ วันนี้ คือว่าก็จบลงตรงข้อเสนอ 2 ฝ่ายไม่ได้รับการตอบสนองระหว่างกัน ส่วนเรื่องอนาคตก็เป็นเรื่องอนาคตไป พวกผมเองต้องไปถามผู้ชุมนุมพี่น้องประชาชนว่า เราจะเอาอย่างไรกันต่อ ให้มันจบลงในสถานการณ์แบบนี้จะเหมาะสมกว่า
อภิสิทธิ์ - แล้วแต่นะครับ เอาเป็นว่า
จตุพร - พวกท่านก็ไปหารือพรรคร่วมของท่าน พวกผมก็จะไปคุยกับพวกผม
อภิสิทธิ์ - เอาเป็นว่า ฝ่ายผมก็ยินดีจะนัดหมาย ส่วนฝ่ายท่านจะปฏิเสธก็เป็นสิทธิ์ของท่าน
จตุพร - ครับ ให้ยืน ณ จุดยืนนี้จะสบายทั้ง 2 ฝ่าย
อภิสิทธิ์ - ไม่มีปัญหา
วีระ - ค่อยนัดครับ
อภิสิทธิ์ - ขอบคุณครับ
วีระ - ขอบคุณมาก
อภิสิทธิ์ - ผมย้ำอีกครั้งเรื่องทำเศรษฐกิจ ดีไม่ดีเราไม่เถียงกัน ผมเพียงแต่บอกว่า ผมดูตารางปฏิทินงบประมาณ ซึ่งหากว่าตารางปฏิทินงบประมาณถูกกระทบ นั่นหมายถึงว่าช่วงแรกของปีงบประมาณ ตั้งแต่เดือน ต.ค.เป็นต้นไป มันจะต้องใช้งบประมาณซึ่งผิดปกติ เพราะปีนี้มันเป็นปีที่ผิดปกติมากๆ เพราะฉะนั้นผมไม่ได้พูดเรื่องว่า ให้เกิดความเข้าใจ เพราะว่าอันนี้เป็นเสียงที่ผมต้องรับฟัง เพราะประชาชนส่วนหนึ่งเขาเป็นห่วงเป็นใยกังวลเรื่องนี้
เรื่องรัฐธรรมนูญ เมื่อกี้ท่านนับแล้ว 90-120 วัน ไม่เกิน 120 แล้วแก้รัฐธรรมนูญวาระ 1, 2, 3 อาจจะ 2 เดือน 3 เดือน บวกกันยังไงก็ไม่ 1 ปี 9 เดือนหรอกครับ ผมยังมองไม่เห็นว่าจะไปถึว 1 ปี 9 เดือนได้ยังไง
จตุพร - จะถูกรั้งวาระที่ 2
อภิสิทธิ์ - ผมคิดว่าวิธีที่เราจะทำ คือ เนื่องจากผมต้องการให้ประชามติในสิ่งที่ชัดเจน ไม่ใช่ว่าทำมาแล้วมาเถียงกันอีกว่าประชาชนว่ายังไงแน่ วันนั้นก็คุยกันแล้วในวิป เวลาเราไปถามเราจะถามค่อนข้างแน่ชัด บางคนเสนอถึงขั้นว่า ทำร่างให้เสร็จ สรุปสาระให้ประชาชนเข้าใจง่ายๆ แต่ใครสนใจลึกขนาดว่า หน้าตาร่างจะเป็นอย่างไร ทำกันให้เสร็จ เพราะทำกันอยู่แล้ว คณะทำงานของสภาเขาทำไว้แล้ว
จตุพร - แค่เรื่องเขตเลือกตั้งระหว่างท่านกับพรรคร่วมก็มีความเห็นต่างกันแล้ว
อภิสิทธิ์ - ไม่เกี่ยวครับ เพราะประชามติออกมายังไงก็เอาอย่างนั้น ก็ไม่มีปัญหาจะต้องพิจารณากันอีก เพราะพรรคผมยืนอยู่ในจุดที่ว่า ถ้าเป็นความต้องการประชาชน ผ่านกระบวนการประชามติ เราไม่มีปัญหา แต่ถ้าไม่ผ่านประชามติจะเป็นจุดยืนของแต่ละพรรคไป
เพราะฉะนั้น กระบวนการตรงนี้มีเวลาของมันชัดเจน
วีระ - ประชามติ 3 เดือนใช่ไหม
นายกฯ - 3-4 เดือน
จตุพร - คือ กฎหมายเขาเขียนไว้ไม่ต่ำกว่า 90 ไม่เกิน 120 แต่โดยเงื่อนไขกับสถานการณ์ ณ ขณะนี้ เป็นเรื่องที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์
นายกฯ - นั่นความเห็นท่าน ความเห็นผม ก็บอกว่า อันนี้ จะเป็นกระบวนการที่ดีมาก ในการปรับให้ทุกคนเข้ามายอมรับกระบวนการไปออกคะแนนเสียงเลือกตั้ง ส่วนเรื่องของคะแนนนิยม ผมไม่ได้ติดใจ ผมพูดตรงๆ ไม่ติดใจ 280 มันเลขาธิการพรรคผม เขามีความรับผิดชอบ ต้องพยายามทำให้ได้ ทุกพรรคลงเลือกตั้งก็อยากชนะทั้งนั้น ไม่ปฏิเสธกัน และกำหนดเป้าหมายกัน แต่ผมไม่ได้ติดใจ เลือกแล้วแพ้ ชนะไม่มีปัญหา แต่ผมบอกว่า ผมจะตัดสินใจเรื่องการเลือกตั้ง ด้วยเอาประโยชน์ที่คิดว่าเป็นส่วนรวม เป็นที่ตั้ง ท่านอาจเห็นไม่ตรงกับผมก็อีกเรื่อง
ทีนี้ ท่านบอกว่า ใครไม่เห็นด้วยกับท่านเรื่องยุบสภา เขาก็ต้องไปเลือกผม ไม่ใช่ครับ อยากอ่าน SMS ไหมครับ ทุกคนบอกผมว่า ถ้าผมยุบสภา โดยเขามองว่า เป็นการยุบสภา เนื่องจากมีการกดดันจากคนกลุ่มหนึ่ง เขาจะไม่เลือกผมอีก แต่ถ้าผมยุบสภาโดยมีเหตุผล ว่า แม้ผมจะอยู่ 1 ปี 9 เดือนได้ ผมตัดวาระลงมา อาจเกิดความชะงักงันในความรู้สึกของคนบางกลุ่ม แต่ผมอธิบายได้ว่า ผมได้ฟังคนเสื้อแดง เขาก็มีเหตุผลของเขา ผมก็ดูว่า อะไรที่ดีกับประชาชน และผมก็กำหนดเวลาคร่าวๆ ที่เราคุยเมื่อสักครู อย่างนี้ก็อีกเรื่อง
จะมาบอกว่า ใครไม่เห็นด้วยกับพวกท่าน ต้องเลือกผม ไม่ใช่นะครับ เขามีคนอีกกลุ่ม ซึ่งเขาหงุดหงิด และอยากให้ผมทำอย่างอื่นด้วยซ้ำ เกี่ยวกับการชุมนุม ซึ่งผมก็ไม่ทำ
จตุพร - คืออยากให้ทำตามสบาย ใจคิดอะไรทำอย่างนั้น
นายกฯ - เพราะฉะนั้น ผมเลยบอกว่า อันนี้คือจุดที่ผมมองว่าเป็นประโยชน์สูงสุด ผมไม่ได้ลาก 9 เดือน ผมให้ 1 ปี ฉะนั้น ผมเลยบอกว่า อันนี้ เป็นข้อเสนอเบื้องต้น ก็คุยกัน เท่านั้นเอง
จตุพร - ในแต่ละคน ที่เป็นสิทธิระหว่างทาง อย่างที่ผมบอกว่า ไม่ว่าจะเป็นคุณสมัคร หรือคุณสมชาย ถ้านับเวลา ถ้าไม่มีกลไกอะไรพิเศษ มันก็ต่างคนต่างนับเวลากันได้ แต่ในความเห็นผม สิ้นปี ตอนนี้เราคงจบเรื่อง 15 วัน กับสิ้นปีกัน มันเป็นประเด็นที่มันตกลงกันไม่ได้โดยทางปฏิบัติ แต่ผมว่าได้โอกาสมาพูดคุยกัน แต่ข้อเรียกร้องอันนี้ และสิ่งตอบสนองคงไปด้วยกันไม่ได้
หมอเหวง - คือท่านนายกฯ ผมมีประสบการณ์การเมืองเยอะ และท่านต้องรับฟังผม ถึงแม้สิ่งที่ผมพูดไปอาจระคายเคืองท่านบ้าง คือความจริง นักการเมืองเขาจะฉลาดสร้างเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์กับตัวเอง โดยยิ่งคนที่อยู่ในอำนาจ
ผมขออนุญาตเท้าความถึงเรื่องที่ ฉลาด วรฉัตร ที่จะให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ 7ร สุดท้ายกลายเป็นว่า ท่านบัญญัติ บรรทัดฐาน มาปฏิเสธตอนเย็น และให้ท่านมารุต บุนนาค คณะกรรมการพัฒนาการเมือง อาจารย์ประเวศ ท่านก็ลงมือทำ มีเอกสารเยอะแยะ สุดท้ายเก็บเข้าลิ้นชัก ไม่ได้ประโยชน์อะไร
เพราะฉะนั้น การต่อสู้ ประชาชนจำนวนมากมายเลยสลายไป และมีเหตุอันเป็นไป ทั้งนี้ เนื่องจากมีการยุบสภา เนื่องจาก สปก.4-01 เป็นต้น และพอมาสมัยบรรหาร มีการตั้งคณะ ส.ส.ร.ขึ้นมา และร่างขึ้นมา กว่าที่นักการเมืองจะยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนั้น หืดขึ้นคอ นี่คือแก่นแท้ของนักการเมืองในปัจจุบัน ยกเว้นจะมีการเปลี่ยนแปลง
ผมเรียนท่านนายกฯ ถ้าท่านจริงใจแก้ปัญหา ผมขออนุญาต ผมยังไม่อยากมองท่านในสายตาที่ร้าย ผมเรียนว่า เวลาที่ซื้อมา 9 เดือน ผมไม่เชื่อท่าน พอถึงเวลา 9 เดือน สิ่งที่ท่านพูด 3 อย่าง มันจะไม่บรรลุอะไรซักอย่าง เหมือนผมเคยมีประสบการณ์กับท่านนายกฯชวน ท่านบัญญัติ บรรทัดฐาน รวมถึงท่านบรรหาร ศิลปอาชา
เพราะฉะนั้น โดยสรุปรวม ท่านนายกฯ ผมยืนยันว่าถ้าเราจริงใจในการให้ความขัดแย้งทางการเมืองเที่ยวนี้ยุติ ท่านโปรดพิจารณาด้วย ผมเชื่อว่า พอท่านประกาศยุบสภา 15 วัน และให้ทุกคนกลับไปเลือกตั้ง ผมว่าทุกอย่างจะเข้ารูปเข้ารอย และพรรคการเมืองต่างๆ ก็ไปร่างนโยบายและหาเสียง และไม่มีปัญหา เรายินดีต้อนรับให้นายกฯไปหาเสียงทุกที่ได้ ผมยืนยัน ผมเชื่อมั่น ประชาชนไทยเขามีวุฒิภาวะการเมืองสูงพอที่จะปฏิบัติตามที่เราตกลง หรือ ท่านต้องการให้กลุ่มไหนมาเซ็นสัญญา ผมเชื่อว่า ทุกกลุ่มยินดี มาเซ็นสัญญา หรือมีบทลงโทษอะไรก็ว่ากันไป
ผมยืนยันว่า วิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งการเมืองที่ดีที่สุดในปัจจุบัน คือยุบสภา อาจภายในเวลา 15 วัน หรือ ท่านบอกว่า 1 วัน 15 วัน มีค่าเท่ากัน ท่านยุบสภาเลยครับ แล้วเกียรติภูมิของท่านจะสูงส่ง
นายกฯ - สุดแล้วแต่ ผมคิดว่าเรามาเจรจากัน คงต้องให้เกียรติกันและกัน ถ้าจะให้เหตุผลว่า ไม่เชื่อกัน อันนั้นไม่รู้จะว่าอย่างไร ผมเรียนอย่างนี้ว่า ไม่อยากจะรื้อฟื้น ผมจำได้ เหตุการณ์วันนั้น ผมต้องให้ความเป็นธรรมกับคุณบัญญัติ เพราะผมกับคุณบัญญัติ เป็นผู้เข้าในที่ประชุมพรรค และพูดถึงการพูดคุยกับทางคุณฉลาด ใครต่อใคร และพยายามโน้มน้าวให้ที่ประชุมพรรคเขาเห็นตามนั้น
วันนั้นมีการลงมติ แล้วท่านแพ้ ท่านบัญญัติแพ้ ท่านจึงต้องกลับไป แต่ท่านถึงไปขอร้องให้ อ.มารุต ซึ่งเป็นประธานสภา ไปดำเนินการในฝ่ายนิติบัญญัติ และงานที่ทำในฝ่ายนิติบัญญัติ ไม่ได้โยนทิ้ง นั่นคือที่มาของรัฐธรรมนูญปี 40 ที่ท่านเรียกร้องให้เอากลับมา เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกันไป โดยนายกฯบรรหาร ท่านเข้ามาทำ และต้องเสนอแก้ไขมาตรา 211 ขณะนั้น อันนี้เรียนตรงไปตรงมา ผมไม่ปิดบัง
ผมยอมรับว่า วันนั้นคุณบัญญํติไปเจรจา และผมเล่าให้ฟัง ผมอยู่ในเหตุการณ์ว่า เรากลับมา ที่ประชุมพรรคลงมติไปแล้ว แต่ไม่ใช่เรื่องที่จะพูดในทำนองให้เสียเกียรติยศของบุคคลเหล่านั้น เพราะท่านเป็นคนที่ตรงไปตรงมา และมีวินัยของพรรค ทีนี้ สิ่งที่ท่านกลัว เบี้ยวกันหรือเปล่า ผมบอกได้ว่า ถ้าผมเบี้ยว ผมอยู่ไม่ได้ ไม่ต้องคิดเลย ไม่ต้องมีประสบการณ์เท่าท่าน ทางการเมืองก็ดูออก เพราะฉะนั้น ผมไม่มีเหตุผลที่จะมาพูดคุยอะไรแล้วไม่ทำตาม แต่ก็เป็นเรื่องพิจารณากันได้
จตุพร - ผมว่าเป็นจุดยืน ความเห็นที่แตกต่างกัน ผมเชื่อว่า พวกเราคงไม่ต้องการพาประชาชนไปอกหักระหว่างทาง เพราะมันคือสิ่งที่เจอกันซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะฉะนั้น ความเห็นต่างกันระหว่าง ปีเดียวกับภายใน 9 เดือน กับ 15 วัน เพราะว่ามันมีค่าเท่ากัน แต่ผมก็ ต่างฝ่ายได้แสดงกันแล้ว หลังจากนั้น ไปทำหน้าที่
ชำนิ - ผมขออธิบายเพิ่มเติม เพราะมันเป็นข้อเสนอที่ไม่ได้อยู่ตรงมุ่งหมายจะยืดเวลา จาก 15 เป็น 9 เดือน คำอธิบายมันมี และมันเป็นกระบวนการ ถามว่า ถ้ากระบวนการนี้ ทำได้ก่อน มันก็ไม่จำเป็นต้อง 9 แต่ถ้าปัญหาที่หลายฝ่าย และปัญหาที่ปรึกษาหารือ และมีความกังวล คือปัญหาที่ท่านนายกฯเสนอทั้ง 3 ประเด็น มันเป็นปัญหาที่ดำรงอยู่ แล้วเราต้องพาเมืองไทยก้าวพ้นให้ได้จริงๆ
ตามหลัก บางเรื่องเป็นความเชื่อ บางเรื่องเป็นความสามารถ ด้วยเราจะเดินผ่านจุดนั้นไปได้ แต่พอเราพูดถึงกติกา โดยกรอบของกติกา ถ้าเราไปเลือกตั้งโดยไม่มีการปรับเปลี่ยนกติกาก่อน ปัญหามันก็เกิดจากความคิด เมื่อวานท่านก็เชื่ออย่างหนึ่ง และผมก็เชื่ออย่างหนึ่ง แต่ว่าความเชื่อไม่ได้เป็นข้อขัดแย้งที่ไม่สามารถหาความลงตัวได้
ถามว่า 9 เดือน ได้มาอย่างไร โดยกระบวนการ คุณจตุพรก็เห็นว่า เราต้องทำประชามติ มันใช้เวลาเท่าไร แล้วไปแก้ไข การแก้ไขก็มีกระบวนการอีก เพราะกฎหมายมันบังคับ ขั้นตอนแต่ละขั้นตอน รับหลักการเมื่อไร ฟังความเห็นระยะเท่าไร กี่วันจะโหวตได้ โหวตแล้วกี่วันถึงจะไปสู่ขั้นสุดท้าย และไปลงเลือกตั้ง เพราะฉะนั้น ระยะเวลา 9 วัน มันจึงเป็นระยะเวลาที่เต็ม
จตุพร - ถ้า 9 วัน จะรีบตกลงเลย ถือว่าลดลงมา
ชำนิ - ประทานโทษ มันไปลงดังนี้ ไม่ใช่ว่าเลือก 9 วัน เพื่อยืดเวลา 9 เดือน เพื่อยืดเวลา ขอประทานโทษ เพราะฉะนั้นตัว 9 เดือน จึงเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดโดยเงื่อนไขของกฎเกณฑ์ ของกฎหมาย ของกติกา และผมเชื่อว่า ถ้าเราผ่านกระบวนการของกติกาที่เป็นประชามติ ไปตามขั้นตอน มันจะนำไปสู่การสร้างบรรยากาศในประเด็นที่ 3 ได้แน่นอน และเราไปสนามการเลือกตั้งกัน ผมไม่ได้คำนึงว่า เราแพ้หรือชนะ แต่คำนึงว่า เราเลือกตั้งบนความสันติ และนำวิกฤตออกจากการเมืองได้
จตุพร - ผมเรียนถามท่านนายกฯ นี่เป็นทัศนะของท่านชำนิ ท่านรับรองทัศนะของท่านชำนิไหมครับ
นายกฯ - ไม่มีอะไรที่ขัดแย้งกันครับ
จตุพร - มีความไม่ตรงกันเรื่องเวลา ที่บอกว่า เร็วกว่า 9 เดือนใช่ไหม
ชำนิ - ไม่ใช่ คือผมหมายถึงว่า 9 เดือนได้มาอย่างไร คือเราอธิบาย ทำไมถึงพูด 9 เดือน ซึ่ง 9 เดือนไม่ใช่นายกฯอยากอยู่
นายกฯ - คือเราไม่ได้เอาตัวเลขเป็นตัวตั้ง เราเอาสิ่งที่เป็นกระบวนการ เป็นเหตุผล และมารองเรียงดู และคาดประมาณกัน
จตุพร - ผมจึงคิดว่า 1 ปี 9 เดือน ไม่พอด้วยซ้ำ กับ 3 ข้อ
นายกฯ - ไม่หรอกครับ ที่ผมต้องพูดตัวเลขนี้ เพราะถ้ามันเกินจากนี้ พวกผมต้องรับผิดชอบแล้ว มันไม่มีทางอื่นหรอกครับ
กอร์ปศักดิ์ - ประเด็นมันอย่างนี้ เราพยายามมานั่งคุยกัน ต้องกลับไปถามตัวเองเหมือนกัน ว่า ทำไมมานั่งคุยตรงนี้ เราคุยตรงนี้ เพราะอยากหาข้อยุติ ผมหารือกับพี่วีระ ถึงมีวันนี้ขึ้นมา เพราะอยากหาข้อยุติ ไม่มีใครเชื่อใครหรอกครับ และเวลาบอก เคารพๆ ก็ไม่ค่อยแน่ใจ ว่า เคารพจริงหรือเปล่าเหมือนกัน เพราะพูดว่า เคารพคำ ก็ด่าดำ แต่ผมกับพี่วีระ ผมเคารพ เพราะไม่มีคำด่า แต่ประเด็นมันมี แต่ว่า ในเมื่อเราไม่เชื่อกัน ผมก็ไม่เชื่อท่าน ท่านไม่เชื่อผม ทำยังไง เราก็ต้องลองกัน ลองวางกฎเกณฑ์ ท่านบอก ไม่ต้องลองหรอก เชื่อผมเถอะ 15 วัน ผมไม่เชื่อครับ ผมบอกว่า ภายใน 9 เดือน คือสิ้นปี มันน่าจะเข้ารูปเข้ารอย ท่านบอกไม่เชื่อ ไม่มีใครเชื่อใครหรอก เพราะถ้าเชื่อกันไม่มีวันนี้หรอก แต่ถ้าเราไม่เชื่อกันอย่างนี้ แล้วเกิดความรุนแรง ที่เราพูดกันวันแรก บอกเรามานั่งคุยกันเพื่อประเทศไทย ไม่ใช่เพื่ออภิสิทธิ์ เป็นนายกฯอีก ไม่ใช่เพื่อคุณจะได้เป็นรัฐบาล ไม่เกี่ยวนะครับ เกี่ยวกับประเทศไทยครับ
ผมว่าเราอย่าปฏิเสธอะไรกันเร็ว เรามานั่งคุยนั่งคิด ว่า จริงๆ ทำได้เปล่า ท่านบอก 15 วัน และเราก็คุยกันแล้ว เราก็บอกว่า ถ้า 15 วัน ถ้าท่านยืนยัน มันไม่ต้องคุยต่อ เพราะมันทำไม่ได้ ผมก็ดีใจ ดีใจมากด้วย ที่พี่วีระบอกว่าคุยได้ และบอกว่า มันอาจมีวันที่สาม ผมฟังได้ยินอย่างนั้น เพราะผมไม่เชื่อว่า ปัญหาบ้านเมือง ที่หนักหนาสาหัส จนต้องมานั่งคุยกัน มันจะจบภายใน 2 ครั้ง มันจบได้ คือจบแล้วไม่พูดกัน อย่างนั้นจบง่าย ออกทีวี กล่าวร้ายป้ายสี มันก็จบ
แต่ประเด็นผมคือ หากท่านอยากให้มันจบเพื่อประเทศไทย เรามาดูเวลากัน ทดสอบกันว่า เราเชื่อใจกันได้หรือเปล่า เราเริ่มก่อนว่า เราอยากไปหาประชาชน เราทำยังไม่ต้องเลือกตั้ง เอาประชามติเป็นหลัก เอาเรื่องรัฐธรรมนูญ หลายข้อ หลายประเด็น เราบอกเราศึกษามานาน มี 6 เด็น เอา 6 ประเด็นนี้ กลับไปหาประชาชน ท่านมีเสื้อแดงกี่คน ฝ่ายอื่นมีกี่คน แต่อีก 40 กว่าล้าน เขาไม่ได้ใส่สีอะไรเลย ใส่ทุกสี เราก็ถามเขา ประเด็นที่ 1 เอาไหม ประเด็นที่ 2 เอาไหม 3 เอาไหม ใช้เวลาครับ 120 วัน ช่วง 120 วัน หรือ 4 เดือน มาดูกันว่า ใครผิดกติกาก่อน
กติกา คือ ท่านชุมนุมได้ แต่เป็นไปตามศาลปกครองเคยวินิจฉัยไว้ ว่ากรอบอย่างนี้นะ กติกาคือ พวกผมไปทำสิ่งผิดกฎหมาย สลายการชุมนุมไม่ได้ เพราะพวกผมต้องเคารพสิทธิในการชุมนุมของท่าน ทดลองไปเรื่อยๆ 4 เดือนทำเสร็จ ทุกคนโล่งอกเลยนะครับ หลังจากนั้นก็เข้ามาดู แต่ท้ายที่สุดถ้าหากมันเบี้ยวกัน มันจบตั้งแต่ 2 เดือนแรก เดือนแรกก็จบแล้ว ไปไม่รอดหรอกครับ ผมจึงเรียนว่า ผมอยากจะ คือพูดกันจริงๆ แล้วนะครับ ไม่อยากที่จะให้ yes หรือ no วันนี้ล่ะครับๆ เพราะมันเป็นเรื่องใหญ่นะครับ เป็นเรื่องใหญ่ที่ไม่ใช่เรา 6 คนมานั่งตัดสินใจ ต้องปรึกษากันเยอะๆ แล้วข้อเสนอมันชัดแล้วตอนนี้ ใกล้เข้ามาแล้ว ใกล้เข้ามา คือของท่านมี 15 วัน ของพวกผมมีสิ้นปี ด้วยเหตุผลดังกล่าว อีก 2 วันเจอกันอีกที แล้วก็มาคุยกัน แล้วเราก็..
อภิสิทธิ์ - ที่จริงถ้าผมอยู่พรุ่งนี้ก็จะคุย เผอิญไปบาห์เรน กลับมาวันพุธค่ำ
กอร์ปศักดิ์ - คือถ้าทำได้อย่างนั้นนะครับ ท่านครับ
อภิสิทธิ์ - ต้องพฤหัสฯ เช้า
กอร์ปศักดิ์ - ผมว่าพี่น้องประชาชนที่นั่งฟังอยู่ทางบ้าน ไม่ว่าจะเป็นคนเสื้อสีอะไรก็จะดีใจที่เขาจะมี...
อภิสิทธิ์ - คือเราขยับกันมาแล้วนะครับ เดิมท่านทันทีๆ ท่านก็บอกว่า เอ้า ให้ 15 วัน ผมก็บอกว่าถ้าเกิด บอกว่าเราถูก ไม่ต้องสนใจอะไรมันก็ 1 ปี 9 เดือน ก็ร่นมาเหลือ 9 เดือนก่อน มาคุยกัน ก็ไปพิจารณาเท่านั้นเอง
วีระ - ผมไม่ได้เปิดประเด็นใหม่ แต่ฝาก ช่วยคิดแทนผมที คือคนที่มา อย่างที่เราพูดกัน เขาไม่ใช่ว่ามาเรื่องรัฐธรรมนูญ เรื่องประเด็นเดียว เขาไฟลนเขามาด้วยเรื่องที่ต้องยุบสภา ก็เพราะเหตุว่าเขาต้องการที่จะเปลี่ยนรัฐบาล โดยขอประชามติ ทีนี้ท่านไม่ต้องเปลี่ยน ท่านเป็นรัฐบาลอยู่แล้ว เขาบอกว่า ก็ไม่จัดการเรื่อง 2 มาตรฐานเสียที นี่ของเก่านะ แต่ว่าเหตุผลประกอบเท่านั้นเอง แล้วก็มีการทุจริต 2 เรื่องนี้ สมมติเราบอกว่า 9 เดือน แต่ในระหว่างนี้ 2 มาตรฐานก็ยังเป็น 2 มาตรฐานอยู่ มันก็แย่
อภิสิทธิ์ - พี่วีระขอโทษนะครับ จะได้สบายใจ คือไม่ใช่ว่า สมมติว่าเราตกลงอย่างนี้แล้ว เราก็พูดเรื่องรัฐธรรมนูญ เรื่องอะไรแล้วก็จบ ผมอยากทำงานต่อ สมมุติว่าท่านติดใจเรื่อง 2 มาตรฐาน ก็เอาเรื่องที่ท่านอาจจะบอกว่าคดีความต่างๆ ที่มันค้างอยู่ มานั่งคุยกันก็ได้ รัฐบาลก็ยินดีคุย คือผมไม่ได้บอกว่าประชามติรัฐธรรมนูญ งบประมาณ แล้วก็ยุบสภา คือผมกำลังบอกว่าผมมาชวนทำบรรยากาศบ้านเมือง ติดใจเรื่องอะไรก็มา ส่วนทุจริตนั้น รายนี้เขาจัดการอยู่แล้ว ตอนอภิปรายไม่ไว้วางใจ เราก็ตอบ แล้วก็ตรวจสอบกันไป ก็ไม่มีปัญหาครับ
จตุพร - คืออย่างนี้ครับท่าน คือความเห็นของพวกผมคือนอกจากว่าบรรยากาศของพวกท่านเอง หลายๆ เรื่องก็ไม่ได้เป็นบรรยากาศของการสร้างสรรค์อะไร การกล่าวหา การใส่ร้ายกันไม่เว้นแต่ละวัน มันจึงเป็นที่มาว่าทำไมเราจึงจำเป็นจะต้องมาชุมนุม มาเรียกร้อง คือหลายเรื่องเป็นความเท็จ 100% ท้าไปไม่เคยพิสูจน์อะไรได้ ไม่ว่าจะเป็นท่อน้ำเลี้ยง คนต่างด้าว หรืออะไรก็ตาม สารพัด ผมก็ตั้งกระทู้อย่างตรงไปตรงมา แต่ว่าที่ผมเรียนเรื่องนี้ก็คือว่า ความรู้สึก ความร้อน ของแต่ละคนแตกต่างกัน ของพวกผมนี่ร้อนมาก พูด 15 วัน ท่านร้อนน้อยก็ 9 เดือน แต่ผมดูสภาพ ดูประสบการณ์เล็กๆ ในสภา แล้วก็ข้างนอกอาจจะยาวนานหน่อย ผมว่าเราพาประชาชนไปสิ้นหวังกันเปล่าๆ แต่ทีนี้ส่วนจากว่าจะคุยกันอย่างไร ก็สุดแท้แต่ว่าจะว่ากันไป ความเห็นของผมนี่ ความเห็นมันแตกต่างกันมาก ทุกคนต้องการบรรยากาศดีกันทั้งนั้น แต่ว่าในทางปฏิบัติ คือคำว่าซื้อเวลามันเป็นเรื่องที่ที่เราได้ยินคำนี้มานาน แต่ท้ายที่สุดมันไม่มีอะไรจะดีขึ้น ยกเว้นความเจ็บช้ำน้ำใจมันยิ่งมากขึ้น และผมกลัวว่าบรรยากาศบ้านเมืองวันนั้นมันยากเกินกว่าที่เราจะคุยกัน
อภิสิทธิ์ - คุณจตุพรครับ คำว่าซื้อเวลา หมายความว่าไม่ทำอะไร ผมชวนทำหมดเลยนะ ถ้าจะพูดเรื่องปัญหาว่าขณะนี้การพูดจาและโดยเฉพาะสื่อสารมวลชนมีลักษณะที่ทำ ให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น ความขัดแย้ง ความเกลียดชังมากขึ้น เอ้า มานั่งวางกันเลย คงจะกล่าวหาช่อง 11 อะไรอย่างนี้ เอ้า มาดู ทีวีเสื้อแดง เอามาดูด้วย ช่องอื่นถ้ามีใครติดใจช่องไหน เอ้ามาดูกันเลย มาทำความตกลงกัน ว่ากี่เดือนที่จะทำตามตารางนี้ มาปรับวิธีทำงาน วิธีคิด วิธีพูดกันไหม ผมชวนหมดเลยนะครับ เพราะฉะนั้นผมถึงบอกว่ายิ่งท่านพูดสิ่งเหล่านี้ยิ่งทำให้ผมมองเห็นว่าการยุบ สภาวันนี้ 15 วัน มันไม่ตอบโจทย์พวกนี้เลย มันไม่หยุดหรอกครับ ไอ้ที่จะมีการอะไรต่างๆ
จตุพร - แล้ววันนั้นท่านเชื่อในมิติไหน วันที่ท่านเรียกร้องให้นายสมัครยุบสภา
อภิสิทธิ์ - วันนั้นพันธมิตรฯ เขาไม่ได้เรียกร้องให้ยุบสภา เขาไม่ต้องการด้วยซ้ำ แต่ผมเห็นว่าวันนั้นถ้ามีการยุบสภา ผมมีความเชื่อว่าเขาไม่มีทางเลือกนอกจากกลับบ้าน เท่านั้นเองครับ ผมให้เหตุให้ผลที่ชัดเจน ท่านไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไร แต่ว่าผมก็อยากจะบอกว่า วันนี้เหตุการณ์หลายอย่างที่หยิบยกขึ้นมา ผมไม่มีว่า ตกลงกันแล้วก็เอาของพวกนี้โยนทิ้ง เพราะผมฟังไง ผมถึงบอกว่าทุกประเด็นเลย มาทำงานร่วมกัน 1 วัน 15 วัน ทำไม่ทันหรอกครับ 9 เดือนมันก็อาจจะทำไม่หมด แต่ผมว่าพอ ที่เราคำนวณกันคร่าวๆ มันพอ แล้วถ้าไม่ทำ ไม่ต้องห่วงหรอกครับ ผมอยู่ไม่ได้หรอก ไม่ทำท่านก็ต้องรู้อยู่แล้วว่าถ้ามาเบี้ยวกันไม่เคยมีใครอยู่ได้ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นผมก็คิดว่าตอนนี้มันต่างกันอย่างนี้ ก็อยู่ที่ท่าน ถ้าท่านยังสนใจว่าจะไปพิจารณากัน ก็กลับมาคุยกัน ถ้าท่านบอกมันไม่ได้ แหม ท่านจะหันหน้าไปบอกกับประชาชนทั้งประเทศได้ไหมครับว่า
วีระ - ไม่ได้ๆๆ เรื่องบ้านเมืองมันเป็นเรื่องที่มาตัดรอนกันแบบนั้นไม่ได้หรอก เราควรจะพูดจากัน มันไม่ใช่เรื่องส่วนตัว เพราะฉะนั้นเราต้องพูดจากัน ถ้ามันตันช่วงนี้ เราก็มะรืนนี้ก็ได้ ก็มาว่ากัน
อภิสิทธิ์ - อย่างนี้ได้ไหมครับ คือทั้งสองท่านอยู่ประเทศไทย ก็คงไม่จำเป็นจะต้องมานั่งคุยอย่างนี้เท่านั้น ระหว่างนี้ประเด็นที่เราพูดกันในหลายเรื่อง กางออกมาเลย ทำแผนร่วมกันว่าจะเอายังไง
วีระ - ไม่ต้องออกโทรทัศน์ทุกครั้งก็ได้
อภิสิทธิ์ - ไม่ต้อง รัฐธรรมนูญจะเอายังไง เรื่องเศรษฐกิจ บรรยากาศ งบประมาณอะไรต่างๆ ที่ขุ่นข้องหมองใจ เรื่องคดีความอะไรเอามาเลยครับ แล้วท่านก็ทำระหว่างนี้ ผมไปบาห์เรนพรุ่งนี้เช้า ผมกลับมาวันพุธ 3 ทุ่ม วันพฤหัสฯ ผมยินดีคุยต่อเลยเพื่อไม่ให้เสียเวลา เอางั้นไหมครับ ระหว่างนี้ก็ช่วยกันรักษาบรรยากาศ
จตุพร - พวกท่านหรือพวกผม
อภิสิทธิ์ - ทั้งสองฝ่าย พูดกันตรงๆ ไง ทั้งสองฝ่าย ถูกไหมครับ
จตุพร - นี่ผมถามนิดหนึ่ง ตอนนี้เอาทหารเข้าประจำวัดอีกแล้ว
อภิสิทธิ์ - คือผมย้ำอีกครั้งนะครับ ทหารเขาเข้าไปเพื่อช่วยดูแลความปลอดภัย เราห่วงมากเรื่องระเบิด มันเกิดทุกคืน เราไม่รู้ว่าใครทำ ที่จับได้ก็กำลังสืบสวนอยู่ แต่เราไม่รู้ว่าใครทำ ทีนี้สิ่งที่เราจำเป็นก็คือ ตรงนี้มันไปช่วยดูแลรักษาพื้นที่ตรงนั้นไม่ให้เกิดปัญหา ทหารไม่มีอาวุธไปทำร้ายท่านแน่นอนนะครับ ไม่มีแน่นอนครับ เพราะว่าผมได้สั่งการไป แล้ว ศอ.รส. กอ.รมน. นโยบายเหล่าทัพ
จตุพร - ถ้าพวกผมไปขอตรวจค้นแล้วพบอาวุธ ท่านจะรับผิดชอบ
อภิสิทธิ์ - คืออย่างนี้นะครับ มันมีส่วนของเขาที่เข้าไปอยู่ ของทหารใช่ไหมครับ
จตุพร - ครับ
อภิสิทธิ์ - ผมให้นโยบายไปชัดเจนแล้ว ทีนี้ถ้าท่านสงสัยตรงไหนก็ตรวจสอบมาได้ ยินดีคุยกันเลย แต่ว่าอย่าใช้วิธีในการที่จะไปเอาประชาชนไปเผชิญหน้ากันเท่านั้น
จตุพร - คือประเด็นก็คือว่าวัดมันไม่เหมาะจริงๆ
อภิสิทธิ์ - ท่านจะให้อยู่ที่ไหนครับ
จตุพร - ทหารก็ควรจะอยู่ในที่ของทหารอยู่ ไม่ใช่อยู่วัด แค่คนมาตักบาตรตอนเช้า เจอทหารมันถอยกรูดกันไปหมด
อภิสิทธิ์ - ขออนุญาตนิดหนึ่งครับ เพื่อจะได้เข้าใจ ทหารเขาไม่ไปทำอะไรกับท่านหรอกครับ ผมบอกได้เลยครับถ้าผมสั่งทหารไปทำอะไรท่านนะ พล.อ.อนุพงษ์ ไม่ทำหรอกครับ ไม่ทำหรอกครับ
จตุพร - พล.อ.ประยุทธ์ ล่ะครับ
อภิสิทธิ์ - ไม่ทำครับ พล.อ.ประยุทธ์ ก็ผู้ใต้บังคับบัญชา พล.อ.อนุพงษ์ ครับ พล.อ.อนุพงษ์ พูดกับผมตั้งแต่ต้น เราพูดกันว่า เห็นตรงกันนะ ฝ่ายการเมืองกับกองทัพ ไม่ถือประชาชนที่มาชุมนุม ไม่ว่าฝ่ายใด เป็นศัตรู มีหน้าที่ในการดูแลความสงบเรียบร้อย และ ผมบอกคุณอนุพงษ์ ผมสั่งอะไรไม่ถูกต้องไม่ต้องทำ อย่าทำ ไม่ควรทำ และผมไม่สั่ง ท่านก็บอกว่า ท่านจะทำเฉพาะที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น เพราะท่านบอกว่า ทหารเป็นหน่วยงานที่มีความเป็นกลางทางการเมือง
หมอเหวง - แต่ว่าท่านนายกฯ ครับ ผมฟัง ผมไม่แน่ใจว่า ท่านมีอำนาจเพียงพอหรือเปล่า เพราะเมษาเลือด ยิงคนแน่นอน และกระสุนจริงแน่นอน
นายกฯ - ขอโทษนะครับ คือตรวจสอบมาแล้ว แต่ท่านมีอันนี้มา ผมต้องชี้แจง
หมอเหวง - ยิงแน่นอน เพราะคนชื่อไสว ทองอ้น ผมไปดูเอง กระสุนเข้าตรงนี้รูเล็กๆ ออกข้างนอกรูใหญ่ อันนี้ M-16 แน่นอน
นายกฯ - ที่ดินแดงหรือเปล่าครับ
หมอเหวง - ใช่ และเข้าโรงพยาบาลราชวิถี ส่วนคนตายมีหรือเปล่า ไม่ทราบ เพราะฉะนั้น ที่ท่านบอกว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ยิงประชาชน ผมไม่แน่ใจ เพราะมันเกิดแล้ว ข้อที่ 1 นะครับ
ข้อที่ 2 ท่านนายกฯ ไม่คิดว่า ท่านจะกินแรงพวกเรามากไปหรือ เพราะขณะนี้ ท่านยังประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคงอยู่ คือถ้าท่านต้องการบรรยากาศการเจรจาดีๆ ไม่ควรมี พ.ร.บ.ความมั่นคง เพราะพวกเราพิสูจน์ตลอด และเรียนท่านนายกฯนะ ผมอึดอัด คือท่านบอกว่า พวกเรามีคนแค่ 3 คน ไม่ใช่ คนข้างหลังเรา ผมไม่อยากโชว์ตัวเลขเว่อร์ๆ อย่างน้อยมีประชาชนอยู่หลังเราประมาณไม่ต่ำกว่า 20 ล้าน
เพราะฉะนั้น ท่านนายกฯ เราไม่ได้มาแค่ 3 คน เราพ่วงประชาชน 20 ล้าน ที่เขาฝากความหวังไว้กับเรา ในการทำประเทศชาติบ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย แต่ท่านทำกับเราอย่างนี้ เพราะฉะนั้น พ.ร.บ.ความมั่นคง ท่านนายกฯต้องยกเลิก ผมถึงจะเห็นความจริงใจในการเจรจากันจริงๆ
นายกฯ - ผมขอเรียนอย่างนี้ ผมไม่มาพูดเรื่องตัวเลขกัน ใครกี่ล้านคน ป่านนี้ผมท้าไปแล้วว่า ทำประชามติวันนี้ ไม่ให้ยุบสภาไหม เอาไหมครับ ถ้าประชามติแล้ว ไม่ยุบสภา ท่านเอาไหม
หมอเหวง - ไม่ ผม คือการตัดสินใจ
นายกฯ - เป็นเรื่องถามประชาชนเหมือนกัน เราก็ไม่อยากท้าทายกันใช่ไหมครับ เราก็ต้องรับผิดชอบคนทุกคน พ.ร.บ.ความมั่นคง นะครับ คุณหมอครับ ประกาศมาแล้ว น่าจะ 5 ครั้ง ถามว่าทำเพื่ออะไร ทำเพื่อป้องปรามไม่ให้เกิดเหตุการณ์ ถึงประชุมอาเซียนได้ ตอนประชุมอาเซียนล้ม ที่ผิดพลาดคือ ไม่ได้ประกาศกฎหมายความมั่นคง ต้องให้เกิดเรื่องแล้วไปประกาศ พ.ร.ก. ผมเป็นฝ่ายไม่ต้องการเห็นความสูญเสีย กฎหมายความมั่นคงจึงประกาศเพื่อให้เจ้าหน้าที่ช่วยดูแลความปลอดภัยได้ ผมถามว่า ผ่านมา 15 วัน 16 วัน เจ้าหน้าที่คุกคามท่านไหม เจ้าหน้าที่มีแต่บอกว่า ความสัมพันธ์กับท่านดี รายงานผมมา ชาวบ้านทั้งที่เป็นประชาชนธรรมดา ทั้งเสื้อแดงให้น้ำ พูดคุยกัน เขาไปดูแลให้ แต่ถ้าท่านบอกไม่อยากให้อยู่ที่วัดลองเสนอมา ให้อยู่ที่ไหน แต่ว่า ผมมาพูดคุย ไม่แม้แต่เรียกร้องให้ท่านเลิกชุมนุม
จตุพร - อันนี้เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ม.69
นายกฯ - ถูกต้องครับ เป็นสิทธิที่ท่านจะชุมนุม ผมก็มีสิทธิจะอยู่อีก 1 ปี 9 เดือน ผมก็ไม่อ้างสิทธิ ผมบอกว่า ชุมนุมไปเถอะ แต่ขอให้ดูแลการชุมนุมอย่าให้เกิดเหตุร้าย เพราะถ้ามันเกิดเหตุร้ายขึ้นมา จะยุ่ง พี่วีระเข้าใจดี เพราะฉะนั้น เราไม่มีอะไร อีก 2 วัน ก็มาคุยต่อ ท่านมีปัญหาท่านแจ้งมา
จตุพร - ผมเองมาด้วยฉันทานุมัติประชาชนได้พูดไปแล้ว เรื่อง 4-5 วัน เพราะฉะนั้น พวกผมต้องกลับไปด้วยเงื่อนไขนี้
นายกฯ -ถูกต้อง
จตุพร - หมายความว่า ฝ่ายท่านไม่รับเงื่อนไขนี้ ผมต้องกลับไปเงื่อนไขนี้ เพราะฉะนั้นในเบื้องต้นเราต้องยุติกันก่อน หยุดก่อน เพราะอย่าพึ่งนัดกันเลย ขอให้จบลงตรงนี้เสียก่อน ถือว่าการเจรจา 2 ฝ่ายไม่บรรลุผล ส่วนจะว่าต่อไปก็เป็นเรื่องอนาคตว่าจะพูดหรือไม่พูดกันดี เอากันอย่างนี้จะเหมาะมากกว่า
อภิสิทธิ์ - อันนั้นเป็นการตัดสินใจของท่าน ผมเพียงแต่บอกว่า ผมคิดว่าเราควรจะรับผิดชอบกับคน 60 กว่าล้านคน ผมตัดสินใจอะไรผมก็รับผิดชอบกับคนเสื้อแดงด้วยนะครับ ท่านอาจจะเป็นตัวแทนคนเสื้อแดงมา แต่ผมคิดว่าท่านควรจะช่วยกันรับผิดชอบกับคนที่เหลือที่ไม่ใช่คนเสื้อแดงด้วย เพราะฉะนั้นที่พี่วีระพูดก็ดีอยู่แล้ว ในชั้นนี้คือว่า ข้อเสนอของท่านไม่ได้รับการตอบสนอง
จตุพร - ถูกต้อง
อภิสิทธิ์ - มีข้อเสนอที่ฝ่ายรัฐบาลได้นำเสนอในวันนี้ ท่านก็กลับไปพิจารณา พูดคุยนอกรอบแล้วนัดหมายเพื่อให้ได้คำตอบ ผมว่าอันนี้จะทำให้ประชาชนสบายใจ
จตุพร - คือประชาชน คือพวกผมเองอยู่กับประชาชน เพราะฉะนั้นประชาชนต้องมีความสบายใจและตรงไปตรงมา พวกเรามาพบกับพวกท่านก็ต้องเปิดเผยกันแบบนี้ คือต้องแสดงตนไปมุบมิบพบกันไม่ได้ เพราะฉะนั้น นี่พูดกันตรงไปตรงมาที่สุด ขอวันนี้ว่า เอาละการเจรจา 2 วัน ต่างคนต่างมีข้อเสนอและยังไม่บรรลุ ให้จบลงตรงนี้ซะก่อน ส่วนวันข้างหน้าว่ากันอีกที แต่ว่าพวกผมพก 15 วัน แล้วท่านปฏิเสธ ท่านเสนอ 9 เดือนผมก็ปฏิเสธ ให้ยืนจุดไว้เท่านี้
อภิสิทธิ์ - เรียนให้ทราบเดี๋ยวคนจะเข้าใจผิดว่า ผมกับพี่วีระมาเสนอให้มุบมิบกัน ไม่ใช่มุบมิบ
จตุพร - ไม่ได้ครับ พวกผมมันเรื่องใหญ่มาก มันคุยแล้วมุบมิบไม่ได้
อภิสิทธิ์ - ไม่มีเรื่องมุบมิบ ถ้าจะไม่คุยเลยก็ได้ เพียงแต่ว่ามันจะเสียเวลา ที่ให้ไปคุยกันหมายความว่า ที่ยังติดใจว่า ตารางเวลาคิดยังไง เรื่องงบประมาณ เรื่องรัฐธรรมนูญ ก็ไปคุยกันนอกรอบ ผมไม่อยู่เท่านั้นเอง ผมอยู่ก็กลับมาคุยกัน
จตุพร - ประเด็นขอให้จบลง ณ วันนี้ คือว่าก็จบลงตรงข้อเสนอ 2 ฝ่ายไม่ได้รับการตอบสนองระหว่างกัน ส่วนเรื่องอนาคตก็เป็นเรื่องอนาคตไป พวกผมเองต้องไปถามผู้ชุมนุมพี่น้องประชาชนว่า เราจะเอาอย่างไรกันต่อ ให้มันจบลงในสถานการณ์แบบนี้จะเหมาะสมกว่า
อภิสิทธิ์ - แล้วแต่นะครับ เอาเป็นว่า
จตุพร - พวกท่านก็ไปหารือพรรคร่วมของท่าน พวกผมก็จะไปคุยกับพวกผม
อภิสิทธิ์ - เอาเป็นว่า ฝ่ายผมก็ยินดีจะนัดหมาย ส่วนฝ่ายท่านจะปฏิเสธก็เป็นสิทธิ์ของท่าน
จตุพร - ครับ ให้ยืน ณ จุดยืนนี้จะสบายทั้ง 2 ฝ่าย
อภิสิทธิ์ - ไม่มีปัญหา
วีระ - ค่อยนัดครับ
อภิสิทธิ์ - ขอบคุณครับ
วีระ - ขอบคุณมาก